พระธาตุพนมเป็นโบราณสถานที่ยังมีลมหายใจ เป็นโบราณสถานที่ผ่านการบูรณะซ่อมแซมมาหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวาวรดีอีสานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เดิมทีนั้น ศาสนสถานแห่งนี้ เคยเป็นปราสาทในศาสนาพราหมณ์ฮินดูมาก่อน สร้างขึ้นโดยคนในท้องถิ่น แถบอำเภอธาตุพนมในสมัยโบราณ ที่มีเชื้อสายมอญ-เขมร ในพุทธศตวรรษที่ 15 ร่วมสมัยกับ ศิลปะขอมแบบพระโค ศิลปะจามแบบหมี่เซิน A1 ศิลปะทวารวดีอีสาน และศิลปะพม่าแบบพุกาม แต่ยังคงรักษาแบบแผนของปราสาทในพุทธศตวรรษที่12-13 เอาไว้ แต่สิ่งที่ต่างออกไปจากปราสาทในพุทธศตวรรษที่ 12-13 คือซุ้มประตูที่พัฒนาจากซุ้มกูฑุ มาเป็นซุ้มในแบบฉบับของตัวเอง และลวดลายประดับที่มีความละเอียดพิศดารทั้งรูปลักษณ์ของตัวลายและวิธีการผูกลายที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
ภาพซุ้มประตูพระธาตุพนม เป็นซุ้มที่ผ่านการพัฒนามาเป็นรูปแบบเฉพาะตนแล้ว
ซุ้มแบบกูฑุ ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ยังเป็นซุ้มตามแบบฉบับของอินเดียอยู่
กนกขอบม้วน
กนกขอบแหลมหลายชั้น
กนกดอก-ใบซ้อนกัน เรียกอีกชื่อว่า กนกพรรณพฤกษา
กนกดอก-ใบซ้อนกัน
กนกดอก-ใบซ้อนกัน
กนกดอก-ใบซ้อนกัน
วิธีการผูกลายให้เป็นเครือเถา
ลายเครือเถาพระธาตุพนม
จากการศึกษาถึงอายุและศิลปะพระธาตุพนมของ จขกท พบว่า ลายพระธาตุพนมเป็นลายที่พัฒนามาจากลายในพุทธศตวรรษที่ 12 คือลายผักกูด ลายใบไม้ ดอกไม้ และลายก้านต่อดอก จนกลายเป็นแบบฉบับของตัวเอง ไม่เหมือนที่ไหน แม้แต่ศิลปะทวารดีอีสานเองซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมชมชนชาวอีสานในสมัยนั้นก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่ก็พัฒนามาจากลายทวารวดีนั่นเอง เพียงแต่มีการผสมผสานกับศิลปะแบบขอมและจามอีกที โดยเฉพาะลายกนก กลับไปมีความใกล้เคียงกับลายขอมศิลปะพระโคในพุทธศตวรรษที่ 15 ดังภาพเปรียบเทียบด้านล่าง
พระธาตุพนมองค์ใหม่ที่สร้างโดยกรมศิลปากร
ศิลปะพระธาตุพนม
พระธาตุพนมเป็นโบราณสถานที่ยังมีลมหายใจ เป็นโบราณสถานที่ผ่านการบูรณะซ่อมแซมมาหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวาวรดีอีสานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
เดิมทีนั้น ศาสนสถานแห่งนี้ เคยเป็นปราสาทในศาสนาพราหมณ์ฮินดูมาก่อน สร้างขึ้นโดยคนในท้องถิ่น แถบอำเภอธาตุพนมในสมัยโบราณ ที่มีเชื้อสายมอญ-เขมร ในพุทธศตวรรษที่ 15 ร่วมสมัยกับ ศิลปะขอมแบบพระโค ศิลปะจามแบบหมี่เซิน A1 ศิลปะทวารวดีอีสาน และศิลปะพม่าแบบพุกาม แต่ยังคงรักษาแบบแผนของปราสาทในพุทธศตวรรษที่12-13 เอาไว้ แต่สิ่งที่ต่างออกไปจากปราสาทในพุทธศตวรรษที่ 12-13 คือซุ้มประตูที่พัฒนาจากซุ้มกูฑุ มาเป็นซุ้มในแบบฉบับของตัวเอง และลวดลายประดับที่มีความละเอียดพิศดารทั้งรูปลักษณ์ของตัวลายและวิธีการผูกลายที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
ภาพซุ้มประตูพระธาตุพนม เป็นซุ้มที่ผ่านการพัฒนามาเป็นรูปแบบเฉพาะตนแล้ว
ซุ้มแบบกูฑุ ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ยังเป็นซุ้มตามแบบฉบับของอินเดียอยู่
กนกขอบม้วน
กนกขอบแหลมหลายชั้น
กนกดอก-ใบซ้อนกัน เรียกอีกชื่อว่า กนกพรรณพฤกษา
กนกดอก-ใบซ้อนกัน
กนกดอก-ใบซ้อนกัน
กนกดอก-ใบซ้อนกัน
วิธีการผูกลายให้เป็นเครือเถา
ลายเครือเถาพระธาตุพนม
จากการศึกษาถึงอายุและศิลปะพระธาตุพนมของ จขกท พบว่า ลายพระธาตุพนมเป็นลายที่พัฒนามาจากลายในพุทธศตวรรษที่ 12 คือลายผักกูด ลายใบไม้ ดอกไม้ และลายก้านต่อดอก จนกลายเป็นแบบฉบับของตัวเอง ไม่เหมือนที่ไหน แม้แต่ศิลปะทวารดีอีสานเองซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมชมชนชาวอีสานในสมัยนั้นก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่ก็พัฒนามาจากลายทวารวดีนั่นเอง เพียงแต่มีการผสมผสานกับศิลปะแบบขอมและจามอีกที โดยเฉพาะลายกนก กลับไปมีความใกล้เคียงกับลายขอมศิลปะพระโคในพุทธศตวรรษที่ 15 ดังภาพเปรียบเทียบด้านล่าง
พระธาตุพนมองค์ใหม่ที่สร้างโดยกรมศิลปากร