พระธาตุที่ได้ชื่อว่าเป็นฝาแฝดกับพระธาตุพนมนี้ แท้จริงแล้วคือปราสาทศิลปะขอม+จาม ในพุทธศตวรรษที่ 13-15
โดยเมื่อแรกสร้างนั้นเป็นปราสาทในศิลปะขอมแบบไพรกเม็ง ในพุทธศตวรรษที่ 13 โดยเราสามารถพิจารณาดูได้จากเรือนธาตุชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ซึ่งซุ้มประตูยังคงเป็นซุ้มโค้งแบบกูฑุ และขนาบสองข้างยังมีการประดับด้วยวิมานลอยซึ่งมีนกหัสดีลิงค์กางปีกรับตัววิมานไว้ ตัวนกหัสดีลิงค์แบกนี้ไม่มีในศิลปะขอมโบราณ พบแต่ในคติชาวล้านช้างและล้านนา แต่เดิมคงจะเป็นภาพฝูงหงส์ตัวเล็กกำลังบินอยู่ใต้วิมาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าวิมานกำลังลอยอยู่ในอากาศ แต่สมัยล้านช้างได้มีการพอกปูนปั้นทับของเก่าเอาไว้ และที่มุมฐานของเรือนธาตุที่เป็นศิขระ (ชั้นที่ 2-3) ยังมีการประดับปราสาทหรือยอดประสาทจำลองไว้ด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานของปราสาททุกๆ ศิลปะในเอเชีย
วิมานลอยศิลปะไพรกเม็ง พุทธศตวรรษที่12
ต่อมา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 อิทธิพลจามได้แผ่ไปถึงกัมพูชาและขึ้นมาถึงภาคใต้ของลาว ทำให้ปราสาท (ธาตุอิงฮัง) นี้ได้รับการบูรณะปรับปรุงอีกครั้งในเรือนธาตุชั้นชั้นที่ 1 โดยปรับเปลี่ยนวิมานลอยแบบขอมก่อนพระนครให้เป็น วิมานสูงยาว มีทวารบาลประทับยืนอยู่ในตัววิมาน ซึ่งลักษณะของซุ้มวิมานในเรือนธาตุชั้นนี้มีความใกล้เคียงกับวิมานในศิลปะจามหมี่เซิน A1 ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 อย่างมาก ซึ่งในช่วงนี้ศิลปะขอมเองก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของปราสาทให้เป็นภาพทวารบาลยืนอยู่ในวิมานเช่นเดียวกัน เช่น ปราสาทพระโค ปราสาทโลเลย ปราสาทบากอง ศิลปะขอมแบบพระโค แต่ที่พระธาตุอิงฮังกลับไปมีความใกล้เคียงกับศิลปะจามมากกว่า ดังรูปภาพ
วิมานมีทวารบาลยืนอยู่ภายใน ลักษณะซุ้มรับอิทธิพลจากศิชปะจามหมี่เซิน A1 ในพุทธศตวรรษที่ 15 ตรงยอดซุ้มประดับด้วยตาบขนาดใหญ่ซึ่งรับอิทธิพลมาจากชวาอีกทอดหนึ่ง
ซุ้มที่ปราสาทหมี่เซิน ศิลปะหมี่เซิน A1 พุทธศตวรรษที่ 15
ปราสาทถูกทิ้งร้างหลายร้อยปี ต่อมาในยุคสมัยล้านช้าง ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 อาณาจักรชวา (หลวงพระบาง) ได้แยกออกมาเป็นอาณาสองอาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางและอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ทำให้ช่วงนี้ชนชาติลาวที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเหนือก็ถอยลงมาจนถึงทางใต้ โดยในช่วงนี้ กษัตริย์ลาวพระนามว่า "พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช" ได้เสด็จลงมาบูรณะปราสาทในศิลปะพราหมณ์ฮินดูนี้อีกครั้ง ด้วยการพอกปูน ปั้นปูนทับศิลปะดั้งเดิมเดิมเกือบหมดทั้งหลัง (ยังเห็นร่องรอยศิลปะจามอยู่บ้าง) และเสริมยอดปราสาทให้กลายเป็นพระธาตุแบบศิลปะลาว ทำให้สถานะของปราสาทถูกเปลี่ยนแปลงมาเป็นพระธาตุในที่สุด ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 และมีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ในพุทธศตวรรษที่ 23 หลังจากนั้นก็มีการเรื่อยมาจนถึงยุคสมัยปัจจุบัน
ไขปริศนาพระธาตุอิงฮัง
โดยเมื่อแรกสร้างนั้นเป็นปราสาทในศิลปะขอมแบบไพรกเม็ง ในพุทธศตวรรษที่ 13 โดยเราสามารถพิจารณาดูได้จากเรือนธาตุชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ซึ่งซุ้มประตูยังคงเป็นซุ้มโค้งแบบกูฑุ และขนาบสองข้างยังมีการประดับด้วยวิมานลอยซึ่งมีนกหัสดีลิงค์กางปีกรับตัววิมานไว้ ตัวนกหัสดีลิงค์แบกนี้ไม่มีในศิลปะขอมโบราณ พบแต่ในคติชาวล้านช้างและล้านนา แต่เดิมคงจะเป็นภาพฝูงหงส์ตัวเล็กกำลังบินอยู่ใต้วิมาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าวิมานกำลังลอยอยู่ในอากาศ แต่สมัยล้านช้างได้มีการพอกปูนปั้นทับของเก่าเอาไว้ และที่มุมฐานของเรือนธาตุที่เป็นศิขระ (ชั้นที่ 2-3) ยังมีการประดับปราสาทหรือยอดประสาทจำลองไว้ด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานของปราสาททุกๆ ศิลปะในเอเชีย
วิมานลอยศิลปะไพรกเม็ง พุทธศตวรรษที่12
ต่อมา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 อิทธิพลจามได้แผ่ไปถึงกัมพูชาและขึ้นมาถึงภาคใต้ของลาว ทำให้ปราสาท (ธาตุอิงฮัง) นี้ได้รับการบูรณะปรับปรุงอีกครั้งในเรือนธาตุชั้นชั้นที่ 1 โดยปรับเปลี่ยนวิมานลอยแบบขอมก่อนพระนครให้เป็น วิมานสูงยาว มีทวารบาลประทับยืนอยู่ในตัววิมาน ซึ่งลักษณะของซุ้มวิมานในเรือนธาตุชั้นนี้มีความใกล้เคียงกับวิมานในศิลปะจามหมี่เซิน A1 ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 อย่างมาก ซึ่งในช่วงนี้ศิลปะขอมเองก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของปราสาทให้เป็นภาพทวารบาลยืนอยู่ในวิมานเช่นเดียวกัน เช่น ปราสาทพระโค ปราสาทโลเลย ปราสาทบากอง ศิลปะขอมแบบพระโค แต่ที่พระธาตุอิงฮังกลับไปมีความใกล้เคียงกับศิลปะจามมากกว่า ดังรูปภาพ
วิมานมีทวารบาลยืนอยู่ภายใน ลักษณะซุ้มรับอิทธิพลจากศิชปะจามหมี่เซิน A1 ในพุทธศตวรรษที่ 15 ตรงยอดซุ้มประดับด้วยตาบขนาดใหญ่ซึ่งรับอิทธิพลมาจากชวาอีกทอดหนึ่ง
ซุ้มที่ปราสาทหมี่เซิน ศิลปะหมี่เซิน A1 พุทธศตวรรษที่ 15
ปราสาทถูกทิ้งร้างหลายร้อยปี ต่อมาในยุคสมัยล้านช้าง ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 อาณาจักรชวา (หลวงพระบาง) ได้แยกออกมาเป็นอาณาสองอาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางและอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ทำให้ช่วงนี้ชนชาติลาวที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเหนือก็ถอยลงมาจนถึงทางใต้ โดยในช่วงนี้ กษัตริย์ลาวพระนามว่า "พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช" ได้เสด็จลงมาบูรณะปราสาทในศิลปะพราหมณ์ฮินดูนี้อีกครั้ง ด้วยการพอกปูน ปั้นปูนทับศิลปะดั้งเดิมเดิมเกือบหมดทั้งหลัง (ยังเห็นร่องรอยศิลปะจามอยู่บ้าง) และเสริมยอดปราสาทให้กลายเป็นพระธาตุแบบศิลปะลาว ทำให้สถานะของปราสาทถูกเปลี่ยนแปลงมาเป็นพระธาตุในที่สุด ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 และมีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ในพุทธศตวรรษที่ 23 หลังจากนั้นก็มีการเรื่อยมาจนถึงยุคสมัยปัจจุบัน