คุณขจรศักดิ์ รุ่นประพันธ์ กล่าวเทคนิคการแก้ปัญหาและตัดสินใจว่า “ปัญหาคือ ช่องว่างหรือความแตกต่างระหว่าง สภาพการณ์ปัจจุบัน กับสภาพการณ์ที่เราต้องการให้ เกิดขึ้น (หรือเหตุการณ์ไม่ดีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน อนาคต) ส่วนการตัดสินใจ คือ การเลือกเอาวิธีปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งจากวิธีปฏิบัติหลายๆ อย่างที่มีอยู่มาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ไม่มีปัญหาใดจบลงโดยปราศจากการตัดสินใจ และไม่มีการตัดสินใจใดเกิดขึ้นโดยปราศจากปัญหาเช่นกัน เพราะปัญหาก่อให้เกิดโอกาสและทางเลือกต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจว่าจะเลือกดำเนินไปในทางใด จึงจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดหรือเสียหายน้อยที่สุด"
ทุกคนจะต้อง “เผชิญ” กับ “ปัญหา”
ทุกอย่างย่อมมีปัญหาเป็นอุปสรรคเสมอ
บางครั้งก็แก้ไขได้ทันที บางครั้งก็ไม่สามารถทำได้
หากมองว่าปัญหาเป็นเรื่องที่ “ผ่านเข้ามาแล้วก็จากไป”
และไม่หาทางแก้ไข้ปัญหา หรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ทำให้เรายอมให้ปัญหาเกิดขึ้นกับเรา “ซ้ำๆ”
ซึ่งมันได้ครอบงำเราเรียบร้อยแล้ว
สุดท้ายเราก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกเลย
ไม่ว่าปัญหาที่เข้ามาจะเล็กหรือใหญ่ ให้มองว่าปัญหานั้นทำให้เราแกร่งขึ้น
ปัญหามี 2 อย่าง คือ “สามารถแก้ได้” และ “ไม่สามารถแก้ได้”
“ปัญหาที่มีทางออก” อย่าเสียเวลากลุ้มใจ เมื่อปัญหามีทางออก
“ปล่อยวางมันบ้าง” ปล่อยวางปัญหานั้นลง ถ้าไม่สามารถหาทางออกได้ หากมัวแต่นั่งทุกข์ใจ ไม่มีเกิดประโยชน์อะไร
“ให้เวลาจัดการ” ให้เวลาจัดการปัญหาที่เราไม่สามารถควบคุมได้ และเอาเวลาที่เหลือมาจัดการปัญหาอื่นๆ ดีกว่า เพราะมีปัญหาอีกมากมายที่เราต้องแก้ปัญหา หากแก้ปัญหาสำเร็จ มันจะเป็นแรงผลักดัน มีกำลังใจที่จะแก้ปัญหาอื่น
“อย่ายึดติด” ปัญหามันไม่ได้อยู่กับเราไปตลอด แต่เป็นตัวเราต่างหากที่ไปยึดติด หากเอาตัวไปผูกติดกับปัญหา ชีวิตเราก็ติดกับดักปัญหา ถ้าไม่อยากทุกข์ ก็อย่าไปยึดติดกับปัญหา มองทางแก้ปัญหา มองทางออกของปัญหา แล้วจะพบว่าปัญหามันไม่ได้ทำให้แย่อย่างที่คิด เพราะฉะนั้นเรอย่าทำตัวเองให้แย่ไปกับปัญหา
เพราะฉะนั้น “ปัญหาเป็นเรื่องปกติ” ที่ทุกคนต้องเผชิญ
ถ้าเข้าใจมัน ก็สามารถอยู่กับมันได้อย่างมีความสุข
ทำให้ปัญหากลายเป็นเรื่องปกติ โดย คุณสโรชา สุพันธ์
ทุกคนจะต้อง “เผชิญ” กับ “ปัญหา”
ทุกอย่างย่อมมีปัญหาเป็นอุปสรรคเสมอ
บางครั้งก็แก้ไขได้ทันที บางครั้งก็ไม่สามารถทำได้
หากมองว่าปัญหาเป็นเรื่องที่ “ผ่านเข้ามาแล้วก็จากไป”
และไม่หาทางแก้ไข้ปัญหา หรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ทำให้เรายอมให้ปัญหาเกิดขึ้นกับเรา “ซ้ำๆ”
ซึ่งมันได้ครอบงำเราเรียบร้อยแล้ว
สุดท้ายเราก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกเลย
ไม่ว่าปัญหาที่เข้ามาจะเล็กหรือใหญ่ ให้มองว่าปัญหานั้นทำให้เราแกร่งขึ้น
ปัญหามี 2 อย่าง คือ “สามารถแก้ได้” และ “ไม่สามารถแก้ได้”
“ปัญหาที่มีทางออก” อย่าเสียเวลากลุ้มใจ เมื่อปัญหามีทางออก
“ปล่อยวางมันบ้าง” ปล่อยวางปัญหานั้นลง ถ้าไม่สามารถหาทางออกได้ หากมัวแต่นั่งทุกข์ใจ ไม่มีเกิดประโยชน์อะไร
“ให้เวลาจัดการ” ให้เวลาจัดการปัญหาที่เราไม่สามารถควบคุมได้ และเอาเวลาที่เหลือมาจัดการปัญหาอื่นๆ ดีกว่า เพราะมีปัญหาอีกมากมายที่เราต้องแก้ปัญหา หากแก้ปัญหาสำเร็จ มันจะเป็นแรงผลักดัน มีกำลังใจที่จะแก้ปัญหาอื่น
“อย่ายึดติด” ปัญหามันไม่ได้อยู่กับเราไปตลอด แต่เป็นตัวเราต่างหากที่ไปยึดติด หากเอาตัวไปผูกติดกับปัญหา ชีวิตเราก็ติดกับดักปัญหา ถ้าไม่อยากทุกข์ ก็อย่าไปยึดติดกับปัญหา มองทางแก้ปัญหา มองทางออกของปัญหา แล้วจะพบว่าปัญหามันไม่ได้ทำให้แย่อย่างที่คิด เพราะฉะนั้นเรอย่าทำตัวเองให้แย่ไปกับปัญหา
เพราะฉะนั้น “ปัญหาเป็นเรื่องปกติ” ที่ทุกคนต้องเผชิญ
ถ้าเข้าใจมัน ก็สามารถอยู่กับมันได้อย่างมีความสุข