.
บทที่ ๖๐ หมู่บ้านมะละกาและเกาะเทมาสิค
เจ้าทิพมาถึงไทรบุรีในเดือน ๔ ปีฉลู บัดนี้เป็นช่วงปลายเดือน ๕ ย้ายศักราชสู่ปีขาล พุทธศักราช ๑๙๑๗ ทั้งเจ้าทิพและพานอินต่างเดินทางแยกย้ายออกจากไทรบุรีมุ่งหน้าสู่เส้นทางของตน
กองเรือสำเภาอโยธยากำหนดออกเดินทางสู่เมืองจีนในเดือน ๖ โดยอาศัยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านสู่เมืองจีนในช่วงเดือน ๖ ถึงเดือน ๑๑ พานอินจึงต้องเร่งกลับไปดูแลความเรียบร้อย ก่อนหน้านั้นพานอินได้ส่งพิราบสื่อสารกราบทูลข้อขัดข้องแด่ขุนหลวงพะงั่วองค์กษัตริย์แห่งอาณาจักรอโยธยา เรื่องการนำกองเรือสินค้าไปถวายพระเจ้ากรุงจีน เมื่อพานอินกลับมายังกองเรือก็เป็นเวลาไล่เลี่ยกันกับที่ทหารสื่อสารรีบอัญเชิญพระบรมราชโองการถึงพระเจ้านครอินทร์
พานอินหรือพระเจ้านครอินทร์ทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานตามที่ได้ทรงกราบทูลขอพระราชทานไว้ แสดงถึงความไว้วางพระราชหฤทัยที่องค์ขุนหลวงพะงั่วมีต่อพระเจ้านครอินทร์ผู้เป็นพระภาติยะ (หลานซึ่งเป็นลูกของน้องชาย) อย่างหาที่สุดมิได้
พระเจ้านครอินทร์ทรงดำเนินการให้เปลี่ยนแปลงฐานะของกองเรือสินค้าอโยธยา.. จากกองเรือสินค้าของพระเจ้าอโยธยาถวายแด่พระเจ้ากรุงจีน เป็นกองเรือสินค้าของพระเจ้านครอินทร์ถวายแด่องค์ชายจูเพียว องค์รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์มังกร พร้อมพระราชสาส์นแสดงสัมพันธไมตรีและพระประสงค์ที่พระองค์จะเสด็จมาเยือนกรุงจีนในปีถัดไป
ก่อนออกเดินทางจากไทรบุรี...
เจ้าทิพได้พยายามลอบเข้าไปสืบความที่องค์ชายอัศวเมฆเสด็จมาพบหิงสาอาตมัน ใช้เวลากว่าสองวันจึงพบว่าประทับอยู่สถานที่ใด ไม่เพียงกัมพะทมิฬจะจัดซ่อนองค์ชายไว้อย่างมิดชิดแต่ยังให้ทหารซุ่มระวังโดยรอบที่ประทับอยู่หลายชั้น แม้ตนจะแอบเข้าไปด้านในได้แต่ก็มิกล้าเข้าไปใกล้นัก ด้วยเกรงว่าหากพลาดพลั้งเปิดเผยร่องรอยออกมาจะกระทบถึงพานอินที่สู้อุตส่าห์เสียสละเพื่อตนมากมาย ตนมิอาจเสี่ยงกระทำเรื่องให้เกิดความเสียหายต่อการค้าของพานอินในไทรบุรี
สิ่งที่เจ้าทิพเห็นคือองค์ชายอัศวเมฆและหิงสาอาตมันพร้อมพวกได้ปรึกษาหารือกันอย่างเคร่งเครียด บางครั้งก็คล้ายถกเถียงกัน บ้างก็หัวเราะให้กัน เพราะอยู่ห่างไกลจึงได้ยินแต่หางเสียงของการสนทนาที่กล่าวยามโกรธแค้น อารมณ์พลุ่งพล่าน... พร้อมกับชื่อของตนผสมคำผรุสวาทอย่างหยาบคาย
ทั้งหมดกำลังวางแผนทำร้ายตน แต่ไม่รู้ว่าด้วยวิธีการใด
องค์ชายอัศวเมฆทรงพำนักอยู่ไทรบุรีทั้งหมด ๓ ราตรี ตนเข้าไปลอบสังเกตเรื่องราวได้ในคืนสุดท้าย เมื่อเล่าสิ่งที่ประสบมาให้พานอินฟัง ก็ได้คำแนะนำว่า
“พวกนั้นกำลังเตรียมทำลายเจ้า สาเหตุเกี่ยวโยงกับองค์หญิงวิสาณี เพราะคือเรื่องเดียวที่องค์ชายทรงขัดเคืองหทัยในตัวเจ้าตอนนี้.. โดยอาจมีบางอย่างเกี่ยวกับองค์ตุมพะทะนานทองเป็นข้อแลกเปลี่ยน”
เจ้าทิพไม่รู้ว่าพานอินวินิจฉัยถูกต้องหรือไม่ แต่ตนนั้นยอมเชื่อสติปัญญาของพี่ชายร่วมสาบานสุดใจ พร้อมกับคำเตือนที่บอกว่า..
“เมื่อเจ้ากลับไปพบองค์หญิงวิสาณีที่เมืองนครศรีธรรมราชในสองปีข้างหน้า เจ้าจะมีภัย ให้ระวังทุกเรื่องราวและอย่าได้ไว้วางใจผู้ใดเป็นอันขาด”
เจ้าทิพไม่พบเบาะแสใดที่ไทรบุรีและมั่นใจว่าองค์ตุมพะทะนานทองมิได้อยู่ในความครอบครองของหิงสาอาตมัน จึงต้องติดตามหาตัวพราหมณ์กุณฑกัญจเป็นลำดับต่อไป
ตระกูลโทณพราหมณ์ย้ายออกจากปตานีไปพึ่งบารมีของราชสำนักปาเล็มบังแห่งอาณาจักรมลายู ได้ราว ๖๐ ปีแล้ว มีเพียงพราหมณ์กุณฑกัญจเดินทางกลับมายังราชสำนักปตานี และต่อมาได้สอนวิชาให้กับเจ้าทิพที่เมืองนครศรีธรรมราช
ดังนั้นจุดหมายของเจ้าทิพ คือเมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา...
การได้คลุกคลีกับพ่อค้าจรในเพิงพักของนายท่าสิกะ ทำให้ไม่เป็นเรื่องยากที่เจ้าทิพจะหาเรือสินค้าเพื่อขอโดยสารไปปาเล็มบัง
เรือสินค้าพาเจ้าทิพล่องออกจากท่าไทรบุรีแล้วล่องใบลงใต้เลาะไปตามชายฝั่งตะวันตก หลังจากลอยลำอยู่ ๔ วัน วันนี้นายเรือบอกว่าจะเข้าเทียบฝั่งแวะหาน้ำจืดและเสบียงก่อนจะข้ามทะเลสู่เกาะสุมาตรา
จุดที่แวะคือหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ชื่อว่ามะละกา (
ปัจจุบันคือที่ตั้งของรัฐมะละกา ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย -ซึ่งช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ชาวมลายูได้เริ่มอพยพจากเกาะสุมาตรามาตั้งถิ่นฐานยังหมู่บ้านแห่งนี้และกลายเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของชาวมลายูบนคาบสมุทรในเวลาต่อมา)
เรือมาถึงชายฝั่งหมู่บ้านมะละกาในยามบ่าย กว่าจะทอดสมอและขนสินค้าลงเรือเล็กไปขึ้นฝั่งขอแลกเปลี่ยนเป็นเสบียงอาหารก็เป็นเวลาเย็น นายเรือบอกจะต้องหาน้ำและสิ่งจำเป็นอีกตลอดทั้งวันของวันรุ่งขึ้น แล้วจึงจะออกเรือเดินทางต่อในเช้าวันถัดไป
เจ้าทิพขอลงเรือเล็กร่วมกับนายเรือเพื่อมาค้างแรมในหมู่บ้าน ทันทีที่เหยียบย่างขึ้นฝั่งชาวบ้านจำนวนหนึ่งต่างกรูเข้ามาเสนอขายเสบียงอาหารของแห้ง รวมทั้งบอกขายสุกร เป็ด ไก่ที่มีชีวิตเพื่อให้นำติดเรือไปฆ่าประกอบเป็นอาหาร แต่นายเรือดูจะยังไม่สนใจ คล้ายมีคนที่เคยติดต่อซื้อขายประจำอยู่แล้ว เมื่อเดินขึ้นฝั่งจวนจะถึงแนวร่มไม้ก็มีชายกลุ่มหนึ่งเดินออกมาหา คนนำหน้ารูปร่างใหญ่ ผิวคล้ำ พุงกลมโตด้วยมิได้สวมใส่เสื้อจึงเห็นชัด ฟังจากการพูดจาทักทายจึงรู้ว่าเป็นดั่งที่ตนคาดเดาไว้ นี่คือคนที่นายเรือติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยทุกครั้งและคงเป็นคนต้อนรับจัดหาที่พักให้ด้วย
เจ้าทิพเดินแยกออกมา ไปตามทางเดินเล็กๆ ที่ขนานกับคลองขนาดใหญ่ มีบ้านชาวประมงปลูกติดริมน้ำเรียงรายต่อเนื่องแต่ไม่ถึงกับหนาแน่น ไม่นานก็ได้ที่พักค้างแรม เป็นบ้านชาวประมงครอบครัวใหญ่ซึ่งอยู่รวมกันราวสิบคนตั้งแต่รุ่นตายาย พ่อแม่และลูกๆ เพื่อตนจะได้ถามไถ่เรื่องต่างๆ ของหมู่บ้านและของผู้คนที่ผ่านไปมา
ครั้นรุ่งเช้าเจ้าทิพจึงเดินสำรวจหมู่บ้านตามที่ได้สอบถามมา หมู่บ้านมะละกาเป็นชุมชนเล็กๆ มีเทวสถานขนาดเล็กของศาสนาพราหมณ์อยู่เพียง ๒ แห่ง เมื่อเดินเท้าลึกเข้าไปในฝั่งแผ่นดิน มีผู้คนปลูกบ้านทำไร่อยู่เป็นระยะ ยิ่งเดินเข้าไปลึกยิ่งมิพบบ้านเรือนผู้คน เจ้าทิพใช้เวลาทั้งวันสอบถามตามรายทางและเทวสถานทั้งสองแห่งก็ไม่พบร่องรอยว่ามีพราหมณ์ต่างถิ่นผ่านมายังหมู่บ้านมะละกาในช่วง ๕ เดือนนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พราหมณ์กุณฑกัญจหายตัวไปจากเมืองนครฯ
หมู่บ้านมะละกาอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันตกห่างจากปลายใต้สุดของคาบสมุทรสุวรรณภูมิอีกราวหนึ่งวันครึ่งของการเดินเรือ ความที่เป็นชุมชนชาวประมงขนาดเล็ก จึงมิได้เป็นที่สนใจของเจ้าผู้ปกครองดินแดนมากนัก ไม่ว่าจะเป็นราชาแห่งปะหังผู้ครองดินแดนจรดใต้สุดของคาบสมุทร หรือราชาแห่งไทรบุรีผู้ครองดินแดนฝั่งทะเลตะวันตก หากแต่ตำแหน่งใต้สุดของคาบสมุทรกลับเป็นจุดสำคัญด้านความมั่นคง มีเกาะเล็กๆ ชื่อว่าเทมาสิค (
ปัจจุบันคือประเทศสิงคโปร์)
ตั้งแต่พระเจ้านครศรีธรรมราชมีชัยขับไล่กองทัพเรือชวาสิงหัดส่าหรีออกไปจากคาบสมุทรสุวรรณภูมิเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๓๕ ก็ได้ส่งกองทหารมาประจำอยู่บนเกาะเทมาสิคเพื่อคอยสอดส่องการเคลื่อนไหวของกองเรือจากเกาะชวา หรือแม้แต่กองเรือมลายูจากเกาะสุมาตรา
...และนี่เป็นสาเหตุให้หิงสาอาตมันสั่งห้ามเรือสินค้าจากไทรบุรีที่ชักธงมะโรงนักษัตรทุกลำห้ามขึ้นเกาะเทมาสิคเพื่อมิให้ถูกรายงานต่อราชสำนักนครศรีธรรมราช เพราะหลายครั้งกองเรือสินค้าจากไทรบุรีจะมีเรือรบของชาวโจฬะทมิฬคอยติดตามป้องกันภัย
ดังนั้นแทนที่เรือจะล่องตามฝั่งทะเลตะวันตกไปจนสุดตอนใต้ของคาบสมุทร แล้วข้ามทะเลไปยังเมืองจัมบีที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามบนเกาะสุมาตรา ก่อนจะล่องลงใต้ต่อไปสู่เมืองปาเล็มบัง.. จึงต้องออกจากหมู่บ้านมะละกาแล้วข้ามฝั่งทะเลสู่เกาะสุมาตราทันที
ก่อนกลับไปขึ้นเรือ เจ้าทิพมอบเงินกำนัลแก่ครอบครัวชาวประมงที่ตนไปพักอาศัยด้วย และเพราะชาวแหลมสุวรรณภูมิโดยทั่วไปเป็นคนอัธยาศัยดี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เจ้าของบ้านจึงจัดเตรียมอาหารแห้งให้เจ้าทิพนำติดตัวไปด้วยมากมาย
แม้เจ้าทิพจะอยู่ต่างบ้านต่างเมือง แต่อย่างไรเสียก็ยังอยู่บนผืนแผ่นดินของชนชาวสุวรรณภูมิพวกเดียวกัน แต่หลังจากนี้ต้องเดินทางข้ามทะเลสู่ดินแดนของชนชาวมลายู แม้พราหมณ์กุณฑกัญจจะสอนให้ตนพูดภาษามลายูได้คล่องแคล่ว.. แต่อัธยาศัยของชาวเมืองมลายูทั่วไปนั้นตนไม่ล่วงรู้เลย..
เรือใหญ่ถอนสมอล่องออกจากชายฝั่งตอนรุ่งสาง..
แม้แต่ผืนแผ่นดินของคาบสมุทรสุวรรณภูมิก็เห็นเป็นเพียงเงาสีเทาเลือนรางก่อนหายลับจากสายตาไป..
------------------------------
๒๒ เดือนผ่านไป...
บ่ายวันหนึ่งของต้นเดือน ๔ ปีเถาะ พุทธศักราช ๑๙๑๘
นอกชายฝั่งเกาะเทมาสิคมีเรือสินค้าจากเมืองจัมบี เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเกาะสุมาตรามาจอดทอดสมอ ไม่นานก็มีเรือเล็ก ๔ ลำพายเข้าสู่ฝั่งตรงท่าเรือเล็กที่เป็นแหล่งชุมชน
เมื่อคนบนเรือขึ้นสู่ฝั่ง ชายที่เดินนำหน้าก็เข้าไปรายงานตัวกับเจ้าพนักงานชาวนครศรีธรรมราชที่เฝ้าอยู่ตรงท่า หลังจากแจ้งประเภทเรือและจุดหมายปลายทาง พร้อมจ่ายอากรเล็กน้อยในส่วนของสินค้าที่นำติดเรือเล็กขึ้นฝั่งเพื่อแลกกับเสบียงอาหารบนเกาะแล้ว ทั้งหมดก็เตรียมตัวแยกย้ายกันไป
ริมศาลาที่ทำงานของเจ้าพนักงานปักไว้ด้วยแผ่นป้ายที่ทำจากไม้ บนป้ายเขียนไว้ด้วยโคลงห้าบทหนึ่ง (
โคลงห้า หรือโคลงมณฑกคติ เป็นลักษณะโคลงที่นิยมในสมัยปลายสุโขทัยต้นอยุธยา) ความว่า..
“ดูดพิษงูอยู่ฝั่ง บูรพา
กรีดโลหิตสาบาน พี่น้อง
รินสุราดื่มชา ปัจฉิม
เข้าขาลล่องมะโรง ร่ำลา”
“ดูโคลงนี้สิ สัมผัสผูกถูกต้อง แต่ความหมายอ่านแล้วไม่สื่อความ” ชายที่เป็นล่ามแปลภาษากล่าวขึ้นกับนายเรือสินค้า
นายเรือพ่อค้าชาวมลายูจากเกาะสุมาตรามองตามไปยังป้าย แล้วก็มิได้มีความสนใจ
“ข้าก็พอจะรู้หนังสือไทอยู่บ้าง ไหนท่านลองวิจารณ์ให้ข้าฟังหน่อยเถิด”
กลับเป็นผู้โดยสารเรือวัยกลางคนผู้หนึ่งที่ขอติดตามขึ้นเกาะเทมาสิคกล่าวขึ้น ลักษณะท่าทางคล้ายผู้คงแก่เรียนมีความรู้ ผู้เป็นล่ามจึงกล่าวอธิบายด้วยใบหน้าระรื่น อวดภูมิความรู้ของตน
“คำสุดท้ายของบาทแรกคือ “
บูรพา” สัมผัสกับคำในบาทที่สาม คือ “
สุรา” แต่ความหมาย “
รินสุราดื่มชา” กลับประหลาด จะมีผู้ใดรินสุราแต่ดื่มน้ำชากันเล่า”
เมื่อเห็นผู้ฟังพยักหน้าเป็นเชิงเห็นด้วย จึงอธิบายต่อไป
“ส่วนคำสุดท้ายของบาทที่สอง “
น้อง” เป็นเสียงสูงถูกต้องแล้ว และสัมผัสกับคำ “
ล่อง” ในบาทที่สี่ แต่ความหมายยิ่งผิดเพี้ยน ท่านก็รู้เมื่อเริ่มนักษัตรขาล ก็แสดงว่าผ่านพ้นนักษัตรฉลู แต่นี่อะไร “
เข้าขาลล่องมะโรง” จะเป็นไปได้อย่างไร” ว่าแล้วก็ส่ายหน้า
“อันที่จริงหากแต่งว่า “
เข้าขาลล่องฉลู” ก็คงไพเราะ ความหมายก็ถูกต้อง... ช่างน่าเสียดาย” ชายที่มีลักษณะของผู้คงแก่เรียนกล่าวเสริม เห็นพ้อง
“พวกเรารีบไปกันเถอะ จะมามัวยืนดูโคลงที่ไร้ความหมายอยู่ไย” นายเรือเร่งเร้า แล้วรีบเดินออกไป
บรรดาบริวารของนายเรือรีบติดตามนายของตนไปขนถ่ายสินค้าลงจากเรือเล็ก ส่วนผู้โดยสารที่ขอลงมาสัมผัสผืนดินบนเกาะเทมาสิคก็แยกย้ายกันออกไปตามจุดประสงค์ของแต่ละคน มีเพียงชายหนุ่มอายุราว ๑๘ ปีผู้หนึ่ง มิยอมไปไหน ยังคงยืนเหม่อมองอ่านข้อความในโคลงห้าอยู่
ไม่นานชายหนุ่มก็เดินเข้าไปถามเจ้าพนักงานว่า
“ท่านพอจะบอกข้าพเจ้าได้หรือไม่ โคลงห้านี้เป็นผู้ใดแต่ง และข้าจะพบเจ้าตัวเขาได้อย่างไร”
เจ้าพนักงานหลิ่วตาดูใบหน้าของชายหนุ่ม เป็นใบหน้าที่คมสันหล่อเหลาแต่ไร้สง่าของความภาคภูมิใจในตนเอง ดวงตาที่ยามนี้มีประกายของความพลุ่งพล่านสงสัย แต่ก็แฝงแววเหนื่อยล้าและหม่นหมอง
“ถ้าท่านตอบสองคำถามของข้าได้ ข้าจึงจะบอกทางให้กับท่าน..” เจ้าพนักงานกลับเอ่ยเงื่อนไขขึ้นมา แล้วไม่รอให้ชายหนุ่มรับหรือปฏิเสธ คำถามแรกก็ถูกเอ่ยขึ้น
“ในบาทที่สาม “รินสุราดื่มชา ปัจฉิม” หมายความเยี่ยงไร”
(มีต่อ)
ราชาสิบสองนักษัตร ศึกรวมสุโขทัย - บทที่ ๖๐ หมู่บ้านมะละกาและเกาะเทมาสิค
บทที่ ๖๐ หมู่บ้านมะละกาและเกาะเทมาสิค
เจ้าทิพมาถึงไทรบุรีในเดือน ๔ ปีฉลู บัดนี้เป็นช่วงปลายเดือน ๕ ย้ายศักราชสู่ปีขาล พุทธศักราช ๑๙๑๗ ทั้งเจ้าทิพและพานอินต่างเดินทางแยกย้ายออกจากไทรบุรีมุ่งหน้าสู่เส้นทางของตน
กองเรือสำเภาอโยธยากำหนดออกเดินทางสู่เมืองจีนในเดือน ๖ โดยอาศัยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านสู่เมืองจีนในช่วงเดือน ๖ ถึงเดือน ๑๑ พานอินจึงต้องเร่งกลับไปดูแลความเรียบร้อย ก่อนหน้านั้นพานอินได้ส่งพิราบสื่อสารกราบทูลข้อขัดข้องแด่ขุนหลวงพะงั่วองค์กษัตริย์แห่งอาณาจักรอโยธยา เรื่องการนำกองเรือสินค้าไปถวายพระเจ้ากรุงจีน เมื่อพานอินกลับมายังกองเรือก็เป็นเวลาไล่เลี่ยกันกับที่ทหารสื่อสารรีบอัญเชิญพระบรมราชโองการถึงพระเจ้านครอินทร์
พานอินหรือพระเจ้านครอินทร์ทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานตามที่ได้ทรงกราบทูลขอพระราชทานไว้ แสดงถึงความไว้วางพระราชหฤทัยที่องค์ขุนหลวงพะงั่วมีต่อพระเจ้านครอินทร์ผู้เป็นพระภาติยะ (หลานซึ่งเป็นลูกของน้องชาย) อย่างหาที่สุดมิได้
พระเจ้านครอินทร์ทรงดำเนินการให้เปลี่ยนแปลงฐานะของกองเรือสินค้าอโยธยา.. จากกองเรือสินค้าของพระเจ้าอโยธยาถวายแด่พระเจ้ากรุงจีน เป็นกองเรือสินค้าของพระเจ้านครอินทร์ถวายแด่องค์ชายจูเพียว องค์รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์มังกร พร้อมพระราชสาส์นแสดงสัมพันธไมตรีและพระประสงค์ที่พระองค์จะเสด็จมาเยือนกรุงจีนในปีถัดไป
ก่อนออกเดินทางจากไทรบุรี...
เจ้าทิพได้พยายามลอบเข้าไปสืบความที่องค์ชายอัศวเมฆเสด็จมาพบหิงสาอาตมัน ใช้เวลากว่าสองวันจึงพบว่าประทับอยู่สถานที่ใด ไม่เพียงกัมพะทมิฬจะจัดซ่อนองค์ชายไว้อย่างมิดชิดแต่ยังให้ทหารซุ่มระวังโดยรอบที่ประทับอยู่หลายชั้น แม้ตนจะแอบเข้าไปด้านในได้แต่ก็มิกล้าเข้าไปใกล้นัก ด้วยเกรงว่าหากพลาดพลั้งเปิดเผยร่องรอยออกมาจะกระทบถึงพานอินที่สู้อุตส่าห์เสียสละเพื่อตนมากมาย ตนมิอาจเสี่ยงกระทำเรื่องให้เกิดความเสียหายต่อการค้าของพานอินในไทรบุรี
สิ่งที่เจ้าทิพเห็นคือองค์ชายอัศวเมฆและหิงสาอาตมันพร้อมพวกได้ปรึกษาหารือกันอย่างเคร่งเครียด บางครั้งก็คล้ายถกเถียงกัน บ้างก็หัวเราะให้กัน เพราะอยู่ห่างไกลจึงได้ยินแต่หางเสียงของการสนทนาที่กล่าวยามโกรธแค้น อารมณ์พลุ่งพล่าน... พร้อมกับชื่อของตนผสมคำผรุสวาทอย่างหยาบคาย
ทั้งหมดกำลังวางแผนทำร้ายตน แต่ไม่รู้ว่าด้วยวิธีการใด
องค์ชายอัศวเมฆทรงพำนักอยู่ไทรบุรีทั้งหมด ๓ ราตรี ตนเข้าไปลอบสังเกตเรื่องราวได้ในคืนสุดท้าย เมื่อเล่าสิ่งที่ประสบมาให้พานอินฟัง ก็ได้คำแนะนำว่า
“พวกนั้นกำลังเตรียมทำลายเจ้า สาเหตุเกี่ยวโยงกับองค์หญิงวิสาณี เพราะคือเรื่องเดียวที่องค์ชายทรงขัดเคืองหทัยในตัวเจ้าตอนนี้.. โดยอาจมีบางอย่างเกี่ยวกับองค์ตุมพะทะนานทองเป็นข้อแลกเปลี่ยน”
เจ้าทิพไม่รู้ว่าพานอินวินิจฉัยถูกต้องหรือไม่ แต่ตนนั้นยอมเชื่อสติปัญญาของพี่ชายร่วมสาบานสุดใจ พร้อมกับคำเตือนที่บอกว่า..
“เมื่อเจ้ากลับไปพบองค์หญิงวิสาณีที่เมืองนครศรีธรรมราชในสองปีข้างหน้า เจ้าจะมีภัย ให้ระวังทุกเรื่องราวและอย่าได้ไว้วางใจผู้ใดเป็นอันขาด”
เจ้าทิพไม่พบเบาะแสใดที่ไทรบุรีและมั่นใจว่าองค์ตุมพะทะนานทองมิได้อยู่ในความครอบครองของหิงสาอาตมัน จึงต้องติดตามหาตัวพราหมณ์กุณฑกัญจเป็นลำดับต่อไป
ตระกูลโทณพราหมณ์ย้ายออกจากปตานีไปพึ่งบารมีของราชสำนักปาเล็มบังแห่งอาณาจักรมลายู ได้ราว ๖๐ ปีแล้ว มีเพียงพราหมณ์กุณฑกัญจเดินทางกลับมายังราชสำนักปตานี และต่อมาได้สอนวิชาให้กับเจ้าทิพที่เมืองนครศรีธรรมราช
ดังนั้นจุดหมายของเจ้าทิพ คือเมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา...
การได้คลุกคลีกับพ่อค้าจรในเพิงพักของนายท่าสิกะ ทำให้ไม่เป็นเรื่องยากที่เจ้าทิพจะหาเรือสินค้าเพื่อขอโดยสารไปปาเล็มบัง
เรือสินค้าพาเจ้าทิพล่องออกจากท่าไทรบุรีแล้วล่องใบลงใต้เลาะไปตามชายฝั่งตะวันตก หลังจากลอยลำอยู่ ๔ วัน วันนี้นายเรือบอกว่าจะเข้าเทียบฝั่งแวะหาน้ำจืดและเสบียงก่อนจะข้ามทะเลสู่เกาะสุมาตรา
จุดที่แวะคือหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ชื่อว่ามะละกา (ปัจจุบันคือที่ตั้งของรัฐมะละกา ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย -ซึ่งช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ชาวมลายูได้เริ่มอพยพจากเกาะสุมาตรามาตั้งถิ่นฐานยังหมู่บ้านแห่งนี้และกลายเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของชาวมลายูบนคาบสมุทรในเวลาต่อมา)
เรือมาถึงชายฝั่งหมู่บ้านมะละกาในยามบ่าย กว่าจะทอดสมอและขนสินค้าลงเรือเล็กไปขึ้นฝั่งขอแลกเปลี่ยนเป็นเสบียงอาหารก็เป็นเวลาเย็น นายเรือบอกจะต้องหาน้ำและสิ่งจำเป็นอีกตลอดทั้งวันของวันรุ่งขึ้น แล้วจึงจะออกเรือเดินทางต่อในเช้าวันถัดไป
เจ้าทิพขอลงเรือเล็กร่วมกับนายเรือเพื่อมาค้างแรมในหมู่บ้าน ทันทีที่เหยียบย่างขึ้นฝั่งชาวบ้านจำนวนหนึ่งต่างกรูเข้ามาเสนอขายเสบียงอาหารของแห้ง รวมทั้งบอกขายสุกร เป็ด ไก่ที่มีชีวิตเพื่อให้นำติดเรือไปฆ่าประกอบเป็นอาหาร แต่นายเรือดูจะยังไม่สนใจ คล้ายมีคนที่เคยติดต่อซื้อขายประจำอยู่แล้ว เมื่อเดินขึ้นฝั่งจวนจะถึงแนวร่มไม้ก็มีชายกลุ่มหนึ่งเดินออกมาหา คนนำหน้ารูปร่างใหญ่ ผิวคล้ำ พุงกลมโตด้วยมิได้สวมใส่เสื้อจึงเห็นชัด ฟังจากการพูดจาทักทายจึงรู้ว่าเป็นดั่งที่ตนคาดเดาไว้ นี่คือคนที่นายเรือติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยทุกครั้งและคงเป็นคนต้อนรับจัดหาที่พักให้ด้วย
เจ้าทิพเดินแยกออกมา ไปตามทางเดินเล็กๆ ที่ขนานกับคลองขนาดใหญ่ มีบ้านชาวประมงปลูกติดริมน้ำเรียงรายต่อเนื่องแต่ไม่ถึงกับหนาแน่น ไม่นานก็ได้ที่พักค้างแรม เป็นบ้านชาวประมงครอบครัวใหญ่ซึ่งอยู่รวมกันราวสิบคนตั้งแต่รุ่นตายาย พ่อแม่และลูกๆ เพื่อตนจะได้ถามไถ่เรื่องต่างๆ ของหมู่บ้านและของผู้คนที่ผ่านไปมา
ครั้นรุ่งเช้าเจ้าทิพจึงเดินสำรวจหมู่บ้านตามที่ได้สอบถามมา หมู่บ้านมะละกาเป็นชุมชนเล็กๆ มีเทวสถานขนาดเล็กของศาสนาพราหมณ์อยู่เพียง ๒ แห่ง เมื่อเดินเท้าลึกเข้าไปในฝั่งแผ่นดิน มีผู้คนปลูกบ้านทำไร่อยู่เป็นระยะ ยิ่งเดินเข้าไปลึกยิ่งมิพบบ้านเรือนผู้คน เจ้าทิพใช้เวลาทั้งวันสอบถามตามรายทางและเทวสถานทั้งสองแห่งก็ไม่พบร่องรอยว่ามีพราหมณ์ต่างถิ่นผ่านมายังหมู่บ้านมะละกาในช่วง ๕ เดือนนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พราหมณ์กุณฑกัญจหายตัวไปจากเมืองนครฯ
หมู่บ้านมะละกาอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันตกห่างจากปลายใต้สุดของคาบสมุทรสุวรรณภูมิอีกราวหนึ่งวันครึ่งของการเดินเรือ ความที่เป็นชุมชนชาวประมงขนาดเล็ก จึงมิได้เป็นที่สนใจของเจ้าผู้ปกครองดินแดนมากนัก ไม่ว่าจะเป็นราชาแห่งปะหังผู้ครองดินแดนจรดใต้สุดของคาบสมุทร หรือราชาแห่งไทรบุรีผู้ครองดินแดนฝั่งทะเลตะวันตก หากแต่ตำแหน่งใต้สุดของคาบสมุทรกลับเป็นจุดสำคัญด้านความมั่นคง มีเกาะเล็กๆ ชื่อว่าเทมาสิค (ปัจจุบันคือประเทศสิงคโปร์)
ตั้งแต่พระเจ้านครศรีธรรมราชมีชัยขับไล่กองทัพเรือชวาสิงหัดส่าหรีออกไปจากคาบสมุทรสุวรรณภูมิเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๓๕ ก็ได้ส่งกองทหารมาประจำอยู่บนเกาะเทมาสิคเพื่อคอยสอดส่องการเคลื่อนไหวของกองเรือจากเกาะชวา หรือแม้แต่กองเรือมลายูจากเกาะสุมาตรา
...และนี่เป็นสาเหตุให้หิงสาอาตมันสั่งห้ามเรือสินค้าจากไทรบุรีที่ชักธงมะโรงนักษัตรทุกลำห้ามขึ้นเกาะเทมาสิคเพื่อมิให้ถูกรายงานต่อราชสำนักนครศรีธรรมราช เพราะหลายครั้งกองเรือสินค้าจากไทรบุรีจะมีเรือรบของชาวโจฬะทมิฬคอยติดตามป้องกันภัย
ดังนั้นแทนที่เรือจะล่องตามฝั่งทะเลตะวันตกไปจนสุดตอนใต้ของคาบสมุทร แล้วข้ามทะเลไปยังเมืองจัมบีที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามบนเกาะสุมาตรา ก่อนจะล่องลงใต้ต่อไปสู่เมืองปาเล็มบัง.. จึงต้องออกจากหมู่บ้านมะละกาแล้วข้ามฝั่งทะเลสู่เกาะสุมาตราทันที
ก่อนกลับไปขึ้นเรือ เจ้าทิพมอบเงินกำนัลแก่ครอบครัวชาวประมงที่ตนไปพักอาศัยด้วย และเพราะชาวแหลมสุวรรณภูมิโดยทั่วไปเป็นคนอัธยาศัยดี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เจ้าของบ้านจึงจัดเตรียมอาหารแห้งให้เจ้าทิพนำติดตัวไปด้วยมากมาย
แม้เจ้าทิพจะอยู่ต่างบ้านต่างเมือง แต่อย่างไรเสียก็ยังอยู่บนผืนแผ่นดินของชนชาวสุวรรณภูมิพวกเดียวกัน แต่หลังจากนี้ต้องเดินทางข้ามทะเลสู่ดินแดนของชนชาวมลายู แม้พราหมณ์กุณฑกัญจจะสอนให้ตนพูดภาษามลายูได้คล่องแคล่ว.. แต่อัธยาศัยของชาวเมืองมลายูทั่วไปนั้นตนไม่ล่วงรู้เลย..
เรือใหญ่ถอนสมอล่องออกจากชายฝั่งตอนรุ่งสาง..
แม้แต่ผืนแผ่นดินของคาบสมุทรสุวรรณภูมิก็เห็นเป็นเพียงเงาสีเทาเลือนรางก่อนหายลับจากสายตาไป..
------------------------------
๒๒ เดือนผ่านไป...
บ่ายวันหนึ่งของต้นเดือน ๔ ปีเถาะ พุทธศักราช ๑๙๑๘
นอกชายฝั่งเกาะเทมาสิคมีเรือสินค้าจากเมืองจัมบี เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเกาะสุมาตรามาจอดทอดสมอ ไม่นานก็มีเรือเล็ก ๔ ลำพายเข้าสู่ฝั่งตรงท่าเรือเล็กที่เป็นแหล่งชุมชน
เมื่อคนบนเรือขึ้นสู่ฝั่ง ชายที่เดินนำหน้าก็เข้าไปรายงานตัวกับเจ้าพนักงานชาวนครศรีธรรมราชที่เฝ้าอยู่ตรงท่า หลังจากแจ้งประเภทเรือและจุดหมายปลายทาง พร้อมจ่ายอากรเล็กน้อยในส่วนของสินค้าที่นำติดเรือเล็กขึ้นฝั่งเพื่อแลกกับเสบียงอาหารบนเกาะแล้ว ทั้งหมดก็เตรียมตัวแยกย้ายกันไป
ริมศาลาที่ทำงานของเจ้าพนักงานปักไว้ด้วยแผ่นป้ายที่ทำจากไม้ บนป้ายเขียนไว้ด้วยโคลงห้าบทหนึ่ง (โคลงห้า หรือโคลงมณฑกคติ เป็นลักษณะโคลงที่นิยมในสมัยปลายสุโขทัยต้นอยุธยา) ความว่า..
“ดูดพิษงูอยู่ฝั่ง บูรพา
กรีดโลหิตสาบาน พี่น้อง
รินสุราดื่มชา ปัจฉิม
เข้าขาลล่องมะโรง ร่ำลา”
“ดูโคลงนี้สิ สัมผัสผูกถูกต้อง แต่ความหมายอ่านแล้วไม่สื่อความ” ชายที่เป็นล่ามแปลภาษากล่าวขึ้นกับนายเรือสินค้า
นายเรือพ่อค้าชาวมลายูจากเกาะสุมาตรามองตามไปยังป้าย แล้วก็มิได้มีความสนใจ
“ข้าก็พอจะรู้หนังสือไทอยู่บ้าง ไหนท่านลองวิจารณ์ให้ข้าฟังหน่อยเถิด”
กลับเป็นผู้โดยสารเรือวัยกลางคนผู้หนึ่งที่ขอติดตามขึ้นเกาะเทมาสิคกล่าวขึ้น ลักษณะท่าทางคล้ายผู้คงแก่เรียนมีความรู้ ผู้เป็นล่ามจึงกล่าวอธิบายด้วยใบหน้าระรื่น อวดภูมิความรู้ของตน
“คำสุดท้ายของบาทแรกคือ “บูรพา” สัมผัสกับคำในบาทที่สาม คือ “สุรา” แต่ความหมาย “รินสุราดื่มชา” กลับประหลาด จะมีผู้ใดรินสุราแต่ดื่มน้ำชากันเล่า”
เมื่อเห็นผู้ฟังพยักหน้าเป็นเชิงเห็นด้วย จึงอธิบายต่อไป
“ส่วนคำสุดท้ายของบาทที่สอง “น้อง” เป็นเสียงสูงถูกต้องแล้ว และสัมผัสกับคำ “ล่อง” ในบาทที่สี่ แต่ความหมายยิ่งผิดเพี้ยน ท่านก็รู้เมื่อเริ่มนักษัตรขาล ก็แสดงว่าผ่านพ้นนักษัตรฉลู แต่นี่อะไร “เข้าขาลล่องมะโรง” จะเป็นไปได้อย่างไร” ว่าแล้วก็ส่ายหน้า
“อันที่จริงหากแต่งว่า “เข้าขาลล่องฉลู” ก็คงไพเราะ ความหมายก็ถูกต้อง... ช่างน่าเสียดาย” ชายที่มีลักษณะของผู้คงแก่เรียนกล่าวเสริม เห็นพ้อง
“พวกเรารีบไปกันเถอะ จะมามัวยืนดูโคลงที่ไร้ความหมายอยู่ไย” นายเรือเร่งเร้า แล้วรีบเดินออกไป
บรรดาบริวารของนายเรือรีบติดตามนายของตนไปขนถ่ายสินค้าลงจากเรือเล็ก ส่วนผู้โดยสารที่ขอลงมาสัมผัสผืนดินบนเกาะเทมาสิคก็แยกย้ายกันออกไปตามจุดประสงค์ของแต่ละคน มีเพียงชายหนุ่มอายุราว ๑๘ ปีผู้หนึ่ง มิยอมไปไหน ยังคงยืนเหม่อมองอ่านข้อความในโคลงห้าอยู่
ไม่นานชายหนุ่มก็เดินเข้าไปถามเจ้าพนักงานว่า
“ท่านพอจะบอกข้าพเจ้าได้หรือไม่ โคลงห้านี้เป็นผู้ใดแต่ง และข้าจะพบเจ้าตัวเขาได้อย่างไร”
เจ้าพนักงานหลิ่วตาดูใบหน้าของชายหนุ่ม เป็นใบหน้าที่คมสันหล่อเหลาแต่ไร้สง่าของความภาคภูมิใจในตนเอง ดวงตาที่ยามนี้มีประกายของความพลุ่งพล่านสงสัย แต่ก็แฝงแววเหนื่อยล้าและหม่นหมอง
“ถ้าท่านตอบสองคำถามของข้าได้ ข้าจึงจะบอกทางให้กับท่าน..” เจ้าพนักงานกลับเอ่ยเงื่อนไขขึ้นมา แล้วไม่รอให้ชายหนุ่มรับหรือปฏิเสธ คำถามแรกก็ถูกเอ่ยขึ้น
“ในบาทที่สาม “รินสุราดื่มชา ปัจฉิม” หมายความเยี่ยงไร”
(มีต่อ)