* หลักปฏิบัติ หรือจะเรียกว่าจักรราศี ของปฏิจจสมุปบาท - ท่านพุทธทาส
* หลักปฏิบัติ หรือจะเรียกว่าจักรราศี ของปฏิจจสมุปบาท - ท่านพุทธทาส
ทีนี้ ก็มาถึงเรื่องที่เรียกว่าเป็นหลักปฏิบัติ. นี้มันก็เกินเวลามามากแล้ว
เรื่องมันยังไม่จบ ; แล้วเราไม่มีโอกาสจะพูดอีก และเราก็ได้วางหัวข้อไว้แล้วว่าจะพูด
เรื่องหลักปฏิบัติเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นก็ต้องพูดต่อไป.
หลักโดยวงกว้างนี้มันน่าประหลาดที่สุด. ผมจะเรียกมันว่า "จักรราศี"
ของปฏิจจสมุปบาท ; ตั้งต้นติดต่อกันไปตั้งแต่สมุทยวาร จนไปถึงนิโรธวาร แล้ว
น่าหัว ก็ตรงที่ว่า มันจะแสดงให้เห็น "อานิสงค์ของความทุกข์". ขอให้ฟังต่อไป.
พระพุทธภาษิตนี้ตรัสลำดับเรื่องดับทุกข์ไว้อย่างน่าประหลาด : พระพุทธเจ้า
ท่านตรัสว่า "สำหรับผู้รู้ผู้เห็น เราจึงกล่าว ; สำหรับผู้ไม่รู้ไม่เห็น เราก็ไม่กล่าวถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะ". ความสิ้นไปแห่งอาสวะย่อมมี เมื่อรู้เห็นลักษณะ ความเกิด ความดับ
แห่งขันธ์ทั้งหลาย ; นี่ทรงยกเอาความสิ้นอาสวะนั้น ว่ามีได้ เมื่อมีการรู้การเห็น
ในความเกิดขึ้นและความดับไป และรู้เห็นลักษณะแห่งความเกิด และความดับ
ของเบญจขันธ์ที่เกิดขึ้นด้วยอุปาทาน คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
๕ อย่างนี้. ถ้ารู้ว่าลักษณะมันเป็นอย่างไร เกิดอย่างไร ดับอย่างไร โดยแท้จริงแล้ว
จะเป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ ; หรือความสิ้นอาสวะมีได้เพราะรู้เรื่องนี้. นี่พระพุทธองค์
ทรงยืนยันว่าตถาคตรู้เห็นเรื่องนี้จึงได้กล่าว ; ถ้าไม่รู้ไม่เห็นจะไม่กล่าว คือจะไม่ทรง
เอาเรื่องที่ไม่ได้รู้ไม่ได้เห็น มากล่าวเป็นอันขาด.
ความสิ้นอาสวะนั้น ถ้ามีขึ้นแล้ว จักทำให้เกิดญาณที่รู้ว่าจิตสิ้น
อาสวะแล้ว ; - ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ นี้จะมีได้ต่อเมื่อมีวิมุตติ
มาแล้ว ; - วิมุตติคือความหลุดพ้นจะมี ก็เพราะมีวิราคะ, มันอิงวิราคะ มีวิราคะเป็น
ที่อาศัย ; - วิราคะมันต้องอาศัยนิพพิทา ; - นิพพิทานี้ต้องอาศัยยถาภูตญาณทัสสนะ
คือเห็นสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง ; - ยถาภูตญาณทัสสนะนี้ต้องอาศัยสมาธิ ; - สมาธิ
ต้องอาศัยความรู้สึกที่เป็นสุข ; - สุขนี้ต้องอาศัยปัสสัทธิคือความรำงับ ; - ปัสสัทธิ
นี้ต้องอาศัยปีติ ; - ปีติต้องอาศัยปราโมทย์ ; - ปราโมทย์ต้องอาศัยศรัทธา ;
- และก็แปลกตรงที่ว่า ศรัทธานี้ต้องอาศัยความทุกข์.
ทีนี้ก็วกเข้าหาปฏิจจสมุปบาทว่า - ความทุกข์นั้นต้องอาศัยชาติ ; - ชาติ
ต้องอาศัยภพ ; - ภพต้องอาศัยอุปาทาน ; - อุปาทานต้องอาศัยตัณหา ; - ตัณหา
ต้องอาศัยเวทนา - เวทนาอาศัยผัสสะ ; - ผัสสะอาศัยอายตนะ ; - อายตนะ
อาศัยนามรูป ; - นามรูปอาศัยวิญญาณ ; วิญญาณอาศัยสังขาร ; - แล้วสังขาร
อาศัยอวิชชา ; แล้วก็จบกัน.
นี้แปลว่าการสิ้นอาสวะนั้น จะต้องได้อาศัยสิ่งที่เป็นปัจจัยลงมาตามลำดับ
ตามลำดับ ๆ ตามนัยที่กล่าวแล้วจนมาถึงศรัทธา. เรามีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ ศรัทธาในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์นี้ : นี้เรียกว่าเรามีศรัทธา. ทีนี้ลองย้อน
กลับขึ้นไปอีกทีว่า พอมีศรัทธาก็มีปราโมทย์ ; มีปราโมทย์ก็มีปีติ ; มีปีติก็มีปัสสัทธิ ;
มีปัสสัทธิก็มีสุข ; มีสุขก็มีสมาธิ ; มียถาภูตญาณทัสสนะ ; มีนิพพิทา ; วิราคะ ;
วิมุตติ ; แล้วมีญาณ ที่รู้ว่ามีวิมุตติแล้ว ; ก็มีความสิ้นไปแห่งอาสวะนั้น ; นี่แสดงว่า
มัน ต้องตั้งต้นที่ศรัทธา.
ทีนี้ ศรัทธาเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยทุกข์ นี้เป็นของแปลก. เข้าใจว่าคงไม่
เคยได้ยินกันสักกี่คนนักว่า ศรัทธาที่เรามีกันอยู่นั้น มันตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยความ
ทุกข์ : ถ้าไม่มีความทุกข์บีบคั้น เราไม่วิ่งมาหาพระพุทธเจ้า จริงไหม ? เราวิ่งมาหา
พระพุทธเจ้า เอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง, มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด,
นั้นเพราะว่าเราถูกความทุกข์บีบคั้น. ความเป็นอยู่ในชีวิตจึงกลายเป็นว่า ความทุกข์
เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา, ความทุกข์เลยกลายเป็นของดี เหมือนกับเพชรที่มีอยู่ในหัว
คางคก ที่แสนจะน่าเกลียด : ในความทุกข์กลับมีเพชร คือสิ่งที่บังคับให้เราวิ่งมาหา
พระพุทธเจ้า แล้วก็มีศรัทธา.
ในพระพุทธภาษิตนี้ตรัสความทุกข์เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา แล้วความทุกข์ก็มา
จาก อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป ฯลฯ คือปฏิจจสมุปบาท ; ก็แปลว่าเป็นการแสดง
ให้เห็นว่า อย่าเสียใจเลย อย่ากลัวเลย อย่าน้อยใจเลย : เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้
ถ้าเราทำให้ดี ความทุกข์นั้นจะกลายเป็นที่ตั้งของศรัทธา ; แล้วศรัทธาก็จะทำให้เจริญ
งอกงามในธรรมเรื่อย ๆ ไปจนถึงความสิ้นอาสวะ. การมองความทุกข์กันในแง่นี้ จะมี
อาการเหมือนกับว่า พบเพชรพลอยอยู่ในหัวคางคกที่แสนจะน่าเกลียด. แต่ทีนี้คน
ก็เกลียดกลัวกันเสียหมด ; คางคก ลูกหนู กิ้งกือ ไส้เดือนอะไรก็กลัวกันเสียหมด ;
แต่ถ้ามารู้ว่าความทุกข์นี้เป็นปัจจัยแห่งศรัทธา เป็นที่ตั้งที่เจริญงอกงามแห่งศรัทธาแล้ว
เรื่องก็เป็นอันว่า กลายเป็นสิ่งที่ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้.
เอาละนี่มันก็เลยเวลามามากแล้ว ; เรื่องก็มากประเด็น เชื่อว่าคงจำไม่ไหว
นอกจากจะไปทบทวนเอาใหม่จากเทปบันทุกเสียงนี้ ; แต่ผมสรุปความให้ได้ว่า เรื่อง
ปฏิจจสมุปบาททั้งหมดนี้ มันมีประโยชน์อย่างไร.
________________________________________________________________________________________________
ขอขอบคุณ ธรรมทานมูลนิธิ
ขอขอบคุณ พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์
ขอขอบคุณแหล่งที่มา :
หนังสือปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ พิมพ์ครั้งที่แปด ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หน้า ๑๐๖-๑๑๐
* หลักปฏิบัติ หรือจะเรียกว่าจักรราศี ของปฏิจจสมุปบาท - ท่านพุทธทาส
ทีนี้ ก็มาถึงเรื่องที่เรียกว่าเป็นหลักปฏิบัติ. นี้มันก็เกินเวลามามากแล้ว
เรื่องมันยังไม่จบ ; แล้วเราไม่มีโอกาสจะพูดอีก และเราก็ได้วางหัวข้อไว้แล้วว่าจะพูด
เรื่องหลักปฏิบัติเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นก็ต้องพูดต่อไป.
หลักโดยวงกว้างนี้มันน่าประหลาดที่สุด. ผมจะเรียกมันว่า "จักรราศี"
ของปฏิจจสมุปบาท ; ตั้งต้นติดต่อกันไปตั้งแต่สมุทยวาร จนไปถึงนิโรธวาร แล้ว
น่าหัว ก็ตรงที่ว่า มันจะแสดงให้เห็น "อานิสงค์ของความทุกข์". ขอให้ฟังต่อไป.
พระพุทธภาษิตนี้ตรัสลำดับเรื่องดับทุกข์ไว้อย่างน่าประหลาด : พระพุทธเจ้า
ท่านตรัสว่า "สำหรับผู้รู้ผู้เห็น เราจึงกล่าว ; สำหรับผู้ไม่รู้ไม่เห็น เราก็ไม่กล่าวถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะ". ความสิ้นไปแห่งอาสวะย่อมมี เมื่อรู้เห็นลักษณะ ความเกิด ความดับ
แห่งขันธ์ทั้งหลาย ; นี่ทรงยกเอาความสิ้นอาสวะนั้น ว่ามีได้ เมื่อมีการรู้การเห็น
ในความเกิดขึ้นและความดับไป และรู้เห็นลักษณะแห่งความเกิด และความดับ
ของเบญจขันธ์ที่เกิดขึ้นด้วยอุปาทาน คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
๕ อย่างนี้. ถ้ารู้ว่าลักษณะมันเป็นอย่างไร เกิดอย่างไร ดับอย่างไร โดยแท้จริงแล้ว
จะเป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ ; หรือความสิ้นอาสวะมีได้เพราะรู้เรื่องนี้. นี่พระพุทธองค์
ทรงยืนยันว่าตถาคตรู้เห็นเรื่องนี้จึงได้กล่าว ; ถ้าไม่รู้ไม่เห็นจะไม่กล่าว คือจะไม่ทรง
เอาเรื่องที่ไม่ได้รู้ไม่ได้เห็น มากล่าวเป็นอันขาด.
ความสิ้นอาสวะนั้น ถ้ามีขึ้นแล้ว จักทำให้เกิดญาณที่รู้ว่าจิตสิ้น
อาสวะแล้ว ; - ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ นี้จะมีได้ต่อเมื่อมีวิมุตติ
มาแล้ว ; - วิมุตติคือความหลุดพ้นจะมี ก็เพราะมีวิราคะ, มันอิงวิราคะ มีวิราคะเป็น
ที่อาศัย ; - วิราคะมันต้องอาศัยนิพพิทา ; - นิพพิทานี้ต้องอาศัยยถาภูตญาณทัสสนะ
คือเห็นสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง ; - ยถาภูตญาณทัสสนะนี้ต้องอาศัยสมาธิ ; - สมาธิ
ต้องอาศัยความรู้สึกที่เป็นสุข ; - สุขนี้ต้องอาศัยปัสสัทธิคือความรำงับ ; - ปัสสัทธิ
นี้ต้องอาศัยปีติ ; - ปีติต้องอาศัยปราโมทย์ ; - ปราโมทย์ต้องอาศัยศรัทธา ;
- และก็แปลกตรงที่ว่า ศรัทธานี้ต้องอาศัยความทุกข์.
ทีนี้ก็วกเข้าหาปฏิจจสมุปบาทว่า - ความทุกข์นั้นต้องอาศัยชาติ ; - ชาติ
ต้องอาศัยภพ ; - ภพต้องอาศัยอุปาทาน ; - อุปาทานต้องอาศัยตัณหา ; - ตัณหา
ต้องอาศัยเวทนา - เวทนาอาศัยผัสสะ ; - ผัสสะอาศัยอายตนะ ; - อายตนะ
อาศัยนามรูป ; - นามรูปอาศัยวิญญาณ ; วิญญาณอาศัยสังขาร ; - แล้วสังขาร
อาศัยอวิชชา ; แล้วก็จบกัน.
นี้แปลว่าการสิ้นอาสวะนั้น จะต้องได้อาศัยสิ่งที่เป็นปัจจัยลงมาตามลำดับ
ตามลำดับ ๆ ตามนัยที่กล่าวแล้วจนมาถึงศรัทธา. เรามีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ ศรัทธาในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์นี้ : นี้เรียกว่าเรามีศรัทธา. ทีนี้ลองย้อน
กลับขึ้นไปอีกทีว่า พอมีศรัทธาก็มีปราโมทย์ ; มีปราโมทย์ก็มีปีติ ; มีปีติก็มีปัสสัทธิ ;
มีปัสสัทธิก็มีสุข ; มีสุขก็มีสมาธิ ; มียถาภูตญาณทัสสนะ ; มีนิพพิทา ; วิราคะ ;
วิมุตติ ; แล้วมีญาณ ที่รู้ว่ามีวิมุตติแล้ว ; ก็มีความสิ้นไปแห่งอาสวะนั้น ; นี่แสดงว่า
มัน ต้องตั้งต้นที่ศรัทธา.
ทีนี้ ศรัทธาเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยทุกข์ นี้เป็นของแปลก. เข้าใจว่าคงไม่
เคยได้ยินกันสักกี่คนนักว่า ศรัทธาที่เรามีกันอยู่นั้น มันตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยความ
ทุกข์ : ถ้าไม่มีความทุกข์บีบคั้น เราไม่วิ่งมาหาพระพุทธเจ้า จริงไหม ? เราวิ่งมาหา
พระพุทธเจ้า เอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง, มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด,
นั้นเพราะว่าเราถูกความทุกข์บีบคั้น. ความเป็นอยู่ในชีวิตจึงกลายเป็นว่า ความทุกข์
เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา, ความทุกข์เลยกลายเป็นของดี เหมือนกับเพชรที่มีอยู่ในหัว
คางคก ที่แสนจะน่าเกลียด : ในความทุกข์กลับมีเพชร คือสิ่งที่บังคับให้เราวิ่งมาหา
พระพุทธเจ้า แล้วก็มีศรัทธา.
ในพระพุทธภาษิตนี้ตรัสความทุกข์เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา แล้วความทุกข์ก็มา
จาก อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป ฯลฯ คือปฏิจจสมุปบาท ; ก็แปลว่าเป็นการแสดง
ให้เห็นว่า อย่าเสียใจเลย อย่ากลัวเลย อย่าน้อยใจเลย : เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้
ถ้าเราทำให้ดี ความทุกข์นั้นจะกลายเป็นที่ตั้งของศรัทธา ; แล้วศรัทธาก็จะทำให้เจริญ
งอกงามในธรรมเรื่อย ๆ ไปจนถึงความสิ้นอาสวะ. การมองความทุกข์กันในแง่นี้ จะมี
อาการเหมือนกับว่า พบเพชรพลอยอยู่ในหัวคางคกที่แสนจะน่าเกลียด. แต่ทีนี้คน
ก็เกลียดกลัวกันเสียหมด ; คางคก ลูกหนู กิ้งกือ ไส้เดือนอะไรก็กลัวกันเสียหมด ;
แต่ถ้ามารู้ว่าความทุกข์นี้เป็นปัจจัยแห่งศรัทธา เป็นที่ตั้งที่เจริญงอกงามแห่งศรัทธาแล้ว
เรื่องก็เป็นอันว่า กลายเป็นสิ่งที่ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้.
เอาละนี่มันก็เลยเวลามามากแล้ว ; เรื่องก็มากประเด็น เชื่อว่าคงจำไม่ไหว
นอกจากจะไปทบทวนเอาใหม่จากเทปบันทุกเสียงนี้ ; แต่ผมสรุปความให้ได้ว่า เรื่อง
ปฏิจจสมุปบาททั้งหมดนี้ มันมีประโยชน์อย่างไร.
________________________________________________________________________________________________
ขอขอบคุณ ธรรมทานมูลนิธิ
ขอขอบคุณ พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์
ขอขอบคุณแหล่งที่มา :
หนังสือปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ พิมพ์ครั้งที่แปด ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หน้า ๑๐๖-๑๑๐