ใครต้องการสัทธา สัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย

กระทู้คำถาม
ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย (จึงควรต้องรู้ทุกขอริยสัจ อริยสัจข้อที่1 เพื่อสร้างสัทธา)
///
{๗๐}         เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกบนยอดภูเขา    น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม    ทำให้ซอกเขา    ลำธาร
และห้วยเต็มเปี่ยม    ซอกเขา    ลำธารและห้วยทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว    ทำหนองน้ำให้เต็ม
หนองน้ำเต็มเปี่ยมแล้ว    ทำบึงให้เต็ม    บึงเต็มแล้ว    ทำแม่น้ำน้อยให้เต็ม    แม่น้ำน้อย
เต็มแล้ว    ทำแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม    แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว    ก็ทำมหาสมุทรให้เต็ม    แม้ฉันใด
            ภิกษุทั้งหลาย    
สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย    
วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย    
นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย    
สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย    
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย    
เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย    
ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย    
ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย    
ชาติมีภพเป็นที่อาศัย    
ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย    
ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย    
ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย    
ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย    
ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย    
สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย    
สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย    
ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย    
นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย    
วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย    
วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย   
ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย    
ฉันนั้นเหมือนกัน
////
                  ๓. อุปนิสสูตร
               ว่าด้วยธรรมที่อาศัยกัน
   {๖๘} [๒๓]    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ...  เขตกรุงสาวัตถี
            “ภิกษุทั้งหลาย    เราเมื่อรู้เห็น    จึงกล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เราเมื่อไม่รู้เห็น    จึงไม่กล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
            เมื่อรู้เห็นอะไร    ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี    คือ    เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ว่า
            ‘รูปเป็นอย่างนี้    ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้    ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
            เวทนาเป็นอย่างนี้    ฯลฯ
            สัญญาเป็นอย่างนี้    ฯลฯ
            สังขารเป็นอย่างนี้    ฯลฯ
            วิญญาณเป็นอย่างนี้    ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้    ความดับแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้’
            เราเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แล    ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี
   {๖๙}         เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป๑    มีอยู่    ขยญาณ(ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป)    แม้ใด    ย่อมมี
เรากล่าวว่าขยญาณแม้นั้นมีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งขยญาณ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘วิมุตติ‘๒
            เรากล่าวว่าแม้วิมุตติก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งวิมุตติ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘วิราคะ‘๓
            เรากล่าวว่าแม้วิราคะก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งวิราคะ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘นิพพิทา‘๔
            เรากล่าวว่าแม้นิพพิทาก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งนิพพิทา    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ยถาภูตญาณทัสสนะ‘๕
            เรากล่าวว่าแม้ยถาภูตญาณทัสสนะก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไร
เล่าเป็นที่อาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สมาธิ’
            เรากล่าวว่าแม้สมาธิก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งสมาธิ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สุข’
            เรากล่าวว่าแม้สุขก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งสุข    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ปัสสัทธิ‘๖
            เรากล่าวว่าแม้ปัสสัทธิก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งปัสสัทธิ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ปีติ’
            เรากล่าวว่าแม้ปีติก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งปีติ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ปราโมทย์’
            เรากล่าวว่าแม้ปราโมทย์ก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งปราโมทย์    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ศรัทธา’
            เรากล่าวว่าแม้ศรัทธาก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งศรัทธา    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ทุกข์’
            เรากล่าวว่าแม้ทุกข์ก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งทุกข์    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ชาติ’
            เรากล่าวว่าแม้ชาติก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งชาติ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ภพ’
            เรากล่าวว่าแม้ภพก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัย
แห่งภพ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘อุปาทาน’
            เรากล่าวว่าแม้อุปาทานก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งอุปาทาน    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ตัณหา’
            เรากล่าวว่าแม้ตัณหาก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่
อาศัยแห่งตัณหา    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘เวทนา’    ฯลฯ
            สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ผัสสะ’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สฬายตนะ’  ...  สิ่งนั้นควร
เรียกว่า    ‘นามรูป’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘วิญญาณ’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สังขาร
ทั้งหลาย’
            เรากล่าวว่าแม้สังขารทั้งหลายก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่า
เป็นที่อาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘อวิชชา’
            ภิกษุทั้งหลาย    เพราะเหตุนี้    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย    วิญญาณมี
สังขารเป็นที่อาศัย    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย    ทุกข์
มีชาติเป็นที่อาศัย    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย    ปีติมี
ปราโมทย์เป็นที่อาศัย    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย    สมาธิ
มีสุขเป็นที่อาศัย    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย    นิพพิทามียถาภูต-
ญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย
ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย
   {๗๐}         เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกบนยอดภูเขา    น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม    ทำให้ซอกเขา    ลำธาร
และห้วยเต็มเปี่ยม    ซอกเขา    ลำธารและห้วยทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว    ทำหนองน้ำให้เต็ม
หนองน้ำเต็มเปี่ยมแล้ว    ทำบึงให้เต็ม    บึงเต็มแล้ว    ทำแม่น้ำน้อยให้เต็ม    แม่น้ำน้อย
เต็มแล้ว    ทำแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม    แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว    ก็ทำมหาสมุทรให้เต็ม    แม้ฉันใด
            ภิกษุทั้งหลาย    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย    วิญญาณมีสังขารเป็นที่
อาศัย    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย    ผัสสะมี
สฬายตนะเป็นที่อาศัย    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย    ทุกข์
มีชาติเป็นที่อาศัย    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย    ปีติมี
ปราโมทย์เป็นที่อาศัย    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย    สมาธิมีสุข
เป็นที่อาศัย    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะ
เป็นที่อาศัย    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย    ขยญาณมี
วิมุตติเป็นที่อาศัย    ฉันนั้นเหมือนกัน
               อุปนิสสูตรที่ ๓ จบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่