ผมเคยดูหนังเรื่อง The Prince Of Egypt ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องเดียวกับ The Ten Commandments ยังจำภาพที่ฟาร์โรห์เกณฑ์แรงงานทาสฮิบรูมาสร้างอาณาจักรตัวเองให้ยิ่งใหญ่ เหมือนยิ่งใหญ่จากหยาดเหงื่อหรือกองเลือดของคนชั้นแรงงาน จำได้ว่าหนังนำเสนอภาพทาสที่ตรากตรำทำงาน ถูกเฆี่ยน แก่แค่ไหนก็ต้องทำ ไม่แบ่งชายหญิง ขณะฟาโรห์ที่อยู่สุขสบาย อยากกินอะไรได้กิน มีคนพัดวี แต่ถ้ามองในแง่ศาสนา ก็คือการท้าทายพระเจ้า เพราะฟาโรห์ขนานนามตัวเองว่า เป็นดาราแห่งอรุณรุ่งและสนธยา ท้ายที่สุดเลยโดนภัยธรรมชาติ (ในนามของพระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่ง) เอาคืนและพรากชีวิตคนรักไป
พอมาในยุคปัจจุบัน พอเริ่มรู้จักทุนนิยม รู้เรื่องหุ้น ระบบเศรษฐกิจต่างๆ ที่ตึกที่ผมทำงานอยู่เป็นย่านที่อสังหาราคานิยมสร้างกัน หลังจากช่วงพัก บางครั้งการได้ออกมาเดินเล่นรอบตึก ก็จะเห็นตึกข้างๆ ที่กำลังสร้างอยู่ บนชั้นสูงเราจึงมองเห็นคนงานตามจุดต่างๆ กระจุกตัว บ้างอยู่บนนั่งร้าน บ้างก็กำลังผสมปูน ก่อสร้างอะไรไป
แล้วจู่ๆ มันก็ทำให้นึกถึงเรื่องแรงงานในสมัยอียิปต์ แต่ด้วยสถานะคงไม่เหมือนกันซะทีเดียว คนฮิบรูที่ทำงานเป็นทาสให้ฟาโรห์นั้นถูกทารุณ ละเมิดความเป็นมนุษย์ ไม่มีชั่วโมงการทำงานที่กำหนด แต่ในภาพรวม มันต่างจากยุคสมัยนี้ไหม เพราะเมื่อพิจารณาจากตัวเองเป็นที่ตั้ง เราก็ทำเงินได้มากกว่าพวกเขา ไม่ต้องไปตากแดด และถ้าหากเราเป็นบุคคลที่ทำอาชีพในด้านอสังหา ย่อมรู้ดีว่า เราสามารถทำกำไรได้เยอะกว่าโดยไม่ต้องไปออกแรง แถมไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการฉาบปูน หรือความทนแดดทนร้อนได้แบบเขา
คิดดูแล้ว มันก็เป็นโลกที่ไม่แฟร์เท่าไหร่อยู่ดี ไม่ต่างจากยุคอียิปต์โบราณ ที่มีพวกโนเบิลและคนงาน ยุคเราก็มีพวกไวท์คอลาร์กับแรงงานระดับล่าง ซึ่งอาจมาจากภูมิภาคในชนบทหรือประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าประเทศเรา
ถึงจุดหนึ่งมันก็น่าจะถามตัวเองเหมือนกันนะครับว่า เราเป็นมนุษย์ผู้อยู่ในยุคอารยะแล้วจริงเหรอ แต่นิยามของความอารยะของแต่ละคนก็อาจจะไม่เหมือนกันอีก ถ้ามองความอารยะว่า มันทำให้เรามีจารีตในการกินดื่ม หรือถกเถียงทางปัญญากับผู้มีการศึกษาด้วยกัน ชีวิตในเลเวลคนก่อสร้างมันจะรวมเป็นความอารยะได้ด้วยไหม แต่ถ้าเราจะนิยามอารยะ ความเป็นมนุษย์ที่ให้เกียรติ ทุกคนได้รับการปฎิบัติได้อย่างเท่าเทียม ทั้งการมองและการพูดหรือการกระทำ มันคงอาจจะยังไม่ใช่แบบที่ประเทศไทยเป็นตอนนี้หรือเปล่า
แต่ถึงแม้ประเทศพัฒนา ที่เขาว่ากันว่า คนงานก่อสร้างเงินเดือนสูง แถวยุโรปหรือญี่ปุ่น แต่การเอาเงินเป็นตัวชี้วัดก็แค่ปัจจัยหนึ่ง มันน่าจะเป็นคุณภาพชีวิตและงานที่คนในประเทศควรมีเท่าๆ กันไหมครับ ไม่ว่าคุณจะทำอาชีพเป็นพนักงานออฟฟิศ พนักงานร้านสะดวกซื้อ วินมอไซค์ หรือแม่ค้าขายส้มตำ
เวลาเห็นคนงานก่อสร้าง แล้วนึกย้อนไปสมัยอียิปต์โบราณ แสดงสังคมเราไม่ได้พัฒนาขึ้นเลยหรือมันควรจะเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว
พอมาในยุคปัจจุบัน พอเริ่มรู้จักทุนนิยม รู้เรื่องหุ้น ระบบเศรษฐกิจต่างๆ ที่ตึกที่ผมทำงานอยู่เป็นย่านที่อสังหาราคานิยมสร้างกัน หลังจากช่วงพัก บางครั้งการได้ออกมาเดินเล่นรอบตึก ก็จะเห็นตึกข้างๆ ที่กำลังสร้างอยู่ บนชั้นสูงเราจึงมองเห็นคนงานตามจุดต่างๆ กระจุกตัว บ้างอยู่บนนั่งร้าน บ้างก็กำลังผสมปูน ก่อสร้างอะไรไป
แล้วจู่ๆ มันก็ทำให้นึกถึงเรื่องแรงงานในสมัยอียิปต์ แต่ด้วยสถานะคงไม่เหมือนกันซะทีเดียว คนฮิบรูที่ทำงานเป็นทาสให้ฟาโรห์นั้นถูกทารุณ ละเมิดความเป็นมนุษย์ ไม่มีชั่วโมงการทำงานที่กำหนด แต่ในภาพรวม มันต่างจากยุคสมัยนี้ไหม เพราะเมื่อพิจารณาจากตัวเองเป็นที่ตั้ง เราก็ทำเงินได้มากกว่าพวกเขา ไม่ต้องไปตากแดด และถ้าหากเราเป็นบุคคลที่ทำอาชีพในด้านอสังหา ย่อมรู้ดีว่า เราสามารถทำกำไรได้เยอะกว่าโดยไม่ต้องไปออกแรง แถมไม่จำเป็นต้องมีทักษะในการฉาบปูน หรือความทนแดดทนร้อนได้แบบเขา
คิดดูแล้ว มันก็เป็นโลกที่ไม่แฟร์เท่าไหร่อยู่ดี ไม่ต่างจากยุคอียิปต์โบราณ ที่มีพวกโนเบิลและคนงาน ยุคเราก็มีพวกไวท์คอลาร์กับแรงงานระดับล่าง ซึ่งอาจมาจากภูมิภาคในชนบทหรือประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าประเทศเรา
ถึงจุดหนึ่งมันก็น่าจะถามตัวเองเหมือนกันนะครับว่า เราเป็นมนุษย์ผู้อยู่ในยุคอารยะแล้วจริงเหรอ แต่นิยามของความอารยะของแต่ละคนก็อาจจะไม่เหมือนกันอีก ถ้ามองความอารยะว่า มันทำให้เรามีจารีตในการกินดื่ม หรือถกเถียงทางปัญญากับผู้มีการศึกษาด้วยกัน ชีวิตในเลเวลคนก่อสร้างมันจะรวมเป็นความอารยะได้ด้วยไหม แต่ถ้าเราจะนิยามอารยะ ความเป็นมนุษย์ที่ให้เกียรติ ทุกคนได้รับการปฎิบัติได้อย่างเท่าเทียม ทั้งการมองและการพูดหรือการกระทำ มันคงอาจจะยังไม่ใช่แบบที่ประเทศไทยเป็นตอนนี้หรือเปล่า
แต่ถึงแม้ประเทศพัฒนา ที่เขาว่ากันว่า คนงานก่อสร้างเงินเดือนสูง แถวยุโรปหรือญี่ปุ่น แต่การเอาเงินเป็นตัวชี้วัดก็แค่ปัจจัยหนึ่ง มันน่าจะเป็นคุณภาพชีวิตและงานที่คนในประเทศควรมีเท่าๆ กันไหมครับ ไม่ว่าคุณจะทำอาชีพเป็นพนักงานออฟฟิศ พนักงานร้านสะดวกซื้อ วินมอไซค์ หรือแม่ค้าขายส้มตำ