เบื้องหลังความสำเร็จ การสร้างอุโมงค์ขุนตาน มรดกทางวิศวกรรมและแรงงานคนในอดีต
อุโมงค์ขุนตาน ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดลำปางและลำพูน ถือเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ด้วยความยาว ๑,๓๕๒.๑๐ เมตร การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีเป้าหมายเชื่อมการเดินรถไฟสายเหนือจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่
กระบวนการก่อสร้าง
การขุดเจาะอุโมงค์ต้องใช้แรงงานคนทั้งหมด เริ่มจากการเจาะรูด้วยสว่านและตอกสกัดด้วยแรงคน เพื่อนำดินระเบิดไดนาไมต์ฝังเข้าไป จากนั้นจึงใช้แรงงานคนในการขนดินและหินออกมา การก่อสร้างเริ่มจากปลายอุโมงค์ทั้งสองฝั่ง จนบรรจบกันตรงกลาง ใช้เวลา ๘ ปี ก่อนจะใช้เวลาอีก ๓ ปีในการผูกเหล็ก เทคอนกรีต ทำผนังและหลังคาเพื่อความแข็งแรง
เบื้องหลังแรงงานและอุปสรรค
แรงงาน การก่อสร้างใช้งานแรงงานจากหลากหลายพื้นที่ เช่น ชาวจีน ชาวอีสาน และชาวไทยใหญ่ โดยคนจีนทำงานเกี่ยวกับดิน ส่วนการขุดเจาะอุโมงค์เป็นหน้าที่ของชาวอีสาน เนื่องจากคนจีนมีความเชื่อว่าภายในอุโมงค์มีภูตผีปีศาจ ส่วนชาวไทยใหญ่รับหน้าที่ผูกเหล็กและทำผนัง
อุปสรรค แรงงานต้องเผชิญกับโรคมาลาเรีย โรคปอดจากฝุ่นหิน และอันตรายจากสัตว์ป่า เช่น เสือที่มักมาคาบคนงานและม้าไปกิน
ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่
หลังจากใช้เวลาสร้างนานถึง ๑๑ ปี อุโมงค์ขุนตานสำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๖๑ และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๕ นับเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่เชื่อมต่อการเดินทางสายเหนือ และเป็นมรดกทางวิศวกรรมที่ทรงคุณค่าจนถึงปัจจุบัน
ขอขอบคุณ : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ , การรถไฟแห่งประเทศไทย , Yoong Ja
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0iZRAMgL3nPxntRx3ZEcAxRySqioLaAHXjkQxbqJsLk8haVdQr5raN2G3owB45Dg4l&id=100057718526214&post_id=100057718526214_pfbid0iZRAMgL3nPxntRx3ZEcAxRySqioLaAHXjkQxbqJsLk8haVdQr5raN2G3owB45Dg4l&mibextid=NOb6eG
เบื้องหลังความสำเร็จ การสร้างอุโมงค์ขุนตาน มรดกทางวิศวกรรมและแรงงานคนในอดีต
อุโมงค์ขุนตาน ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดลำปางและลำพูน ถือเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ด้วยความยาว ๑,๓๕๒.๑๐ เมตร การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีเป้าหมายเชื่อมการเดินรถไฟสายเหนือจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่
กระบวนการก่อสร้าง
การขุดเจาะอุโมงค์ต้องใช้แรงงานคนทั้งหมด เริ่มจากการเจาะรูด้วยสว่านและตอกสกัดด้วยแรงคน เพื่อนำดินระเบิดไดนาไมต์ฝังเข้าไป จากนั้นจึงใช้แรงงานคนในการขนดินและหินออกมา การก่อสร้างเริ่มจากปลายอุโมงค์ทั้งสองฝั่ง จนบรรจบกันตรงกลาง ใช้เวลา ๘ ปี ก่อนจะใช้เวลาอีก ๓ ปีในการผูกเหล็ก เทคอนกรีต ทำผนังและหลังคาเพื่อความแข็งแรง
เบื้องหลังแรงงานและอุปสรรค
แรงงาน การก่อสร้างใช้งานแรงงานจากหลากหลายพื้นที่ เช่น ชาวจีน ชาวอีสาน และชาวไทยใหญ่ โดยคนจีนทำงานเกี่ยวกับดิน ส่วนการขุดเจาะอุโมงค์เป็นหน้าที่ของชาวอีสาน เนื่องจากคนจีนมีความเชื่อว่าภายในอุโมงค์มีภูตผีปีศาจ ส่วนชาวไทยใหญ่รับหน้าที่ผูกเหล็กและทำผนัง
อุปสรรค แรงงานต้องเผชิญกับโรคมาลาเรีย โรคปอดจากฝุ่นหิน และอันตรายจากสัตว์ป่า เช่น เสือที่มักมาคาบคนงานและม้าไปกิน
ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่
หลังจากใช้เวลาสร้างนานถึง ๑๑ ปี อุโมงค์ขุนตานสำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๖๑ และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๕ นับเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่เชื่อมต่อการเดินทางสายเหนือ และเป็นมรดกทางวิศวกรรมที่ทรงคุณค่าจนถึงปัจจุบัน
ขอขอบคุณ : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ , การรถไฟแห่งประเทศไทย , Yoong Ja
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0iZRAMgL3nPxntRx3ZEcAxRySqioLaAHXjkQxbqJsLk8haVdQr5raN2G3owB45Dg4l&id=100057718526214&post_id=100057718526214_pfbid0iZRAMgL3nPxntRx3ZEcAxRySqioLaAHXjkQxbqJsLk8haVdQr5raN2G3owB45Dg4l&mibextid=NOb6eG