หลังจากที่ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ถ้ำขุนตาน เพื่อที่จะใช้ในการเล่าให้ลูกชายฟังในทริปหน้าที่กำลังวางแผนจะไปเที่ยว ถึงความยากลำบากในการขุดอุโมงค์ในอดีต โดยได้อ้างอิงจากคลิปด้านล่างนี้
ทำให้เกิดความสงสัยว่าวิศวกรสมัยก่อนใช้วิธีอะไรในการกำหนดทิศทางการขุดอุโมงค์ทั้งสองด้านให้มาบรรจบกันพอดีที่ตรงกลางตลอดความยาวอุโมงค์มากกว่า 1.35 กิโลเมตร โดยปากอุโมงค์ทั้งสองด้านยังมีความสูงต่างกันถึง 14 เมตร เพื่อให้น้ำภายในสามารถไหลออกมาได้ไม่เกิดการท่วมขัง
ต้องขอบอกก่อนว่าสมัยนั้นไม่มีดาวเทียมที่สามารถกำหนดพิกัดได้อย่างถูกต้อง วิศวกรต้องหาเครื่องมืออย่างง่ายที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดทิศทางในการเจาะแทน
ตามคลิปที่อ้างอิง นาทีที่ 4.33 ได้กล่าวไว้น้อยมากโดยมีเนื่อหาระบุเพียงว่ามีการสร้างหอเล็งที่ด้านบนภูเขาและปักหมุดไว้ทั้งสองด้านของปากทางเข้าอุโมงค์
จากรูปนี้ผมได้สร้างแบบจำลองขึ้นมาเพื่อหาแนวทางในการคำนวน เผื่อใครต้องการหาวิธีในการเจาะ
ปล ผมตั้งสมมุติฐานเองว่าที่หมุดน่าจะมีกระจกเพื่อใช้สำหรับหักเหทิศทางแสงเพื่อให้ตำแหน่งผู้สังเกตที่หอเล็งสามารถมองเห็นแนวอุโมงค์ที่จะเจาะได้
ขอจบการวิเคราะห์ไว้แค่นี้นะครับ ปล่อยให้น้อง ๆ มาหัดคำนวณกันต่อ
ทฤษฎี วิธีการเจาะถ้ำขุนตานในอดีต (ไม่มีอ้างอิง)
ทำให้เกิดความสงสัยว่าวิศวกรสมัยก่อนใช้วิธีอะไรในการกำหนดทิศทางการขุดอุโมงค์ทั้งสองด้านให้มาบรรจบกันพอดีที่ตรงกลางตลอดความยาวอุโมงค์มากกว่า 1.35 กิโลเมตร โดยปากอุโมงค์ทั้งสองด้านยังมีความสูงต่างกันถึง 14 เมตร เพื่อให้น้ำภายในสามารถไหลออกมาได้ไม่เกิดการท่วมขัง
ต้องขอบอกก่อนว่าสมัยนั้นไม่มีดาวเทียมที่สามารถกำหนดพิกัดได้อย่างถูกต้อง วิศวกรต้องหาเครื่องมืออย่างง่ายที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดทิศทางในการเจาะแทน
ตามคลิปที่อ้างอิง นาทีที่ 4.33 ได้กล่าวไว้น้อยมากโดยมีเนื่อหาระบุเพียงว่ามีการสร้างหอเล็งที่ด้านบนภูเขาและปักหมุดไว้ทั้งสองด้านของปากทางเข้าอุโมงค์
จากรูปนี้ผมได้สร้างแบบจำลองขึ้นมาเพื่อหาแนวทางในการคำนวน เผื่อใครต้องการหาวิธีในการเจาะ
ปล ผมตั้งสมมุติฐานเองว่าที่หมุดน่าจะมีกระจกเพื่อใช้สำหรับหักเหทิศทางแสงเพื่อให้ตำแหน่งผู้สังเกตที่หอเล็งสามารถมองเห็นแนวอุโมงค์ที่จะเจาะได้
ขอจบการวิเคราะห์ไว้แค่นี้นะครับ ปล่อยให้น้อง ๆ มาหัดคำนวณกันต่อ