สวัสดีค่า กระทู้ที่แล้วนั่งรถไฟไปเชียงใหม่แล้วเนอะ แม่อ้อมกับลูกๆก็เลยแวะมาเดินเล่นที่
สถานีขุนตานค่ะ ซึ่งสถานีขุนตานตั้งอยู่ที่ หมู่ 8 บ้านขุนตาน ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ค่ะ
ซึ่งหากนั่งรถไฟจากกรุงเทพ ไป เชียงใหม่ หรือ เชียงใหม่กลับกรุงเทพ รถไฟจะมีการจอดแวะที่สถานีขุนตานแปปนึงค่ะ ไม่เกิน 5 นาที
ซึ่งถ้าใครอยากที่จะเดินทางมาชมอุโมงค์ขุนตาน อุโมงค์รถไฟแห่งแรก และ ยาวที่สุดในประเทศไทยแล้วละก้แม่อ้อมอ้อมแนะนำให้นั่งรถไฟมาเที่ยวต่างหากเลยนะคะ คือมันสวยมากค่ะ หยุดรถแค่ 5 นาที ไม่พอชมความงามค่ะ เอาล่ะ ตามแม่อ้อมและแก๊งหมีหมีมาเลยค่ะ
ข้อมูลค่ะ
ดอยขุนตานเป็นภูเขาสูง 1,348 เมตรอยู่ในเทือกเขาผีปันน้ำส่วนตะวันตก ทอดอยู่ระหว่างลำปางและลำพูน เป็นสันเขาที่แบ่งน้ำไหลลงสู่ แม่น้ำปิง วัง และโขง หากจะเดินทางไปเชียงใหม่ ถ้ามาทางรถไฟก็จะต้องลอดถ้ำขุนตาน เมื่อพ้นปากถ้ำจะเห็นศาลเจ้าพ่อขุนตานอนู่ด้านขวาของขบวนรถ ถ้าเดินทางมาโดยรถยนตร์ ผ่านลำปางข้ามดอยสูงมาลงลำพูน เชียงใหม่ก็จะเห็นศาลเจ้าพ่อขุนตานอยู่ทางซ้ายมือเช่นเดียวกัน
“เจ้าพ่อขุนตาน” คือใคร มีความเป็นมาอย่างไร มีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้
“เจ้าพ่อขุนตาน” มีชื่อว่า พญาเบิก เป็นลูกของพญายี่บา เจ้าผู้ครองนครหริภุญไชย พญาเบิกเป็นเจ้าเมืองเขลางค์นคร และเมืองเวียงตาน ซึ่งก็คือ นครลำปางและอำเภอห้างฉัตรในปัจจุบัน
ในปี 1838 พญามังราย ยกทัพมาตีเมืองหริภุญไชยได้สำเร็จ เพราะมีขุนศึกชาวลัวะชื่อ อ้ายฟ้า เป็นไส้ศึก
พญายี่บา จึงหนีไปหาพญาเบิก ที่เขลางค์นคร เพื่อสะสมไพร่พลกลับไปตีเมืองหริภุญไชยคืน โดยได้ไปสร้างเมืองต้านข้าศึกไว้ในเขตอำเภอห้างฉัตรในปัจจุบัน ต่อมา จึงเรียกว่า เวียงต้านหรือ เวียงตาน ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองร้าง เพื่อฝึกรี้พลให้เข้มแข็งเตรียมสู้กับกองทัพพญามังรายโดยใช้เวลานานถึง 14 ปี ใช้ทิวเขาสูงยาวเหยียดเป็นแนววางกำลังสะกัดทัพพญามังราย เรียกกันว่า “ดอยขุนต้าน” แล้วกลายมาเป็นดอยขุนตานในปัจจุบัน
เมื่อไพร่พลพร้อมรบ พญายี่บาก็ให้พญาเบิกทำทัพใหญ่มาตีเมืองหริภุญไชย ทว่าทางฝ่ายพญามังรายเข้มแข็งกว่าจัดทัพใหญ่ไว้รอรับข้าศึก ทัพพญาเบิกจึงถูกทัพพันธมิตรฝ่ายเชียงใหม่ มี ทัพเชียงราย ฝาง เทิง เชียงของ เป็นต้น เข้าโจมตีจนแตกพ่าย สูญเสียรี้พลไปเป็นจำนวนมากพญาเบิกจึงนำไพร่พลที่เหลือหนีไปจนถึงบ้านแม่ต้าน เขตลำปาง แต่ก็ถูกทัพฝ่ายเชียงใหม่ติดตามมาล้อม และไล่โจมตีทหารที่เหลือจนย่อยยับ จับตัวพญาเบิกฆ่าเสีย ณ ที่นั้น
เมื่อพญายี่บาทราบว่า ลูกชายตายแล้ว และเห็นว่าคงจะไม่อาจรักษาเมืองลำปางเอาไว้ได้ จึงหนีไปพิษณุโลก ซึ่งสมัยนั้นเป็นแคว้นสุโขทัย
วีรกรรม ความกล้าหาญ ความเป็นนักรบ และความกตัญญูของพญาเบิก เป็นที่กล่าวขานกันเรื่อยมา จนผู้คนนับถือเป็นเจ้าพ่อขุนตาน และสร้างศาลขึ้นสักการะดังกล่าว
ตรงตำแหน่งของดอยขุนตานเป็นดอยที่ขวางทางรถไฟสายเหนือ ในการสร้างทางรถไฟจึงต้องมีการขุดเจาะอุโมงค์ลอดภูเขา โดยทางการได้ว่าจ้างวิศวกรชาวเยอรมันมาดำเนินการ การขุดอุโมงค์นี้ยาวนานถึง 11 ปี และมีความยากลำบากนานัปการ เนื่องจากเดิมทีที่ตรงนั้นเป็นป่าดงดิบทั้งคนงานทั้งวิศวกรล้วนป่วยด้วยไข้มาเลเรีย แถมมีการใช้วัตถุระเบิด คนงานต้องผจญทั้งหินหล่นทับ มีทั้งเรื่องการระบายน้ำโดยเฉพาะเวลาน้ำหลาก จึงมีคนเสียชีวิตมากมาย แต่ที่รอดมาได้แบบปาฏิหารย์ก็มี จนในที่สุดอุโมงค์ก็ขุดสำเร็จและใช้งานมาตราบจนทุกวันนี้
ชาวบ้านมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการขุดอุโมงค์มากมาย และล้วนเชื่อกันว่าการขุดอุโมงค์สำเร็จได้ก็ด้วยอภินิหารของเจ้าพ่อขุนตานนั่นเอง
ที่มา :
https://www.matichonweekly.com/column/article_112403
แม่อ้อมกับลูกหมีสามตัว ตอน พาเดินเล่น ชมความงามอุโมงค์รถไฟถ้ำขุนตาน
“เจ้าพ่อขุนตาน” คือใคร มีความเป็นมาอย่างไร มีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้
“เจ้าพ่อขุนตาน” มีชื่อว่า พญาเบิก เป็นลูกของพญายี่บา เจ้าผู้ครองนครหริภุญไชย พญาเบิกเป็นเจ้าเมืองเขลางค์นคร และเมืองเวียงตาน ซึ่งก็คือ นครลำปางและอำเภอห้างฉัตรในปัจจุบัน
ในปี 1838 พญามังราย ยกทัพมาตีเมืองหริภุญไชยได้สำเร็จ เพราะมีขุนศึกชาวลัวะชื่อ อ้ายฟ้า เป็นไส้ศึก
พญายี่บา จึงหนีไปหาพญาเบิก ที่เขลางค์นคร เพื่อสะสมไพร่พลกลับไปตีเมืองหริภุญไชยคืน โดยได้ไปสร้างเมืองต้านข้าศึกไว้ในเขตอำเภอห้างฉัตรในปัจจุบัน ต่อมา จึงเรียกว่า เวียงต้านหรือ เวียงตาน ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองร้าง เพื่อฝึกรี้พลให้เข้มแข็งเตรียมสู้กับกองทัพพญามังรายโดยใช้เวลานานถึง 14 ปี ใช้ทิวเขาสูงยาวเหยียดเป็นแนววางกำลังสะกัดทัพพญามังราย เรียกกันว่า “ดอยขุนต้าน” แล้วกลายมาเป็นดอยขุนตานในปัจจุบัน
เมื่อไพร่พลพร้อมรบ พญายี่บาก็ให้พญาเบิกทำทัพใหญ่มาตีเมืองหริภุญไชย ทว่าทางฝ่ายพญามังรายเข้มแข็งกว่าจัดทัพใหญ่ไว้รอรับข้าศึก ทัพพญาเบิกจึงถูกทัพพันธมิตรฝ่ายเชียงใหม่ มี ทัพเชียงราย ฝาง เทิง เชียงของ เป็นต้น เข้าโจมตีจนแตกพ่าย สูญเสียรี้พลไปเป็นจำนวนมากพญาเบิกจึงนำไพร่พลที่เหลือหนีไปจนถึงบ้านแม่ต้าน เขตลำปาง แต่ก็ถูกทัพฝ่ายเชียงใหม่ติดตามมาล้อม และไล่โจมตีทหารที่เหลือจนย่อยยับ จับตัวพญาเบิกฆ่าเสีย ณ ที่นั้น
เมื่อพญายี่บาทราบว่า ลูกชายตายแล้ว และเห็นว่าคงจะไม่อาจรักษาเมืองลำปางเอาไว้ได้ จึงหนีไปพิษณุโลก ซึ่งสมัยนั้นเป็นแคว้นสุโขทัย
วีรกรรม ความกล้าหาญ ความเป็นนักรบ และความกตัญญูของพญาเบิก เป็นที่กล่าวขานกันเรื่อยมา จนผู้คนนับถือเป็นเจ้าพ่อขุนตาน และสร้างศาลขึ้นสักการะดังกล่าว
ตรงตำแหน่งของดอยขุนตานเป็นดอยที่ขวางทางรถไฟสายเหนือ ในการสร้างทางรถไฟจึงต้องมีการขุดเจาะอุโมงค์ลอดภูเขา โดยทางการได้ว่าจ้างวิศวกรชาวเยอรมันมาดำเนินการ การขุดอุโมงค์นี้ยาวนานถึง 11 ปี และมีความยากลำบากนานัปการ เนื่องจากเดิมทีที่ตรงนั้นเป็นป่าดงดิบทั้งคนงานทั้งวิศวกรล้วนป่วยด้วยไข้มาเลเรีย แถมมีการใช้วัตถุระเบิด คนงานต้องผจญทั้งหินหล่นทับ มีทั้งเรื่องการระบายน้ำโดยเฉพาะเวลาน้ำหลาก จึงมีคนเสียชีวิตมากมาย แต่ที่รอดมาได้แบบปาฏิหารย์ก็มี จนในที่สุดอุโมงค์ก็ขุดสำเร็จและใช้งานมาตราบจนทุกวันนี้
ชาวบ้านมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการขุดอุโมงค์มากมาย และล้วนเชื่อกันว่าการขุดอุโมงค์สำเร็จได้ก็ด้วยอภินิหารของเจ้าพ่อขุนตานนั่นเอง
ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_112403