ทุกข์เกิดเพราะมีเหตุปัจจัย
อานนท์ ! คราวหนึ่งเราอยู่ที่ป่าไผ่ เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์ นี่แหละ,
ครั้งนั้น เวลาเช้า เราครองจีวร ถือบาตร เพื่อไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
คิดขึ้นมาว่า ยังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
ถ้าไฉน เราเข้าไปสู่อารามของปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นเถิด.
เราได้เข้าไปสู่อารามของปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น
กระทำสัมโมทนีกถาแก่กันและกัน นั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
อานนท์ ! ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะเราผู้นั่งแล้ว อย่างนี้ว่า
"ท่านโคตมะ ! มีสมณพราหมณ์บางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง,
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้,
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้.
ในเรื่องนี้ ท่านโคตมะ ได้กล่าวสอนอยู่อย่างไร?
และพวกเรากล่าวอยู่อย่างไร? จึงจะเป็นอันกล่าวตามคำที่ท่านโคตมะกล่าวแล้ว,
ไม่เป็นการกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง
และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติเตียนไปด้วย?" ดังนี้.
อานนท์ ! เราได้กล่าวกะปริพาชกทั้งหลาย เหล่านั้นว่า
ปริพาชกทั้งหลาย !
เรากล่าวว่า ทุกข์ อาศัยเหตุปัจจัย จึงเกิดขึ้น.
ทุกข์ อาศัยปัจจัย อะไรเล่า ?
อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ.
ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าวแล้ว.
นิทาน. สํ. ๑๖/๔๑/๗๖
เหตุเกิดของทุกข์
ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตร เมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้น เช่นนั้น, ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ :
อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ (ปฏิจสมุปปันธรรม).
ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ อะไรเล่า ?
ความทุกข์นั้น อาศัย ปัจจัย คือ ผัสสะ, ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง:
แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.
อานนท์ !
ในบรรดาสมณะพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ทั้งสี่พวกนั้น :
สมณะพรหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอง,
แม้ความทุกข์ที่เขาบัญญัตินั้น ก็ต้องอาศัย ผัสสะ จึงเกิดขึ้นได้
สมณะพรหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้,
แม้ความทุกข์ที่เขาบัญญัตินั้น ก็ต้องอาศัยผัสสะ จึงเกิดขึ้นได้
สมณะพรหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเองก็มี ผู้อื่นทำให้ก็มี,
แม้ความทุกข์ที่เขาบัญญัตินั้น ก็ต้องอาศัยผัสสะ จึงเกิดขึ้นได้
สมณะพรหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตนทำเองและทั้งไม่ใช่ผู้อื่นทำให้,
แม้ความทุกข์ที่เขาบัญญัตินั้น ก็ต้องอาศัยผัสสะ จึงเกิดขึ้นได้.
นิทาน. สํ. ๑๖/๔๐/๗๕
* รวบ รวม ธรรมะ แก้ ความ ทุกข์ ใจ ...
อานนท์ ! คราวหนึ่งเราอยู่ที่ป่าไผ่ เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์ นี่แหละ,
ครั้งนั้น เวลาเช้า เราครองจีวร ถือบาตร เพื่อไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
คิดขึ้นมาว่า ยังเช้าเกินไปสำหรับการบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
ถ้าไฉน เราเข้าไปสู่อารามของปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นเถิด.
เราได้เข้าไปสู่อารามของปริพาชก ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น
กระทำสัมโมทนีกถาแก่กันและกัน นั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
อานนท์ ! ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะเราผู้นั่งแล้ว อย่างนี้ว่า
"ท่านโคตมะ ! มีสมณพราหมณ์บางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง,
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้,
มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า ไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้.
ในเรื่องนี้ ท่านโคตมะ ได้กล่าวสอนอยู่อย่างไร?
และพวกเรากล่าวอยู่อย่างไร? จึงจะเป็นอันกล่าวตามคำที่ท่านโคตมะกล่าวแล้ว,
ไม่เป็นการกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง
และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติเตียนไปด้วย?" ดังนี้.
อานนท์ ! เราได้กล่าวกะปริพาชกทั้งหลาย เหล่านั้นว่า
ปริพาชกทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ทุกข์ อาศัยเหตุปัจจัย จึงเกิดขึ้น.
ทุกข์ อาศัยปัจจัย อะไรเล่า ? อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ.
ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าวแล้ว.
นิทาน. สํ. ๑๖/๔๑/๗๖
เหตุเกิดของทุกข์
ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตร เมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้น เช่นนั้น, ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ :
อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ (ปฏิจสมุปปันธรรม).
ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ อะไรเล่า ?
ความทุกข์นั้น อาศัย ปัจจัย คือ ผัสสะ, ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง:
แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.
อานนท์ ! ในบรรดาสมณะพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ทั้งสี่พวกนั้น :
สมณะพรหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอง,
แม้ความทุกข์ที่เขาบัญญัตินั้น ก็ต้องอาศัย ผัสสะ จึงเกิดขึ้นได้
สมณะพรหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้,
แม้ความทุกข์ที่เขาบัญญัตินั้น ก็ต้องอาศัยผัสสะ จึงเกิดขึ้นได้
สมณะพรหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเองก็มี ผู้อื่นทำให้ก็มี,
แม้ความทุกข์ที่เขาบัญญัตินั้น ก็ต้องอาศัยผัสสะ จึงเกิดขึ้นได้
สมณะพรหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตนทำเองและทั้งไม่ใช่ผู้อื่นทำให้,
แม้ความทุกข์ที่เขาบัญญัตินั้น ก็ต้องอาศัยผัสสะ จึงเกิดขึ้นได้.
นิทาน. สํ. ๑๖/๔๐/๗๕