ผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือผู้ประมาท, ผู้สำรวมอินทรีย์คือผู้ไม่ประมาท
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุไม่สำรวมระวัง ซึ่งอินทรีย์คือตาอยู่
จิตย่อมเกลือกกลั้วในรูปทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งการรู้สึกด้วยตา;
เมื่อภิกษุนั้นมีจิตเกลือกกลั้วแล้ว ปราโมทย์ ย่อมไม่มี;
เมื่อ ปราโมทย์ ไม่มี, ปีติ ก็ไม่มี;
เมื่อ ปีติ ไม่มี, ปัสสัทธิ ก็ไม่มี;
เมื่อ ปัสสัทธิ ไม่มี, ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์;
เมื่อ มีทุกข์, จิตย่อมไม่ตั้งมั่น;
เมื่อ จิตไม่ตั้งมั่น, ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ;
เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ
ภิกษุนั้น ย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่าเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท โดยแท้.
( ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีนัยยะอย่างเดียวกัน )
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุสำรวมระวัง ซึ่งอินทรีย์คือตาอยู่
จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในรูปทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งการรู้สึกด้วยตา;
เมื่อภิกษุนั้น ไม่มีจิตเกลือกกลั้วแล้ว ปราโมทย์ ย่อมเกิด;
เมื่อ ปราโมทย์ แล้ว ปีติ ย่อมเกิด;
เมื่อใจมี ปีติ ปัสสัทธิ ย่อมมี;
เมื่อมี ปัสสัทธิ ภิกษุนั้น ย่อมอยู่เป็นสุข;
เมื่อ มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น;
เมื่อ จิตตั้งมั่น แล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ;
เพราะธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ
ภิกษุนั้นย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่าเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้.
(ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีนัยยะอย่างเดียวกัน)
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท.
สฬา. สํ. ๑๘/๙๗/๑๔๓-๔.
ความไม่ประมาท เป็นยอดแห่งกุศลธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีมากเท้าก็ดี
มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็หามิได้ไม่มีสัญญาก็หามิได้ก็ดี, มีประมาณเท่าใด;
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดาสัตว์เหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งบรรดามี
กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง.
ความไม่ประมาท ย่อมปรากฏว่าเป็นเลิศกว่าบรรดากุศลธรรมเหล่านั้น; ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังได้ คือ เธอจักเจริญ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๒-๖๗/๒๕๔-๒๖๓.
( การที่ความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งกุศลธรรมทั้งปวง
ในสูตรนี้ ทรงอุปมาด้วยพระตถาคตเป็นสัตว์เลิศกว่าสัตว์ทั้งปวง.
ส่วนในสูตรอื่นอีกมากแห่ง;
ทรงอุปมาด้วย รอยเท้าช้างเลิศคือใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย ยอดเรือนเลิศคืออยู่เหนือไม้โครงเรือนทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย รากไม้โกฏฐานุสาริยะ เลิศกว่ารากไม้หอมทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย แก่นจันทร์แดง เลิศกว่าไม้แก่นหอมทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย ดอกวัสสิกะ(มะลิ) เลิศกว่าดอกไม้หอมทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย ราชาจักรพรรดิ เลิศกว่าพระราชาเมืองขึ้นเมืองออกทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย แสงจันทร์ เลิศคือรุ่งเรืองกว่าแสงดาวทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย แสงอาทิตย์ภายหลังฝนตกไม่มีเมฆในฤดูสารท แจ่มใสกว่าฯ
ทรงอุปมาด้วย ผ้ากาสี เลิศกว่าบรรดาผ้าทอด้วยเส้นด้ายทั้งหลาย )
ผู้มีอินทรียสังวร จึงสามารถเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลอาจเพื่อเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่
เพราะเขาละธรรมหกอย่าง. หกอย่าง อย่างไรเล่า ? หกอย่าง คือ
ความเป็นผู้ยินดีในการงาน
ความเป็นผู้ยินดีในการคุยฟุ้ง
ความเป็นผู้ยินดีในการหลับ
ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีกันเป็นหมู่
ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภค.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะละธรรมหกอย่างเหล่านี้แล
บุคคลจึงเป็นผู้อาจเพื่อเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๙๙-๕๐๐/๓๘๘-๓๙๔.
( ผู้อาจเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายในภายใน - ในภายนอก - ในภายในและภายนอก
และผู้อาจเป็นผู้มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนา - ตามเห็นจิตในจิต - ตามเห็นธรรมในธรรม
ล้วนแต่มีข้อความที่ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกัน )
" ผู้ สำรวม อินทรีย์ คือ ผู้ ไม่ ประ มาท "
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุไม่สำรวมระวัง ซึ่งอินทรีย์คือตาอยู่
จิตย่อมเกลือกกลั้วในรูปทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งการรู้สึกด้วยตา;
เมื่อภิกษุนั้นมีจิตเกลือกกลั้วแล้ว ปราโมทย์ ย่อมไม่มี;
เมื่อ ปราโมทย์ ไม่มี, ปีติ ก็ไม่มี;
เมื่อ ปีติ ไม่มี, ปัสสัทธิ ก็ไม่มี;
เมื่อ ปัสสัทธิ ไม่มี, ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์;
เมื่อ มีทุกข์, จิตย่อมไม่ตั้งมั่น;
เมื่อ จิตไม่ตั้งมั่น, ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ;
เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ
ภิกษุนั้น ย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่าเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท โดยแท้.
( ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีนัยยะอย่างเดียวกัน )
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุสำรวมระวัง ซึ่งอินทรีย์คือตาอยู่
จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในรูปทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งการรู้สึกด้วยตา;
เมื่อภิกษุนั้น ไม่มีจิตเกลือกกลั้วแล้ว ปราโมทย์ ย่อมเกิด;
เมื่อ ปราโมทย์ แล้ว ปีติ ย่อมเกิด;
เมื่อใจมี ปีติ ปัสสัทธิ ย่อมมี;
เมื่อมี ปัสสัทธิ ภิกษุนั้น ย่อมอยู่เป็นสุข;
เมื่อ มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น;
เมื่อ จิตตั้งมั่น แล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ;
เพราะธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ
ภิกษุนั้นย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่าเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้.
(ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีนัยยะอย่างเดียวกัน)
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท.
สฬา. สํ. ๑๘/๙๗/๑๔๓-๔.
ความไม่ประมาท เป็นยอดแห่งกุศลธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีมากเท้าก็ดี
มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็หามิได้ไม่มีสัญญาก็หามิได้ก็ดี, มีประมาณเท่าใด;
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดาสัตว์เหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งบรรดามี
กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง.
ความไม่ประมาท ย่อมปรากฏว่าเป็นเลิศกว่าบรรดากุศลธรรมเหล่านั้น; ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังได้ คือ เธอจักเจริญ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๒-๖๗/๒๕๔-๒๖๓.
( การที่ความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งกุศลธรรมทั้งปวง
ในสูตรนี้ ทรงอุปมาด้วยพระตถาคตเป็นสัตว์เลิศกว่าสัตว์ทั้งปวง.
ส่วนในสูตรอื่นอีกมากแห่ง;
ทรงอุปมาด้วย รอยเท้าช้างเลิศคือใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย ยอดเรือนเลิศคืออยู่เหนือไม้โครงเรือนทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย รากไม้โกฏฐานุสาริยะ เลิศกว่ารากไม้หอมทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย แก่นจันทร์แดง เลิศกว่าไม้แก่นหอมทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย ดอกวัสสิกะ(มะลิ) เลิศกว่าดอกไม้หอมทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย ราชาจักรพรรดิ เลิศกว่าพระราชาเมืองขึ้นเมืองออกทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย แสงจันทร์ เลิศคือรุ่งเรืองกว่าแสงดาวทั้งหลาย
ทรงอุปมาด้วย แสงอาทิตย์ภายหลังฝนตกไม่มีเมฆในฤดูสารท แจ่มใสกว่าฯ
ทรงอุปมาด้วย ผ้ากาสี เลิศกว่าบรรดาผ้าทอด้วยเส้นด้ายทั้งหลาย )
ผู้มีอินทรียสังวร จึงสามารถเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ ได้
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลอาจเพื่อเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่
เพราะเขาละธรรมหกอย่าง. หกอย่าง อย่างไรเล่า ? หกอย่าง คือ
ความเป็นผู้ยินดีในการงาน
ความเป็นผู้ยินดีในการคุยฟุ้ง
ความเป็นผู้ยินดีในการหลับ
ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีกันเป็นหมู่
ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภค.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะละธรรมหกอย่างเหล่านี้แล
บุคคลจึงเป็นผู้อาจเพื่อเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๙๙-๕๐๐/๓๘๘-๓๙๔.
( ผู้อาจเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายในภายใน - ในภายนอก - ในภายในและภายนอก
และผู้อาจเป็นผู้มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนา - ตามเห็นจิตในจิต - ตามเห็นธรรมในธรรม
ล้วนแต่มีข้อความที่ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกัน )