จิตไม่ตั้งมั่น คือจิตไม่มีฌานสมาธิ

๔. ปมาทวิหารีสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท
             [๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
 “ภิกษุทั้งหลาย 
เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท
และภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทแก่เธอทั้งหลาย
 เธอทั้งหลายจงฟัง
             ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไร
             คือ เมื่อภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ 
จิตย่อมซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งทางตา 
เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว
 ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ก็ไม่มี
 เมื่อไม่มีปราโมทย์ปีติ (ความอิ่มใจ) ก็ไม่มี(คือฌาน2)
 เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ก็ไม่มี 
เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ภิกษุนั้นย่อมอยู่ลำบาก 
จิตของเธอผู้อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น(จิตไม่ตั้งมั่นคือขณิกสมาธิ)
 เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลาย๑- ก็ไม่ปรากฏ
 เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ
 เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
             เมื่อภิกษุไม่สำรวมชิวหินทรีย์อยู่
 จิตย่อมซ่านไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น 
เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว ฯลฯ 
เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’
แท้จริง ฯลฯ
@เชิงอรรถ :
@๑ ธรรมทั้งหลาย หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (สํ.สฬา.อ. ๓/๙๗/๓๕)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๐๗}
                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]
                                                                 ๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๕. สังวรสูตร
             เมื่อภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ 
จิตย่อมซ่านไปในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
 เมื่อเธอมีจิตซ่านไปแล้ว(จิตที่เป็นขณิกสมาธิ)
 ปราโมทย์ก็ไม่มี
 เมื่อไม่มีปราโมทย์ ปีติ(ฌาน2)ก็ไม่มี
เมื่อไม่มีปีติ ปัสสัทธิก็ไม่มี 
เมื่อไม่มีปัสสัทธิ เธอย่อมอยู่ลำบาก 
จิตของภิกษุผู้อยู่ลำบากย่อมไม่ตั้งมั่น(จิตไม่มีฌานสมาธิ)
 เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรม
ทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท’ แท้จริง             
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาทเป็นอย่างนี้แล
             ภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร
             คือ เมื่อภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่
 จิตย่อมไม่ซ่านไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งทางตา 
เมื่อเธอมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว
 ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด(จิตเป็นฌาน2)
เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ
ย่อมอยู่สบาย จิตของเธอผู้อยู่สบาย(ฌาน3)
ย่อมตั้งมั่นจิตเป็น(ฌาน)
 เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ
เธอย่อมนับว่า ‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
             เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านไป ฯลฯ
 เธอย่อมนับว่า‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง ฯลฯ
             เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ 
จิตย่อมไม่ซ่านไปในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ
เมื่อเธอมีจิตไม่ซ่านไปแล้ว
 ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์ ปีติก็เกิด 
เมื่อเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบย่อมอยู่สบาย 
จิตของเธอผู้อยู่สบายย่อมตั้งมั่น(ฌาน3)
เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ
 เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ เธอย่อมนับว่า
‘เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท’ แท้จริง
             ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นอย่างนี้แล”
ปมาทวิหารีสูตรที่ ๔ จบ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่