พระพุทธคุณบทที่ ๓ ว่า วิชชาจรณสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
หลายท่านคงเคยผ่านสายตามาแล้ว แต่อาจไม่รู้ถึงความสำคัญ หรือความหมาย
ทั้งที่คำนี้มีในพระไตรปิฏกเกินกว่า 70แห่ง กระจายอยู่ในพระไตรปิฏกถึง 18เล่ม
เฉพาะ คำ "จรณะ" มีเกินกว่า 200แห่ง ก็น่าจะพูดถึงบ้าง
จรณะ ประกอบด้วย (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์)
[๓๔] ดูกรมหานาม แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
รวมเป็น จรณะ ๑๕ข้อคือ ศีล + อปัณณกปฏิปทา ๓ + สัปปุริสธรรม ๗ + ฌานทั้ง ๔
เรื่องศีลผมเคยออกความเห็นไว้บ่อยๆคงเคยผ่านตามาบ้าง พอดีเมื่อวาน(23 พค)มีคนสงสัยเรื่องอินทรีย์
ก็ขอยกมาฝากครับ : > - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
๒. สามัญญผลสูตร
[๑๒๒] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ...
ดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
ลิ้มรสด้วยชิวหา ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า
รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน
ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
ความเป็นอินทรีย์ผมหมาย ตามพระสูตรนี้
ส่วน "ความเป็นอินทรี์มีลักษณะอย่างไร" ของท่านนั้นหรือท่านอื่น จะเป็นอย่างไรก็ตามที่ท่านหมาย ก็แล้วกัน
ก็แล้วจะสำรวมอย่างไร ฟื้นความจำจากที่ได้ฟัง พ่อครูเทศน์ ได้ความว่า
เมื่อตาเห็นรูป แน่นอนว่าต้องเกิดเวทนา อาจเป็น โสมนัส โทมนัส หรืออุเบกขา เราคงไม่อาจไม่ให้เกิดเวทนาได้
แต่เราต้องสำรวมเวทนานั้น ไม่ให้เป็นเคหสิตะเวทนา พยายามให้เป็น เนกขัมมสิตตะเวทนา ให้มากเท่าที่จะทำได้
ที่สำคัญเราต้องมีสติ ใช้ ธัมมวิจัย พยายามแยกแยะให้ได้ว่า อย่างไหนเป็น เคหสิตะ หรือ เนกขัมมสิตตะ
ส่วนรายละเอียดในการปฏิบัติขอไม่เล่า เพราะผมยังทำได้ไม่ดี ได้ไม่มาก หลายท่านที่นี่อาจทำได้มากกว่าผมแล้ว
ส่วนผู้ที่ยังสนใจ ก็แลกเปลี่ยนกันหลังไมค์ดีกว่า
ส่วนท่านอื่น เข้าใจว่าอย่างไร กรุณาเสริมที่บกพร่อง หรือแย้งที่เห็นว่าไม่ถูกตรงด้วยครับ ขอบคุณ
* * * จรณะ ๑๕ . . . . ข้อ ๒ สำรวมอินทรีย์ . . . ที่ผมเข้าใจ . . .
หลายท่านคงเคยผ่านสายตามาแล้ว แต่อาจไม่รู้ถึงความสำคัญ หรือความหมาย
ทั้งที่คำนี้มีในพระไตรปิฏกเกินกว่า 70แห่ง กระจายอยู่ในพระไตรปิฏกถึง 18เล่ม
เฉพาะ คำ "จรณะ" มีเกินกว่า 200แห่ง ก็น่าจะพูดถึงบ้าง
จรณะ ประกอบด้วย (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์)
[๓๔] ดูกรมหานาม แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง
รวมเป็น จรณะ ๑๕ข้อคือ ศีล + อปัณณกปฏิปทา ๓ + สัปปุริสธรรม ๗ + ฌานทั้ง ๔
เรื่องศีลผมเคยออกความเห็นไว้บ่อยๆคงเคยผ่านตามาบ้าง พอดีเมื่อวาน(23 พค)มีคนสงสัยเรื่องอินทรีย์
ก็ขอยกมาฝากครับ : > - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
๒. สามัญญผลสูตร
[๑๒๒] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ...
ดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
ลิ้มรสด้วยชิวหา ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า
รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน
ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
ความเป็นอินทรีย์ผมหมาย ตามพระสูตรนี้
ส่วน "ความเป็นอินทรี์มีลักษณะอย่างไร" ของท่านนั้นหรือท่านอื่น จะเป็นอย่างไรก็ตามที่ท่านหมาย ก็แล้วกัน
ก็แล้วจะสำรวมอย่างไร ฟื้นความจำจากที่ได้ฟัง พ่อครูเทศน์ ได้ความว่า
เมื่อตาเห็นรูป แน่นอนว่าต้องเกิดเวทนา อาจเป็น โสมนัส โทมนัส หรืออุเบกขา เราคงไม่อาจไม่ให้เกิดเวทนาได้
แต่เราต้องสำรวมเวทนานั้น ไม่ให้เป็นเคหสิตะเวทนา พยายามให้เป็น เนกขัมมสิตตะเวทนา ให้มากเท่าที่จะทำได้
ที่สำคัญเราต้องมีสติ ใช้ ธัมมวิจัย พยายามแยกแยะให้ได้ว่า อย่างไหนเป็น เคหสิตะ หรือ เนกขัมมสิตตะ
ส่วนรายละเอียดในการปฏิบัติขอไม่เล่า เพราะผมยังทำได้ไม่ดี ได้ไม่มาก หลายท่านที่นี่อาจทำได้มากกว่าผมแล้ว
ส่วนผู้ที่ยังสนใจ ก็แลกเปลี่ยนกันหลังไมค์ดีกว่า
ส่วนท่านอื่น เข้าใจว่าอย่างไร กรุณาเสริมที่บกพร่อง หรือแย้งที่เห็นว่าไม่ถูกตรงด้วยครับ ขอบคุณ