สติปัฏฐาน 4 กำหนดรู้ รูป-นาม อย่างไร จึงตรงกับพระไตรปิฏกอย่างชัดเจนชัดเจนในรายระเอียด
ความจริงแล้วในพระไตรปิฏกได้กล่าวถึงการปฏิบัติธรรมอย่างตรงๆ อยู่แล้ว เช่น อินทรีย์สังวร อริยาบทบรรพ อานาปานสติ สติปัฏฐาน 4 กายกคตานุสสติ ฯลฯ
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=9&A=1072&w=%CD%D4%B9%B7%C3%D5%C2%EC%CA%D1%A7%C7%C3
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
...
...
อินทรียสังวร
[๑๒๒] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า
รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ
เช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้
แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
สติสัมปชัญญะ (อริยาบทบรรพ)
[๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกร
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน
การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ. ปฏิบัติธรรมตามนั้นก็เพิงบรรลุธรรมได้
---------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
...
...
[๔๐๑] ธรรม ๔ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔ ดูกรผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑
ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ
------------------------------------------------
ซึ่งผมได้ปฏิบัติธรรมไม่มีผู้สอนกรรมฐานสมัยนั้นในตำบลนั้น แต่ได้ไปฟังเทศนาในวันเข้าพรรษาเป็นประจำ เพราะหวังจะได้ดืมน้ำปานะที่เหลือจากพระที่มาเทศนา ก็ได้ดื่อเป็นประจำ จึงปฏิบัติธรรมด้วยตนเองตั้งแต่วัย 10-12 ขวบ โดยนั่งสมาธิแบบพระพุทธรูป ทำใจให้นิ่งๆ ไม่ให้คิดอะไร ก็เพียงเท่านั้น เมื่อเจอทุกข์ก็ไปนั่งสมาธิแบบนั้นเป็นประจำ ออ...แล้วไหว้พระสวดมนตร์ก่อนนอนเป็นประจำ ยือยาวจนมาถึงปัจจุบัน
พอเข้ามัธยมต้น ได้อ่านหนังสือธรรมมากขึ้น จึงปฏิบัติธรรมดูลมหายใจแบบ พุทธ-โธ ปฏิบ้ติมากขึ้นๆ เพราะทุกข์นั้นก็มากขึ้นๆ ตามเงาติดตามตัว อ่านหนังสือธรรมมากขึ้นๆ จนจบ ป.ตรี
ก่อนเรียนจบ และจบ ก็เข้าปฏิบัติธรรมในคณะ 5 วัดมหาธาตุท่าพระจันทร์ แบบพองหนอ-ยุบหนอ จนอย่างยิ่งถึงยิ่งยวด(ด้วยทุกข์อย่างยิ่งยวดเช่นกันติดตามอย่างเงาติดตามตัว ไม่เห็นทางอื่นใดเลยที่จะพ้นจากทุกข์นี้ไปได้) แต่ผมไม่สามารถกำหนดรู้ ท้องพอง-ยุบได้ ติดที่ปลายจมูกมีสติรู้ลมหายใจเข้า-ออกเพราะปฏิบัติอย่างนี้ตั้งแต่เด็กจนอายุ 23 ปี จึงปฏิบัติตามทุกอย่างแบบพองหนอ-ยุบหนอ แต่ใช้สติที่จมูกเป็นฐาน แล้วในที่สุดได้เปลี่ยนมาที่หู ได้ยินหนอเป็นฐาน เพื่อครบสมบูรณ์ตามแบบพองหนอ-ยุบหนอ.
จึงเกิดความเข้าใจของตนเองที่ปฏิบัติในการกำหนดสติปัฏฐาน 4 เมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว ดังนี้.
https://vichadham.com/301.html
สติปัฏฐาน 4
เป็นวิธีกำหนดภาวนา หรือตั้งสติสมาธิของบุคคลทั้งหลาย หรือสรรพสัตย์ทั้งหลาย ที่มีกายตั้งทรงที่ไม่เกี่ยวกับลัทธิ หรือการนับถือศาสนา เป็นบทเรียนที่กำเนิดจากประสบการณ์ตรงของผู้ปฏิบัติ หรือทดลองปฏิบัติทำจริงๆ เหมือนกับการเรียนในห้องเรียน หรือการทดลองในห้องทดลอง หรือการทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ก็จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติได้ประสบได้เห็นแจ้งที่เกิดขึ้นเฉพาะตนตามฐานะของแต่ละท่านไม่ได้จำกัดลัทธิศาสนาอันใดเลย เพราะหลักการปฏิบัติไม่ได้อ้างถึงลัทธิหรือศาสนา แต่จะเกี่ยวกับเหตุและผลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ได้เจาะจงว่าผู้ปฏิบัติได้ต้องนับถือศาสนานั้นศาสนานี้ลัทธินั้นลัทธินี้ หรือศีลพรตอย่างนั้นศีลพรตอย่างนี้ จึงจะปฏิบัติได้ผล เพราะเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องก็จะเห็นแจ้งความเป็นจริง ก็จะตั้งมั่นในความเป็นจริงนั้น มีเหตุมีผลตามความจริงนั้นตามความเข้าใจของตน แต่ก็ไม่หนีไปจากผู้ปฏิบัติเก่าก่อนได้กล่าวไว้ ทั้งที่ผู้ปฏิบัติใหม่ไม่เคยศึกษาบทความที่กล่าวมาก่อนหรือเชื่อถือมาก่อน เพราะสติปัฏฐาน 4 เป็นของจริงที่พิสูจน์ได้ มาเริ่มถึงกฎหรือทฤษฏีของสติปัฏฐาน 4 มีดังนี้
1.พิจารณากายในกาย
2.พิจารณาเวทนาในเวทนา
3.พิจารณาจิตในจิต
4.พิจารณาธรรมในธรรม
คำว่า พิจารณา มีความหมายในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้
อย่างที่ 1. ตั้งความรู้สึก หรือเรียกว่าสติ กำหนดทั้ง 4 ฐานคือ กาย เวทนา จิต ธรรม
อย่างที่ 2. ภาวนาหรือการนึกในใจถึงสิ่งที่กำลังกระทบฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
คำว่า กาย มีความหมายในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้
อย่างที่ 1. ร่างกายของตนเองทั้งหมดถ้ารู้สึกทั่วตัว
อย่างที่ 2. ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงกริยาบทที่รู้สึกชัดเจน
คำว่า เวทนา มีความหมายในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้
อย่างที่ 1. ผลที่เกิดจากสิ่งภายนอกมากระทบร่างกายเช่น ความหนาว ร้อนความเจ็บปวด
อย่างที่ 2. ผลที่เกิดจากร่างกายกระทบร่างกาย เช่น ปวดตามข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวด เส้น ปวดหัวใจ ฯลฯ
คำว่า จิต มีความหมายในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้
อย่างที่1. อารมณ์ ที่เกิดจากสิ่งภายนอกเป็นเหตุที่ชัด เจนเช่น ความรัก เฉย เกียด ชอบ โกรธ ความเศ้รา ฯลฯ
อย่างที่2. อารมณ์ ที่เกิดจากภายในชัดเจน เช่น ความศรัทธา ความสงบ ความปีติ ความสุข อุเบกขา ความใคร่ในกาม ความงุดหิด ความเศร้าหมอง ความขุ่นข้อง ความไม่สบอารมณ์ ฯลฯ
หมายเหตุ เวทนา กับจิต นั้น บางอย่างความหมายใกล้เคียงกันมาก ในที่นี้พยายามอธิบายแยกกันให้ชัดเจน
คำว่า ธรรม มีความหมายในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้
อย่างที่ 1. ความคิดหรือวิเคราะห์ทางโลกวัตถุ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องครอบครัว เรื่องการงานอาชีพ ฯลฯ
อย่างที่ 2. ความคิดหรือวิเคราะห์ทางธรรม เช่น คิดเรื่องกาย คิด เรื่องธาตุ คิดเรื่องศีล คิดเฉพาะ ลมหาย ใจ คิดเฉพาะกะสิน 10 คิดเฉพาะแสงสว่าง การเข้าฌาน หรือสมถะ ทั้งหมด ฯลฯ
-------------------------------
ซึ่งก็ยังไม่มีขอบชัดเจน ในการกำหนดรู้ รูป-นาม แต่เมื่อได้อ่านพุทธพจน์ตรงนี้ ก็มีความชัดเจนในการกำหนดรู้ ในการปฏิบัติธรรมยิ่งขึ้น ที่ยกหรือนำไปสู่วิปัสสนากรรมฐาน.... แบบไม่คลาดเคลื่อนหรือเพ่งจนเกินไป
---------------------------
ธรรมารมณ์ เกิดร่วมกับ มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ
และกายสังขารที่เนื่องกัน นี้
เป็นรูปกาย
ธรรมารมณ์ เกิดร่วมกับ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
เป็นนามด้วย
เป็นนามกายด้วย และจิตสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นนามกาย
-----------------------------
คงเป็นประโยชน์กับผู้ปฏิบัติธรรมและศึกษาธรรม.
สติปัฏฐาน 4 กำหนดรู้ รูป-นาม อย่างไร จึงตรงกับพระไตรปิฏกอย่างชัดเจนชัดเจนในรายระเอียด
ความจริงแล้วในพระไตรปิฏกได้กล่าวถึงการปฏิบัติธรรมอย่างตรงๆ อยู่แล้ว เช่น อินทรีย์สังวร อริยาบทบรรพ อานาปานสติ สติปัฏฐาน 4 กายกคตานุสสติ ฯลฯ
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=9&A=1072&w=%CD%D4%B9%B7%C3%D5%C2%EC%CA%D1%A7%C7%C3
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
...
...
อินทรียสังวร
[๑๒๒] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า
รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ
เช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้
แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
สติสัมปชัญญะ (อริยาบทบรรพ)
[๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกร
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน
การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ. ปฏิบัติธรรมตามนั้นก็เพิงบรรลุธรรมได้
---------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
...
...
[๔๐๑] ธรรม ๔ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔ ดูกรผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด
ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑
ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ
------------------------------------------------
ซึ่งผมได้ปฏิบัติธรรมไม่มีผู้สอนกรรมฐานสมัยนั้นในตำบลนั้น แต่ได้ไปฟังเทศนาในวันเข้าพรรษาเป็นประจำ เพราะหวังจะได้ดืมน้ำปานะที่เหลือจากพระที่มาเทศนา ก็ได้ดื่อเป็นประจำ จึงปฏิบัติธรรมด้วยตนเองตั้งแต่วัย 10-12 ขวบ โดยนั่งสมาธิแบบพระพุทธรูป ทำใจให้นิ่งๆ ไม่ให้คิดอะไร ก็เพียงเท่านั้น เมื่อเจอทุกข์ก็ไปนั่งสมาธิแบบนั้นเป็นประจำ ออ...แล้วไหว้พระสวดมนตร์ก่อนนอนเป็นประจำ ยือยาวจนมาถึงปัจจุบัน
พอเข้ามัธยมต้น ได้อ่านหนังสือธรรมมากขึ้น จึงปฏิบัติธรรมดูลมหายใจแบบ พุทธ-โธ ปฏิบ้ติมากขึ้นๆ เพราะทุกข์นั้นก็มากขึ้นๆ ตามเงาติดตามตัว อ่านหนังสือธรรมมากขึ้นๆ จนจบ ป.ตรี
ก่อนเรียนจบ และจบ ก็เข้าปฏิบัติธรรมในคณะ 5 วัดมหาธาตุท่าพระจันทร์ แบบพองหนอ-ยุบหนอ จนอย่างยิ่งถึงยิ่งยวด(ด้วยทุกข์อย่างยิ่งยวดเช่นกันติดตามอย่างเงาติดตามตัว ไม่เห็นทางอื่นใดเลยที่จะพ้นจากทุกข์นี้ไปได้) แต่ผมไม่สามารถกำหนดรู้ ท้องพอง-ยุบได้ ติดที่ปลายจมูกมีสติรู้ลมหายใจเข้า-ออกเพราะปฏิบัติอย่างนี้ตั้งแต่เด็กจนอายุ 23 ปี จึงปฏิบัติตามทุกอย่างแบบพองหนอ-ยุบหนอ แต่ใช้สติที่จมูกเป็นฐาน แล้วในที่สุดได้เปลี่ยนมาที่หู ได้ยินหนอเป็นฐาน เพื่อครบสมบูรณ์ตามแบบพองหนอ-ยุบหนอ.
จึงเกิดความเข้าใจของตนเองที่ปฏิบัติในการกำหนดสติปัฏฐาน 4 เมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว ดังนี้.
https://vichadham.com/301.html
สติปัฏฐาน 4
เป็นวิธีกำหนดภาวนา หรือตั้งสติสมาธิของบุคคลทั้งหลาย หรือสรรพสัตย์ทั้งหลาย ที่มีกายตั้งทรงที่ไม่เกี่ยวกับลัทธิ หรือการนับถือศาสนา เป็นบทเรียนที่กำเนิดจากประสบการณ์ตรงของผู้ปฏิบัติ หรือทดลองปฏิบัติทำจริงๆ เหมือนกับการเรียนในห้องเรียน หรือการทดลองในห้องทดลอง หรือการทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ก็จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติได้ประสบได้เห็นแจ้งที่เกิดขึ้นเฉพาะตนตามฐานะของแต่ละท่านไม่ได้จำกัดลัทธิศาสนาอันใดเลย เพราะหลักการปฏิบัติไม่ได้อ้างถึงลัทธิหรือศาสนา แต่จะเกี่ยวกับเหตุและผลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ได้เจาะจงว่าผู้ปฏิบัติได้ต้องนับถือศาสนานั้นศาสนานี้ลัทธินั้นลัทธินี้ หรือศีลพรตอย่างนั้นศีลพรตอย่างนี้ จึงจะปฏิบัติได้ผล เพราะเมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องก็จะเห็นแจ้งความเป็นจริง ก็จะตั้งมั่นในความเป็นจริงนั้น มีเหตุมีผลตามความจริงนั้นตามความเข้าใจของตน แต่ก็ไม่หนีไปจากผู้ปฏิบัติเก่าก่อนได้กล่าวไว้ ทั้งที่ผู้ปฏิบัติใหม่ไม่เคยศึกษาบทความที่กล่าวมาก่อนหรือเชื่อถือมาก่อน เพราะสติปัฏฐาน 4 เป็นของจริงที่พิสูจน์ได้ มาเริ่มถึงกฎหรือทฤษฏีของสติปัฏฐาน 4 มีดังนี้
1.พิจารณากายในกาย
2.พิจารณาเวทนาในเวทนา
3.พิจารณาจิตในจิต
4.พิจารณาธรรมในธรรม
คำว่า พิจารณา มีความหมายในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้
อย่างที่ 1. ตั้งความรู้สึก หรือเรียกว่าสติ กำหนดทั้ง 4 ฐานคือ กาย เวทนา จิต ธรรม
อย่างที่ 2. ภาวนาหรือการนึกในใจถึงสิ่งที่กำลังกระทบฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
คำว่า กาย มีความหมายในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้
อย่างที่ 1. ร่างกายของตนเองทั้งหมดถ้ารู้สึกทั่วตัว
อย่างที่ 2. ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงกริยาบทที่รู้สึกชัดเจน
คำว่า เวทนา มีความหมายในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้
อย่างที่ 1. ผลที่เกิดจากสิ่งภายนอกมากระทบร่างกายเช่น ความหนาว ร้อนความเจ็บปวด
อย่างที่ 2. ผลที่เกิดจากร่างกายกระทบร่างกาย เช่น ปวดตามข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวด เส้น ปวดหัวใจ ฯลฯ
คำว่า จิต มีความหมายในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้
อย่างที่1. อารมณ์ ที่เกิดจากสิ่งภายนอกเป็นเหตุที่ชัด เจนเช่น ความรัก เฉย เกียด ชอบ โกรธ ความเศ้รา ฯลฯ
อย่างที่2. อารมณ์ ที่เกิดจากภายในชัดเจน เช่น ความศรัทธา ความสงบ ความปีติ ความสุข อุเบกขา ความใคร่ในกาม ความงุดหิด ความเศร้าหมอง ความขุ่นข้อง ความไม่สบอารมณ์ ฯลฯ
หมายเหตุ เวทนา กับจิต นั้น บางอย่างความหมายใกล้เคียงกันมาก ในที่นี้พยายามอธิบายแยกกันให้ชัดเจน
คำว่า ธรรม มีความหมายในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้
อย่างที่ 1. ความคิดหรือวิเคราะห์ทางโลกวัตถุ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องครอบครัว เรื่องการงานอาชีพ ฯลฯ
อย่างที่ 2. ความคิดหรือวิเคราะห์ทางธรรม เช่น คิดเรื่องกาย คิด เรื่องธาตุ คิดเรื่องศีล คิดเฉพาะ ลมหาย ใจ คิดเฉพาะกะสิน 10 คิดเฉพาะแสงสว่าง การเข้าฌาน หรือสมถะ ทั้งหมด ฯลฯ
-------------------------------
ซึ่งก็ยังไม่มีขอบชัดเจน ในการกำหนดรู้ รูป-นาม แต่เมื่อได้อ่านพุทธพจน์ตรงนี้ ก็มีความชัดเจนในการกำหนดรู้ ในการปฏิบัติธรรมยิ่งขึ้น ที่ยกหรือนำไปสู่วิปัสสนากรรมฐาน.... แบบไม่คลาดเคลื่อนหรือเพ่งจนเกินไป
---------------------------
ธรรมารมณ์ เกิดร่วมกับ มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ
และกายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย
ธรรมารมณ์ เกิดร่วมกับ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย
เป็นนามกายด้วย และจิตสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นนามกาย
-----------------------------
คงเป็นประโยชน์กับผู้ปฏิบัติธรรมและศึกษาธรรม.