ท่านหลับนานแล้ว.... ตื่นเถอ... ตอนที่2

ต่อจากความเดิมตอนที่แล้ว

http://ppantip.com/topic/35285266

#7 หลักการปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธเบื้องต้น ที่แท้จริง
............สรุปการปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ แบบง่ายๆ คือ ใช้ สติปํฏฐาน 4 เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ แล้วยึดเอา มรรค 8 เป็นขั้นตอนการปฏิบัติ มีเพียงแค่นี้ ครับ โดยแบบ สรุปๆ เบื้องต้นมีเท่านี้ อย่าพึ่งไปสนใจข้อปฏิบัติมากกว่านี้ ก้าวทีละสเตป เดี๋ยวจิตเราเจริญขึ้นเอง แล้วคุณก็จะสามารถเข้าใจพระไตรปิฏกได้เช้

#8.1 หลักการปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธเบื้องต้น ที่แท้จริง
    สติปัฏฐาน 4 ปฏิบัติอย่างไร มีอะไรบ้าง
1. ดูกายในกาย ก็คือ การพิจารณาอาการของกายทุกอย่าง ลุกนั่งเดินเหิน(เดินจงกลม) กิน หรือ ทุกอริยาบท หรือพิจารณาลมหายใจแบบอานาปานสติ หรือ นั่งสมาธิ ก็คือ การดูกาย ลมหายใจก็คือกายอย่างหนึ่ง ดูไปเพื่ออะไร ก็เพื่อใหกายมันรำงับ และฝึกสติให้เท่าทันอาการของกาย เพื่อให้สติเข้มแข็ง ไม่ใช่เพื่อเห็น สวรรค์ หรือ นรก แบบ ธรรมกายสอน
พระพุทธเจ้าท่านก็สรรเสริญให้ทำ อานาปานสติ (นั่งสมาธิดูลมหายใจ) แต่ท่านไม่ได้บอกว่า จะใสๆ เห็น สวรรค์เห็นนรก ไปสร้างมโนมยอัตตา ในสมาธิ ท่านเพียงแต่ให้ฝึกเพื่อให้กายรำงับ จิตรำงับ เจตนาท่านคือแบบนี้ เป็นแบบฝึกพื้นฐาน
.............................................
อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
[๑๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่ง จิตก็ดี ย่อมไม่มี? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ความไหวหรือความเอนเอียง
แห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี...

#8.2 หลักการปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธเบื้องต้น ที่แท้จริง
...............การนั่งสมาธิจึงเป็นเพียงอุปการะในการปฏิบัติธรรมตามหลักศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นเพียงข้อปฏิบัติหนึ่ง แต่สมาธิของท่านคือ แค่ดูลมหายใจให้กายรำงับให้จิตรำงับ ไม่ใช่นั่งไปจนเห็น สวรรค์เห็นนรก อันนั้นมันมโนมยอัตตา เป็นการสร้างมโนหลอกตัวเอง อานาปานสติช่วยให้สติตั้งมั่น เข้มแข็ง ท่านก็สรรเสริญให้ทำ ท่านก็บอกว่ามันมีอานิสงฆ์
สรุปสั้นๆ คือ การนั่งสมาธิ คือหนึ่งขั้นตอนของการปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 เท่านั้น และไม่มีอะไรในสมาธิ นอกจาก ดูลมหายใจสั้นยาว แล้วเห็นการรำงับของ กายและจิต เท่านั้น
.......................................................
อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

[๑๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
  [๑๓๕๘] ดูกรอานนท์ สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาวหรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์
สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้..

#8.3 หลักการปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธเบื้องต้น ที่แท้จริง
   ............การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 นอกจากจะ ดูกายในกาย (นั่งสมาธิ) แล้ว ยังต้อง 2.ดูเวทนาในเวทนา 3.ดูจิตในจิต  4.ดูธรรมในธรรม ข้อ 2-3-4 นี้ต้องอาศัยพัสสะ(สัมพัสทางหูตาจมูกลิ้นกายใจ)เป็นปัจจัย คือ ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน คือการพิจารณาอารมณ์ในปัจจุบันทุกขณะจิต ไม่ว่าเราจะทำอะไร พูดแบบง่ายๆก็คือ ดูจิตของเรานั่นเอง จะฝึกได้บ้างลืมบ้างก็ไม่เป็นไร

อ้างอิง  พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

[๑๓๖๒] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น ถ้าผ่านมาในทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ก็ย่อมกระทบกองดินนั้นเหมือนกัน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้.

# 9 หลักการปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธเบื้องต้น ที่แท้จริง
...............ความสับสนของการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 มันอยู่ตรงที่ เขาเข้าใจว่า ดูเวทนาในเวทนา ข้อ 2 คือเขาไปเข้าใจว่า คำว่า เวทนา มันคือ อาการปวดแข้งปวดขา ปวดเอวปวดทุกอย่าง ตะคริวกินขา ว่ามันคืออาการของเวทนา มันเพี้ยนเพราะความเข้าใจผิดเรื่องตัวภาษา เวทนาในเวทนา คือ การพิจารณาอารมณ์ในขณะดำเนินชีวิต ปกติ คำว่าเวทนา คือ อารมณ์ที่มีพัสสะ มันเกิดเวทนาขึ้น ไม่ใช่หมายถึงความเจ็บปวดทรมานในขณะนั่งสมาธิ เท่านั้น และยังต้องปฏิบัติ ดูจิตในจิต ดูธรรมในธรรม ทั้งหมด อีก 3 องค์ประกอบ ซึ่งปฏิบัติในขณะดำเนินชีวิตทั่วไป ทุกขณะจิต.

#10 หลักการปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธเบื้องต้น ที่แท้จริง
...........สรุปหลักปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 โดยย่อ คือ ให้ดูกาย กับ ดู จิต อยู่เนืองๆ หากใครมีเวลานั่งสมาธิ ดูลมหายใจก็ทำไปเป็นผลดี เป็นอุปการะของการปฏิบัติธรรมที่ดี หากใครไม่มีเวลาก็ปฏิบัติดูจิตเราเอง ทำได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทุกเวลาทุกนาที ทุกสถานที่ ก็ดูให้เห็นอารมณ์โกรธเราเอง เห็นความหงุดหงิด เห็นความอยาก ต้องรู้ให้ทันไม่งั้นมันพาเป็นหนี้ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ทุกวันๆ ทุกวัน แล้วมันจะเริ่มเข้าสู่การปฏิบัติ มรรค 8 ข้อแรกเอง คือข้อสัมมาทิฏฐิ แบบอัตโนมัติ แล้วก็จะดูดให้จิตคุณก้าวหน้าไปเป็นลำดับ.

# 11 หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธเบื้องต้น
..........สำหรับผม ผมไม่มีเวลานั่งสมาธิ ผมก็ใช้การดูจิตเอา ผมดูในขณะดำเนินชีวิต ปกติ เท่าที่เราจะรู้ทัน ทีแรกก็ไม่ทัน บางทีทั้งวันก็ลืมดูไปเลย แต่พอรู้ตัวก็พยายามตรึกในใจว่าเราจะดูจิตของเรา ช่วงแรกนี่ไม่ค่อยทัน หรอก บางทีก็โกรธ ไม่พอใจ เป็นวันถึงรู้ตัว พอรู้ตัวพยายามดับความโกรธ มันก็ดับไม่ลง แต่ก็พยายามทำมาเรื่อยๆ ก็ล้มลุกคุกคลาน จนมาถึงปัจจุบันก็ดีขึ้นมาก แล้วก็พิจารณาอารมณ์ของเรา ให้เห็นจิตเปรต จิตเดรัจฉานของเรา จิตสัตว์นรกที่มันคิดชั่ว คิดอกุศล ก็เห็นอาการของจิตเหล่านี้ เราก็จะรู้ว่า นี่คือ สัตตาโอปปาติกะ จิต มันเป็น วิญญาณสัตว์นรก สัตว์เปรตในตัวเรา ที่มันผุดเกิดขึ้นโดยไม่อาศัย ครรภ์มารดา ท่านจึงเรียกว่า สัตตาโอปปาติกะ ผมก็เรียนรู้ สัตว์เหล่านี้ ในตัวเองมาตลอด นี่คือความเลวในตัวเรา หากใครไม่เคยเห็นสิ่งเหล่านี้ คุณก็จะยังไม่มีสัมมาทิฏฐิ.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่