อานาปานสติ ๔ ชั้นในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ดีเยี่ยม
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต
ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ได้แสดงสติปัฏฐานทั้ง ๔ ตั้งสติพิจารณากายเวทนาจิตธรรม ตามพระพุทธภาษิตที่ได้ตรัสยกอานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
นับตั้งแต่ชั้นกายขึ้นไปโดยลำดับ ติดต่อเนื่องกัน เป็นชั้นกายานุปัสสนา ๔ ชั้น สืบต่อเวทนานุปัสสนา ๔ ชั้น วันนี้จะต่อชั้นจิตตานุปัสสนา
แต่จะแสดงอนุสนธิคือความสืบเนื่องจากชั้นเวทนาว่า ในชั้น ๔ ของเวทนานุปัสสนานั้น ตรัสสอนให้ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่า
เราจักระงับจิตตสังขารเครื่องปรุงจิต หายใจเข้าหายใจออก ซึ่งมีอธิบายว่าจิตตสังขารนั้นได้แก่ สัญญา เวทนา ชื่อว่าจิตตสังขาร
เพราะเป็นเครื่องปรุงจิต ให้ยินดีก็ได้ ให้ยินร้ายก็ได้ ให้หลงสยบติดอยู่ก็ได้
เพราะฉะนั้น ในข้อเวทนาเอง ซึ่งเมื่อปฏิบัติสืบเนื่องขึ้นมาจากชั้นกาย ก็ย่อมจะได้ปีติได้สุขซึ่งเป็นสุขเวทนา
ปรกติย่อมจะปรุงใจให้ยินดี คือให้มีราคะติดอยู่ในสุข จึงได้ตรัสสอนในขั้นเวทนา ว่าให้ศึกษาทำความรู้จักสุขเวทนาที่ได้นั้น
ว่าเป็นจิตตสังขารเครื่องปรุงจิตให้ติด เป็นการปฏิบัติในขั้น ๓ ของเวทนานุปัสสนา
และในขั้น ๔ ก็ให้ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่าจักสงบระงับจิตตสังขาร คือระงับสัญญาเวทนา ไม่ให้ปรุงจิตให้ติด
นับเป็นขั้นที่ ๔ ของเวทนานุปัสสนา
จิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๑
และเมื่อได้ขั้นที่สุด คือขั้นที่ ๔ ของเวทนานุปัสสนาดั่งนี้แล้ว ก็ให้ปฏิบัติสืบต่อขึ้นมาในขั้นจิตตานุปัสสนา
อันเป็นสติปัฏฐานข้อที่ ๓ คือให้ศึกษาสำเหนียกกำหนด ว่าเราจักรู้ทั่วจิตหายใจเข้า เราจักรู้ทั่วจิตหายใจออก
อันนับเป็นจิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๑
และก็พึงทราบว่าจิตที่ตรัสสอนให้ทำความรู้ทั่วนี้ เป็นจิตที่ไม่มีจิตตสังขารคือเครื่องปรุงจิตแล้ว
จึงเป็นจิตที่สงบรำงับ จากราคะคือความติดใจยินดีในสุข หรือจากปฏิฆะคือความกระทบกระทั่งไม่ยินดีในทุกข์
ที่เรียกกันง่ายๆ ว่าความยินดีความยินร้าย เป็นจิตที่สงบจากความยินดีจากความยินร้าย
จะกล่าวว่าเป็นจิตที่ตั้งอยู่ในอุเบกขาก็ได้ คือเป็นกลาง ไม่ยินดีติดอยู่ในสุขเวทนา ไม่ยินร้ายในทุกขเวทนาที่ตรงกันข้าม
แต่ว่าในที่นี้น่าจะในสุขเวทนา คือในขั้นจิตตานุปัสสนานี้ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะย่อมได้ปีติได้สุขดังกล่าว
จึงเป็นจิตที่สงบจากทุกขเวทนามาในขั้นนั้นแล้ว ปรากฏปีติสุข แต่ว่าเมื่อรำงับจิตตสังขาร คือไม่ให้ปีติสุขนี้มาปรุงจิตให้ยินดีติดอยู่ได้แล้ว
ก็เป็นจิตที่เป็นกลางๆ ไม่ปรากฏราคะคือความติดอยู่ในสุข ก็ให้ทำความกำหนดรู้จักจิตดั่งนี้
พร้อมกับทำความกำหนดรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ว่าจิตเป็นดั่งนี้หายใจเข้า จิตเป็นดั่งนี้หายใจออก
อันนับว่าเป็นจิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๑
จิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๒
เมื่อกำหนดให้รู้จักจิตที่ไม่มีสุขปรุงจิตให้ยินดีติดอยู่ดั่งนี้ หายใจเข้าหายใจออก แล้ว ก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติต่อ เป็นขั้นที่ ๒ ต่อไป
คือให้ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงยิ่งขึ้นหายใจเข้า เราจักทำจิตให้บันเทิงยิ่งขึ้นหายใจออก
คือแม้จะไม่ให้สุขเวทนามาปรุงจิตให้ติดในสุข แต่ก็ต้องการที่จะทำจิตให้บันเทิง
อาการจิตที่บันเทิงนี้ ก็ตรงกันข้ามกับจิตที่ห่อเหี่ยว เศร้า ระทม หรือแห้งใจ ต้องไม่ให้จิตแห้งเศร้า แต่ให้จิตบันเทิง
ก็นับว่าเป็นอาการของความสุขอย่างหนึ่งเหมือนกัน
ความบันเทิงดั่งนี้ เป็นความต้องการของการปฏิบัติทำสมาธิ ถ้าหากว่าจิตมีความบันเทิงในสมาธิ ก็ย่อมจะทำให้ปฏิบัติในสมาธิได้
ถ้าจิตไม่บันเทิงในสมาธิ ก็ยากที่จะทำสมาธิได้ หรือทำไม่ได้ จึงต้องรักษาจิตไว้ให้บันเทิงอยู่เสมอในสมาธิ
และการที่ไม่ให้สุขเวทนาปรุงจิตให้ติดอยู่ในสุขนั้น อาจจะทำให้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในจิตได้ ทำให้จิตหมดความบันเทิงได้
ต้องไม่ให้เป็นอย่างนั้น คือต้องให้จิตมีความบันเทิง แต่ไม่ยอมให้ความบันเทิงซึ่งเป็นความสุขอย่างหนึ่งของจิต
มาทำจิตให้ติดอยู่ในสุขบันเทิง เพียงแต่อาศัยความบันเทิงสำหรับให้เป็นที่ตั้งของสมาธิ
จึงต้องมีการศึกษาสำเหนียกกำหนดปฏิบัติทำจิตให้บันเทิงยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำหนดรู้ ว่าหายใจเข้า ว่าหายใจออก
พร้อมกับทั้งว่าจิตบันเทิงยิ่งขึ้น ซึ่งคำว่ายิ่งขึ้นในที่นี้มีความหมายว่าต่อเนื่องกันไปก็ได้ คือต่อไปข้างหน้า คือยิ่งๆ ขึ้น
คือหมายความว่าสืบต่อไป ไม่ให้ขาดหายก็ได้ หมายความว่ามากขึ้นก็ได้ อันนับว่าเป็นจิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๒
จิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๓ และขั้นที่ ๔
และเมื่อปฏิบัติได้ขั้นที่ ๒ ดั่งนี้แล้ว ก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติในขั้นที่ ๓ ต่อไปว่า ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่า
เราจักตั้งจิตให้เป็นสมาธิหายใจเข้า เราจักตั้งจิตให้เป็นสมาธิหายใจออก คือให้ปฏิบัติรักษาสมาธิจิตสืบต่อไป ยิ่งขึ้นไป
ถ้าไม่เช่นนั้นจิตก็จะออกจากสมาธิ อานาปานสติที่ปฏิบัติก็จะสะดุดหยุดลง จึ่งต้องปฏิบัติรักษาสมาธิจิต
ที่มีลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นอารมณ์สืบต่อไป ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา
คือจะต้องปฏิบัติให้เป็นดั่งนี้ ตั้งใจให้เป็นอย่างนี้ คือให้จิตเป็นสมาธิหายใจเข้า ให้จิตเป็นสมาธิหายใจออก
ให้จิตกำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นี่แหละ เป็นที่ตั้งของสมาธิ
และให้ตัวสมาธินี่ตั้งอยู่ในลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เท่านั้น
เมื่อเป็นดั่งนี้ สมาธิจิต พร้อมทั้งอานาปานสติ ก็รวมกัน ดำเนินไปด้วยกัน ไม่สะดุดหยุดลง คือมุ่งให้สมาธิจิตนี้บังเกิดขึ้นสืบต่อ
พร้อมกับอานาปานสติไปด้วยกัน ควบคู่กันไป เพราะสมาธินั้น ก็สมาธิอยู่ในลมหายใจเข้าออก
อันประกอบด้วยสติที่กำหนด และจิตก็ตั้งมั่น ไม่ว่อกแว่ก สั่นคลอน เมื่อปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ก็ชื่อว่า
เป็นการปฏิบัติในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานขั้นที่ ๓
เมื่อได้ขั้นที่ ๓ ดั่งนี้ ก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติในขั้นที่ ๔ ต่อไป คือให้ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่า
เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก คือต้องมีสติระมัดระวังสมาธิจิต พร้อมทั้งอานาปานสติที่ได้มาโดยลำดับ
ให้ดำรงอยู่สืบต่อไปด้วย
เพราะว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่าย รักษายากห้ามยาก จึงอาจจะเผลอ จึงบังเกิดเป็นกิเลสโผล่เข้ามาได้
เพราะฉะนั้น จึงได้มีอธิบายว่าจะต้องคอยระมัดระวัง คอยเปลื้องจิตจากอะไรบ้าง ที่ท่านสอนเอาไว้
ก็ยกเอาบรรดากิเลสทั้งหลาย หลายข้อ ขึ้นมา (เริ่ม ๑๗๐/๑) คือให้คอยเปลื้องจิตจากราคะความติดใจยินดี
จากโทสะความกระทบกระทั่ง ขัดเคือง ไม่พอใจ จากโมหะความหลง ไม่รู้จริง อันเป็นเหตุให้ถือเอาผิด จากมานะความสำคัญตน
เช่นความสำคัญตนว่าเราได้แล้วถึงแล้วเป็นต้น จากทิฏฐิคือความเห็นที่ผิดไม่ถูกต้องต่างๆ จากวิจิกิจฉาความเคลือบแคลงสงสัย
จากถีนมิทธะความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม จากอุทธัจจะความฟุ้งซ่าน จากอหิริคือความไม่ละอายใจต่อความชั่ว
จากอโนตัปปะคือความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว เพราะอาจจะมีกิเลสเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่งโผล่ขึ้นมา เพราะความเผลอสติ
หรือความที่สมาธิหลุด อันเนื่องมาจากเผลอสติ เผลอสติเมื่อใดสมาธิก็หลุดเมื่อนั้น และเมื่อสมาธิหลุดเมื่อใดฟุ้งเมื่อใด
สติก็ย่อมเสียเมื่อนั้นเหมือนกัน ซึ่งอาจมีได้ เพราะจิตนี้ดิ้นรนกวัดแกว่งไปได้เร็วมาก จึงอาจจะมีกิเลสเหล่านี้โผล่ขึ้นมาในจิตเป็นครั้งคราว
ฉะนั้น ก็ต้องรีบมีสติรู้โดยเร็วและเปลื้องจิตออกเสีย จากข้อใดข้อหนึ่งทุกข้อเช่นที่กล่าวมา หรือแม้ข้ออื่นที่ไม่ได้กล่าวมา
เพราะกิเลสนั้นมีลักษณะมากมาย ดังที่แสดงไว้ในหมวดอุปกิเลส ๑๖ และที่แสดงไว้ถึง ๑๗ ข้อก็มี
ไม่ว่าข้อใดจะโผล่ขึ้นมาก็ต้องเปลื้องจิตออกไปเสีย หรือเปลื้องกิเลสออกไปเสียจากจิต ไม่ให้ตั้งอยู่ในจิตได้
เพราะถ้ากิเลสข้อใดข้อหนึ่งตั้งอยู่ในจิตได้ ก็เสียอานาปานสติ เสียสมาธิในลมหายใจเข้าออก
เพราะสติกับสมาธินั้นจะอยู่กับกิเลสไม่ได้ กิเลสก็อยู่กับสติสมาธิไม่ได้ ต้องรีบตั้งสติตั้งสมาธิขึ้นมา กิเลสก็จะสงบระงับลงไป
ก็จะถูกเปลื้องออกไป เพราะทั้งสองอย่างนี้จะไม่ตั้งขึ้นพร้อมๆ กัน เมื่อกิเลสตั้งขึ้นได้ สมาธิกับสติก็หาย
และเมื่อกิเลสหาย สติกับสมาธินี้ก็ตั้งขึ้นมาได้ จึงต้องมีสติที่จะคอยเปลื้องจิตออกจากกิเลสทั้งปวงอยู่ตลอดเวลา
ให้จิตปลอดกิเลส และเมื่อจิตปลอดกิเลสแล้ว อานาปานสติสมาธิก็กลับมาตั้งอยู่เต็มจิต ให้อานาปานสติสมาธิตั้งอยู่เต็มจิต
จึงจะชื่อว่าเปลื้องจิตได้ เมื่อปฏิบัติได้ในขั้นนี้ ก็ชื่อว่าปฏิบัติได้ในขั้นจิตตานุปัสสนาครบทั้ง ๔
รวมความว่าในขั้นจิตตานุปัสสนานี้ก็มี ๔ ชั้นหรือ ๔ ขั้น ตรัสสอนให้ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่าเราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจเข้าหายใจออก
ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่าเราจักทำจิตให้บังเทิงยิ่งขึ้น หายใจเข้าหายใจออก ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ
หายใจเข้าหายใจออก ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่า เราจักศึกษาคือสำเหนียกกำหนดว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้าหายใจออก
และเมื่อถึงขั้นนี้ จิตนี้ก็มีอานาปานสติสมาธิตั้งอยู่เต็มจิต พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า
พระองค์ไม่ตรัสจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแก่ผู้ที่มีสติหลงลืม กลับความก็คือว่า
ตรัสว่าบุคคลผู้มีสติไม่หลงลืมย่อมได้จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็คือว่ามีอานาปานสติสมาธิตั้งอยู่เต็มจิตนั้นเอง
เพราะว่าเปลื้องจิตจากกิเลสทั้งหลายได้ อานาปานสติสมาธิจึงตั้งอยู่เต็มจิต เป็นอันได้จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๔ ขั้น หรือ ๔ ชั้น
ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-253.htm
**********************************************************************************
สำหรับผู้ที่สนใจในหมวดอื่นๆนั้น กายและเวทนา ฉันได้ตั้งกระทู้ไว้ที่...
https://ppantip.com/topic/37547724
https://ppantip.com/topic/37549961
ฉันคิดว่า เทศนาของสมเด็จฯท่านเป็นอะไรที่... ที่นักปฏิบัติทุกท่านควรจะสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
เป็น ROAD MAP สำหรับนักเดินทางไปสู่พระนิพพานที่ดีมากๆ
ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติแบบไหน จะเริ่มจากสมถะกองใด ก็ย่อมจะนำแนวทางเหล่านี้ไปใช้ได้ทั้งนั้น
เพราะอย่างไรเสีย เมื่อจิตเข้าสู่หนทางแห่งสมาธิ(แม้แต่การใช้วิปัสสนานำ) ก็จะเกิดเวทนา และเกี่ยวข้องกับจิตเสมอ
ผู้ใดที่ทำสมถะสมาธิหรือแม้แต่วิปัสสนามาตั้งนานแล้วไม่ถึงไหนเลย ก็ลองอ่านและศึกษาธรรมเทศนาของสมเด็จฯท่านดูนะจ๊ะ
อานาปานสติ ๔ ชั้นในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์ดีเยี่ยม
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต
ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ได้แสดงสติปัฏฐานทั้ง ๔ ตั้งสติพิจารณากายเวทนาจิตธรรม ตามพระพุทธภาษิตที่ได้ตรัสยกอานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
นับตั้งแต่ชั้นกายขึ้นไปโดยลำดับ ติดต่อเนื่องกัน เป็นชั้นกายานุปัสสนา ๔ ชั้น สืบต่อเวทนานุปัสสนา ๔ ชั้น วันนี้จะต่อชั้นจิตตานุปัสสนา
แต่จะแสดงอนุสนธิคือความสืบเนื่องจากชั้นเวทนาว่า ในชั้น ๔ ของเวทนานุปัสสนานั้น ตรัสสอนให้ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่า
เราจักระงับจิตตสังขารเครื่องปรุงจิต หายใจเข้าหายใจออก ซึ่งมีอธิบายว่าจิตตสังขารนั้นได้แก่ สัญญา เวทนา ชื่อว่าจิตตสังขาร
เพราะเป็นเครื่องปรุงจิต ให้ยินดีก็ได้ ให้ยินร้ายก็ได้ ให้หลงสยบติดอยู่ก็ได้
เพราะฉะนั้น ในข้อเวทนาเอง ซึ่งเมื่อปฏิบัติสืบเนื่องขึ้นมาจากชั้นกาย ก็ย่อมจะได้ปีติได้สุขซึ่งเป็นสุขเวทนา
ปรกติย่อมจะปรุงใจให้ยินดี คือให้มีราคะติดอยู่ในสุข จึงได้ตรัสสอนในขั้นเวทนา ว่าให้ศึกษาทำความรู้จักสุขเวทนาที่ได้นั้น
ว่าเป็นจิตตสังขารเครื่องปรุงจิตให้ติด เป็นการปฏิบัติในขั้น ๓ ของเวทนานุปัสสนา
และในขั้น ๔ ก็ให้ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่าจักสงบระงับจิตตสังขาร คือระงับสัญญาเวทนา ไม่ให้ปรุงจิตให้ติด
นับเป็นขั้นที่ ๔ ของเวทนานุปัสสนา
จิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๑
และเมื่อได้ขั้นที่สุด คือขั้นที่ ๔ ของเวทนานุปัสสนาดั่งนี้แล้ว ก็ให้ปฏิบัติสืบต่อขึ้นมาในขั้นจิตตานุปัสสนา
อันเป็นสติปัฏฐานข้อที่ ๓ คือให้ศึกษาสำเหนียกกำหนด ว่าเราจักรู้ทั่วจิตหายใจเข้า เราจักรู้ทั่วจิตหายใจออก
อันนับเป็นจิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๑
และก็พึงทราบว่าจิตที่ตรัสสอนให้ทำความรู้ทั่วนี้ เป็นจิตที่ไม่มีจิตตสังขารคือเครื่องปรุงจิตแล้ว
จึงเป็นจิตที่สงบรำงับ จากราคะคือความติดใจยินดีในสุข หรือจากปฏิฆะคือความกระทบกระทั่งไม่ยินดีในทุกข์
ที่เรียกกันง่ายๆ ว่าความยินดีความยินร้าย เป็นจิตที่สงบจากความยินดีจากความยินร้าย
จะกล่าวว่าเป็นจิตที่ตั้งอยู่ในอุเบกขาก็ได้ คือเป็นกลาง ไม่ยินดีติดอยู่ในสุขเวทนา ไม่ยินร้ายในทุกขเวทนาที่ตรงกันข้าม
แต่ว่าในที่นี้น่าจะในสุขเวทนา คือในขั้นจิตตานุปัสสนานี้ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะย่อมได้ปีติได้สุขดังกล่าว
จึงเป็นจิตที่สงบจากทุกขเวทนามาในขั้นนั้นแล้ว ปรากฏปีติสุข แต่ว่าเมื่อรำงับจิตตสังขาร คือไม่ให้ปีติสุขนี้มาปรุงจิตให้ยินดีติดอยู่ได้แล้ว
ก็เป็นจิตที่เป็นกลางๆ ไม่ปรากฏราคะคือความติดอยู่ในสุข ก็ให้ทำความกำหนดรู้จักจิตดั่งนี้
พร้อมกับทำความกำหนดรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ว่าจิตเป็นดั่งนี้หายใจเข้า จิตเป็นดั่งนี้หายใจออก
อันนับว่าเป็นจิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๑
จิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๒
เมื่อกำหนดให้รู้จักจิตที่ไม่มีสุขปรุงจิตให้ยินดีติดอยู่ดั่งนี้ หายใจเข้าหายใจออก แล้ว ก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติต่อ เป็นขั้นที่ ๒ ต่อไป
คือให้ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงยิ่งขึ้นหายใจเข้า เราจักทำจิตให้บันเทิงยิ่งขึ้นหายใจออก
คือแม้จะไม่ให้สุขเวทนามาปรุงจิตให้ติดในสุข แต่ก็ต้องการที่จะทำจิตให้บันเทิง
อาการจิตที่บันเทิงนี้ ก็ตรงกันข้ามกับจิตที่ห่อเหี่ยว เศร้า ระทม หรือแห้งใจ ต้องไม่ให้จิตแห้งเศร้า แต่ให้จิตบันเทิง
ก็นับว่าเป็นอาการของความสุขอย่างหนึ่งเหมือนกัน
ความบันเทิงดั่งนี้ เป็นความต้องการของการปฏิบัติทำสมาธิ ถ้าหากว่าจิตมีความบันเทิงในสมาธิ ก็ย่อมจะทำให้ปฏิบัติในสมาธิได้
ถ้าจิตไม่บันเทิงในสมาธิ ก็ยากที่จะทำสมาธิได้ หรือทำไม่ได้ จึงต้องรักษาจิตไว้ให้บันเทิงอยู่เสมอในสมาธิ
และการที่ไม่ให้สุขเวทนาปรุงจิตให้ติดอยู่ในสุขนั้น อาจจะทำให้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในจิตได้ ทำให้จิตหมดความบันเทิงได้
ต้องไม่ให้เป็นอย่างนั้น คือต้องให้จิตมีความบันเทิง แต่ไม่ยอมให้ความบันเทิงซึ่งเป็นความสุขอย่างหนึ่งของจิต
มาทำจิตให้ติดอยู่ในสุขบันเทิง เพียงแต่อาศัยความบันเทิงสำหรับให้เป็นที่ตั้งของสมาธิ
จึงต้องมีการศึกษาสำเหนียกกำหนดปฏิบัติทำจิตให้บันเทิงยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำหนดรู้ ว่าหายใจเข้า ว่าหายใจออก
พร้อมกับทั้งว่าจิตบันเทิงยิ่งขึ้น ซึ่งคำว่ายิ่งขึ้นในที่นี้มีความหมายว่าต่อเนื่องกันไปก็ได้ คือต่อไปข้างหน้า คือยิ่งๆ ขึ้น
คือหมายความว่าสืบต่อไป ไม่ให้ขาดหายก็ได้ หมายความว่ามากขึ้นก็ได้ อันนับว่าเป็นจิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๒
จิตตานุปัสสนาขั้นที่ ๓ และขั้นที่ ๔
และเมื่อปฏิบัติได้ขั้นที่ ๒ ดั่งนี้แล้ว ก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติในขั้นที่ ๓ ต่อไปว่า ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่า
เราจักตั้งจิตให้เป็นสมาธิหายใจเข้า เราจักตั้งจิตให้เป็นสมาธิหายใจออก คือให้ปฏิบัติรักษาสมาธิจิตสืบต่อไป ยิ่งขึ้นไป
ถ้าไม่เช่นนั้นจิตก็จะออกจากสมาธิ อานาปานสติที่ปฏิบัติก็จะสะดุดหยุดลง จึ่งต้องปฏิบัติรักษาสมาธิจิต
ที่มีลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นอารมณ์สืบต่อไป ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา
คือจะต้องปฏิบัติให้เป็นดั่งนี้ ตั้งใจให้เป็นอย่างนี้ คือให้จิตเป็นสมาธิหายใจเข้า ให้จิตเป็นสมาธิหายใจออก
ให้จิตกำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นี่แหละ เป็นที่ตั้งของสมาธิ
และให้ตัวสมาธินี่ตั้งอยู่ในลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เท่านั้น
เมื่อเป็นดั่งนี้ สมาธิจิต พร้อมทั้งอานาปานสติ ก็รวมกัน ดำเนินไปด้วยกัน ไม่สะดุดหยุดลง คือมุ่งให้สมาธิจิตนี้บังเกิดขึ้นสืบต่อ
พร้อมกับอานาปานสติไปด้วยกัน ควบคู่กันไป เพราะสมาธินั้น ก็สมาธิอยู่ในลมหายใจเข้าออก
อันประกอบด้วยสติที่กำหนด และจิตก็ตั้งมั่น ไม่ว่อกแว่ก สั่นคลอน เมื่อปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ก็ชื่อว่า
เป็นการปฏิบัติในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานขั้นที่ ๓
เมื่อได้ขั้นที่ ๓ ดั่งนี้ ก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติในขั้นที่ ๔ ต่อไป คือให้ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่า
เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก คือต้องมีสติระมัดระวังสมาธิจิต พร้อมทั้งอานาปานสติที่ได้มาโดยลำดับ
ให้ดำรงอยู่สืบต่อไปด้วย
เพราะว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่าย รักษายากห้ามยาก จึงอาจจะเผลอ จึงบังเกิดเป็นกิเลสโผล่เข้ามาได้
เพราะฉะนั้น จึงได้มีอธิบายว่าจะต้องคอยระมัดระวัง คอยเปลื้องจิตจากอะไรบ้าง ที่ท่านสอนเอาไว้
ก็ยกเอาบรรดากิเลสทั้งหลาย หลายข้อ ขึ้นมา (เริ่ม ๑๗๐/๑) คือให้คอยเปลื้องจิตจากราคะความติดใจยินดี
จากโทสะความกระทบกระทั่ง ขัดเคือง ไม่พอใจ จากโมหะความหลง ไม่รู้จริง อันเป็นเหตุให้ถือเอาผิด จากมานะความสำคัญตน
เช่นความสำคัญตนว่าเราได้แล้วถึงแล้วเป็นต้น จากทิฏฐิคือความเห็นที่ผิดไม่ถูกต้องต่างๆ จากวิจิกิจฉาความเคลือบแคลงสงสัย
จากถีนมิทธะความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม จากอุทธัจจะความฟุ้งซ่าน จากอหิริคือความไม่ละอายใจต่อความชั่ว
จากอโนตัปปะคือความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว เพราะอาจจะมีกิเลสเหล่านี้ข้อใดข้อหนึ่งโผล่ขึ้นมา เพราะความเผลอสติ
หรือความที่สมาธิหลุด อันเนื่องมาจากเผลอสติ เผลอสติเมื่อใดสมาธิก็หลุดเมื่อนั้น และเมื่อสมาธิหลุดเมื่อใดฟุ้งเมื่อใด
สติก็ย่อมเสียเมื่อนั้นเหมือนกัน ซึ่งอาจมีได้ เพราะจิตนี้ดิ้นรนกวัดแกว่งไปได้เร็วมาก จึงอาจจะมีกิเลสเหล่านี้โผล่ขึ้นมาในจิตเป็นครั้งคราว
ฉะนั้น ก็ต้องรีบมีสติรู้โดยเร็วและเปลื้องจิตออกเสีย จากข้อใดข้อหนึ่งทุกข้อเช่นที่กล่าวมา หรือแม้ข้ออื่นที่ไม่ได้กล่าวมา
เพราะกิเลสนั้นมีลักษณะมากมาย ดังที่แสดงไว้ในหมวดอุปกิเลส ๑๖ และที่แสดงไว้ถึง ๑๗ ข้อก็มี
ไม่ว่าข้อใดจะโผล่ขึ้นมาก็ต้องเปลื้องจิตออกไปเสีย หรือเปลื้องกิเลสออกไปเสียจากจิต ไม่ให้ตั้งอยู่ในจิตได้
เพราะถ้ากิเลสข้อใดข้อหนึ่งตั้งอยู่ในจิตได้ ก็เสียอานาปานสติ เสียสมาธิในลมหายใจเข้าออก
เพราะสติกับสมาธินั้นจะอยู่กับกิเลสไม่ได้ กิเลสก็อยู่กับสติสมาธิไม่ได้ ต้องรีบตั้งสติตั้งสมาธิขึ้นมา กิเลสก็จะสงบระงับลงไป
ก็จะถูกเปลื้องออกไป เพราะทั้งสองอย่างนี้จะไม่ตั้งขึ้นพร้อมๆ กัน เมื่อกิเลสตั้งขึ้นได้ สมาธิกับสติก็หาย
และเมื่อกิเลสหาย สติกับสมาธินี้ก็ตั้งขึ้นมาได้ จึงต้องมีสติที่จะคอยเปลื้องจิตออกจากกิเลสทั้งปวงอยู่ตลอดเวลา
ให้จิตปลอดกิเลส และเมื่อจิตปลอดกิเลสแล้ว อานาปานสติสมาธิก็กลับมาตั้งอยู่เต็มจิต ให้อานาปานสติสมาธิตั้งอยู่เต็มจิต
จึงจะชื่อว่าเปลื้องจิตได้ เมื่อปฏิบัติได้ในขั้นนี้ ก็ชื่อว่าปฏิบัติได้ในขั้นจิตตานุปัสสนาครบทั้ง ๔
รวมความว่าในขั้นจิตตานุปัสสนานี้ก็มี ๔ ชั้นหรือ ๔ ขั้น ตรัสสอนให้ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่าเราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจเข้าหายใจออก
ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่าเราจักทำจิตให้บังเทิงยิ่งขึ้น หายใจเข้าหายใจออก ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่าเราจักทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ
หายใจเข้าหายใจออก ศึกษาสำเหนียกกำหนดว่า เราจักศึกษาคือสำเหนียกกำหนดว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้าหายใจออก
และเมื่อถึงขั้นนี้ จิตนี้ก็มีอานาปานสติสมาธิตั้งอยู่เต็มจิต พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า
พระองค์ไม่ตรัสจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแก่ผู้ที่มีสติหลงลืม กลับความก็คือว่า
ตรัสว่าบุคคลผู้มีสติไม่หลงลืมย่อมได้จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็คือว่ามีอานาปานสติสมาธิตั้งอยู่เต็มจิตนั้นเอง
เพราะว่าเปลื้องจิตจากกิเลสทั้งหลายได้ อานาปานสติสมาธิจึงตั้งอยู่เต็มจิต เป็นอันได้จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๔ ขั้น หรือ ๔ ชั้น
ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-253.htm
**********************************************************************************
สำหรับผู้ที่สนใจในหมวดอื่นๆนั้น กายและเวทนา ฉันได้ตั้งกระทู้ไว้ที่...
https://ppantip.com/topic/37547724
https://ppantip.com/topic/37549961
ฉันคิดว่า เทศนาของสมเด็จฯท่านเป็นอะไรที่... ที่นักปฏิบัติทุกท่านควรจะสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
เป็น ROAD MAP สำหรับนักเดินทางไปสู่พระนิพพานที่ดีมากๆ
ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติแบบไหน จะเริ่มจากสมถะกองใด ก็ย่อมจะนำแนวทางเหล่านี้ไปใช้ได้ทั้งนั้น
เพราะอย่างไรเสีย เมื่อจิตเข้าสู่หนทางแห่งสมาธิ(แม้แต่การใช้วิปัสสนานำ) ก็จะเกิดเวทนา และเกี่ยวข้องกับจิตเสมอ
ผู้ใดที่ทำสมถะสมาธิหรือแม้แต่วิปัสสนามาตั้งนานแล้วไม่ถึงไหนเลย ก็ลองอ่านและศึกษาธรรมเทศนาของสมเด็จฯท่านดูนะจ๊ะ