วิธีการขายคลื่น 900 ที่ดีที่สุด คือปล่อย jas ลงสู่ตลาด

กระทู้คำถาม
หลายๆคนมองว่า jas เป็นผู้กระทำผิด ที่ดันราคาคลื่นแล้วไม่ยอมมาจ่ายเงิน สมควรได้รับบทลงโทษด้วยการห้ามเข้าประมูลคลื่นอีก

แต่จริงๆแล้ว ทุกการกระทำผิดย่อมให้อภัยได้เสมอ นักการเมืองทุจริต โดนตัดสิทธิ์ 5 ปีก็กลับมาเล่นการเมืองได้  นักฟุตบอลโดนใบแดง ถูกลงโทษด้วยการโดนแบน 3 นัด ก็กลับมาลงสนามได้

แล้ว jas ที่ทำพลาดไปด้วยข้อหาไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้ทันเวลา ทั้งๆที่พยายามเต็มที่แล้ว ก็ควรได้รับบทลงโทษอยู่ แต่ต้องตามความเหมาะสม ไม่ลงโทษจนเกินเลยไป ตัดสิทธิ์พวกเขาซักระยะเวลาหนึ่ง ก็ให้อภัย ให้พวกเขากลับมาได้

ซึ่งว่ากันตามจริงแล้ว มันก็เป็นความผิดของกสทช.ด้วย ที่ไม่ตั้งกฎให้รอบคอบ
ถ้าตั้งกฎแต่แรกว่า ผู้ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้จะถูกตัดสิทธิ์ในการประมูลครั้งต่อไป เหตุการณ์นี้ก็คงไม่เกิด ไม่มีใครกล้ากระทำผิด
ซึ่งที่ผ่านมา jas ก็ถูกลงโทษด้วยการปรับเงินไปแล้ว ถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ลงตลาดมือถือถึง 3 ปีแล้ว ถือว่าได้รับโทษพอสมควรแล้ว ก็ควรให้อภัยกันในระดับหนึ่ง

  แต่ถ้า jas จะเข้าสู่ตลาดมือถืออีกครั้งด้วยความสมเหตุสมผล ก็ให้ jas จ่ายค่าคลื่น 900  ในราคาที่ตัวเองปั่นมา ในราคาที่ตัวเองมีส่วนร่วมกระทำ ซึ่งราคาที่ปั่นคือ 76,000 ล้าน เหลือครึ่งนึง 5 mhz ราวๆ 38,000 ล้าน เมื่อจ่ายแล้วจึงเข้าสู่ตลาดได้
แล้วการลงทุนตอนนี้มันมีอะไรบางอย่างที่ง่ายและยืดหยุ่นกว่า 3 ปีที่แล้ว สามารถนำคลื่นทำ 4G/5G ได้เลย ทั้งคุยทั้งเน็ตบนคลื่น 4G 900  ไม่ต้องไปเช่า 3G cat เพื่อทำ voice ให้เปลืองต้นทุนเหมือน 3 ปีที่แล้ว ซื้ออุปกรณ์ของ ericsson มาติดตั้งโครงข่าย ก็เป็นไฮบริดรองรับ 4G/5G ในคลื่นเดียวกัน พอเครื่องรองรับ 5G มา ลูกค้า jas ก็ได้เล่น 5G ด้วยเลย

Ericsson Spectrum Sharing ช่วยให้การเปลี่ยนถ่ายโครงข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็วและราบรื่น เพราะสามารถรองรับระบบ 4G และ 5G ภายในคลื่นความถี่เดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน
https://news.siamphone.com/news-37857.html

  และคลื่น 900 5 mhz นี้ยังใช้ได้เต็มประสิทธิภาพไปอีกหลายปีกว่ารถไฟความเร็วสูงจะมา กว่าจะได้ติด filter เชื่อได้อย่างน้อย 4 ปี รถไฟความเร็วสูงยังสร้างได้ไม่ถึง 10 กิโลเมตรเอง  กว่าจะถึงเวลานั้นที่จะต้องติด filter  jas สามารถประมูลคลื่นอื่นๆมาเสริมคลื่น 900 ได้ ทำให้คลื่น 900 5 mhz ในการทำธุรกิจนี้คุ้มค่าแน่นอน
ซึ่งการเข้ามาของ jas นี้ ก็น่าจะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระการวางโครงข่าย 5G ให้กับ operator รายเก่าด้วย เพราะว่า 5G มีแผนการเรื่องการแชร์เสาอยู่แล้ว
  ถ้า jas ลงสู่ตลาด ก็ให้ติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายบนเสา operator รายเก่าเลย และช่วยจ่ายค่าเช่าที่เสาสัญญาณให้ operator รายเก่าด้วย และในปีๆนึงก็ให้ jas ทำสัญญาสร้างเสาใหม่ซัก 5,000 เสา เป็นต้น เพื่อให้ operator รายเก่านำอุปกรณ์ของตัวเองไปติดตั้งบนเสา jas ในอนาคต เป็นการลดภาระการวางโครงข่ายยุค 5G ให้แก่ operator รายเก่า เพราะ 5G ที่มีคุณภาพต้องลงทุนเสาเยอะมาก ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเกิด operator รายใหม่ เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

ทั้งนี้ การมาถึงของเทคโนโลยีเครือข่าย 5G จะทำให้วงการโทรคมนาคมพลิกโฉมไปจากปัจจุบันนี้อีกมาก โดย ดร.สุพจน์ได้คาดการณ์ว่าจะมี 3 ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ได้แก่
1. มีโอกาสเกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้ามาในตลาด ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่ต่ำ กลาง หรือสูง
2. 5G จะไม่ใช่เรื่องของโอเปอเรเตอร์เป็นผู้ลงทุนสร้างโครงข่ายแล้วใคร ๆ ก็มาใช้เหมือนในอดีต เพราะ 5G คือการติดเซลล์ไซต์อันเล็ก ๆ เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย รอบนี้ 5G จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากหลายภาคส่วนที่อยากจะทำ และมาร่วมลงทุนกับโอเปอเรเตอร์ – รัฐให้การสนับสนุน
3. เครือข่าย 5G มาพร้อมเทคโนโลยีแบบใหม่ ที่เรียกว่า Software Define Network คือในเน็ตเวิร์กเดียวสามารถมีผู้ให้บริการหลายรายได้ ไม่จำเป็นต้องไปลงทุนโครงข่ายทั้งหมดคนเดียว ดังนั้นจะได้เห็นภาพของดังกล่าวเกิดขึ้นแน่นอน
https://www.thebangkokinsight.com/43520

  ในอนาคตที่ jas ทำธุรกิจอยู่ตัวแล้ว ก็ให้ jas เลือกที่จะประมูลคลื่นต่อไปได้เช่น 700/1800/2600/28 Ghz จึงจะเป็นหนทางการประมูลคลื่นของกสทช.ในปัจจุบันและอนาคตที่ดีที่สุด เพราะคลื่น 700 90 mhz 1800 อีก 7 ใบ 2600 ทั้งหมด 180 mhz  28 Ghz มีทั้งหมด 3000 mhz ถ้าเล่นกันแค่ 3 ค่าย ยังไงในอนาคต คลื่นจะเหลือทิ้งจำนวนมาก แต่ถ้าให้มีรายใหม่ตั้งแต่ตอนนี้ อนาคตก็จะมีคนไปประมูลคลื่นเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม  คลื่นไม่เหลือทิ้งจนเกินไป

  ส่วน dtac น่าจะประมูลคลื่น 2600 หรือ 3500 mhz ในอนาคตอันใกล้
  สมมติว่า dtac ประมูลคลื่น 3500 mhz เต็มแบนด์วิธ 100 mhz มาสำเร็จ อีกค่ายที่น่าจะเอาด้วย น่าจะเป็น ais เพราะคงไม่ยอมให้ dtac เป็นเจ้าเดียวในไทยที่มีทั้งคลื่น fdd-tdd ขอให้มีโอกาส มีช่วงที่เหมาะสม ais จะต้องเก็บ tdd มาจนได้
  กสทช.ก็น่าจะจัดประมูลคลื่น 2600,3500 คลื่นใดคลื่นหนึ่งปีหน้าไปเลย มีโอกาสเอาคลื่นกันแน่ๆ 2 เจ้า กำหนดระยะเวลาจ่ายค่าคลื่น 4 ปี ของ dtac จ่ายค่าคลื่นได้สบายๆอยู่แล้ว ของ ais ลงทุนประมูลไปหลายคลื่น ต้นทุนสูง จะไปผ่อนผันยืดเวลาจ่ายค่าคลื่น 900 ก็ไม่ได้ แก้กฎเดิมไม่มีใครยอมรับ ที่ทำได้คือ ตั้งกฎข้างหน้าให้ดี อะลุ่มอะล่วยให้ ais สามารถผ่อนชำระค่าคลื่นได้ภายใน 6-7 ปี หาก ais เข้าประมูลคลื่นเพิ่มเติม คลื่นใดคลื่นหนึ่งในปีหน้า ซึ่งหากตั้งกฎแบบนั้นไม่ได้แต่การประมูลรอบแรก ก็เข้าประมูลรอบที่สองไปแล้วกัน

  ถ้าคลื่น 2600,3500 มีแบนด์วิธรวมกัน 380 mhz คงได้กันหมดทุกค่าย เหลืออีกต่างหาก คงไม่มีใครกดเอาคลื่นไปเยอะๆ เพื่อแบกหนี้ ทุกคนมีประสบการณ์กันหมดแล้ว

พอถึงปี 63 ที่คลื่น 700 มา 90 mhz คิดว่า 3 ค่ายน่าจะเอาคลื่นประมาณนี้ true 5 mhz  ais 10 mhz  dtac 20 mhz หาก dtac ไม่ได้คลื่น 900 นะ เพราะคิดว่า true มีคลื่นความถี่ต่ำ 850/900 อาจจะเอามาแค่ 5 พอ ยิง coverage และรักษาต้นทุน  ais น่าจะเอามา 10 เพราะมีคลื่น 900 10 mhz คลื่นเดียว  dtac น่าจะเอามาเต็ม block 20 mhz

อยากให้ dtac ไปทบทวนเรื่องคลื่น 900 ใหม่ เพราะแผนเดิมหลายปีก่อนเคยอยากได้คลื่น 700,2600
ถ้า dtac เอาคลื่น 900 ก็ต้องข้าม 2600 ไปเอา 700 เลย เพราะลูกค้าไม่มาก ประมูลอะไรไม่ได้มาก  คลื่น 2600 ที่กสทช.จะจัดประมูลอาจเป็นคลื่นเหลือทิ้ง ไม่ใครเอา

รูปแบบการประมูลที่ดีที่สุด คือ jas เอาคลื่น 900  dtac เอาคลื่น 2600 และต่อด้วยคลื่น 700 กสทช.ขายคลื่นได้ถึง 3 คลื่น และมีโอกาสมากกว่า 3 คลื่นในอนาคต หาก jas ซื้อต่อไปอีก

วันนี้ถึงวันที่ 8 ผู้บริหาร jas ก็น่าจะไปขอเอกสารการเข้าประมูลที่กสทช.นะ เอามานั่งศึกษาข้อมูลก่อน เรื่องเข้าประมูลค่อยว่ากันอีกที คิดว่าแค่ขอเอกสารเนื้อหาเข้าประมูล กสทช.ไม่ว่าอะไรหรอก มีคนเข้าประมูลก็ดีใจแล้ว ครั้งนี้ถ้าได้เข้าประมูลแล้ว ไม่น่าพลาด เชื่อว่า jas หาเงินมาจ่ายได้แน่นอน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่