น่าออกแบบประมูลคลื่นให้รายใหญ่แข่งกับรายใหญ่ รายเล็กแข่งกับรายเล็ก เจ้าใหม่แข่งกับเจ้าใหม่

ที่จริงการแข่งขันประมูลคลื่น ก็ควรพิจารณาสภาพความจริงของผู้เข้าร่วมประมูลด้วยว่า ผู้เข้าร่วมจะแข่งประมูลได้แค่ไหน รายเล็กจะประมูลสู้รายใหญ่ได้มั้ย ถ้ารายเล็กประมูลคลื่นไปได้ ราคาคลื่นที่ประมูลจะสร้างปัญหาในการแข่งขันระยะยาวให้เขาหรือเปล่า

    ถ้าราคาคลื่นที่ได้แพงเกินไปสำหรับรายเล็กหรือสำหรับเจ้าใหม่ที่ลงแข่งขันในสนามสื่อสาร รายเล็กหรือเจ้าใหม่ก็ไม่รอดอยู่ดี จึงต้องมีราคาประมูลคลื่นที่แตกต่างกันในแต่ระดับผู้ประกอบการ
   รายใหญ่ในตลาดก็ต้องราคาประมูลนึง รายเล็กก็ต้องประมูลอีกราคานึง เจ้าใหม่ที่ไม่เคยลงสนามก็ต้องอีกราคานึง
   แล้วการแข่งประมูล ก็ควรให้รายใหญ่สู้กับรายใหญ่ รายเล็กสู้กับรายเล็ก เจ้าใหม่สู้กับเจ้าใหม่ ถึงจะเกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน ทำให้สามารถลงทุนแข่งขันในตลาดระยะยาวได้

    รายเล็กในตลาดก็มีโครงสร้างพื้นฐานเดิมอยู่ประมาณนึง พอได้คลื่นที่ราคาไม่แพงไป ก็สามารถต่อยอดจากของเดิมได้ ถ้าทำแผนการตลาดดีๆ ใช้เวลาซักพักใหญ่ ก็มีโอกาสที่แข่งขันกับรายใหญ่เจ้าเดิมในตลาดได้
   เจ้าใหม่นี่คือไม่มีคลื่นความถี่ ไม่มีทั้งโครงสร้างพื้นฐานเดิม ก็ได้คลื่นราคาถูกที่สุด และต้องวางแผนเรื่องการเช่าเสาไว้ให้ดีด้วย ต้องคุยกับรายเดิมๆที่มีโครงสร้างพื้นฐานมากบ้างน้อยบ้าง และขอเช่าเสาไป ในช่วงเวลาที่เช่าเสาอยู่ ก็ค่อยทำเสาสัญญาณของตัวเองใหม่ไปเรื่อยๆ อย่างนี้ถึงพอจะเป็นหนทางที่เจ้าใหม่ที่ไม่มีทั้งคลื่นในมือและไม่มีเสาสัญญาณเดิม พอที่จะทำธุรกิจเอาตัวรอดผ่านไปได้

    ถ้านำคลื่น 3500 จำนวน 100 mhz มาประมูลจริง ก็น่าจะให้เฉพาะรายเล็กประมูลไป ส่วนเจ้าใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาด ถ้าจะเอาคลื่น 3500 ได้ ก็ต้องมีคลื่นความถี่ต่ำอย่าง 850 ด้วย ไม่งั้นมันก็แข่งขันสู้ใครไม่ได้

ส่วนราคาคลื่นสำหรับรายใหญ่ ที่มีคนคัดค้านว่า ถูกเกินไป ราคาประมูลครั้งแรกแพงกว่านี้ คือมันต้องดูบริบทการแข่งขันในแต่ละช่วงเวลาด้วยว่า สภาพการแข่งขันเป็นยังไง เทคโนโลยีเดินมาถึงจุดไหนแล้ว จะเอามาเทียบกับ 10 กว่าปีก่อนไม่ได้หรอก คนละสภาพการแข่งคน คนละความต้องการทางการตลาดกัน

    อีกอย่างถ้าคิดว่าคลื่นที่นำมาประมูลมันถูกไป ก็ให้ดูอย่างญี่ปุ่น เขาให้คลื่นให้ผู้ประกอบการฟรีๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำต่อยอดขยายโครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อให้คุณภาพและราคาการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ประชาชน แต่ประเทศไทยก็ยึดติดรูปแบบการเก็บค่าต๋งจนเกินไป ไม่ได้คำนึงว่า พอทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการถูกลง รัฐก็สามารถเก็บภาษีจากผู้ประกอบการได้มากขึ้น มีหนทางเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากทางอื่นมากขึ้น ประโยชน์ก็เกิดแก่ภาครัฐ ผู้ประกอบการ ประชาชน อย่างสมดุลกัน ไม่เหมือนก่อนหน้านี้ที่ ประมูลคลื่นราคาแพงมาก รัฐก็ได้เงินก้อนใหญ่ แต่พอได้อยู่ระยะเวลานึง ก็ไม่สามารถได้แบบนั้นอีก เพราะมีผู้ประกอบการบางรายไปต่อไม่ไหว เกิดการควบรวมขึ้น รัฐก็ได้เงินน้อยลง ประชาชนก็ต้องใช้เน็ตแพงขึ้น แต่คุณภาพแย่ลง ผู้ประกอบบางรายก็จากไป มีผู้ประกอบการรายเดิมที่มีลูกค้าเพิ่มขึ้นราวๆ 2 เท่า

    แต่ในวันนี้ ก็ยังมีคนที่ชอบการประมูลที่มีส่วนคล้ายๆกับแนวทางเดิมอยู่ น่าจะดูงานต่างประเทศบ้าง
  ส่วนตัวคิดว่า ถ้าเปิดประมูลใหม่รอบนี้ ก็น่าจะทำแบบรายใหญ่สู้กับรายใหญ่ด้วยราคาไม่แพง เปิดประมูลพร้อมกัน จะได้ไม่เกิดการดันราคาให้ฝ่ายตรงข้ามได้คลื่นในราคาไม่เป็นจริง ไม่สมเหตุสมผล เพราะถ้าเปิดประมูลพร้อมกันแต่ละฝ่ายก็ต้องเลือกคลื่นที่ตัวเองต้องการมากที่สุดเป็นอันดับแรก จะกดประมูลเพื่อเอาคลื่นตัวเองก่อน ตัดการดันราคาคู่แข่งไปได้มาก
  และวางกฎเกณฑ์การประมูลสำหรับรายเล็กและเจ้าใหม่ให้ดี ทำอย่างไรให้กลุ่มนี้สามารถแข่งขันในตลาดระยะยาวได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่