17 กันยายน เวลา 14:51 น.
รายงานการฟื้นฟูนักกีฬาวอลเล่ย์บอลทีมชาติ:
รับมาอยู่ภายใต้การดูแลที่โรงพยาบาลครบ 2 สัปดาห์ ขณะนี้เริ่มให้วิ่งลงนน.ได้ 50% ของน้ำหนักตัว ในความเร็วประมาณ 4 ไมล์ต่อชั่วโมงเป็นระยะเวลา 15-20 นาที โดยใช้ลู่วิ่งพยุงน้ำหนักหรือ Alter G Treadmill ต้องมีการพันเทปผ้าเหนียวแบบไม่ยืดที่ข้อเท้าเพื่อพยุงและป้องกันการพลิกซ้ำ ทั้งนี้เพื่อให้นักกีฬาได้เริ่มเสริมความฟิตของปอดและหัวใจหลังจากหยุดออกกำลังแบบแอโรบิกนานๆมาระยะหนึ่ง
การฟื้นฟูนักกีฬาข้อเท้าพลิกระดับ 2 ต้องคำนึงถึงวิธีป้องกันไม่ให้มีอาการเจ็บข้อเท้าเรื้อรังในภายหลังโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญให้สามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เร็วด้วย จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการฟื้นฟูที่เหมาะสมทั้งในการทำให้ข้อเท้ายุบบวมโดยเร็วและให้การกระดกข้อเท้ากลับขึ้นได้ในมุมปกติ กว่าจะมาถึงจุดที่ให้ลงน้ำหนักเท้าได้จำต้องใช้วิธีการหลากหลาย (จะได้เล่าให้ฟังว่ามีวิธีการอย่างไรบ้างในคราวต่อไป)
ขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์สิทธา พงษ์พิบูลย์ คณบดี(คนใหม่)คณะวิทยาศาสตร์กีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่อนุญาตให้นักกีฬามาใช้เครื่องวิ่งของคณะฯโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในขณะที่เครื่องของโรงพยาบาลยังอยู่ในระหว่างซ่อมแซมครับ
- นักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลปิยะเวทดูแลการวิ่งควบคุมท่าทางและการลงน้ำหนักเท้าอย่างใกล้ชิด
------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันนี้ 19 กันยายน 2561
การฟื้นฟูสำหรับข้อเท้าแพลงในช่วงสัปดาห์ที่ 1 - 4
วัตถุประสงค์หลักคือ ลดการเจ็บปวด ทำให้ยุบบวมโดยเร็ว ให้ข้อเท้าเคลื่อนไหวได้ทุกมุม เสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆให้แข็งแรง ทำให้การทรงตัวบนเท้าข้างที่บาดเจ็บเป็นปกติ ฯลฯ มีได้หลายวิธีช่วยกันให้มากที่สุด ที่ได้ทำไปดังนี้
1. ใช้ที่ประคบเย็นแบบมีแรงบีบรัดที่ข้อ (Cryocuff) ใช้น้ำเย็นใส่ในถุงพิเศษที่มีแรงบีบรัดให้ได้กระชับทุกส่วน
2. ใช้อุปกรณ์ High power laser ลดการบวม
3. ใช้ ถุงลมบีบรัดไล่ไปทีละส่วน (Intermittent Pneumatic Compression) ไล่เลือดหรือน้ำเหลืองให้ไหลเวียนกลับจากปลายเท้าเข้าสู่หัวใจได้ดี
4. ใช้ Hyperbaric Oxygen Chamber เป็นถังเพิ่มความดันให้อ๊อกซิเจนซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น หวังเพิ่มการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและช่วยการลดบวม
5. ลงบ่อน้ำอุ่น 36 องศา (Warm Water Exercise) เพิ่มการออกกำลังกายในน้ำ ความอุ่นช่วยให้เลือดไหลเวียน น้ำช่วยพยุงทำให้ไม่ต้องลงน้ำหนักที่ข้อเท้ามาก และแรงต้านของน้ำยังช่วยการสร้างกล้ามเนื้อ
6. การทำ Therapeutic Exercise เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขนขาและลำตัว ฝึกการทรงตัวบนพื้นแข็งและพื้นที่นุ่ม
7. การนวดผ่อนคลายและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง Sport Massage
ต้องมีการทดสอบในแต่ละขั้นตอนถึงความก้าวหน้า ต้องรู้จักถึงข้อดีข้อเสียของอุปกรณ์ ต้องรู้จักวิธีที่ถูกต้อง และต้องระมัดระวังไม่ให้บาดเจ็บเพิ่มเติม การเลือกใช้ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน คำนึงถึงค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไปและความคุ้มของสิ่งที่จะได้รับ ทั้งหลายเหล่านี้คือ เวชศาสตร์การกีฬา ส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์กีฬาที่พูดถึงกันเป็นประจำ.
- วันแรกที่มายังบวมอยู่มากแทบไม่เห็นตาตุ่ม
- สองอาทิตย์หลังการรักษา เห็นตาตุ่มชัดขึ้น ยังมีบวมเล็กน้อยยอมรับได้
- ประคบเย็นด้วยเครื่อง Cryocuff
- ถุงสีฟ้าจะมีน้ำเย็นซึ่งถุงจะรัดข้อเท้าได้รอบ เกิดทั้ง Ice และ compress กระติกสีฟ้าจะมีเครื่องปั๊มน้ำเย็นใส่ในถุง
- เครื่อง High power laser แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูใช้ลดอาการบวมได้
- ถุงลมไล่เลือดและน้ำเหลืองจากปลายเท้าถึงต้นขา Intermittent Pneumatic compression
เครื่องจะค่อยๆบีบรัดไปทีละส่วนไล่น้ำเหลืองกลับสู่หัวใจ
- ถังเพิ่มความดันอ๊อกซิเจน Hyperbaric Oxygen therapy ช่วยให้อ็อกซิเจนซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อได้มากขึ้นเร็วขึ้น
- สระน้ำอุ่นไหลวนสำหรับการออกกำลังกายในน้ำ และความอุ่นช่วยให้เลือดไหลเวียน เก็บของเสียไปทิ้งนำของดีมาเลี้ยงส่วนต่างๆ
- การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของต้นขา Squat ระยะแรกต้องพิงหลังกับกำแพง
- Step exercise เพิ่มความแข็งแรง การทรงตัว การทำงานของปอดและหัวใจ
เนื้อหารูปภาพทั้งหมดจาก :::
https://www.facebook.com/ead.lorprayoon.5
การดูแลรักษา ฟื้นฟู "ชัชชุอร โมกศรี" นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
รายงานการฟื้นฟูนักกีฬาวอลเล่ย์บอลทีมชาติ:
รับมาอยู่ภายใต้การดูแลที่โรงพยาบาลครบ 2 สัปดาห์ ขณะนี้เริ่มให้วิ่งลงนน.ได้ 50% ของน้ำหนักตัว ในความเร็วประมาณ 4 ไมล์ต่อชั่วโมงเป็นระยะเวลา 15-20 นาที โดยใช้ลู่วิ่งพยุงน้ำหนักหรือ Alter G Treadmill ต้องมีการพันเทปผ้าเหนียวแบบไม่ยืดที่ข้อเท้าเพื่อพยุงและป้องกันการพลิกซ้ำ ทั้งนี้เพื่อให้นักกีฬาได้เริ่มเสริมความฟิตของปอดและหัวใจหลังจากหยุดออกกำลังแบบแอโรบิกนานๆมาระยะหนึ่ง
การฟื้นฟูนักกีฬาข้อเท้าพลิกระดับ 2 ต้องคำนึงถึงวิธีป้องกันไม่ให้มีอาการเจ็บข้อเท้าเรื้อรังในภายหลังโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญให้สามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เร็วด้วย จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการฟื้นฟูที่เหมาะสมทั้งในการทำให้ข้อเท้ายุบบวมโดยเร็วและให้การกระดกข้อเท้ากลับขึ้นได้ในมุมปกติ กว่าจะมาถึงจุดที่ให้ลงน้ำหนักเท้าได้จำต้องใช้วิธีการหลากหลาย (จะได้เล่าให้ฟังว่ามีวิธีการอย่างไรบ้างในคราวต่อไป)
ขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์สิทธา พงษ์พิบูลย์ คณบดี(คนใหม่)คณะวิทยาศาสตร์กีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่อนุญาตให้นักกีฬามาใช้เครื่องวิ่งของคณะฯโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในขณะที่เครื่องของโรงพยาบาลยังอยู่ในระหว่างซ่อมแซมครับ
- นักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลปิยะเวทดูแลการวิ่งควบคุมท่าทางและการลงน้ำหนักเท้าอย่างใกล้ชิด
------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันนี้ 19 กันยายน 2561
การฟื้นฟูสำหรับข้อเท้าแพลงในช่วงสัปดาห์ที่ 1 - 4
วัตถุประสงค์หลักคือ ลดการเจ็บปวด ทำให้ยุบบวมโดยเร็ว ให้ข้อเท้าเคลื่อนไหวได้ทุกมุม เสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆให้แข็งแรง ทำให้การทรงตัวบนเท้าข้างที่บาดเจ็บเป็นปกติ ฯลฯ มีได้หลายวิธีช่วยกันให้มากที่สุด ที่ได้ทำไปดังนี้
1. ใช้ที่ประคบเย็นแบบมีแรงบีบรัดที่ข้อ (Cryocuff) ใช้น้ำเย็นใส่ในถุงพิเศษที่มีแรงบีบรัดให้ได้กระชับทุกส่วน
2. ใช้อุปกรณ์ High power laser ลดการบวม
3. ใช้ ถุงลมบีบรัดไล่ไปทีละส่วน (Intermittent Pneumatic Compression) ไล่เลือดหรือน้ำเหลืองให้ไหลเวียนกลับจากปลายเท้าเข้าสู่หัวใจได้ดี
4. ใช้ Hyperbaric Oxygen Chamber เป็นถังเพิ่มความดันให้อ๊อกซิเจนซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น หวังเพิ่มการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและช่วยการลดบวม
5. ลงบ่อน้ำอุ่น 36 องศา (Warm Water Exercise) เพิ่มการออกกำลังกายในน้ำ ความอุ่นช่วยให้เลือดไหลเวียน น้ำช่วยพยุงทำให้ไม่ต้องลงน้ำหนักที่ข้อเท้ามาก และแรงต้านของน้ำยังช่วยการสร้างกล้ามเนื้อ
6. การทำ Therapeutic Exercise เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขนขาและลำตัว ฝึกการทรงตัวบนพื้นแข็งและพื้นที่นุ่ม
7. การนวดผ่อนคลายและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง Sport Massage
ต้องมีการทดสอบในแต่ละขั้นตอนถึงความก้าวหน้า ต้องรู้จักถึงข้อดีข้อเสียของอุปกรณ์ ต้องรู้จักวิธีที่ถูกต้อง และต้องระมัดระวังไม่ให้บาดเจ็บเพิ่มเติม การเลือกใช้ควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน คำนึงถึงค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไปและความคุ้มของสิ่งที่จะได้รับ ทั้งหลายเหล่านี้คือ เวชศาสตร์การกีฬา ส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์กีฬาที่พูดถึงกันเป็นประจำ.
- วันแรกที่มายังบวมอยู่มากแทบไม่เห็นตาตุ่ม
- สองอาทิตย์หลังการรักษา เห็นตาตุ่มชัดขึ้น ยังมีบวมเล็กน้อยยอมรับได้
- ประคบเย็นด้วยเครื่อง Cryocuff
- ถุงสีฟ้าจะมีน้ำเย็นซึ่งถุงจะรัดข้อเท้าได้รอบ เกิดทั้ง Ice และ compress กระติกสีฟ้าจะมีเครื่องปั๊มน้ำเย็นใส่ในถุง
- เครื่อง High power laser แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูใช้ลดอาการบวมได้
- ถุงลมไล่เลือดและน้ำเหลืองจากปลายเท้าถึงต้นขา Intermittent Pneumatic compression
เครื่องจะค่อยๆบีบรัดไปทีละส่วนไล่น้ำเหลืองกลับสู่หัวใจ
- ถังเพิ่มความดันอ๊อกซิเจน Hyperbaric Oxygen therapy ช่วยให้อ็อกซิเจนซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อได้มากขึ้นเร็วขึ้น
- สระน้ำอุ่นไหลวนสำหรับการออกกำลังกายในน้ำ และความอุ่นช่วยให้เลือดไหลเวียน เก็บของเสียไปทิ้งนำของดีมาเลี้ยงส่วนต่างๆ
- การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของต้นขา Squat ระยะแรกต้องพิงหลังกับกำแพง
- Step exercise เพิ่มความแข็งแรง การทรงตัว การทำงานของปอดและหัวใจ
เนื้อหารูปภาพทั้งหมดจาก ::: https://www.facebook.com/ead.lorprayoon.5