EEC - ซีพีเทียบไฮสปีดเทรน ฝรั่งเศส VS อิตาลี

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. ซึ่งจะยื่นซองประมูลในวันที่ 12 พ.ย. 2561 นี้ และจะประกาศผู้ชนะการประมูล พร้อมพันธมิตรร่วมในวันที่ 13 พ.ย. 2561  คาดว่าน่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในกลางปี 2562 และจะพร้อมเปิดให้บริการกลางปี 2567

โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จะมีโครงสร้างพื้นฐานเป็นรถไฟความเร็วสูงในการเชื่อมโยงทั้งภูมิภาคในการเรียกความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย

ล่าสุดนายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข หัวหน้าทีมประสานงานโครงการรถไฟความเร็วสูง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ (CP) โฮลดิ้ง จำกัด หนึ่งในบริษัทที่เข้าร่วมซื้อซองประมูล ได้เปิดเผยว่า "ซีพีได้กำลังศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงในอิตาลี ฝรั่งเศส เพราะการบริหารจัดการถือเป็นปัจจัยสำคัญมากกว่าแค่การขายตั๋วโดยสาร  แต่ต้องพัฒนาในเชิงพาณิชย์ควบคู่กันไปด้วย"

รถไฟความเร็วสูงของประเทศฝรั่งเศส ทุกคนจะรู้จักกันในชื่อว่า TGV : เตเฌเว เป็นบริการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางไกลระหว่างเมืองของ SNCF (แอ็สแอนเซแอ็ฟ) เป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส ดำเนินการกิจการในรุปแบบรัฐวิสาหกิจ ให้บริการรถไฟและคำปรึกษาธุรกิจครบวงจร [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ และเป็นผู้ให้บริการ 1 ใน 2 สายรถไฟความเร็วสูงเชิงพาณิชย์ที่ได้กำไร (สายปารีส - ลียง)

ซึ่งรถไฟความเร็วสูง TGV เคยทำความเร็วแตะระดับสูงสุดที่ 574.8 กม./ชม. แต่ให้บริการเดินรถที่ความเร็วสูงสุดที่ 320 กม./ชม.


สำหรับรถไฟความเร็วสูงของประเทศอิตาลี จะบริหารจัดการโดยบริษัท Trenitalia ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในบริษัทในเครือของ “บริษัททางรถไฟแห่งชาติอิตาลี” หรือ Ferrovie dello Stato Itailane S.p.A. (FS) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีกำไรจากธุรกิจรถไฟที่เดียวในโลก มีกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของอิตาลี ถือหุ้น 100% ดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน มีการขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริการอื่นๆ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สำหรับความเร็วที่ให้บริการตั้งแต่ 180 - 300 กม./ชม.



นอกจากนี้หัวหน้าทีมประสานงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเครือเจริญโภคภัณฑ์ฯ เสริมว่า
" การลงทุนรถไฟความเร็วสูงในอีอีซีไม่ใช่แค่หาพันธมิตรที่มีศักยภาพมาลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการนำระบบเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย ในยุโรปการเดินรถไฟความเร็วสูงมีประวัติศาสตร์ยาวนานไม่แพ้ญี่ปุ่น ซึ่งอิตาลีและฝรั่งเศสที่เป็นผู้ริเริ่มรถไฟความเร็วสูงความเร็วกว่า 250 กม./ชม. เป็นมาตรฐานใช้กันทุกประเทศในยุโรป ส่วนจีนเพิ่งมีรถไฟความเร็วสูงเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยเรียนรู้จากยุโรป และญี่ปุ่น นำไปประยุกต์ใช้กับประเทศตัวเองและสร้างปรากฏการณ์มีระยะทางมากที่สุดถึง 25,000 กม. หรือ 60-70% ของระบบรางทั้งโลก

เราไปดูงานหลายประเทศ ถ้าพูดถึงรถไฟความเร็วสูง ไม่ได้มีอยู่แค่ยุโรป ยังมีเอเชีย ตะวันออกกลาง เราทำการบ้าน เรียนรู้อย่างหนักว่าใครเป็นใคร มีศักยภาพ จุดเด่นอะไร เพื่อตกผลึกในระยะเวลา 4 เดือนก่อนยื่นซองประมูล

สำหรับการเฟ้นหาพันธมิตร จะดูองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ทั้งผู้ลงทุน การก่อสร้าง งานระบบ การบริหารจัดการ ผู้สนับสนุนแหล่งเงิน และอสังหาริมทรัพย์ เพราะโครงการนี้คงไม่ใช่แค่สร้างรถไฟ ต้องมีพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ด้วย

โครงการอินฟราสตรักเจอร์ ผลตอบแทนไม่สูงมาก และมีความเสี่ยงเยอะ ซึ่งโครงการอีอีซีเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะช่วยขับเคลื่อนทั้งภูมิภาค สร้างคน สร้างเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตแบบก้าวกระโดด โครงการขนาดใหญ่จะไม่ใช่เฉพาะรถไฟความเร็วสูง แต่ต้องใช้องค์ประกอบหลากหลาย ต้องมีสนามบิน มีการลงทุนของต่างชาติ ฮับของโลจิสติกส์ ศูนย์กระจายสินค้า ท่าเรือ เมืองรองเพื่อรับชุมชนที่จะเกิดใหม่ ฯลฯ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการระยะยาวถึง 50 ปี ซึ่งไม่ได้มีผลตอบแทนการลงทุนในระยะสั้น ดังนั้นการเลือกพันธมิตรที่จะมาร่วมลงทุนต้องเป็นระยะยาว เป็นผู้มีความรับผิดชอบ เพราะโครงการนี้จะเป็นการสานประโยชน์ร่วมกัน"

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

... ถ้าเอกชนที่เป็นพันธมิตรแข็งแกร่ง “รถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย” วิ่งฉิว แน่นอน ...



ที่มา : ซีพีเทียบไฮสปีดเทรน ฝรั่งเศส VS อิตาลี
ที่มา : True4U News Online
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่