รถไฟความเร็วสูง - ความเสี่ยงของภาคเอกชนผู้ลงทุน ชัยชนะของประเทศ
-แทบจะไม่มีประเทศใดในโลกนี้ที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนรถไฟความเร็วสูง มีเพียงไต้หวัน ซึ่งในที่สุดก็ต้องล้มละลาย รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุมกิจการ เมื่อรัฐบาลไทยไม่มีเงินลงทุน จึงต้องเชิญชวนเอกชนเข้ามาลงทุนPPP
-ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง ในด้านต่างๆ ต้องกู้เงินต้องรับภาระดอกเบี้ยทันทีที่เริ่ม ขณะที่รัฐจะเริ่มอุดหนุนให้ในปีที่6 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มเดินรถเปิดให้บริการ
-จำนวนผู้โดยสาร คือ หัวใจสร้างรายได้ สร้างความมั่นคงให้รถไฟฯ ผู้โดยสารจะมาจากไหน ถ้ามีแต่รถไฟ สร้างเสร็จได้ ไม่มีคนใช้ หรือ ใช้น้อย ก็ต้องเจ๊ง ดังนั้นต้องมีการลงทุนเพื่อสร้างDemandให้รถไฟ ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่พื้นที่ EEC ไม่ว่าจะเป็นสนามบินอู่ตะเภา หรือ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ฯลฯ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้รถไฟ มิเช่นนั้น รถไฟความเร็วสูงสายนี้คงร้าง และล้มละลาย นักลงทุนให้เก่งกาจปานไหนก็คงไม่กล้าลงทุนรถไฟฯโดดๆ เพราะนั่นเท่ากับเดินลงเหว
-ทำไมเสี่ยง แล้วยังทำ? เป็นคำถามที่หลายฝ่ายคิด มีทั้งพวกที่คิดเสียงดัง และอาจมีหลายคนแอบคิด และวิตกว่า พ่อค้า นายทุน มีหรือ จะยอมลงทุนในโครงการที่ไม่ก่อเกิดกำไร
-แน่นอนว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง โครงการรถไฟความเร็วสูงเสี่ยงทุกประตู นี่คือความจริง ทุกประเทศทั่วโลกรับรู้ แต่ก็ลงทุน เพราะ รถไฟความเร็วสูงคือเครื่องยนตร์หนึ่งในการพัฒนาประเทศแบบ Fast track ที่จะนำมาซึ่งความคุ้มค่าต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคม
-ที่ดินมักกะสัน ที่ดินศรีราชา ถูกพ่วงเข้ามาในสัมปทาน 50ปี รถไฟความเร็วสูงสายนี้ เพื่อดึงดูด ล่อใจให้เอกชนกล้าที่จะเข้ามาเสี่ยง เพื่ออนาคตของประเทศ แต่เอกชนก็ควักเงินต้องลงทุนเปิดหน้าดินเพื่อเนรมิตรายได้ มาชดเชยการลงทุนรถไฟ ซึ่งก็ไม่รู้อนาคตเช่นกันว่าที่ดินมักกะสัน ที่ดินศรีราชา จะสร้างเงิน สร้างรายได้ ตามที่คาดการณ์กันไว้หรือไม่ ล้วนเป็นความฝัน สร้างแล้วใช่ว่าผู้คนจะมาเดิน มาจับจ่ายใช้สอยกัน วัน สองวัน แล้วจะคุ้มทุนคืนทุนซะเมื่อไหร่ นักลงทุนอาจต้องนั่งรอ นอนรอหลายสิบปีกว่าจะคุ้มทุน นี่คืออีกความเสี่ยงของการลงทุน เราเห็นกันจะจะว่าร้านค้าในสถานีรถไฟฟ้า ทั้งใต้ดิน บนดิน ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ใช่ว่าจะสำเร็จ มีร้านปิดกิจการให้เห็นมากมาย พ่อค้านั่งตบยุง
-การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง และที่แน่ๆต้องมีกำไร มีรายได้หล่อเลี้ยง จะมีใครเข้ามาลงทุนโดยไม่มีกำไร อยากให้รัฐบาลช่วยประกาศดังๆไป3โลกเลยว่าขอเชิญมาลงทุนเพื่อชาติไทยของเราเถิด ไม่มีกำไร และอาจขาดทุน ดูสิว่า ใครจะยอมเสียค่าโง่มาลงทุน แม้แต่คนที่ผดุงความโปร่งใสสุจริตก็เถอะ
-รัฐต้องวางกลไกและมีกระบวนการคัดเลือกผู้ประมูลที่โปร่งใส เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม ไร้อคติ
-เชื่อว่าคนไทยอยากเห็นประเทศก้าวไปข้างหน้า เชื่ออีกว่านักลงทุนไทยก็ต้องการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ แต่จะให้ลงทุนแบบไม่ได้อะไรเลย ใครที่ไหนจะกล้าเสี่ยง เพราะธุรกิจก็คือธุรกิจ มิใช่มูลนิธิ แต่ขอให้รายได้ หรือกำไรอยู่บนหลักคุณธรรม พอเหมาะพอควร และคำนึงถึงส่วนรวม
-50ปีเมื่อสิ้นสุดสัมปทานทุกอย่างที่เอกชนลงทุนจะเป็นสมบัติของชาติอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าใครจะชนะประมูล ดังนั้นผู้ชนะที่แท้จริงคือประเทศ คือประชาชนคนไทยนั่นเอง
รถไฟความเร็วสูง - ความเสี่ยงของภาคเอกชนผู้ลงทุน ชัยชนะของประเทศ
-แทบจะไม่มีประเทศใดในโลกนี้ที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนรถไฟความเร็วสูง มีเพียงไต้หวัน ซึ่งในที่สุดก็ต้องล้มละลาย รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุมกิจการ เมื่อรัฐบาลไทยไม่มีเงินลงทุน จึงต้องเชิญชวนเอกชนเข้ามาลงทุนPPP
-ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง ในด้านต่างๆ ต้องกู้เงินต้องรับภาระดอกเบี้ยทันทีที่เริ่ม ขณะที่รัฐจะเริ่มอุดหนุนให้ในปีที่6 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มเดินรถเปิดให้บริการ
-จำนวนผู้โดยสาร คือ หัวใจสร้างรายได้ สร้างความมั่นคงให้รถไฟฯ ผู้โดยสารจะมาจากไหน ถ้ามีแต่รถไฟ สร้างเสร็จได้ ไม่มีคนใช้ หรือ ใช้น้อย ก็ต้องเจ๊ง ดังนั้นต้องมีการลงทุนเพื่อสร้างDemandให้รถไฟ ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่พื้นที่ EEC ไม่ว่าจะเป็นสนามบินอู่ตะเภา หรือ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ฯลฯ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้รถไฟ มิเช่นนั้น รถไฟความเร็วสูงสายนี้คงร้าง และล้มละลาย นักลงทุนให้เก่งกาจปานไหนก็คงไม่กล้าลงทุนรถไฟฯโดดๆ เพราะนั่นเท่ากับเดินลงเหว
-ทำไมเสี่ยง แล้วยังทำ? เป็นคำถามที่หลายฝ่ายคิด มีทั้งพวกที่คิดเสียงดัง และอาจมีหลายคนแอบคิด และวิตกว่า พ่อค้า นายทุน มีหรือ จะยอมลงทุนในโครงการที่ไม่ก่อเกิดกำไร
-แน่นอนว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง โครงการรถไฟความเร็วสูงเสี่ยงทุกประตู นี่คือความจริง ทุกประเทศทั่วโลกรับรู้ แต่ก็ลงทุน เพราะ รถไฟความเร็วสูงคือเครื่องยนตร์หนึ่งในการพัฒนาประเทศแบบ Fast track ที่จะนำมาซึ่งความคุ้มค่าต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคม
-ที่ดินมักกะสัน ที่ดินศรีราชา ถูกพ่วงเข้ามาในสัมปทาน 50ปี รถไฟความเร็วสูงสายนี้ เพื่อดึงดูด ล่อใจให้เอกชนกล้าที่จะเข้ามาเสี่ยง เพื่ออนาคตของประเทศ แต่เอกชนก็ควักเงินต้องลงทุนเปิดหน้าดินเพื่อเนรมิตรายได้ มาชดเชยการลงทุนรถไฟ ซึ่งก็ไม่รู้อนาคตเช่นกันว่าที่ดินมักกะสัน ที่ดินศรีราชา จะสร้างเงิน สร้างรายได้ ตามที่คาดการณ์กันไว้หรือไม่ ล้วนเป็นความฝัน สร้างแล้วใช่ว่าผู้คนจะมาเดิน มาจับจ่ายใช้สอยกัน วัน สองวัน แล้วจะคุ้มทุนคืนทุนซะเมื่อไหร่ นักลงทุนอาจต้องนั่งรอ นอนรอหลายสิบปีกว่าจะคุ้มทุน นี่คืออีกความเสี่ยงของการลงทุน เราเห็นกันจะจะว่าร้านค้าในสถานีรถไฟฟ้า ทั้งใต้ดิน บนดิน ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ใช่ว่าจะสำเร็จ มีร้านปิดกิจการให้เห็นมากมาย พ่อค้านั่งตบยุง
-การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง และที่แน่ๆต้องมีกำไร มีรายได้หล่อเลี้ยง จะมีใครเข้ามาลงทุนโดยไม่มีกำไร อยากให้รัฐบาลช่วยประกาศดังๆไป3โลกเลยว่าขอเชิญมาลงทุนเพื่อชาติไทยของเราเถิด ไม่มีกำไร และอาจขาดทุน ดูสิว่า ใครจะยอมเสียค่าโง่มาลงทุน แม้แต่คนที่ผดุงความโปร่งใสสุจริตก็เถอะ
-รัฐต้องวางกลไกและมีกระบวนการคัดเลือกผู้ประมูลที่โปร่งใส เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม ไร้อคติ
-เชื่อว่าคนไทยอยากเห็นประเทศก้าวไปข้างหน้า เชื่ออีกว่านักลงทุนไทยก็ต้องการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ แต่จะให้ลงทุนแบบไม่ได้อะไรเลย ใครที่ไหนจะกล้าเสี่ยง เพราะธุรกิจก็คือธุรกิจ มิใช่มูลนิธิ แต่ขอให้รายได้ หรือกำไรอยู่บนหลักคุณธรรม พอเหมาะพอควร และคำนึงถึงส่วนรวม
-50ปีเมื่อสิ้นสุดสัมปทานทุกอย่างที่เอกชนลงทุนจะเป็นสมบัติของชาติอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าใครจะชนะประมูล ดังนั้นผู้ชนะที่แท้จริงคือประเทศ คือประชาชนคนไทยนั่นเอง