รายงานการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน เส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น ระยะทางกว่า 672 กม. วงเงิน 4.2 แสนล้านบาท
ล่าสุดทางกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่นได้ศึกษาพร้อมส่งมอบรายงานการศึกษาระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพ - พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. ซึ่งจะเป็นการลงทุนในส่วนของงานโยธา อาณัติสัญญาณ ระบบรถ และการบำรุงรักษา ใช้รูปแบบการเดินรถในระบบรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น
เฟสที่ 1 กรุงเทพ - พิษณุโลก
• ผ่านการรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อย และพร้อมเดินหน้าก่อสร้างได้เลย
• สำหรับอัตราค่าโดยสารกำหนดค่าแรกเข้าที่ 80 บาท และคิดค่าเดินทางกม.ละ 1.5 บาท
• ทำให้ค่าโดยสารช่วงเฟสที่ 1 กรุงเทพ - พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. ค่าโดยสารประมาณ 650 บาท
ส่วนค่าโดยสารตลอดสาย กรุงเทพ - เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. จะราวๆ 1,088 บาท
เร่งเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น คาดเปิดประมูลในปี 2562 พร้อมเคาะบัตร โดยสารกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 1,088 บาทต่อคน ด้านบอร์ด รฟม.ไฟเขียวชงคมนาคมเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ส่วนไพรินทร์ จี้ เคลียร์ปัญหาท่าเรือร้าง
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. วงเงิน 4.2 แสนล้านบาท ว่าขณะนี้ญี่ปุ่นได้สรุปรายงานผลการศึกษาระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เสร็จเรียบร้อยแล้ว ระยะทาง 380 กม. มูลค่าการลงทุน 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนเกี่ยวกับงานโยธา อาณัติสัญญาณ ระบบรถ และการบำรุงรักษา หลังจากนี้จะเร่งสรุปแนวทางดำเนินโครงการที่ชัดเจนก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน ก.พ.2561
นานอาคมกล่าวว่า หาก ครม.อนุมัติผลการศึกษา จะส่งให้ฝ่ายญี่ปุ่นออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง เพื่อแบ่งสัญญาออกเป็นตอนไป ก่อนดำเนินการร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) แล้วส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดจะแล้วเสร็จภายในปี 61 จากนั้นจะทยอยเปิดประมูลโครงการในเฟส1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เนื่องจากเส้นทางเฟส 1 นั้นผ่านการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว สามารถเดินหน้าได้เลย ขณะนี้ได้สั่งให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปพิจารณารายละเอียดภายใน 3 เดือน
อย่างไรก็ตาม ด้านค่าโดยสารนั้นได้กำหนดค่าแรกเข้าไว้ที่ 80 บาท และคิดค่าเดินทางกิโลเมตรละ 1.5 บาท ส่งผลให้ค่าโดยสารช่วงเฟส 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. นั้นจะมีค่า โดยสารราว 650 บาท ขณะที่ค่าโดยสารตลอดสายช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. จะอยู่ที่ราว 1,088 บาท
นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.มีมติเห็นชอบหลักการโครงการศึกษาแนวทางการบริหารงานเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่ ภายหลังจากที่กรุงเทพฯ (กทม.) ยังไม่สามารถสรุปแนวทางการโอนหนี้สินและทรัพย์สินโครงการดังกล่าวมูลค่าราว 6 หมื่นล้านบาท อาจเสี่ยงต่อการเปิดเดินรถสายสีเขียวใต้ส่วนต่อขยายที่กำหนดไว้ในเดือน ธ.ค.2561
หลังจากนี้จะเสนอผลศึกษาเข้าสู่กระทรวงคมนาคมภายในเดือนนี้ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในเดือน ม.ค. 2561 เพื่อขอแก้มติ คจร.เดิมที่ให้ กทม.เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้กรมเจ้าท่า (จท.) ไปหารือกับกรมธนารักษ์ เพื่อหาแนวทางให้เอกชนเข้ามาลงทุนในท่าเรือร้าง เพื่อก่อให้เกิดรายได้ แต่ถ้ายังไม่สามารถเจรจา เพื่อเปิดทางให้เอกชนเข้ามาพัฒนาท่าเรือได้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เข้ามาบริหารท่าเรือร้าง เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องรับใช้ประชาชน เช่นเดียวกับกรณีที่ กรมท่าอากาศยานแบ่งงานบริหารสนามบินร่วมกับ บมจ.ท่าอากาศยานไทย ทอท.
รถไฟความเร็วสูง "ชินคันเซ็น" พร้อมสำหรับเส้นทาง กรุงเทพ - เชียงใหม่ แล้ว
ล่าสุดทางกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่นได้ศึกษาพร้อมส่งมอบรายงานการศึกษาระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพ - พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. ซึ่งจะเป็นการลงทุนในส่วนของงานโยธา อาณัติสัญญาณ ระบบรถ และการบำรุงรักษา ใช้รูปแบบการเดินรถในระบบรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น
เฟสที่ 1 กรุงเทพ - พิษณุโลก
• ผ่านการรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อย และพร้อมเดินหน้าก่อสร้างได้เลย
• สำหรับอัตราค่าโดยสารกำหนดค่าแรกเข้าที่ 80 บาท และคิดค่าเดินทางกม.ละ 1.5 บาท
• ทำให้ค่าโดยสารช่วงเฟสที่ 1 กรุงเทพ - พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. ค่าโดยสารประมาณ 650 บาท
เร่งเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น คาดเปิดประมูลในปี 2562 พร้อมเคาะบัตร โดยสารกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 1,088 บาทต่อคน ด้านบอร์ด รฟม.ไฟเขียวชงคมนาคมเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ส่วนไพรินทร์ จี้ เคลียร์ปัญหาท่าเรือร้าง
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. วงเงิน 4.2 แสนล้านบาท ว่าขณะนี้ญี่ปุ่นได้สรุปรายงานผลการศึกษาระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เสร็จเรียบร้อยแล้ว ระยะทาง 380 กม. มูลค่าการลงทุน 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนเกี่ยวกับงานโยธา อาณัติสัญญาณ ระบบรถ และการบำรุงรักษา หลังจากนี้จะเร่งสรุปแนวทางดำเนินโครงการที่ชัดเจนก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน ก.พ.2561
นานอาคมกล่าวว่า หาก ครม.อนุมัติผลการศึกษา จะส่งให้ฝ่ายญี่ปุ่นออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง เพื่อแบ่งสัญญาออกเป็นตอนไป ก่อนดำเนินการร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) แล้วส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดจะแล้วเสร็จภายในปี 61 จากนั้นจะทยอยเปิดประมูลโครงการในเฟส1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เนื่องจากเส้นทางเฟส 1 นั้นผ่านการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว สามารถเดินหน้าได้เลย ขณะนี้ได้สั่งให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปพิจารณารายละเอียดภายใน 3 เดือน
อย่างไรก็ตาม ด้านค่าโดยสารนั้นได้กำหนดค่าแรกเข้าไว้ที่ 80 บาท และคิดค่าเดินทางกิโลเมตรละ 1.5 บาท ส่งผลให้ค่าโดยสารช่วงเฟส 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. นั้นจะมีค่า โดยสารราว 650 บาท ขณะที่ค่าโดยสารตลอดสายช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. จะอยู่ที่ราว 1,088 บาท
นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.มีมติเห็นชอบหลักการโครงการศึกษาแนวทางการบริหารงานเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่ ภายหลังจากที่กรุงเทพฯ (กทม.) ยังไม่สามารถสรุปแนวทางการโอนหนี้สินและทรัพย์สินโครงการดังกล่าวมูลค่าราว 6 หมื่นล้านบาท อาจเสี่ยงต่อการเปิดเดินรถสายสีเขียวใต้ส่วนต่อขยายที่กำหนดไว้ในเดือน ธ.ค.2561
หลังจากนี้จะเสนอผลศึกษาเข้าสู่กระทรวงคมนาคมภายในเดือนนี้ก่อนเสนอต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในเดือน ม.ค. 2561 เพื่อขอแก้มติ คจร.เดิมที่ให้ กทม.เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้กรมเจ้าท่า (จท.) ไปหารือกับกรมธนารักษ์ เพื่อหาแนวทางให้เอกชนเข้ามาลงทุนในท่าเรือร้าง เพื่อก่อให้เกิดรายได้ แต่ถ้ายังไม่สามารถเจรจา เพื่อเปิดทางให้เอกชนเข้ามาพัฒนาท่าเรือได้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เข้ามาบริหารท่าเรือร้าง เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องรับใช้ประชาชน เช่นเดียวกับกรณีที่ กรมท่าอากาศยานแบ่งงานบริหารสนามบินร่วมกับ บมจ.ท่าอากาศยานไทย ทอท.