สวัสดีครับ วันนี้ผมมาตั้งกระทู้เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง เนื่องจากพอมีความรู้และติดตามเรื่องนี้อยู่ และพบเห็นหลายๆคนมีข้อสงสัย สับสน เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง ผมจึงอยากมาอธิบายในลักษณะ ถาม - ตอบ (Q&A) โดยรวมๆมาจากประเด็นที่มีคนมาถาม ผมได้พบเห็นความสงสัยจากโลกออนไลน์ หรือมีคนเข้าใจผิด บิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็แล้วแต่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องกันซักหน่อยนะครับ (แต่ข้อมูลก็อาจไม่ได้ตรงเป๊ะร้อยเปอร์เซ็นต์วะทีเดียว ท่านใดมีข้อมูลส่วนใด ก็สามารถช่วยเสริมได้นะครับ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ปล.กระทู้นี้มุ่งอธิบายเรื่องระบบขนส่งมวลชนและโครงสร้างพื้นฐานของชาติ ไม่ใช่กระทู้อวยใครหรือเป็นกระทู้การเมือง(กีฬาสี) ท่านใดอยากดราม่ากรุณาเชิญห้องราชดำเนินนะครับ
โครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน
1.โครงการนี้เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง
ตอบ โครงการรถไฟสายอีสานนั้น เป็นรถไฟความเร็วสูงเต็มรูปแบบ โดยใช้ความเร็วที่ 250กิโลเมตร/ชั่วโมง
โดยที่ International Union of Railways นิยามว่า รถไฟความเร็วสูง คือ รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็ว 200กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป สำหรับทางรถไฟเดิมแต่ได้รับการปรับปรุง และวิ่งด้วยความเร็ว 250กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป สำหรับทางรถไฟที่ได้ก่อสร้างขึ้นใหม่
2.โครงการนี้มีมูลค่าถึง 3 ล้านล้านบาท
ตอบ รถไฟความเร็วสูงสายอีสานนั้น แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1.กรุงเทพ - นครราชสีมา 2.นครราชสีมา - หนองคาย ใช้งบประมาณในส่วนของระยะที่ 1 เป็นวงเงิน 1.7แสนล้านบาท และทั้งโครงการประมาณ 4แสนกว่าล้าน(บวกเงินเฟ้อในอนาคต) ไม่ใช่ 3ล้านล้านบาทอย่างที่หลายคนอ้างถึง(ซึ่งก็ไม่รู้ว่าไปเอามาจากไหน)
3.โครงการนี้ใช้เงินกู้จากจีน จีนบังคับให้เรากู้ ฯลฯ
ตอบ สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น กระทรวงการคลังจะเน้นกู้ในประเทศเป็นหลัก และ/หรืออาจมีการกู้ต่างประเทศผสมกันไป เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายหนี้สาธารณะของไทย ที่มีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่ำมาก
4.โครงการนี้จีนจะได้ครองทรัพย์สินและที่ดินรอบสถานี หรือที่ดินตามแนวรถไฟของการรถไฟ
ตอบ โครงการรถไฟความเร็วสูงสายนี้ รัฐบาลไทยลงทุนเองทั้งหมด ดังนั้น จีน อยู่ในฐานะที่ปรึกษา ผู้ออกแบบและขายเทคโนโลยีให้ ไม่มีสิทธิใดๆในตัวโครงการทั้งสิ้น ต่างจากกรณีรถไฟลาว - จีน
5.โครงการนี้ไม่น่าสนใจ ขนาดจีนยังไม่ร่วมทุนด้วยเลย
ตอบ ทางจีน สนใจร่วมทุนในโครงการนี้อยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้จีนได้ประโยชน์ด้วย เช่น ต้องให้จีนได้สิทธิในการพัฒนาที่ดิน หรือให้ใช้บริษัทจีนในการก่อสร้าง หรือใช้วัสดุจีนทั้งหมด เป็นต้น ส่วนฝ่ายไทยต้องการครอบครองทรัพย์สินของโครงการทั้งหมด รวมถึงอยากใช้ทรัพยากรในประเทศให้มากที่สุด ไทยจึงเลือกลงทุนเองทั้งหมด และลดปัจจัยเสี่ยงในการบริหารร่วมกันในอนาคตด้วย เพราะโครงการเป็นของรัฐบาลไทยทั้งหมด
6.โครงการนี้ขาดทุนแน่นอน ไม่สมควรสร้างให้เป็นภาระ
ตอบ ในการสร้างขนส่งมวลชนนั้น การขาดทุนเป็นสิ่งธรรมดาย่อมมีขึ้นเป็นธรรมดา และรถไฟความเร็วสูงนั้น โดยส่วนใหญ่ก็ขาดทุนกันทั่วโลก มีเพียงไม่กี่สายที่ทำกำไรจากค่าโดยสารได้ แต่ประโยชน์สำคัญของรถไฟความเร็วสูง คือ เพิ่มทางเลือกให้ประชาชนมีการคมนาคมที่รวดเร็ว ความน่าเชื่อถือและปลอดภัยสูง และเป็นปัจจัยสนับสนุนในการพัฒนาเมือง จึงถือได้ว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นการขาดทุนเพื่อนำไปสู่กำไร กำไรในการพัฒนาเมือง กำไรในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน กำไรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร
7.รถไฟทางคู่ก็น่าจะพอ ไม่จำเป็นต้องสร้างรถไฟความเร็วสูง
ตอบ รถไฟทางคู่เพียงพอสำหรับประชาชนคนทั่วไป ที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการเดินทาง แต่รถไฟทางคู่ไม่สามารถตอบโจทย์คนที่ต้องการเดินทางด้วยความรวดเร็ว ทั้งนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว หรือคนที่มีทุนทรัพย์ และรถไฟทางคู่นั้น ไม่สามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองได้เหมือนกับรถไฟความเร็วสูง เพราะรถไฟทางคู่เป็นการแก้ปัญหาการสับหลีกรถไฟและจุดตัดรถไฟ แต่ระยะเวลาในการเดินทางก็ไม่ได้ลดลงจากเดิมสักเท่าไหร่นัก
8.รถไฟความเร็วสูง สู้สายการบินต้นทุนต่ำไม่ได้
ตอบ รถไฟความเร็วสูงนั้น มีจุดเด่นที่สามารถดึงดูดผู้ใช้บริการได้ต่างจากเครื่องบิน อยู่ 3 ประเด็นสำคัญ คือ
1)รถไฟความเร็วสูงมีสถานีรายทาง ไม่เหมือนกับการนั่งเครื่องที่มีแต่ต้นทาง - ปลายทางเท่านั้น และสถานีรถไฟนั้นอยู่ใกล้เมืองมากกว่าสนามบิน
2)รถไฟความเร็วสูงนั้นมีขั้นตอนในการใช้บริการยุ่งยากน้อยกว่าเครื่องบิน เพียงท่านจอง/ซื้ออตั๋ว รอเวลารถไฟเทียบชานชลา และนั่งตามตั๋วของท่าน ก็สามารถเดินทางได้ทันที
3)รถไฟความเร็วสูงสามารถให้บริการได้ในสภาพอากาศที่หลากหลาย แทบไม่มีการดีเลย์ และมีตารางการเดินรถที่ยืดหยุ่นกว่าเครื่องบิน
9.โครงการนี้อาจเป็นโฮปเวลล์ 2
ตอบ รถไฟความเร็วสูงสายอีสานระยะที่ 1 นั้น มีมูลค่าการก่อสร้างที่ไม่สูง และรัฐไทยอยู่ในสภาวะการคลังมั่นคง สามารถหาแหล่งเงินได้หลากหลาย โดยเฉพาะการกู้ในประเทศ โอกาสที่จะเป็นโฮปเวลล์ 2 นั้นเป็นไปได้ยาก
10.โครงการนี้ ไม่ได้หวังสร้างจริง เป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายไทยและฝ่ายจีน
ตอบ โครงการนี้ มีการศึกษามานาน และในปัจจุบัน ความร่วมมือระหว่างไทยจีนก็คืบหน้าไปมาก และจากเหตุผลตามข้อบน รัฐไทยมีสถานะทางการคลังที่มั่นคงพอที่จะรับภาระโครงการนี้ได้ รวมถึงรถไฟความเร็วสูงสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและกระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วย จึงไม่มีเหตุผลที่ต้องทำหลอก และฝ่ายจีนเอง ก็หวังเข้าไปมีส่วนในการสร้างระบบคมนาคมในประเทศต่างในเอเชียไม่ใช่แค่ไทย ถ้าหากมาร่วมกับรัฐบาลไทยเพื่อหลอกคนไทยและชาวโลก ก็จะเป็นการทำลายเครดิตของฝ่ายจีนเอง
11.มีการใช้มาตรา 44 เพื่อให้วิศกรจีนเข้ามาทำงานในไทย ถือว่าไม่ถูกต้อง
ตอบ โครงการรถไฟความเร็วสูงสายนี้เป็นสายแรกของไทย และเป็นโครงการที่ใช้เทคโนโลยีสูง ไทยจำเป็นที่จะต้องให้วิศกรจีนที่มีประสบการณ์ เข้ามาควบคุมร่วมกับวิศวกรไทย ถ้าใช้ขั้นตอนเดิม วิศวกรจีนอาจต้องไปเรียนภาษาไทยให้รู้เรื่องก่อน ถึงจะเข้ามาสอบได้ ก็คงเป็นเรื่องที่พ้นวิสัย จึงใช้วิธียกเว้นให้ออกข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษและจีนสำหรับวิศวกรที่จะเข้ามาคุมการก่อสร้าง และจะได้รับใบอนุญาตให้สามารถเข้ามาคุมการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 เท่านั้น ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็ล้วนแล้วแต่ต้องหาช่องทางให้วิศวกรจีนเข้ามาคุมงานอยู่ดี
12.สร้างทำไม 3.5 กิโลฯ สร้างเอาไว้หลอกชาวบ้านเขาหรือเปล่า
ตอบ ในโครงการระยะที่ 1 นั้น ช่วงกลางดง - ปางอโศกนั้นพร้อมที่สุด และจะเป็นต้นแบบในการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระดับดิน ซึ่งค่อนข้างยาก ฝ่ายไทยกับจีน จึงเลือกช่วงกลางดง - ปางอโศก 3.5 กิโลเมตรเป็นจุดเริ่มต้นการก่อสร้าง โดยฝ่ายไทย มอบให้กรมทางหลวง ที่มีประสบการณ์ในการทำคันดินเป็นผู้ดำเนินการ เพราะทางระดับดินนั้นสร้างยาก มีรายละเอียดเยอะ โดยเฉพาะเรื่องความหนาแน่นของดิน ระบบระบายน้ำ ฯลฯ กรมทางหลวงที่มีประสบการณ์นั้น ก็จะเป็นผู้ออกคู่มือการก่อสร้างให้กับผู้ที่ประมูลเข้ามาก่อสร้างส่วนต่อๆไปด้วย
13.แล้วจะสร้างมากกว่าไอ้ 3.5 กิโลไหม
ตอบ ได้สร้างแน่นอน ทางโครงการได้แบ่งแนวเส้นทางเป็นสัญญาก่อสร้าง 14 สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. กรมทางหลวงอยู่ระหว่างก่อสร้าง
สัญญาที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. เปิดประมูลกันยายน ก่อสร้างมกราคม 2562
สัญญาที่ 3 ช่วงแก่งคอย-บันไดม้า ระยะทาง 32 กม.
สัญญาที่ 4 ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 11.7 กม.
สัญญาที่ 5 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 24.8 กม.
สัญญาที่ 6 ช่วงลำตะคอง-โคกกรวด ระยะทาง 37.6 กม.
สัญญาที่ 7 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 13.7 กม.
สัญญาที่ 8 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 11 กม.
สัญญาที่ 9 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 22.6 กม.
สัญญาที่ 10 ช่วงนวนคร-บ้านโพธิ์ ระยะทาง 23 กม.
สัญญาที่ 11 เชียงรากน้อย (เดปโป้)
สัญญาที่ 12 ช่วงบ้านโพธิ์-พระแก้ว ระยะทาง 14.4 กม.
สัญญาที่ 13 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 30.5 กม.
สัญญาที่ 14 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 13 กม.
โดยสัญญาที่ 3-14 จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตอน จะประมูลกลุ่มแรก 6 ตอนในเดือนกันยายน - ตุลาคมนี้ เริ่มสร้างเดือนมีนาคม 2562 และประมูลกลุ่มที่ 2 อีก 6 ตอนในเดือน พฤศจิกายนนี้เริ่มสร้างเดือน เมษายน 2562
14.แล้วทำไมถึงไม่สามารถประมูลสร้างพร้อมกันไปเลยทีเดียว
ตอบ เพราะทางฝ่ายไทย ต้องการควบคุมแบบก่อสร้างโดยตัวเอง จึงให้ฝ่ายจีนออกแบบและส่งมาให้ฝ่ายไทยตรวจแบบด้วย เพื่อตอบสนองความต้องการของฝ่ายไทย ที่เป็นเจ้าของโครงการฝ่ายเดียว ฉะนั้น ในแต่ละสัญญาเมื่อจีนออกแบบ ก็ต้องส่งให้ไทยตรวจ และไทยก็จะให้จีนไปแก้รายระเอียดต่างๆ จึงมีส่วนทำให้โครงการไม่สามารถประมูลทั้งโครงการพร้อมกันทีเดียวได้
15.ใครจะเป็นคนบริหารโครงการเมื่อเปิดให้บริการ ถ้าให้การรถไฟทำคงเจ๊งแน่ ฯลฯ
ตอบ จะมีการจัดตั้งหน่วยงามมาบริหารโครงการนี้โดยเฉพาะ การรถไฟฯมีฐานะเป็น"เจ้าภาพ"ในขณะก่อสร้างเท่านั้น
อันนี้ก็รวมๆมาจากที่เห็นคนสงสัยกันเยอะ ท่านใดอยากเพิ่มเติมได้นะครับ ผมจะพยายามหาข้อมูลมาตอบให้ ขอบคุณครับ
ไขข้อข้องใจ "รถไฟความเร็วสูงสายอีสาน"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน
1.โครงการนี้เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง
ตอบ โครงการรถไฟสายอีสานนั้น เป็นรถไฟความเร็วสูงเต็มรูปแบบ โดยใช้ความเร็วที่ 250กิโลเมตร/ชั่วโมง
โดยที่ International Union of Railways นิยามว่า รถไฟความเร็วสูง คือ รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็ว 200กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป สำหรับทางรถไฟเดิมแต่ได้รับการปรับปรุง และวิ่งด้วยความเร็ว 250กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป สำหรับทางรถไฟที่ได้ก่อสร้างขึ้นใหม่
2.โครงการนี้มีมูลค่าถึง 3 ล้านล้านบาท
ตอบ รถไฟความเร็วสูงสายอีสานนั้น แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1.กรุงเทพ - นครราชสีมา 2.นครราชสีมา - หนองคาย ใช้งบประมาณในส่วนของระยะที่ 1 เป็นวงเงิน 1.7แสนล้านบาท และทั้งโครงการประมาณ 4แสนกว่าล้าน(บวกเงินเฟ้อในอนาคต) ไม่ใช่ 3ล้านล้านบาทอย่างที่หลายคนอ้างถึง(ซึ่งก็ไม่รู้ว่าไปเอามาจากไหน)
3.โครงการนี้ใช้เงินกู้จากจีน จีนบังคับให้เรากู้ ฯลฯ
ตอบ สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น กระทรวงการคลังจะเน้นกู้ในประเทศเป็นหลัก และ/หรืออาจมีการกู้ต่างประเทศผสมกันไป เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายหนี้สาธารณะของไทย ที่มีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่ำมาก
4.โครงการนี้จีนจะได้ครองทรัพย์สินและที่ดินรอบสถานี หรือที่ดินตามแนวรถไฟของการรถไฟ
ตอบ โครงการรถไฟความเร็วสูงสายนี้ รัฐบาลไทยลงทุนเองทั้งหมด ดังนั้น จีน อยู่ในฐานะที่ปรึกษา ผู้ออกแบบและขายเทคโนโลยีให้ ไม่มีสิทธิใดๆในตัวโครงการทั้งสิ้น ต่างจากกรณีรถไฟลาว - จีน
5.โครงการนี้ไม่น่าสนใจ ขนาดจีนยังไม่ร่วมทุนด้วยเลย
ตอบ ทางจีน สนใจร่วมทุนในโครงการนี้อยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้จีนได้ประโยชน์ด้วย เช่น ต้องให้จีนได้สิทธิในการพัฒนาที่ดิน หรือให้ใช้บริษัทจีนในการก่อสร้าง หรือใช้วัสดุจีนทั้งหมด เป็นต้น ส่วนฝ่ายไทยต้องการครอบครองทรัพย์สินของโครงการทั้งหมด รวมถึงอยากใช้ทรัพยากรในประเทศให้มากที่สุด ไทยจึงเลือกลงทุนเองทั้งหมด และลดปัจจัยเสี่ยงในการบริหารร่วมกันในอนาคตด้วย เพราะโครงการเป็นของรัฐบาลไทยทั้งหมด
6.โครงการนี้ขาดทุนแน่นอน ไม่สมควรสร้างให้เป็นภาระ
ตอบ ในการสร้างขนส่งมวลชนนั้น การขาดทุนเป็นสิ่งธรรมดาย่อมมีขึ้นเป็นธรรมดา และรถไฟความเร็วสูงนั้น โดยส่วนใหญ่ก็ขาดทุนกันทั่วโลก มีเพียงไม่กี่สายที่ทำกำไรจากค่าโดยสารได้ แต่ประโยชน์สำคัญของรถไฟความเร็วสูง คือ เพิ่มทางเลือกให้ประชาชนมีการคมนาคมที่รวดเร็ว ความน่าเชื่อถือและปลอดภัยสูง และเป็นปัจจัยสนับสนุนในการพัฒนาเมือง จึงถือได้ว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นการขาดทุนเพื่อนำไปสู่กำไร กำไรในการพัฒนาเมือง กำไรในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน กำไรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร
7.รถไฟทางคู่ก็น่าจะพอ ไม่จำเป็นต้องสร้างรถไฟความเร็วสูง
ตอบ รถไฟทางคู่เพียงพอสำหรับประชาชนคนทั่วไป ที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการเดินทาง แต่รถไฟทางคู่ไม่สามารถตอบโจทย์คนที่ต้องการเดินทางด้วยความรวดเร็ว ทั้งนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว หรือคนที่มีทุนทรัพย์ และรถไฟทางคู่นั้น ไม่สามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองได้เหมือนกับรถไฟความเร็วสูง เพราะรถไฟทางคู่เป็นการแก้ปัญหาการสับหลีกรถไฟและจุดตัดรถไฟ แต่ระยะเวลาในการเดินทางก็ไม่ได้ลดลงจากเดิมสักเท่าไหร่นัก
8.รถไฟความเร็วสูง สู้สายการบินต้นทุนต่ำไม่ได้
ตอบ รถไฟความเร็วสูงนั้น มีจุดเด่นที่สามารถดึงดูดผู้ใช้บริการได้ต่างจากเครื่องบิน อยู่ 3 ประเด็นสำคัญ คือ
1)รถไฟความเร็วสูงมีสถานีรายทาง ไม่เหมือนกับการนั่งเครื่องที่มีแต่ต้นทาง - ปลายทางเท่านั้น และสถานีรถไฟนั้นอยู่ใกล้เมืองมากกว่าสนามบิน
2)รถไฟความเร็วสูงนั้นมีขั้นตอนในการใช้บริการยุ่งยากน้อยกว่าเครื่องบิน เพียงท่านจอง/ซื้ออตั๋ว รอเวลารถไฟเทียบชานชลา และนั่งตามตั๋วของท่าน ก็สามารถเดินทางได้ทันที
3)รถไฟความเร็วสูงสามารถให้บริการได้ในสภาพอากาศที่หลากหลาย แทบไม่มีการดีเลย์ และมีตารางการเดินรถที่ยืดหยุ่นกว่าเครื่องบิน
9.โครงการนี้อาจเป็นโฮปเวลล์ 2
ตอบ รถไฟความเร็วสูงสายอีสานระยะที่ 1 นั้น มีมูลค่าการก่อสร้างที่ไม่สูง และรัฐไทยอยู่ในสภาวะการคลังมั่นคง สามารถหาแหล่งเงินได้หลากหลาย โดยเฉพาะการกู้ในประเทศ โอกาสที่จะเป็นโฮปเวลล์ 2 นั้นเป็นไปได้ยาก
10.โครงการนี้ ไม่ได้หวังสร้างจริง เป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายไทยและฝ่ายจีน
ตอบ โครงการนี้ มีการศึกษามานาน และในปัจจุบัน ความร่วมมือระหว่างไทยจีนก็คืบหน้าไปมาก และจากเหตุผลตามข้อบน รัฐไทยมีสถานะทางการคลังที่มั่นคงพอที่จะรับภาระโครงการนี้ได้ รวมถึงรถไฟความเร็วสูงสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและกระตุ้นเศรษฐกิจได้ด้วย จึงไม่มีเหตุผลที่ต้องทำหลอก และฝ่ายจีนเอง ก็หวังเข้าไปมีส่วนในการสร้างระบบคมนาคมในประเทศต่างในเอเชียไม่ใช่แค่ไทย ถ้าหากมาร่วมกับรัฐบาลไทยเพื่อหลอกคนไทยและชาวโลก ก็จะเป็นการทำลายเครดิตของฝ่ายจีนเอง
11.มีการใช้มาตรา 44 เพื่อให้วิศกรจีนเข้ามาทำงานในไทย ถือว่าไม่ถูกต้อง
ตอบ โครงการรถไฟความเร็วสูงสายนี้เป็นสายแรกของไทย และเป็นโครงการที่ใช้เทคโนโลยีสูง ไทยจำเป็นที่จะต้องให้วิศกรจีนที่มีประสบการณ์ เข้ามาควบคุมร่วมกับวิศวกรไทย ถ้าใช้ขั้นตอนเดิม วิศวกรจีนอาจต้องไปเรียนภาษาไทยให้รู้เรื่องก่อน ถึงจะเข้ามาสอบได้ ก็คงเป็นเรื่องที่พ้นวิสัย จึงใช้วิธียกเว้นให้ออกข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษและจีนสำหรับวิศวกรที่จะเข้ามาคุมการก่อสร้าง และจะได้รับใบอนุญาตให้สามารถเข้ามาคุมการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 เท่านั้น ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็ล้วนแล้วแต่ต้องหาช่องทางให้วิศวกรจีนเข้ามาคุมงานอยู่ดี
12.สร้างทำไม 3.5 กิโลฯ สร้างเอาไว้หลอกชาวบ้านเขาหรือเปล่า
ตอบ ในโครงการระยะที่ 1 นั้น ช่วงกลางดง - ปางอโศกนั้นพร้อมที่สุด และจะเป็นต้นแบบในการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระดับดิน ซึ่งค่อนข้างยาก ฝ่ายไทยกับจีน จึงเลือกช่วงกลางดง - ปางอโศก 3.5 กิโลเมตรเป็นจุดเริ่มต้นการก่อสร้าง โดยฝ่ายไทย มอบให้กรมทางหลวง ที่มีประสบการณ์ในการทำคันดินเป็นผู้ดำเนินการ เพราะทางระดับดินนั้นสร้างยาก มีรายละเอียดเยอะ โดยเฉพาะเรื่องความหนาแน่นของดิน ระบบระบายน้ำ ฯลฯ กรมทางหลวงที่มีประสบการณ์นั้น ก็จะเป็นผู้ออกคู่มือการก่อสร้างให้กับผู้ที่ประมูลเข้ามาก่อสร้างส่วนต่อๆไปด้วย
13.แล้วจะสร้างมากกว่าไอ้ 3.5 กิโลไหม
ตอบ ได้สร้างแน่นอน ทางโครงการได้แบ่งแนวเส้นทางเป็นสัญญาก่อสร้าง 14 สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. กรมทางหลวงอยู่ระหว่างก่อสร้าง
สัญญาที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. เปิดประมูลกันยายน ก่อสร้างมกราคม 2562
สัญญาที่ 3 ช่วงแก่งคอย-บันไดม้า ระยะทาง 32 กม.
สัญญาที่ 4 ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 11.7 กม.
สัญญาที่ 5 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 24.8 กม.
สัญญาที่ 6 ช่วงลำตะคอง-โคกกรวด ระยะทาง 37.6 กม.
สัญญาที่ 7 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 13.7 กม.
สัญญาที่ 8 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 11 กม.
สัญญาที่ 9 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 22.6 กม.
สัญญาที่ 10 ช่วงนวนคร-บ้านโพธิ์ ระยะทาง 23 กม.
สัญญาที่ 11 เชียงรากน้อย (เดปโป้)
สัญญาที่ 12 ช่วงบ้านโพธิ์-พระแก้ว ระยะทาง 14.4 กม.
สัญญาที่ 13 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 30.5 กม.
สัญญาที่ 14 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 13 กม.
โดยสัญญาที่ 3-14 จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตอน จะประมูลกลุ่มแรก 6 ตอนในเดือนกันยายน - ตุลาคมนี้ เริ่มสร้างเดือนมีนาคม 2562 และประมูลกลุ่มที่ 2 อีก 6 ตอนในเดือน พฤศจิกายนนี้เริ่มสร้างเดือน เมษายน 2562
14.แล้วทำไมถึงไม่สามารถประมูลสร้างพร้อมกันไปเลยทีเดียว
ตอบ เพราะทางฝ่ายไทย ต้องการควบคุมแบบก่อสร้างโดยตัวเอง จึงให้ฝ่ายจีนออกแบบและส่งมาให้ฝ่ายไทยตรวจแบบด้วย เพื่อตอบสนองความต้องการของฝ่ายไทย ที่เป็นเจ้าของโครงการฝ่ายเดียว ฉะนั้น ในแต่ละสัญญาเมื่อจีนออกแบบ ก็ต้องส่งให้ไทยตรวจ และไทยก็จะให้จีนไปแก้รายระเอียดต่างๆ จึงมีส่วนทำให้โครงการไม่สามารถประมูลทั้งโครงการพร้อมกันทีเดียวได้
15.ใครจะเป็นคนบริหารโครงการเมื่อเปิดให้บริการ ถ้าให้การรถไฟทำคงเจ๊งแน่ ฯลฯ
ตอบ จะมีการจัดตั้งหน่วยงามมาบริหารโครงการนี้โดยเฉพาะ การรถไฟฯมีฐานะเป็น"เจ้าภาพ"ในขณะก่อสร้างเท่านั้น
อันนี้ก็รวมๆมาจากที่เห็นคนสงสัยกันเยอะ ท่านใดอยากเพิ่มเติมได้นะครับ ผมจะพยายามหาข้อมูลมาตอบให้ ขอบคุณครับ