นักวิชาการมั่นใจ"โครงการแลนด์บริดจ์” จะเป็น Game Changer สร้างประเทศไทยเป็น Hub เชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลของโลกเทียบช่องแคบมะละกา
รศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือ "กรรมาธิการโครงการแลนด์บริดจ์" สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง แนวทางการพัฒนาพื้นที่ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ( SEC) ซึ่งครอบคลุม 4 จังหวัดได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จะช่วยยกระดับการผลิต การเกษตร การพัฒนาพืชสัตว์เศรษฐกิจ การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร
ทั้งนี้การสร้างพื้นที่ SEC จะทำให้ไทยเป็น Hub เชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลเช่นเดียวกับช่องแคบมะละกา รวมทั้งเชื่อมโยงแนวทาง BRI หรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จากจีนตอนใต้ ผ่านเชียงราย เชียงของไปสู่ภาคใต้ และหากเกิดปัญหาความชัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ พื้นที่ SEC จะได้รับประโยชน์ และจะทำให้ภาคใต้มีศักยภาพการเติบโต
"โครงการแลนด์บริดจ์" เป็น Game Changer สร้างประเทศไทยเป็น Hub แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไทยมีโอกาสกลายเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าของโลกได้ ไทยจะเป็นที่สนใจจากนักลงทุนต่างชาติ เพราะการลงทุนจะเปลี่ยนโฉมหน้าการค้า การลงทุนในภูมิภาคและโครงการแลนด์บริดจ์จะเป็นการเสริมท่าเรืออื่น ทั้งในสิงคโปร์ และมาเลเซีย 10 กว่าปีที่ผ่านมาไม่มีโครงการใหญ่ โครงการทวายก็ไม่ตอบโจทย์ จึงมองว่าน่าจะมีโครงการใหญ่ตอบรับ หรือเสริมกับสิ่งที่มีอยู่ ไม่ได้ไปเทียบกับท่าเรือสิงคโปร์ เราไม่ใช่คู่แช่งสิงคโปร์ แต่เพียงดึงผลประโยชน์บางส่วนเข้ามาไทย"
อย่างไรก็ตามในการผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ เป็น Game Changer จะต้องตรากฎหมาย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบที่จะส่งเสริมการดำเนินการในรูปแบบการพัฒนาโครงการเพื่อจูงใจนักลงทุน และส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ SEC ที่เป็นรูปธรรม จึงมีการพัฒนาด้านกฎหมาย ประกอบด้วย
1.การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)
2.จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้
3.จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ในการขับเคลื่อนนโยบายและผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองและพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวคิดการพัฒนา SEC โดยใช้โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นเครื่องมือ
นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะเปิดให้ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาประมูลโครงการแลนด์บริดจ์ มูลค่า 1 ล้านล้านบาท โดยจะให้รายเดียวเป็นผู้บริหารโครงการทั้งท่าเรือ 2 ฝั่ง (ชุมพรและระนอง) มอเตอร์เวย์ และรถไฟ เพื่อให้การทำงานคล่องตัว ซึ่งคาดว่าจะมีการร่วมลงทุนจากทั้งนักลงทุนต่างประเทศและไทย โดยจะให้สิทธิการบริหาร 50 ปี และนักลงทุนต่างชาติสามารถร่วมลงทุนได้มากกว่า 50% อย่างไรก็ตามคาดว่า เอกชนน่าจะต้องการสิทธิบริหารมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้จากการประเมินมูลค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเบื้องต้นที่ผู้ลงทุนต้องใช้ในการพัฒนาโครงการ มีมูลค่าลงทุนประมาณ 1.001 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็น ท่าเรือฝั่งระนอง ประมาณ 330,810 ล้านบาท ท่าเรือฝั่งชุมพร ประมาณ 305,666 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 6 ล้านทีอียู เปิดให้บริการภายในปี 73
ระยะที่ 2 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 6 ล้านตู้ทีอียู เปิดให้บริการปี 82
และระยะที่ 3 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 8 ล้านตู้ทีอียู โดยการเปิดให้บริการระยะนี้จะต้องรอดูการเริ่มดำเนินการก่อสร้างทั้ง 2 ระยะก่อน ส่งผลให้ทั้งโครงการฯสามารถรองรับปริมาณได้ทั้งหมดฝั่งละ 20 ล้านตู้ทีอียู
นอกจากนี้โครงการแลนด์บริดจ์มีโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางรถไฟ รวมประมาณ 358,517 ล้านบาท (เป็นราคาประเมิน ณ ปี 2566 โดยไม่ได้รวมเงินเฟ้อ) ซึ่งจากการประเมินอัตราผลตอบแทนภายในทางการเงิน (FIRR) ที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากโครงการในเบื้องต้น เท่ากับ 8.62% (กรณียังไม่มีการกู้ยืม) โดยมีระยะเวลาคืนทุนปีที่ 24 แสดงให้เห็นว่าโครงการมีความคุ้มค่ากับการลงทุน
ขั้นตอนหลังจากดำเนินการ Market Sounding เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมาแล้ว สนข.จะรวบรวมความเห็นของเอกชน จากนั้นก็จะจัดทำร่างทีโออาร์ ประกวดราคาโครงการ สนข.คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปลายปี 2568 หลังจากที่ร่าง พ.ร.บ.SEC เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ แล้วและดำเนินการจัดตั้งสำนักงานฯสำเร็จ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยในการเวนคืนที่ดินอาจใช้งบประมาณในปี 2569 ประกอบกับการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2567 นี้
Cr.
https://www.thansettakij.com/business/economy/598147
ดัน"แลนด์บริดจ์"เป็น Game Changer สู่ Hub กระจายสินค้าของโลก
รศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือ "กรรมาธิการโครงการแลนด์บริดจ์" สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง แนวทางการพัฒนาพื้นที่ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ( SEC) ซึ่งครอบคลุม 4 จังหวัดได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จะช่วยยกระดับการผลิต การเกษตร การพัฒนาพืชสัตว์เศรษฐกิจ การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร
ทั้งนี้การสร้างพื้นที่ SEC จะทำให้ไทยเป็น Hub เชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลเช่นเดียวกับช่องแคบมะละกา รวมทั้งเชื่อมโยงแนวทาง BRI หรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จากจีนตอนใต้ ผ่านเชียงราย เชียงของไปสู่ภาคใต้ และหากเกิดปัญหาความชัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ พื้นที่ SEC จะได้รับประโยชน์ และจะทำให้ภาคใต้มีศักยภาพการเติบโต
"โครงการแลนด์บริดจ์" เป็น Game Changer สร้างประเทศไทยเป็น Hub แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไทยมีโอกาสกลายเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าของโลกได้ ไทยจะเป็นที่สนใจจากนักลงทุนต่างชาติ เพราะการลงทุนจะเปลี่ยนโฉมหน้าการค้า การลงทุนในภูมิภาคและโครงการแลนด์บริดจ์จะเป็นการเสริมท่าเรืออื่น ทั้งในสิงคโปร์ และมาเลเซีย 10 กว่าปีที่ผ่านมาไม่มีโครงการใหญ่ โครงการทวายก็ไม่ตอบโจทย์ จึงมองว่าน่าจะมีโครงการใหญ่ตอบรับ หรือเสริมกับสิ่งที่มีอยู่ ไม่ได้ไปเทียบกับท่าเรือสิงคโปร์ เราไม่ใช่คู่แช่งสิงคโปร์ แต่เพียงดึงผลประโยชน์บางส่วนเข้ามาไทย"
อย่างไรก็ตามในการผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ เป็น Game Changer จะต้องตรากฎหมาย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบที่จะส่งเสริมการดำเนินการในรูปแบบการพัฒนาโครงการเพื่อจูงใจนักลงทุน และส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ SEC ที่เป็นรูปธรรม จึงมีการพัฒนาด้านกฎหมาย ประกอบด้วย
1.การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC)
2.จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้
3.จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ในการขับเคลื่อนนโยบายและผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองและพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เป็นไปตามแนวคิดการพัฒนา SEC โดยใช้โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นเครื่องมือ
นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะเปิดให้ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาประมูลโครงการแลนด์บริดจ์ มูลค่า 1 ล้านล้านบาท โดยจะให้รายเดียวเป็นผู้บริหารโครงการทั้งท่าเรือ 2 ฝั่ง (ชุมพรและระนอง) มอเตอร์เวย์ และรถไฟ เพื่อให้การทำงานคล่องตัว ซึ่งคาดว่าจะมีการร่วมลงทุนจากทั้งนักลงทุนต่างประเทศและไทย โดยจะให้สิทธิการบริหาร 50 ปี และนักลงทุนต่างชาติสามารถร่วมลงทุนได้มากกว่า 50% อย่างไรก็ตามคาดว่า เอกชนน่าจะต้องการสิทธิบริหารมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้จากการประเมินมูลค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเบื้องต้นที่ผู้ลงทุนต้องใช้ในการพัฒนาโครงการ มีมูลค่าลงทุนประมาณ 1.001 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็น ท่าเรือฝั่งระนอง ประมาณ 330,810 ล้านบาท ท่าเรือฝั่งชุมพร ประมาณ 305,666 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 6 ล้านทีอียู เปิดให้บริการภายในปี 73
ระยะที่ 2 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 6 ล้านตู้ทีอียู เปิดให้บริการปี 82
และระยะที่ 3 สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าจำนวน 8 ล้านตู้ทีอียู โดยการเปิดให้บริการระยะนี้จะต้องรอดูการเริ่มดำเนินการก่อสร้างทั้ง 2 ระยะก่อน ส่งผลให้ทั้งโครงการฯสามารถรองรับปริมาณได้ทั้งหมดฝั่งละ 20 ล้านตู้ทีอียู
นอกจากนี้โครงการแลนด์บริดจ์มีโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อ ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางรถไฟ รวมประมาณ 358,517 ล้านบาท (เป็นราคาประเมิน ณ ปี 2566 โดยไม่ได้รวมเงินเฟ้อ) ซึ่งจากการประเมินอัตราผลตอบแทนภายในทางการเงิน (FIRR) ที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากโครงการในเบื้องต้น เท่ากับ 8.62% (กรณียังไม่มีการกู้ยืม) โดยมีระยะเวลาคืนทุนปีที่ 24 แสดงให้เห็นว่าโครงการมีความคุ้มค่ากับการลงทุน
ขั้นตอนหลังจากดำเนินการ Market Sounding เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่ผ่านมาแล้ว สนข.จะรวบรวมความเห็นของเอกชน จากนั้นก็จะจัดทำร่างทีโออาร์ ประกวดราคาโครงการ สนข.คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปลายปี 2568 หลังจากที่ร่าง พ.ร.บ.SEC เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ แล้วและดำเนินการจัดตั้งสำนักงานฯสำเร็จ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยในการเวนคืนที่ดินอาจใช้งบประมาณในปี 2569 ประกอบกับการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2567 นี้
Cr. https://www.thansettakij.com/business/economy/598147