ช่วงนี้มีข่าวโครงการรถไฟความเร็วสูงสามสายออกมาติด ๆ กัน 3 โครงการ เป็นรูปเป็นร่างชัดขึ้นอีกขั้น
ล่าสุด
บอร์ด รฟท. เห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงกรุงเทพฯ – ระยอง คาดเปิดประมูลได้กลางปีหน้า ใช้บริการได้ปี 2566 ....
คณะกรรมการบริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือบอร์ด รฟท. ได้มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงกรุงเทพฯ – ระยอง วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการลงทุนพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี
โดยสัปดาห์หน้าจะเสนอโครงการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ภายในไตรมาสแรกของปี 2561
พร้อมกับการร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) ที่ต้องแล้วเสร็จภายในเดือน มีนาคม 2561
โดยหากโครงการสามารถเดินหน้าตามแผนเดิมที่วางไว้ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ภายในเดือน ส.ค. – ก.ย. 2561
บอร์ด รฟท. ยังเห็นชอบแนวทางพัฒนาพื้นที่มักกะสันแปลง A เนื้อที่ราว 130 ไร่ โดยจะให้
เอกชนที่เข้ามาบริหารโครงการฯ ลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ให้ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ซึ่งเอกชนต้องแบ่งรายได้จำนวน 1.6 หมื่นล้านบาทให้กับการรถไฟฯ ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน และหลังจากสิ้นสุดสัญญาแล้ว ทางเอกชนต้องมอบพื้นที่และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้กับการรถไฟฯ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่ามากถึง 4 – 5 หมื่นล้านบาท
และได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจัดทำรายละเอียดร่างประกาศเชิญชวนนักลงทุนหรือทีโออาร์ ซึ่งคาดว่าจะพร้อมประกาศได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561, คัดเลือกเอกชนที่ชนะการประมูลได้ในเดือนกรกฎาคม, ลงนามในสัญญาได้ในเดือนกันยายน, ก่อสร้างแล้วเสร็จและจะเปิดดำเนินการภายในปี 2566
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา:
http://www.ryt9.com/s/tpd/2755627
http://www.thansettakij.com/content/241704
ข้อมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – ระยอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะแล้วเสร็จในปี 2566
แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ระยะทางรวม 260 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 200,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 10 สถานี เป็นสถานียกระดับ 8 สถานี ได้แก่
สถานีดอนเมือง สถานีกลางบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีระยอง และสถานีใต้ดิน 2 สถานี ได้แก่ สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีอู่ตะเภา
โดยเป็นรถไฟขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) สองทางวิ่ง
แบ่งความเร็วเป็น 2 ระดับ
• ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ วิ่งที่ 160 กม./ชม. (City Line)
• สุวรรณภูมิ - ระยอง วิ่งที่ 250 กม./ชม (High Speed Train)
โครงสร้างทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างทางยกระดับ (Elevated) มีโครงสร้างระดับดิน (At-Grade) และ โครงสร้างใต้ดิน (Tunnel)
คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟธรรมดา (City Line) ช่วงดอนเมือง – สุวรรณภูมิ กว่า 103,920 คน/เที่ยว/วัน และมีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง (HSR) ช่วงสุวรรณภูมิ – ระยอง ถึงกว่า 65,630 คน/เที่ยว/วัน
สำหรับระยะเวลาการเดินทางจากดอนเมืองถึงระยอง (หยุดทุกสถานี) ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. และระยะเวลาการเดินทางจากดอนเมืองถึงระยอง (ไม่จอดระหว่างทาง) ใช้เวลาประมาณ 1 ชม.
ใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิม ได้แก่
1. โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองหรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว
2. โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท - ดอนเมือง (ARLEX)
3. โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – ระยอง (HSR) โดยโครงการนี้มีการออกแบบเพิ่มเติมบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า-ขาออก)
ศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ที่ ฉะเชิงเทรา พื้นที่ประมาณ 400 ไร่
ค่าโดยสาร City Line 13 บาท (แรกเข้า) + 2.0 บาทต่อกิโลเมตร
ค่าโดยสาร HSR 80 บาท (แรกเข้า) + 1.8 บาทต่อกิโลเมตร
ความคืบหน้าอีกสองโครงการ : เส้นทาง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา และ กรุงเทพฯ – เชียงใหม่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้1. โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน เส้นทางกรุงเทพฯ – หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร วงเงิน 179,413 ล้านบาท
โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำหนดจัดพิธีเริ่มการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 21 ธันวาคม 2560 นี้ และมีผู้แทนของทั้งสองฝ่ายร่วมเป็นเกียรติในพิธี ณ มอหลักหิน ช่วงกิโลเมตรที่ 170 ระหว่างสถานีปางอโศก – บันไดม้า ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
2. โครงการรถไฟความเร็วสูง ความร่วมมือระหว่างไทย – ญี่ปุ่น เทคโนโลยีชินคันเซ็น เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. วงเงิน 4.2 แสนล้านบาท มีทั้งหมด 12 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมงครึ่ง ทำความเร็วสูงสุดได้ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งทางญี่ปุ่นได้สรุปรายงานผลการศึกษาระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – พิษณุโลก (ผ่านการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ เรียบร้อยแล้ว) ระยะทาง 380 กม. มูลค่าการลงทุน 2.8 แสนล้านบาท โดยเป็นการลงทุนเกี่ยวกับงานโยธา อาณัติสัญญาณ ระบบรถ และการบำรุงรักษา
ส่วนการประเมินราคาค่าโดยสารนั้น กำหนดค่าแรกเข้าไว้ที่ 80 บาท และคิดค่าเดินทางกิโลเมตรละ 1.50 บาท ส่งผลให้ค่าโดยสารช่วงเฟส 1 กรุงเทพฯ – พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. จะมีค่า โดยสารราว 650 บาท ขณะที่ค่าโดยสารตลอดสายช่วงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. จะอยู่ที่ราว 1,088 บาท ซึ่งราคาตั๋วกำหนดโดยคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน เช่น ค่าครองชีพ และการแข่งขันกับเที่ยวบินราคาประหยัด
สำหรับรูปแบบการลงทุนนั้น ทางญี่ปุ่นเสนอว่าควรเป็นโครงการที่รัฐบาลเป็นผู้ลงทุน แต่ทางไทยก็เสนอเป็นทางเลือกว่า น่าจะเป็นลักษณะของการร่วมลงทุนพีพีพี ระหว่างรัฐบาลไทยและเอกชนไทย
ส่วนรูปแบบการก่อสร้าง จะทยอยสร้างเป็นช่วงพร้อมดำเนินการจัดซื้อตัวรถ เพื่อเร่งรัดให้โครงการเกิดขึ้นได้เร็ว และทยอยเปิดให้บริการประชาชนก่อนเป็นช่วง ๆ อาทิ สถานที่ 1 บางซื่อ – สถานีที่ 2 ดอนเมือง – สถานีที่ 3 อยุธยา ระยะทางประมาณ 100 กม. จากนั้นจึงค่อยดำเนินการออกแบบและก่อสร้างสถานีที่ 4 ลพบุรี – สถานีที่ 5 นครสวรรค์ และสถานีที่ 6 พิษณุโลก
กระทรวงคมนาคมของไทยจะประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการนี้อีกครั้งกับตัวแทนของญี่ปุ่นภายในระยะเวลา 3 เดือนข้างหน้า
ซึ่งหากรัฐบาลไทยเห็นชอบ การก่อสร้างจะเริ่มต้นขึ้นได้ในปี 2019 และระยะทางแรก 380 กม.จากกรุงเทพฯ ถึงพิษณุโลกจะเปิดให้บริการได้ในปี 2025
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวนิกเกอิรายงานว่า อุปสรรคสำคัญของโครงการนี้ก็คือรัฐบาลไทยอาจมองว่าราคาดังกล่าวแพงเกินไป จนไม่คุ้มค่ากับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะได้รับ นอกจากนี้ราคาตั๋วจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ยังอยู่ที่ 1,200 บาท ในการเดินทาง 3 ชั่วโมงครึ่ง ด้วยความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถูกกว่าตั๋วชิงกันเซ็งในญี่ปุ่นอย่างมาก เนื่องจากรัฐบาลไทยต้องการให้ราคารถไฟความเร็วสูงแข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำได้ และสอดคล้องกับค่าครองชีพของคนไทย แต่ก็ทำให้การเดินรถไฟเสี่ยงที่จะขาดทุนเช่นกัน ทั้งนี้ ทางญี่ปุ่นเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นแรงจูงใจ
ที่มา : https://www.thaipost.net/?q=node/39366 , https://voicetv.co.th/read/HJlRcbWGM
รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – ระยอง กำลังมาเสริมทัพอีอีซี
ล่าสุด บอร์ด รฟท. เห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงกรุงเทพฯ – ระยอง คาดเปิดประมูลได้กลางปีหน้า ใช้บริการได้ปี 2566 ....
คณะกรรมการบริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือบอร์ด รฟท. ได้มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงกรุงเทพฯ – ระยอง วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการลงทุนพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี
โดยสัปดาห์หน้าจะเสนอโครงการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ภายในไตรมาสแรกของปี 2561
พร้อมกับการร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) ที่ต้องแล้วเสร็จภายในเดือน มีนาคม 2561
โดยหากโครงการสามารถเดินหน้าตามแผนเดิมที่วางไว้ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ภายในเดือน ส.ค. – ก.ย. 2561
บอร์ด รฟท. ยังเห็นชอบแนวทางพัฒนาพื้นที่มักกะสันแปลง A เนื้อที่ราว 130 ไร่ โดยจะให้เอกชนที่เข้ามาบริหารโครงการฯ ลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ให้ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ซึ่งเอกชนต้องแบ่งรายได้จำนวน 1.6 หมื่นล้านบาทให้กับการรถไฟฯ ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน และหลังจากสิ้นสุดสัญญาแล้ว ทางเอกชนต้องมอบพื้นที่และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้กับการรถไฟฯ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่ามากถึง 4 – 5 หมื่นล้านบาท
และได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจัดทำรายละเอียดร่างประกาศเชิญชวนนักลงทุนหรือทีโออาร์ ซึ่งคาดว่าจะพร้อมประกาศได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561, คัดเลือกเอกชนที่ชนะการประมูลได้ในเดือนกรกฎาคม, ลงนามในสัญญาได้ในเดือนกันยายน, ก่อสร้างแล้วเสร็จและจะเปิดดำเนินการภายในปี 2566
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข้อมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – ระยอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคืบหน้าอีกสองโครงการ : เส้นทาง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา และ กรุงเทพฯ – เชียงใหม่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้