ที่มา
http://www.thairath.co.th/page/trainPage
กระทรวงคมนาคมเตรียมเร่งรัดก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่,กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี,กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ กรุงเทพฯ-ระยอง ไทยรัฐออนไลน์จะพาไปรู้จักกับ เทคโนโลยี รถไฟความเร็วสูงที่โลกนี้มีใช้กัน (ภาพตามลิงค์ที่มา)
หลังจาก พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานสรุป กรอบการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ร่วมกับผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำผลศึกษาที่บริษัทที่ปรึกษา จัดทำไว้เข้ามาพิจารณารายละเอียดเพื่อกำหนดกรอบหลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือ การพัฒนารถไฟความเร็วสูง โดยใช้รางขนาด 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจจะมี การปรับปรุงจากรางเดิม ซึ่งเป็นรางขนาด 1 เมตร หรือมิเตอร์เกจ หรือจะมีการพัฒนา รางที่ 3 เป็นแบบสแตนดาร์ดเกจตลอดเส้นทาง
ขณะเดียวกันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงตามแผนที่กระทรวงคมนาคม ให้นโยบายไว้
จะมีการเร่งรัดทำทันที 5 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ กรุงเทพฯ-ระยอง ขณะที่เส้นทางแรกที่จะเร่งดำเนินการทันที คือกรุงเทพฯ- นครราชสีมา โดยรูปแบบการลงทุนนั้น เป็นไปได้มากที่สุด คือ ภาครัฐก่อสร้างรางหรือโครงสร้างพื้นฐานเอง และดึงเอกชนเข้ามาร่วมในการเดินรถ ซึ่งจะมีพูดคุยอีกครั้งว่าจะเป็นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนเดินรถ หรือสัมปทานเดินรถ
ส่วนอัตราค่าโดยสารตามผลศึกษานั้น ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเช่น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะเก็บคนละ 1,000 บาท แต่จะกำหนดอัตราดังกล่าวหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ขณะที่เงินลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงนั้น หากภาครัฐก่อสร้างรางเองก็จะมีค่าใช้จ่ายกิโลเมตรละ 800-1,000 ล้านบาท
ห้าเส้นทางรถไฟความเร็วสูง [ไทยรัฐออนไลน์]
กระทรวงคมนาคมเตรียมเร่งรัดก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่,กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี,กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ กรุงเทพฯ-ระยอง ไทยรัฐออนไลน์จะพาไปรู้จักกับ เทคโนโลยี รถไฟความเร็วสูงที่โลกนี้มีใช้กัน (ภาพตามลิงค์ที่มา)
หลังจาก พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานสรุป กรอบการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ร่วมกับผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำผลศึกษาที่บริษัทที่ปรึกษา จัดทำไว้เข้ามาพิจารณารายละเอียดเพื่อกำหนดกรอบหลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือ การพัฒนารถไฟความเร็วสูง โดยใช้รางขนาด 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจจะมี การปรับปรุงจากรางเดิม ซึ่งเป็นรางขนาด 1 เมตร หรือมิเตอร์เกจ หรือจะมีการพัฒนา รางที่ 3 เป็นแบบสแตนดาร์ดเกจตลอดเส้นทาง
ขณะเดียวกันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงตามแผนที่กระทรวงคมนาคม ให้นโยบายไว้
จะมีการเร่งรัดทำทันที 5 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ กรุงเทพฯ-ระยอง ขณะที่เส้นทางแรกที่จะเร่งดำเนินการทันที คือกรุงเทพฯ- นครราชสีมา โดยรูปแบบการลงทุนนั้น เป็นไปได้มากที่สุด คือ ภาครัฐก่อสร้างรางหรือโครงสร้างพื้นฐานเอง และดึงเอกชนเข้ามาร่วมในการเดินรถ ซึ่งจะมีพูดคุยอีกครั้งว่าจะเป็นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนเดินรถ หรือสัมปทานเดินรถ
ส่วนอัตราค่าโดยสารตามผลศึกษานั้น ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเช่น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะเก็บคนละ 1,000 บาท แต่จะกำหนดอัตราดังกล่าวหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ขณะที่เงินลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงนั้น หากภาครัฐก่อสร้างรางเองก็จะมีค่าใช้จ่ายกิโลเมตรละ 800-1,000 ล้านบาท