สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 49
ย้อนความ ...
มองในภาพรวมระดับประเทศ รถไฟความเร็วสูงไม่ได้สร้างมาเพื่อหาเงินจากค่ารถไฟเป็นหลักเพื่อคืนทุน 2.2 ล้านล้าน อย่างที่หลายๆคนหลับหูหลับตาโจมตี
แต่เป็นการเพิ่มแหล่งทำภาษีคืนแก่รัฐบาลอย่างเป็นกอบเป็นกำ!!
1. จังหวัดที่รถไฟผ่านจะเจริญมากขึ้นๆ มีรายได้มากขึ้น แค่ชุมชนที่เป็นท่าสถานีรถไฟก็คงคึกคักขึ้นจากหน้ามือเป็นหลังมือ
2. ในภาพรวมของทั้งประเทศนักท่องเที่ยวมีช่องทางเพิ่มขึ้น ดึงเงินจากต่างประเทศเข้าประเทศได้มากขึ้น
3. มีเส้นทางขนส่งสินค้าได้มากขึ้นแบบตู้คอนเทนเนอร์ เร็วกว่ารถบรรทุก ปลอดภัยกว่า และได้ปริมาณเยอะกว่า ทำให้มีโรงงานต่างๆจากในและนอกประเทศไปเปิดลงทุนใกล้เส้นทางรถไฟได้มากขึ้น (แต่รัฐบาลก่อนดันยกตัวอย่าง "ขนผัก" จนโดนโจมตีเละเทะ แต่จริงๆแกพูดถูกแล้ว แต่ยกตัวอย่างสินค้าโคตะระไม่เหมาะสมก็เท่านั้นเอง) จะเห็นได้ว่าระยอง ชลบุรี และไม่ไกลกทม. มีโรงงานเยอะ เพราะขนไปที่ท่าเรือได้สะดวก
4. จากข้อสาม คนในพื้นที่มีงานทำเพิ่มขึ้น วัตถุดิบหลายๆอย่าง โรงงานที่มาเปิดก็เอาสินค้าของโรงงานย่อยๆในไทยไปใช้ ถ้าสินค้าเกี่ยวกับการเกษตร เกษตรกรก็มีช่องทางปล่อยสินค้าและได้เงิน
5. จากข้อ 1-4. รัฐบาลจะได้ภาษีมากขึ้น งบประมาณประจำปีของแต่ละอำเภอและตำบลมีมากขึ้น สรุปคือมีรายได้เพิ่มขึ้นไปพัฒนาลดถนนลูกรังตามที่ศาลกล่าวได้ทั่วประเทศ!!
แต่ดันเห็นมีคนแชร์ภาพทักษิณนั่งรถไฟความเร็วสูง ชาวบ้านอดอยากมองรถไฟกันมากมายเต็มเฟสไปหมด!! คนมีความรู้หลายๆคนก็ปิดหูปิดตา หน้ามืดช่วยกันแชร์
มาตอนนี้ ... ความเร็วไม่สูง รางคู่น้อยกว่าเดิม?
ถ้ารถไฟความเร็วไม่สูง และมีรางคู่น้อยลงกว่าเดิม เพราะมัวกังวลว่าผู้โดยสารจะน้อย ... ก็ถือว่ามองการณ์ผิดแล้วครับ
ผู้โดยสารก็สำคัญ แต่ไม่ใช่กำไรหลักของการลงทุนทำรถไฟครั้งนี้!!
ความเร็วปานกลางก็ปรับเปลี่ยนระบบขนส่งไม่ได้มากมายอะไรเลย ไม่เกิดผลกระทบที่คุ้มค่าแก่การลงทุน
รางคู่เป็นรางเดี่ยว ก็ทำให้รอบวิ่งน้อยกว่าเดิม ใครก็ไม่อยากไปลงทุนกับเส้นทางเดินรถไฟครั้งนี้
...
คิดแล้วเพลีย ... -*-
ส่วนตัวมองว่า ต่อให้ไม่เจ๊ง ก็ได้กำไรไม่มากถึงครึ่งหนึ่งของที่ควรจะเป็นครับ
ปล. ไม่มีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์นะ รอคนมีความรู้จริงมาแย้ง
มองในภาพรวมระดับประเทศ รถไฟความเร็วสูงไม่ได้สร้างมาเพื่อหาเงินจากค่ารถไฟเป็นหลักเพื่อคืนทุน 2.2 ล้านล้าน อย่างที่หลายๆคนหลับหูหลับตาโจมตี
แต่เป็นการเพิ่มแหล่งทำภาษีคืนแก่รัฐบาลอย่างเป็นกอบเป็นกำ!!
1. จังหวัดที่รถไฟผ่านจะเจริญมากขึ้นๆ มีรายได้มากขึ้น แค่ชุมชนที่เป็นท่าสถานีรถไฟก็คงคึกคักขึ้นจากหน้ามือเป็นหลังมือ
2. ในภาพรวมของทั้งประเทศนักท่องเที่ยวมีช่องทางเพิ่มขึ้น ดึงเงินจากต่างประเทศเข้าประเทศได้มากขึ้น
3. มีเส้นทางขนส่งสินค้าได้มากขึ้นแบบตู้คอนเทนเนอร์ เร็วกว่ารถบรรทุก ปลอดภัยกว่า และได้ปริมาณเยอะกว่า ทำให้มีโรงงานต่างๆจากในและนอกประเทศไปเปิดลงทุนใกล้เส้นทางรถไฟได้มากขึ้น (แต่รัฐบาลก่อนดันยกตัวอย่าง "ขนผัก" จนโดนโจมตีเละเทะ แต่จริงๆแกพูดถูกแล้ว แต่ยกตัวอย่างสินค้าโคตะระไม่เหมาะสมก็เท่านั้นเอง) จะเห็นได้ว่าระยอง ชลบุรี และไม่ไกลกทม. มีโรงงานเยอะ เพราะขนไปที่ท่าเรือได้สะดวก
4. จากข้อสาม คนในพื้นที่มีงานทำเพิ่มขึ้น วัตถุดิบหลายๆอย่าง โรงงานที่มาเปิดก็เอาสินค้าของโรงงานย่อยๆในไทยไปใช้ ถ้าสินค้าเกี่ยวกับการเกษตร เกษตรกรก็มีช่องทางปล่อยสินค้าและได้เงิน
5. จากข้อ 1-4. รัฐบาลจะได้ภาษีมากขึ้น งบประมาณประจำปีของแต่ละอำเภอและตำบลมีมากขึ้น สรุปคือมีรายได้เพิ่มขึ้นไปพัฒนาลดถนนลูกรังตามที่ศาลกล่าวได้ทั่วประเทศ!!
แต่ดันเห็นมีคนแชร์ภาพทักษิณนั่งรถไฟความเร็วสูง ชาวบ้านอดอยากมองรถไฟกันมากมายเต็มเฟสไปหมด!! คนมีความรู้หลายๆคนก็ปิดหูปิดตา หน้ามืดช่วยกันแชร์
มาตอนนี้ ... ความเร็วไม่สูง รางคู่น้อยกว่าเดิม?
ถ้ารถไฟความเร็วไม่สูง และมีรางคู่น้อยลงกว่าเดิม เพราะมัวกังวลว่าผู้โดยสารจะน้อย ... ก็ถือว่ามองการณ์ผิดแล้วครับ
ผู้โดยสารก็สำคัญ แต่ไม่ใช่กำไรหลักของการลงทุนทำรถไฟครั้งนี้!!
ความเร็วปานกลางก็ปรับเปลี่ยนระบบขนส่งไม่ได้มากมายอะไรเลย ไม่เกิดผลกระทบที่คุ้มค่าแก่การลงทุน
รางคู่เป็นรางเดี่ยว ก็ทำให้รอบวิ่งน้อยกว่าเดิม ใครก็ไม่อยากไปลงทุนกับเส้นทางเดินรถไฟครั้งนี้
...
คิดแล้วเพลีย ... -*-
ส่วนตัวมองว่า ต่อให้ไม่เจ๊ง ก็ได้กำไรไม่มากถึงครึ่งหนึ่งของที่ควรจะเป็นครับ
ปล. ไม่มีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์นะ รอคนมีความรู้จริงมาแย้ง
แสดงความคิดเห็น
ช็อก! รถไฟไทย-จีน เหลือแค่ทางเดี่ยว จากแผนเดิมสร้างเป็นทางคู่
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้ารถไฟไทย-จีน ว่า ฝ่ายไทยได้เสนอรูปแบบการลงทุนใหม่ โดยขอปรับสัดส่วนการลงทุนให้จีนลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดิมไทยมีสัดส่วนการลงทุน 40% จีน 60% เป็นไทย 30% จีน 70% และขอให้การลงทุนครอบคลุมถึงการก่อสร้างด้วย จากเดิมครอบคลุมเฉพาะเรื่องการเดินรถ ฝ่ายจีนมีข้อเสนอเช่นกัน คือให้ปรับช่วงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่เพื่อเป็นการลดต้นทุนการดำเนินการก่อสร้าง โดยระยะแรกจะแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง คือกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และนครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน หลังจากนั้นก็ดำเนินการก่อสร้างในช่วงที่ 2 คือ นครราชสีมา-หนองคาย โดยจะมีการหารือกับจีนให้ปรับการก่อสร้างเป็นทางเดี่ยว ขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตรไปก่อน จากแผนเดิมจะเป็นทางคู่ เพื่อศึกษาถึงจำนวนปริมาณของผู้โดยสารว่ามีมากเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้ จีนยังได้เร่งรัดให้ไทยสรุปรูปแบบการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับจีนภายใน 2 สัปดาห์เพื่อให้สามารถลงนามบันทึกข้อตกลงได้ในการประชุมร่วมกันปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งรูปแบบการร่วมทุนนั้นก็คงเป็นแบบนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี)
ที่มา : [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
---------------------------------------------
ไหงกลายเป็นแบบนี้ไปได้วะเนี่ย ปัดโธ่!!