"ชื่อนั้นสำคัญไฉน" วลีเด็ดดังที่ใครหลายๆคนล้วนเคยกล่าวกันมาแล้ว
แต่บางครั้งชื่อที่สำคัญไฉนนั้นก็สร้างความงุนงงชวนสงสัยให้เราได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เมื่อชื่อก็ไปทางแต่รูปลักษณ์ของเจ้าของชื่อไปอีกทาง วันนี้ผมจึงขอรวบรวมรายชื่ออาหารที่ชวนสงสัยว่ามีที่มาได้ยังไง ทำไมถึงได้มีชื่อแบบนั้นมาให้เพื่อนได้อ่านกันนะครับ
1.ต้มซุปเปอร์
เชื่อว่าเป็นคำถามคาใจใครหลายๆคนมานานว่าทำไมถึงเรียกว่าต้มซุปเปอร์ แล้วมันซุปเปอร์อะไรกัน จากที่ผมได้พยายามหาคำตอบมานานจนน้ำหนักขึ้นมาหลายกิโล ก็ได้พบต้นกำเนิดเจ้าต้มซุปเปอร์นี้จนได้
โดยต้มซุปเปอร์ที่ฮิตไปทั้วทั้งเขตคามสยามประเทศเพราะเผ็ดร้อนจัดจ้าน ยิ่งดูดยิ่งมันนี้ มีต้นตำหรับมาจากร้านสกายไฮ ซึ่งตั้งอยู่ที่ราชดำเนินนั่นเอง เจ้าของร้านเล่าว่า พ่อครัวในร้านมีคนอีสานเกิดอยากกินอะไรแซ่บๆเผ็ดๆ จึงนำของเหลือในร้านมาต้มแบบต้มแซ่บกินกันแล้วอร่อย เลยนำมาขาย
โดยในช่วงแรกตั้งชื่ออาหารจานนี้ว่าต้ม ”ซุปขาไก่” แต่ลูกค้าเรียกกันไปกันมากลายเป็น ”ต้มซุปเปอร์”เพราะ ซุปเปอร์อร่อย จนกลายเป็นชื่อเรียกเมนูนี้ไปในที่สุด
2.ต้มเล้ง
ต้มเล้ง อาหารจานโปรดของใครหลายๆคนนี้มีที่มาจากคำว่า เอียเล้ง เป็นคำเรียกกระดูกส่วนสันหลังของหมูในภาษาจีนแต้จิ๋ว เวลาชำแหละหมูออกมาแล้วจะเหลือส่วนกระดูกสันหลังเป็นท่อนยาวตั้งแต่คอถึงหลัง ดูแล้วเหมือนกระดูกมังกร จึงเรียกว่า เอียเล้งนั่นเอง (เล้ง แปลว่า มังกร)
คนนิยมนำ
เล้ง กับคาตั๊ง(กระดูกหน้าแข้ง)มาต้มซุปเพราะราคาถูก (และว่ากันว่า เอียเล้งทำให้ซุปหวาน คาตั๊งทำให้ซุปหอม) แต่เล้งจะมีเนื้อติดกระดูก (ต่างกับคาตั๊งที่แทบจะไม่มีเนื้อเลยเป็นกระดูกทั้งท่อน)เมื่อต้มซุปจนเปื่อย จึงเป็นที่หมายปองของนักชิมนักกินทั้งหลาย เพราะซดน้ำซุปไปแทะเนื้อเปื่อยๆติดกระดูกไปด้วยสุดจะฟินจริงๆครับ จึงมีคนเอา
เล้งมาทำเป็นเมนูใหม่ให้เราได้กินแบบนี้นี่เอง
3.ข้าวต้มกุ๊ย
กุ๊ย แปลว่า อันธพาล,คนเลว มักเห็นเดินยักไหล่ เอียงตัวและคอ แกว่งมือกว้างๆและร้องเรียกน้องสาวอยู่ตามหนังหรือละครไทย แต่กุ๊ยที่เรารู้จักกันดี เกี่ยวอะไรกับข้าวต้มกุ๊ยร้อนๆ กินกับไชโป๊วผัดไข่ แขนงหมูกรอบรสเด็ดกันแน่ แล้วทำไมถึงเรียกว่าข้าวต้มกุ๊ยด้วย
เรื่องราวความเป็นมาของข้าวต้มกุ๊ยนั้นมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกันคือมาจากคนจีนแต่แตกออกไปเป็นหลายเรื่องเล่า จนไม่ทราบอันไหนคือกำเนิดที่แท้จริง ผมเลยจะเล่าให้ฟังเท่าที่พอสืบค้นมาได้นะครับ
เรื่องแรกเขาว่าข้าวต้มกุ๊ยนั้น เป็นชื่อเพี้ยนมาจากข้าวต้มพุ้ย คือข้าวต้มกุ๊ยเป็นอาหารยอดนิยมในหมู่ผู้ใช้แรงงานชาวจีนในสมัยก่อน เพราะราคาถูกกินกับไข่เค็มไม่กี่ชามก็อิ่ม มีแรงไปทำงานต่อ ทีนี้เวลาคนจีนกิน จะตักข้าวต้มใส่ชามแล้วเอาตะเกียบกวาดข้าวต้มเข้าปากอย่างในหนังจีนกำลังภายในหรือการ์ตูนญี่ปุ่นนั่นเอง ซึ่งการกินแบบนี้เราจะเรียกว่าการ”พุ้ย” จากนั้นก็ลามไปเรียกถึงข้าวต้มว่า ข้าวต้มพุ้ย
การเวลาที่ผ่านไป การเรียกข้าวต้มพุ้ย เรียกไปเรียกมาก็เลยเพี้ยนเป็นข้าวต้มกุ๊ยนั่นเอง
เรื่องต่อมาเล่ากันว่าในช่วงการค้าแรงงานของชาวจีนพลัดถิ่นที่โล้สำเภา(โล้สำเภาจริงๆนะออเจ้าไม่ใช่อย่างว่า)จากแผ่นดินใหญ่มาถึงประเทศไทย ได้พาเอาวัฒนธรรมการกินข้าวต้มนี้เข้ามาด้วย ด้วยราคาที่ถูกหากินง่าย ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากของเหล่าผู้ใช้แรงงานและเหล่ากุ๊ยระดับรากหญ้า จึงเรียกข้าวต้มนี้ว่าข้าวต้มกุ๊ยนั่นเอง
และที่มาสุดท้ายนี้เป็นเรื่องเล่าที่ดูจะเข้าใกล้คำว่ากุ๊ยที่สุดเมื่อคนจีนสมัยก่อนส่วนใหญ่เป็นคนยากจน กลางวันต้องทำงานหนักแบกหาม พอตกเย็นก็รวมตัวกันกินอาหารตามร้านข้าวต้ม กินข้าวต้มไป กินเหล้าล้างปากตาม กินไปกินมาจากล้างปากก็กลายเป็นฟาดปาก ทะเลาะวิวาทกันไปทุกวัน จนเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเอือมระอา จึงเรียกแผงข้าวต้ม หรือร้านข้าวต้มเหล่านี้ว่า ข้าวต้มกุ๊ยนั่นเอง
4.ไข่เยี่ยวม้า
ยังมีความเข้าใจผิดกันว่าไข่เยี่ยวม้านั้นใช้ฉี่ม้าหมักให้เป็นไข่เยี่ยวม้า ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ เพราะฉี่ม้ามีความเป็นกรดอ่อนๆ แต่การหมักไข่เยี่ยวม้าต้องใช้ด่างหมักไข่ถึงจะเป็นวุ้นและเปลี่ยนสีครับ
เอ๊ะ!!แต่แล้วทำไมถึงเรียกว่าไข่เยี่ยวม้าล่ะ เหตุผลของความเข้าใจผิดเราต้องกลับไปดูที่ต้นกำเนิดของอาการชนิดนี้กันก่อนครับ
ไข่เยี่ยวม้ามีต้นกำเนิดจากประเทศจีน เรียกกันว่า “เหอี่ยหม่า” ในช่วงที่คนจีนอพยพเข้ามาในไทยก็ได้เอาวัฒนธรรมการกินของตัวเองเข้ามาด้วยมากมายทั้งข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว รวมถึงไข่เหอี่ยหม่าด้วย ไข่เหอี่ยหม่าเมื่อเข้ามาในไทย ด้วยชื่อที่ชวนเพี้ยนบวกกับกลิ่นที่ฉุนรุนแรงก็ถูกคนไทยเรียกไปเรียกมาจนเพี้ยนเป็นไข่เยี่ยวม้านั่นเองครับ
ปล.ความจริงแล้วเรามีชื่อเรียกเจ้าไข่ชนิดนี้เหมือนกันครับว่าไข่สำเภาเป็นคำสุภาพ แต่ไม่นิยมเรียกเท่าไข่เยี่ยวม้าครับผม
5.ข้าวซอย
ข้าวซอยเป็นอาหารทางภาคเหนือ มีต้นกำเนิดจากชาวจีนมุสลิมที่อพยพลงมาในช่วงสมัยรัชกาลที่5 จนโด่งดังไปทั่วประเทศ ซึ่งเรื่องที่มาของชื่อข้าวซอยนี้มีข้อสันนิษฐานอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน
โดยเรื่องแรกบอกว่า ชื่อข้าวซอยนั้นมาจากกรรมวิธีทำเส้นครับ เพราะการทำเส้นต้องใช้แป้งข้าวสาลี ไข่ เกลือ น้ำ มาผสมกันแล้วนวดจนได้ที่ จากนั้นจึงรีดเป็นแผ่นแล้วซอยเป็นเส้นบางๆ ออกมาเป็นเส้นข้าวซอยนั่นเอง
ส่วนอีกเรื่องนั้นสันนิษฐานว่าชื่อข้าวซอยเพี้ยนมาจากภาษาของทางไทยใหญ่ว่า เค่าสเว(Khao Swe) เมื่อเรียกไปเรียกมาก็เพี้ยนกลายเป็นข้าวซอยไปในที่สุด
6.ปูอัด
ปูอัดคงเป็นอาหารในดวงใจใครหลายๆคน ฉีกซองจิ้มโชยุกินก็อร่อย เอาไปทำกับข้าวก็ดีงาม แต่รู้หรือไม่ปูอัดที่เรากินทำมาจากปลานะครับ แล้วทำไมถึงไม่เรียกปลาอัด มาเรียกปูอัดให้สับสนทำไม
ปูอัดเป็นการเอาเนื้อปลาสีขาวเช่น ปลาทรายแดง ปลาอลาสก้า ปลากระพง ปลาตาโต ปลาดาบ หรือปลาอื่น ๆ มาบด แล้วปั้นเป็นแท่ง แต่งสีกลิ่นรสให้เหมือนปู โดยเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นโดยเหตุเกิดจากปลาจำนวนมากที่ชาวประมงจับมาเป็นปลาขนาดเล็กขายไม่ได้ราคาทำให้ต้องขายไปป่นเป็นอาหารสัตว์ซึ่งได้ราคาถูก
จึงมีคนพยายามคิดหาทางเพิ่มมูลค่าให้ปลาเหล่านี้ด้วยการเอามาบดแล้วแต่งสีกลิ่นให้เหมือนปูแล้วเรียกว่าเนื้อปูเทียมทำให้ขายได้ราคาสูงขึ้น ซึ่งเนื้อปูเทียมนี้จดสิทธิบัตรโดยบริษัทซูกิโย ในชื่อ คานิกามะในปี1973
หลังจากเนื้อปูเทียมกำเนิดขึ้นก็มีการพัฒนาต่อยอดเนื้อปูเทียมขึ้นไปอีก โดยปี1974 บริษัทโอซากิได้ทำเนื้อปูเทียมแบบเป็นแท่งได้สำเร็จแล้วจดสิทธิบัตรกลายเป็นปูอัดอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
ด้วยความที่แต่งสีกลิ่นเลียนแบบปู ขึ้นรูปอัดเป็นแท่ง แถมยังฉีกเป็นฝอยๆเหมือนเนื้อปูได้ คนไทยเลยเรียกอาหารชนิดนี้ว่าปูอัดนั่นเอง
7.ส้มตำ
เคยสงสัยกันไหมครับมะละกอตำแท้ๆแต่เรียกส้มตำ ส้มก็ไม่มี
อย่างที่เรารู้กันว่าส้มตำนั้นเป็นอาหารอีสาน เพราะฉะนั้นส้มตำจึงเป็นคำในภาษาอีสานด้วยเช่นกัน โดยคำว่าส้มในภาษาอีสานแปลว่าเปรี้ยวครับ ส้มตำจึงหมายถึงอาหารที่ใช้การตำและมีรสเปรี้ยวนั่นเอง ซึ่งแต่แรกเริ่มเดิมทีคนอีสานไม่ได้เรียกกันว่าส้มตำนะครับ เข้าเรียกกันว่าตำส้ม หรือตำบักหุ่ง(บักหุ่ง ก็คือมะละกอ นั่นเอง) จนเมื่อแพร่เข้ามาสู่กรุงเทพฯ ผ่านคนอีสานที่ย้ายถิ่นฐานกันมาทำงาน ก็เปลี่ยนไปกลายเป็นส้มตำ
สำหรับใครที่สนใจติดตามที่มาของคำต่างๆนอกจากชื่ออาหารแล้วสามารถติตามได้ทาง
FBคำไทย ใครทำ:
https://www.facebook.com/Khamthaitham/
Twitter คำไทยใครทำ : @BoonnapasC
Application Blockdit : คำไทย ใครทำ
ได้เลยนะครับ
ของกินสุดอร่อยกับชื่อสุดฉงวน รวมที่มาของอาหารที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน EP.1
แต่บางครั้งชื่อที่สำคัญไฉนนั้นก็สร้างความงุนงงชวนสงสัยให้เราได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เมื่อชื่อก็ไปทางแต่รูปลักษณ์ของเจ้าของชื่อไปอีกทาง วันนี้ผมจึงขอรวบรวมรายชื่ออาหารที่ชวนสงสัยว่ามีที่มาได้ยังไง ทำไมถึงได้มีชื่อแบบนั้นมาให้เพื่อนได้อ่านกันนะครับ
1.ต้มซุปเปอร์
เชื่อว่าเป็นคำถามคาใจใครหลายๆคนมานานว่าทำไมถึงเรียกว่าต้มซุปเปอร์ แล้วมันซุปเปอร์อะไรกัน จากที่ผมได้พยายามหาคำตอบมานานจนน้ำหนักขึ้นมาหลายกิโล ก็ได้พบต้นกำเนิดเจ้าต้มซุปเปอร์นี้จนได้
โดยต้มซุปเปอร์ที่ฮิตไปทั้วทั้งเขตคามสยามประเทศเพราะเผ็ดร้อนจัดจ้าน ยิ่งดูดยิ่งมันนี้ มีต้นตำหรับมาจากร้านสกายไฮ ซึ่งตั้งอยู่ที่ราชดำเนินนั่นเอง เจ้าของร้านเล่าว่า พ่อครัวในร้านมีคนอีสานเกิดอยากกินอะไรแซ่บๆเผ็ดๆ จึงนำของเหลือในร้านมาต้มแบบต้มแซ่บกินกันแล้วอร่อย เลยนำมาขาย
โดยในช่วงแรกตั้งชื่ออาหารจานนี้ว่าต้ม ”ซุปขาไก่” แต่ลูกค้าเรียกกันไปกันมากลายเป็น ”ต้มซุปเปอร์”เพราะ ซุปเปอร์อร่อย จนกลายเป็นชื่อเรียกเมนูนี้ไปในที่สุด
2.ต้มเล้ง
ต้มเล้ง อาหารจานโปรดของใครหลายๆคนนี้มีที่มาจากคำว่า เอียเล้ง เป็นคำเรียกกระดูกส่วนสันหลังของหมูในภาษาจีนแต้จิ๋ว เวลาชำแหละหมูออกมาแล้วจะเหลือส่วนกระดูกสันหลังเป็นท่อนยาวตั้งแต่คอถึงหลัง ดูแล้วเหมือนกระดูกมังกร จึงเรียกว่า เอียเล้งนั่นเอง (เล้ง แปลว่า มังกร)
คนนิยมนำเล้ง กับคาตั๊ง(กระดูกหน้าแข้ง)มาต้มซุปเพราะราคาถูก (และว่ากันว่า เอียเล้งทำให้ซุปหวาน คาตั๊งทำให้ซุปหอม) แต่เล้งจะมีเนื้อติดกระดูก (ต่างกับคาตั๊งที่แทบจะไม่มีเนื้อเลยเป็นกระดูกทั้งท่อน)เมื่อต้มซุปจนเปื่อย จึงเป็นที่หมายปองของนักชิมนักกินทั้งหลาย เพราะซดน้ำซุปไปแทะเนื้อเปื่อยๆติดกระดูกไปด้วยสุดจะฟินจริงๆครับ จึงมีคนเอาเล้งมาทำเป็นเมนูใหม่ให้เราได้กินแบบนี้นี่เอง
3.ข้าวต้มกุ๊ย
กุ๊ย แปลว่า อันธพาล,คนเลว มักเห็นเดินยักไหล่ เอียงตัวและคอ แกว่งมือกว้างๆและร้องเรียกน้องสาวอยู่ตามหนังหรือละครไทย แต่กุ๊ยที่เรารู้จักกันดี เกี่ยวอะไรกับข้าวต้มกุ๊ยร้อนๆ กินกับไชโป๊วผัดไข่ แขนงหมูกรอบรสเด็ดกันแน่ แล้วทำไมถึงเรียกว่าข้าวต้มกุ๊ยด้วย
เรื่องราวความเป็นมาของข้าวต้มกุ๊ยนั้นมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกันคือมาจากคนจีนแต่แตกออกไปเป็นหลายเรื่องเล่า จนไม่ทราบอันไหนคือกำเนิดที่แท้จริง ผมเลยจะเล่าให้ฟังเท่าที่พอสืบค้นมาได้นะครับ
เรื่องแรกเขาว่าข้าวต้มกุ๊ยนั้น เป็นชื่อเพี้ยนมาจากข้าวต้มพุ้ย คือข้าวต้มกุ๊ยเป็นอาหารยอดนิยมในหมู่ผู้ใช้แรงงานชาวจีนในสมัยก่อน เพราะราคาถูกกินกับไข่เค็มไม่กี่ชามก็อิ่ม มีแรงไปทำงานต่อ ทีนี้เวลาคนจีนกิน จะตักข้าวต้มใส่ชามแล้วเอาตะเกียบกวาดข้าวต้มเข้าปากอย่างในหนังจีนกำลังภายในหรือการ์ตูนญี่ปุ่นนั่นเอง ซึ่งการกินแบบนี้เราจะเรียกว่าการ”พุ้ย” จากนั้นก็ลามไปเรียกถึงข้าวต้มว่า ข้าวต้มพุ้ย
การเวลาที่ผ่านไป การเรียกข้าวต้มพุ้ย เรียกไปเรียกมาก็เลยเพี้ยนเป็นข้าวต้มกุ๊ยนั่นเอง
เรื่องต่อมาเล่ากันว่าในช่วงการค้าแรงงานของชาวจีนพลัดถิ่นที่โล้สำเภา(โล้สำเภาจริงๆนะออเจ้าไม่ใช่อย่างว่า)จากแผ่นดินใหญ่มาถึงประเทศไทย ได้พาเอาวัฒนธรรมการกินข้าวต้มนี้เข้ามาด้วย ด้วยราคาที่ถูกหากินง่าย ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากของเหล่าผู้ใช้แรงงานและเหล่ากุ๊ยระดับรากหญ้า จึงเรียกข้าวต้มนี้ว่าข้าวต้มกุ๊ยนั่นเอง
และที่มาสุดท้ายนี้เป็นเรื่องเล่าที่ดูจะเข้าใกล้คำว่ากุ๊ยที่สุดเมื่อคนจีนสมัยก่อนส่วนใหญ่เป็นคนยากจน กลางวันต้องทำงานหนักแบกหาม พอตกเย็นก็รวมตัวกันกินอาหารตามร้านข้าวต้ม กินข้าวต้มไป กินเหล้าล้างปากตาม กินไปกินมาจากล้างปากก็กลายเป็นฟาดปาก ทะเลาะวิวาทกันไปทุกวัน จนเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเอือมระอา จึงเรียกแผงข้าวต้ม หรือร้านข้าวต้มเหล่านี้ว่า ข้าวต้มกุ๊ยนั่นเอง
4.ไข่เยี่ยวม้า
ยังมีความเข้าใจผิดกันว่าไข่เยี่ยวม้านั้นใช้ฉี่ม้าหมักให้เป็นไข่เยี่ยวม้า ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ เพราะฉี่ม้ามีความเป็นกรดอ่อนๆ แต่การหมักไข่เยี่ยวม้าต้องใช้ด่างหมักไข่ถึงจะเป็นวุ้นและเปลี่ยนสีครับ
เอ๊ะ!!แต่แล้วทำไมถึงเรียกว่าไข่เยี่ยวม้าล่ะ เหตุผลของความเข้าใจผิดเราต้องกลับไปดูที่ต้นกำเนิดของอาการชนิดนี้กันก่อนครับ
ไข่เยี่ยวม้ามีต้นกำเนิดจากประเทศจีน เรียกกันว่า “เหอี่ยหม่า” ในช่วงที่คนจีนอพยพเข้ามาในไทยก็ได้เอาวัฒนธรรมการกินของตัวเองเข้ามาด้วยมากมายทั้งข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว รวมถึงไข่เหอี่ยหม่าด้วย ไข่เหอี่ยหม่าเมื่อเข้ามาในไทย ด้วยชื่อที่ชวนเพี้ยนบวกกับกลิ่นที่ฉุนรุนแรงก็ถูกคนไทยเรียกไปเรียกมาจนเพี้ยนเป็นไข่เยี่ยวม้านั่นเองครับ
ปล.ความจริงแล้วเรามีชื่อเรียกเจ้าไข่ชนิดนี้เหมือนกันครับว่าไข่สำเภาเป็นคำสุภาพ แต่ไม่นิยมเรียกเท่าไข่เยี่ยวม้าครับผม
5.ข้าวซอย
ข้าวซอยเป็นอาหารทางภาคเหนือ มีต้นกำเนิดจากชาวจีนมุสลิมที่อพยพลงมาในช่วงสมัยรัชกาลที่5 จนโด่งดังไปทั่วประเทศ ซึ่งเรื่องที่มาของชื่อข้าวซอยนี้มีข้อสันนิษฐานอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน
โดยเรื่องแรกบอกว่า ชื่อข้าวซอยนั้นมาจากกรรมวิธีทำเส้นครับ เพราะการทำเส้นต้องใช้แป้งข้าวสาลี ไข่ เกลือ น้ำ มาผสมกันแล้วนวดจนได้ที่ จากนั้นจึงรีดเป็นแผ่นแล้วซอยเป็นเส้นบางๆ ออกมาเป็นเส้นข้าวซอยนั่นเอง
ส่วนอีกเรื่องนั้นสันนิษฐานว่าชื่อข้าวซอยเพี้ยนมาจากภาษาของทางไทยใหญ่ว่า เค่าสเว(Khao Swe) เมื่อเรียกไปเรียกมาก็เพี้ยนกลายเป็นข้าวซอยไปในที่สุด
6.ปูอัด
ปูอัดคงเป็นอาหารในดวงใจใครหลายๆคน ฉีกซองจิ้มโชยุกินก็อร่อย เอาไปทำกับข้าวก็ดีงาม แต่รู้หรือไม่ปูอัดที่เรากินทำมาจากปลานะครับ แล้วทำไมถึงไม่เรียกปลาอัด มาเรียกปูอัดให้สับสนทำไม
ปูอัดเป็นการเอาเนื้อปลาสีขาวเช่น ปลาทรายแดง ปลาอลาสก้า ปลากระพง ปลาตาโต ปลาดาบ หรือปลาอื่น ๆ มาบด แล้วปั้นเป็นแท่ง แต่งสีกลิ่นรสให้เหมือนปู โดยเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นโดยเหตุเกิดจากปลาจำนวนมากที่ชาวประมงจับมาเป็นปลาขนาดเล็กขายไม่ได้ราคาทำให้ต้องขายไปป่นเป็นอาหารสัตว์ซึ่งได้ราคาถูก
จึงมีคนพยายามคิดหาทางเพิ่มมูลค่าให้ปลาเหล่านี้ด้วยการเอามาบดแล้วแต่งสีกลิ่นให้เหมือนปูแล้วเรียกว่าเนื้อปูเทียมทำให้ขายได้ราคาสูงขึ้น ซึ่งเนื้อปูเทียมนี้จดสิทธิบัตรโดยบริษัทซูกิโย ในชื่อ คานิกามะในปี1973
หลังจากเนื้อปูเทียมกำเนิดขึ้นก็มีการพัฒนาต่อยอดเนื้อปูเทียมขึ้นไปอีก โดยปี1974 บริษัทโอซากิได้ทำเนื้อปูเทียมแบบเป็นแท่งได้สำเร็จแล้วจดสิทธิบัตรกลายเป็นปูอัดอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
ด้วยความที่แต่งสีกลิ่นเลียนแบบปู ขึ้นรูปอัดเป็นแท่ง แถมยังฉีกเป็นฝอยๆเหมือนเนื้อปูได้ คนไทยเลยเรียกอาหารชนิดนี้ว่าปูอัดนั่นเอง
7.ส้มตำ
เคยสงสัยกันไหมครับมะละกอตำแท้ๆแต่เรียกส้มตำ ส้มก็ไม่มี
อย่างที่เรารู้กันว่าส้มตำนั้นเป็นอาหารอีสาน เพราะฉะนั้นส้มตำจึงเป็นคำในภาษาอีสานด้วยเช่นกัน โดยคำว่าส้มในภาษาอีสานแปลว่าเปรี้ยวครับ ส้มตำจึงหมายถึงอาหารที่ใช้การตำและมีรสเปรี้ยวนั่นเอง ซึ่งแต่แรกเริ่มเดิมทีคนอีสานไม่ได้เรียกกันว่าส้มตำนะครับ เข้าเรียกกันว่าตำส้ม หรือตำบักหุ่ง(บักหุ่ง ก็คือมะละกอ นั่นเอง) จนเมื่อแพร่เข้ามาสู่กรุงเทพฯ ผ่านคนอีสานที่ย้ายถิ่นฐานกันมาทำงาน ก็เปลี่ยนไปกลายเป็นส้มตำ
สำหรับใครที่สนใจติดตามที่มาของคำต่างๆนอกจากชื่ออาหารแล้วสามารถติตามได้ทาง
FBคำไทย ใครทำ: https://www.facebook.com/Khamthaitham/
Twitter คำไทยใครทำ : @BoonnapasC
Application Blockdit : คำไทย ใครทำ
ได้เลยนะครับ