“จับตาการล็อคเสปกที่ดินมักกะสันให้กับกลุ่มทุนใหญ่ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน”
การรถไฟ เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสาธารณะด้านคมนาคมต่อประชาชนด้วยราคาย่อมเยา อันเป็นพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5และเป็นเจตนารมณ์ในก่อตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อให้รัฐจัดทำกิจการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการเพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
แม้การรถไฟไทยจะขาดทุนมีหนี้เป็นแสนล้านบาท ส่วนหนึ่งเพราะเจตนารมณ์ของรถไฟไทย คือเป็นบริการสาธารณะให้กับประชาชนในราคาถูก จึงไม่เคยปรับราคาค่ารถไฟตั้งแต่ปี 2528 แต่แม้การรถไฟจะขาดทุนเป็นแสนล้านบาท แต่ก็มีทรัพย์สินที่เป็นที่ดินทำเลทองจำนวนมากที่มีมูลค่ารวมๆแล้วกว่า6แสนล้านบาท ดังตัวอย่างที่ดินมักกะสัน ที่เป็นที่หมายปองของกลุ่มทุนรายใหญ่ในประเทศ
รัฐบาลคสช.เข้ามาจัดการกับรัฐวิสาหกิจหลายๆแห่งในลักษณะการจะแยกทรัพย์สิน และผ่องถ่ายกิจการที่สามารถหากำไรได้ไปให้เอกชน ใช่หรือไม่
กรณีการรถไฟ รัฐบาลคสช.มีแนวทางจะแยกเป็น3บริษัท คือบริษัทบริหารทรัพย์สิน บริษัทเดินรถ และบริษัทระบบราง มีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะให้ 2บริษัทแรกที่สามารถทำกำไรได้ จะให้เอกชนมาร่วมทุนและบริหาร อาจเป็นกระบวนการแปรรูปที่หลีกเลี่ยงพรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจใช่หรือไม่ ส่วนระบบรางที่ต้องใช้งบประมาณ จะเก็บไว้ให้การรถไฟดูแล และลงทุนเอง ใช่หรือไม่
ข้ออ้างของรัฐบาลคือรัฐวิสาหกิจบริหารขาดทุน ไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเหตุผลที่จะยกกิจการส่วนกำไรให้เอกชนบริหาร ใช่หรือไม่
นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยเล่าว่า” ผมไปเจออาจารย์ท่านหนึ่ง นั่งรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปดอนเมือง เขาบอกว่าค่าโดยสาร 4 บาทตั้งแต่เป็นอาจารย์ จนแต่งงาน มีภรรยา ก็ยัง 4 บาท ผมมีลูก จนลูกผมโตก็ 4 บาท ลูกเรียนจบ ทำงานแล้วก็ยัง 4 บาท อยู่อย่างนี้ นี่ไงครับ ผมถึงบอกรถไฟเป็นบริการสาธารณะ จะขึ้นค่าโดยสารที ยากมากๆ"
กิจการอย่างการรถไฟเป็นการบริการสาธารณะ รัฐบาลในอดีตจึงมีนโยบายรับภาระขาดทุนเพื่อให้ค่าเดินทางมีราคาต่ำเพื่อช่วยเหลือประชาชนคนรายได้น้อย จึงไม่มีการปรับราคามากว่า30ปี
หากรัฐบาลอ้างว่าการรถไฟขาดทุน จึงต้องแยกกิจการเดินรถให้เอกชนบริหาร เอกชนก็ทำได้ทางเดียวคือขึ้นราคาค่าโดยสารเอากับประชาชน อย่างเป็นธรรมวิธีแก้ปัญหาแบบนี้ ไม่ต้องให้เอกชนทำ เพราะการรถไฟก็ทำได้ หากรัฐมีนโยบายไม่ให้กิจการรถไฟขาดทุนดังที่เป็นอยู่และรายได้ทุกบาททุกสตางค์ก็จะยังตกอยู่กับรัฐซึ่งก็คือกลับคืนไปสู่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจตัวจริงนั่นเอง
ทางที่เหมาะสมรัฐบาลควรกำหนดนโยบายหารายได้อย่างยั่งยืนจากทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อมาจุนเจือการขาดทุนในส่วนของบริการ เพื่อให้การรถไฟอยู่ได้ และให้บริการสาธารณะที่มีมาตรฐานกับประชาชนต่อไป ด้วยราคาที่เป็นธรรม มิใช่ยกทรัพย์สินที่ดินไปให้เอกชนทำกำไร รวมทั้งยกกิจการการเดินรถให้เอกชนผูกขาดค้ากำไร เพราะประชาชนจะเดือดร้อนจากการจากการคิดราคาค่าโดยสารแบบธุรกิจเอกชน
รัฐบาลคสช.มีแนวโน้มถ่ายโอนทรัพย์สินและกิจการของรัฐวิสาหกิจในส่วนของการเดินรถที่หากำไรได้ไปให้กลุ่มทุนใหญ่ ใช่หรือไม่ ดังจะเห็นได้จากการผนวกเอาที่ดินมักกะสันไปเชื่อมโยงกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ที่เตรียมเปิดให้เอกชนยื่นซองประมูลแข่งขันกันในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
การโยงโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้ากับกิจกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว มีความไม่ชอบมาพากลซึ่งอาจทำให้ตั้งข้อสังเกตได้หรือไม่ว่า เป็นการล็อกสเปกให้กับกลุ่มทุนระดับชาติเพียงไม่กี่รายที่สามารถจับมือกับผู้ประกอบกิจการรถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศที่จะเข้าครอบครองที่ดินแปลงนี้ และยังมีการตั้งราคาเช่าที่ดินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่างมหาศาล ยิ่งกว่านั้นยังมีแผนจะโอนกิจการแอร์พอร์ตลิงค์ให้เอกชนบริหาร โดยให้เอกชนจ่ายชดเชยให้การรถไฟ เพียง1.3หมื่นล้านบาท ทั้งๆที่ในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว การรถไฟใช้เงินงบประมาณกว่า4หมื่นล้านบาท และการรถไฟยังมีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระอีก3หมื่นล้านบาท
การดำเนินการดังกล่าวจึงถูกตั้งคำถามว่าเป็นโครงการที่อาจทำให้รัฐและประชาชนเสียประโยชน์อย่างมโหฬารหรือไม่ หรือมิฉะนั้นอาจมีการตั้งคำถามว่า นี่เป็นการทุจริตคอร์รัปชันขนาดใหญ่ หรือไม่ ที่เปิดให้มีการถ่ายโอนทรัพย์สินและกิจการของรัฐไปให้เอกชน โดยยอมให้รัฐได้รับเงินชดเชยต่ำกว่าเงินที่รัฐลงทุน เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนโดยไร้เหตุผลหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการตีมูลค่าที่ดินมักกะสันเพื่อให้เช่า 50+49ปี ในราคาเพียงตารางวาละ6แสนบาททั้งๆที่ ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงมีมูลค่า 1.8 -2 ล้านบาทต่อตารางวา
โดยที่โครงการแอร์พอร์ตลิงค์เป็นโครงการที่รัฐลงทุนเอง บริหารเอง ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่รัฐทำเองครบทุกเรื่องเกี่ยวกับระบบราง รัฐบาลจึงควรส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจบริหารกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดการทุจริตคอร์รัปชัน ให้เป็นต้นแบบในการที่รัฐจะบริหารระบบขนส่งทางรางให้สมบูรณ์แบบดังปณิธานที่พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงริเริ่มการรถไฟไทยขึ้น พร้อมให้ทรัพย์สินที่ดินเพื่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจไทยด้านการคมนาคมทางราง อย่างทันสมัยเป็นที่พึ่งของประชาชน รัฐบาลเป็นเพียงผู้บริหาร มิใช่เจ้าของทรัพย์สินสาธารณะ ดังนั้นจึงไม่ควรยกกิจการและทรัพย์สินสาธารณะมูลค่ามหาศาลเหล่านี้ให้กับเอกชนง่ายๆดังที่กำลังทำอยู่ โดยไม่ไถ่ถามประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินตัวจริง
โครงการรวบหัวรวบหางทรัพย์สิน และกิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการของรัฐให้เอกชนทำแทนรัฐวิสาหกิจ ย่อมทำให้เกิดคำถามในความโปร่งใสของรัฐบาลคสช.หรือรัฐบาลใดก็ตามที่มีนโยบายเกี่ยวกับกิจการรัฐวิสาหกิจในลักษณะดังกล่าว จนอาจขาดความชอบธรรม ในการที่รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนต่อไป ใช่หรือไม่???
รสนา โตสิตระกูล
4 สิงหาคม 2561
Cr
https://www.facebook.com/236945323048705/posts/1802108589865696/
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แถลงข่าวคัดค้านโครงการรถไฟเชื่อมสนามบินแถมที่ดินมักกะสัน
https://www.facebook.com/thirachai.phuvanatnaranubala/videos/2111078958925898/?fref=mentions
“จับตาการล็อคเสปกที่ดินมักกะสันให้กับกลุ่มทุนใหญ่ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน”
การรถไฟ เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสาธารณะด้านคมนาคมต่อประชาชนด้วยราคาย่อมเยา อันเป็นพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5และเป็นเจตนารมณ์ในก่อตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อให้รัฐจัดทำกิจการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการเพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน
แม้การรถไฟไทยจะขาดทุนมีหนี้เป็นแสนล้านบาท ส่วนหนึ่งเพราะเจตนารมณ์ของรถไฟไทย คือเป็นบริการสาธารณะให้กับประชาชนในราคาถูก จึงไม่เคยปรับราคาค่ารถไฟตั้งแต่ปี 2528 แต่แม้การรถไฟจะขาดทุนเป็นแสนล้านบาท แต่ก็มีทรัพย์สินที่เป็นที่ดินทำเลทองจำนวนมากที่มีมูลค่ารวมๆแล้วกว่า6แสนล้านบาท ดังตัวอย่างที่ดินมักกะสัน ที่เป็นที่หมายปองของกลุ่มทุนรายใหญ่ในประเทศ
รัฐบาลคสช.เข้ามาจัดการกับรัฐวิสาหกิจหลายๆแห่งในลักษณะการจะแยกทรัพย์สิน และผ่องถ่ายกิจการที่สามารถหากำไรได้ไปให้เอกชน ใช่หรือไม่
กรณีการรถไฟ รัฐบาลคสช.มีแนวทางจะแยกเป็น3บริษัท คือบริษัทบริหารทรัพย์สิน บริษัทเดินรถ และบริษัทระบบราง มีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะให้ 2บริษัทแรกที่สามารถทำกำไรได้ จะให้เอกชนมาร่วมทุนและบริหาร อาจเป็นกระบวนการแปรรูปที่หลีกเลี่ยงพรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจใช่หรือไม่ ส่วนระบบรางที่ต้องใช้งบประมาณ จะเก็บไว้ให้การรถไฟดูแล และลงทุนเอง ใช่หรือไม่
ข้ออ้างของรัฐบาลคือรัฐวิสาหกิจบริหารขาดทุน ไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเหตุผลที่จะยกกิจการส่วนกำไรให้เอกชนบริหาร ใช่หรือไม่
นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยเล่าว่า” ผมไปเจออาจารย์ท่านหนึ่ง นั่งรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปดอนเมือง เขาบอกว่าค่าโดยสาร 4 บาทตั้งแต่เป็นอาจารย์ จนแต่งงาน มีภรรยา ก็ยัง 4 บาท ผมมีลูก จนลูกผมโตก็ 4 บาท ลูกเรียนจบ ทำงานแล้วก็ยัง 4 บาท อยู่อย่างนี้ นี่ไงครับ ผมถึงบอกรถไฟเป็นบริการสาธารณะ จะขึ้นค่าโดยสารที ยากมากๆ"
กิจการอย่างการรถไฟเป็นการบริการสาธารณะ รัฐบาลในอดีตจึงมีนโยบายรับภาระขาดทุนเพื่อให้ค่าเดินทางมีราคาต่ำเพื่อช่วยเหลือประชาชนคนรายได้น้อย จึงไม่มีการปรับราคามากว่า30ปี
หากรัฐบาลอ้างว่าการรถไฟขาดทุน จึงต้องแยกกิจการเดินรถให้เอกชนบริหาร เอกชนก็ทำได้ทางเดียวคือขึ้นราคาค่าโดยสารเอากับประชาชน อย่างเป็นธรรมวิธีแก้ปัญหาแบบนี้ ไม่ต้องให้เอกชนทำ เพราะการรถไฟก็ทำได้ หากรัฐมีนโยบายไม่ให้กิจการรถไฟขาดทุนดังที่เป็นอยู่และรายได้ทุกบาททุกสตางค์ก็จะยังตกอยู่กับรัฐซึ่งก็คือกลับคืนไปสู่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจตัวจริงนั่นเอง
ทางที่เหมาะสมรัฐบาลควรกำหนดนโยบายหารายได้อย่างยั่งยืนจากทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อมาจุนเจือการขาดทุนในส่วนของบริการ เพื่อให้การรถไฟอยู่ได้ และให้บริการสาธารณะที่มีมาตรฐานกับประชาชนต่อไป ด้วยราคาที่เป็นธรรม มิใช่ยกทรัพย์สินที่ดินไปให้เอกชนทำกำไร รวมทั้งยกกิจการการเดินรถให้เอกชนผูกขาดค้ากำไร เพราะประชาชนจะเดือดร้อนจากการจากการคิดราคาค่าโดยสารแบบธุรกิจเอกชน
รัฐบาลคสช.มีแนวโน้มถ่ายโอนทรัพย์สินและกิจการของรัฐวิสาหกิจในส่วนของการเดินรถที่หากำไรได้ไปให้กลุ่มทุนใหญ่ ใช่หรือไม่ ดังจะเห็นได้จากการผนวกเอาที่ดินมักกะสันไปเชื่อมโยงกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ที่เตรียมเปิดให้เอกชนยื่นซองประมูลแข่งขันกันในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
การโยงโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้ากับกิจกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว มีความไม่ชอบมาพากลซึ่งอาจทำให้ตั้งข้อสังเกตได้หรือไม่ว่า เป็นการล็อกสเปกให้กับกลุ่มทุนระดับชาติเพียงไม่กี่รายที่สามารถจับมือกับผู้ประกอบกิจการรถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศที่จะเข้าครอบครองที่ดินแปลงนี้ และยังมีการตั้งราคาเช่าที่ดินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่างมหาศาล ยิ่งกว่านั้นยังมีแผนจะโอนกิจการแอร์พอร์ตลิงค์ให้เอกชนบริหาร โดยให้เอกชนจ่ายชดเชยให้การรถไฟ เพียง1.3หมื่นล้านบาท ทั้งๆที่ในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว การรถไฟใช้เงินงบประมาณกว่า4หมื่นล้านบาท และการรถไฟยังมีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระอีก3หมื่นล้านบาท
การดำเนินการดังกล่าวจึงถูกตั้งคำถามว่าเป็นโครงการที่อาจทำให้รัฐและประชาชนเสียประโยชน์อย่างมโหฬารหรือไม่ หรือมิฉะนั้นอาจมีการตั้งคำถามว่า นี่เป็นการทุจริตคอร์รัปชันขนาดใหญ่ หรือไม่ ที่เปิดให้มีการถ่ายโอนทรัพย์สินและกิจการของรัฐไปให้เอกชน โดยยอมให้รัฐได้รับเงินชดเชยต่ำกว่าเงินที่รัฐลงทุน เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนโดยไร้เหตุผลหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการตีมูลค่าที่ดินมักกะสันเพื่อให้เช่า 50+49ปี ในราคาเพียงตารางวาละ6แสนบาททั้งๆที่ ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงมีมูลค่า 1.8 -2 ล้านบาทต่อตารางวา
โดยที่โครงการแอร์พอร์ตลิงค์เป็นโครงการที่รัฐลงทุนเอง บริหารเอง ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่รัฐทำเองครบทุกเรื่องเกี่ยวกับระบบราง รัฐบาลจึงควรส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจบริหารกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดการทุจริตคอร์รัปชัน ให้เป็นต้นแบบในการที่รัฐจะบริหารระบบขนส่งทางรางให้สมบูรณ์แบบดังปณิธานที่พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงริเริ่มการรถไฟไทยขึ้น พร้อมให้ทรัพย์สินที่ดินเพื่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจไทยด้านการคมนาคมทางราง อย่างทันสมัยเป็นที่พึ่งของประชาชน รัฐบาลเป็นเพียงผู้บริหาร มิใช่เจ้าของทรัพย์สินสาธารณะ ดังนั้นจึงไม่ควรยกกิจการและทรัพย์สินสาธารณะมูลค่ามหาศาลเหล่านี้ให้กับเอกชนง่ายๆดังที่กำลังทำอยู่ โดยไม่ไถ่ถามประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินตัวจริง
โครงการรวบหัวรวบหางทรัพย์สิน และกิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการของรัฐให้เอกชนทำแทนรัฐวิสาหกิจ ย่อมทำให้เกิดคำถามในความโปร่งใสของรัฐบาลคสช.หรือรัฐบาลใดก็ตามที่มีนโยบายเกี่ยวกับกิจการรัฐวิสาหกิจในลักษณะดังกล่าว จนอาจขาดความชอบธรรม ในการที่รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนต่อไป ใช่หรือไม่???
รสนา โตสิตระกูล
4 สิงหาคม 2561
Cr https://www.facebook.com/236945323048705/posts/1802108589865696/
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้