ถามได้ ตอบได้ ไฮสปีดสายตะวันออก ไปต่อเถอะ อย่ามัวแต่ตั้งแง่

วันก่อนในกลุ่มรถไฟมีการแชร์คำถามคาใจ เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชือม 3 สนามบิน ซึ่งพออ่านคำถามแล้ว รู้สึกว่ามีความเข้าใจผิดอยู่มาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ซึ่งคำถามที่ตั้งขึ้นมานั้น ไม่ได้บอกที่มา แต่อ้างประชาชน และในเนื้อหาของคำถาม คนที่ติดตามโครงการนี้มาตลอด น่าจะเห็นนัยยะของการตั้งคำถามได้ไม่ยาก โดยมีการใช้คำที่ให้เกิดความเข้าใจผิดอยู่มาก เป็นต้นว่า การยกโน่นยกนี่ให้เอกชน ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่การยกให้ แต่เป็นการเหมือนกับให้เช่าทำประโยชน์ โดยมีค่าตอบแทนให้รัฐ ตามระยะเวลาในสัญญา และเมื่อสิ้นสุดสัญญา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เอกชนลงทุนไป ก็จะกลับมาเป็นของรัฐ โดยที่รัฐไม่ได้เสียอะไรไปเลย แถมมีรายได้ตลอดระยะเวลาในสัญญาอีกต่างหาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ในเรื่องนี้ มีการชี้แจงผ่านสื่อในลักษณะของการตอบคำถามเป็นข้อ ๆ ไว้อย่างน่าสนใจ และเข้าใจได้ง่าย ๆ ดังนี้

ถาม....

ทำไมรัฐใช้เงินจากภาษีประชาชน รับใช้หนี้ 22,558 ล้านบาท แทนเอกชน
8 ประเด็นที่ประชาชนตั้งข้อกังขา
โครงการรไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

1. ทำไม มีผู้ซื้อซองเอกสารเข้าร่วมการประมูล 31 ราย แต่เวลาประมูลจริงมีแค่ 2 ราย
2. ทำไม ไม่คิดค่าใช้ที่ดินในการตั้งเสาตอม่อตลอดเส้นทาง 220 กิโลเมตร เป็นมูลค่าเงินร่วมทุน
3. ทำไม รัฐต้องใช้เงินจากภาษีประชาชน 3,570 ล้านบาท ไปจัดการเรื่องที่ดินแทนเอกชน
4. ทำไม รัฐต้องยกที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ ศรีราชา 25 ไร่ ให้เอกชน ทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับรถไฟ
5. ทำไม รัฐต้องยกแอร์พอร์ตเรลลิงค์มูลค่า 35,000 ล้านบาทให้เอกชน ทั้งที่ผลประกอบการเริ่มมีกำไร
6. ทำไม รัฐต้องรับภาระหนี้โครงสร้างพื้นฐาน แอร์พอร์ตเรลลิงค์ 22,558 ล้านบาทแทนเอกชน
7. ทำไม ที่ดินมักกะสัน 150 ไร่ ได้ค่าเช่าเพียง 51,000 ล้านบาท ทั้งที่มูลค่าจริง 160,000 ล้านบาท
8. ทำไม การทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA รวดเร็วจัง ประชาชนผู้รับผลกระทบตลอดระยะทาง 220 กิโลเมตร ถึงไม่รู้เรื่อง ไม่มีการสำรวจทำข้อมูลอย่างแท้จริง ไม่มีการทำประชาพิจารณ์


ตอบ...

8 คำถามสหภาพ โดยตั้งโจทย์ให้นักเรียนโรงเรียนการรถไฟตอบ คนที่ได้คะแนนเต็มตอบแบบนี้!

1. ทำไมมีผู้ซื้อซอง 31 ราย แต่มีผู้ยื่นเพียง 2 ราย
ตอบ ไม่ใช่ 2 ราย แต่เป็น 2 กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายราย เพราะโครงการหลายแสนล้านบาท ทำคนเดียวไม่สำเร็จแน่นอน เอกชนจึงต้องมาจับกลุ่มกันแล้วประมูล แต่ที่มาซื้อซองเยอะราย เพราะเงื่อนไขที่ว่า รวมกลุ่มกันก็จริง แต่บริษัทที่เข้าร่วมต้องซื้อซองด้วย เอกชนทุกรายจึงต้องซื้อซองมาศึกษารายละเอียดไว้ก่อน สรุปว่าที่เอกชนมายื่น 2 กลุ่ม เป็นการรวมพลังของหลายราย

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

2. ทำไมไม่คิดค่าเช่าที่ดินเสาตอม่อ ตลอดเส้นทาง 220 กิโลเมตร
ตอบ นั่นเป็นเพราะ การก่อสร้างราง รัฐให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อสร้างรถไฟ ไม่ได้ใช้เพื่อหาประโยชน์จาก TOD หรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และแจ้งใน TOR แต่แรกว่าให้ใช้เส้นทางเดิมได้เลย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

3. ทำไมรัฐไปจัดการเรื่องเวนคืนที่ดินแทนเอกชน
ตอบ โครงการนี้เป็นของการรถไฟ เหมือนให้เช่าพื้นที่ให้คนมาขายก๋วยเตี๋ยวและทำธุรกิจ แต่หากไม่เคลียร์พื้นที่ให้เขามาดำเนินการ แต่มีร้านก๋วยเตี๋ยวเก่าขายอยู่ จะให้คนขายก๋วยเตี๋ยวรายใหม่ไปดำเนินการได้อย่างไร หรือหากต้องชดเชยรายเก่า เจ้าของพื้นที่ก็ต้องดูแล ก่อนส่งมอบให้รายใหม่ มาทำธุรกิจ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

4. ทำไมรัฐต้องยกพื้นที่มักกะสัน และศรีราชา ให้เอกชน
ตอบ เป็นการให้เช่า ไม่ใช่ยกให้ฟรี ราคาค่าเช่า 50 ปี สูงกว่าราคาตลาด และเทียบกับราคาใกล้เคียงที่ขายขาดไม่ได้ ที่สำคัญหากครบ 50 ปี
ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จะตกเป็นของการรถไฟทั้งหมด

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

5. ทำไมรัฐต้องยกแอร์พอร์ตลิ้งค์ให้เอกชน ทั้งที่เริ่มมีกำไร
ตอบ ให้ไปดูผลประกอบการว่าแอร์พอร์ตลิงค์มีปัญหาขาดทุนสะสมมากแค่ไหน การประมูลครั้งนี้เป็นการปลดหนี้แอร์พอร์ตลิงค์ เพิ่มคุณภาพบริการ
และเป็นรถไฟเชื่อมสนามบินอย่างแท้จริง ให้ลองไปสอบถามผู้ใช้บริการปัจจุบันว่า อยากเห็นการพัฒนามากขึ้นหรือไม่

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

6. ทำไมรัฐต้องรับหนี้แอร์พอร์ตลิงค์แทนเอกชน
ตอบ แอร์พอร์ตลิงค์เป็นหนี้ที่เกิดจากการบริหารเดิม ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน จะปล่อยให้ล้มโดยไม่ช่วยเหลือไม่ได้ ตอนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง รัฐก็ต้องช่วยธนาคาร ให้ประเทศไปต่อได้ หากปล่อยให้หนี้ที่เกิดขึ้น เป็นภาระของผู้มาบริหารรายใหม่เพียงผู้เดียว ก็จะไม่มีคนกล้ามาร่วมประมูล เพราะเป็นสัญญาที่เอาเปรียบโดยภาครัฐ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

7. ที่ดินมักกะสันทำไมได้ค่าเช่าเพียง 51,000 ล้าน
ตอบ นั่นเป็นเพราะเป็นค่าเช่า 50 ปี (ย้ำว่าไม่ใช่ 95 ปี) และเป็นเงื่อนไขใน TOR ตั้งแต่ก่อนเริ่มประมูล จะเทียบกับราคาพื้นที่ขายขาดไม่ได้ และต้องไม่ลืมประเมินมูลค่าโครงการหลังครบ 50 ปี ที่การรถไฟจะได้กลับคืนมาพร้อมที่ดินทั้งหมด คุ้มกว่าค่าเช่าหลายเท่า และปล่อยเช่าต่อได้อีก โดยรัฐจะได้เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

8. ทำไม EIA ทำรวดเร็ว
ตอบ เป็นไปตามขั้นตอน ตรวจสอบได้

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

----------------------------
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่