=== เสด็จไปสู่กรุงพาราณสี เพื่อประโยชน์แก่การยังพระธรรมจักรให้เป็นไป ทรงพบอุปกาชีวก ในระหว่างโพธิมัณฑ์และตำบลคยา ===

กระทู้สนทนา
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=7663&Z=8236&bgc=aliceblue&pagebreak=0

      ...
...
...
...
...
...
       ....
...
........... อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า อุทกดาบส
รามบุตรเป็นผู้เสื่อมใหญ่แล ก็ถ้าเธอพึงได้ฟังธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลันทีเดียว.
ครั้นแล้ว อาตมภาพได้มีความดำริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้
ได้ฉับพลัน. แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก บำรุงเรา
ผู้มีตนส่งไปแล้ว เพื่อความเพียร ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อนเถิด. แล้ว
อาตมภาพได้มีความดำริว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ. ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่
ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ครั้น
อาตมภาพอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาตามควรแล้ว จึงได้หลีกจาริกไปทางเมืองพาราณสี.
             [๕๑๓] ดูกรราชกุมาร อุปกาชีวกได้พบอาตมภาพผู้เดินทางไกล ที่ระหว่างแม่น้ำคยา
และไม้โพธิ์ต่อกัน แล้วได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ดูกรผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ผิวพรรณ
ของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร.
ดูกรราชกุมาร เมื่ออุปกาชีวกล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวตอบอุปกาชีวกด้วยคาถาว่า
                         เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหา
                         และทิฏฐิไม่ติดแล้วในธรรมทั้งปวง เป็นผู้ละธรรมทั้งปวง น้อมไป
                         ในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว รู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเอง จะ
                         พึงเจาะจงใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนผู้เช่นกับด้วยเราก็
                         ไม่มี บุคคลผู้เปรียบด้วยเรา ไม่มีในโลกกับทั้งเทวโลก
                         เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เป็นศาสดา ไม่มีศาสดาอื่น
                         ยิ่งขึ้นไปกว่า เราผู้เดียวตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้เย็น เป็นผู้
                         ดับสนิทแล้ว เราจะไปยังเมืองกาสี เพื่อจะยังธรรมจักรให้
                         เป็นไป เมื่อสัตว์โลกเป็นผู้มืด เราได้ตีกลองประกาศ
                         อมตธรรมแล้ว.
             อุปกาชีวกถามว่า ดูกรผู้มีอายุ ท่านปฏิญาณว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ผู้ชนะไม่มีที่สิ้นสุด
ฉะนั้นหรือ?

             อาตมภาพตอบว่า
                         ชนทั้งหลายผู้ถึงธรรมที่สิ้นตัณหา เช่นเราแหละ ชื่อว่าเป็น
                         ผู้ชนะ บาปธรรมทั้งหลาย อันเราชนะแล้ว เหตุนั้นแหละ
                         อุปกะ เราจึงว่า ผู้ชนะ.

             ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวก กล่าวว่าพึงเป็นให้พอเถิดท่าน
สั่นศีรษะแลบลิ้นแล้วหลีกไปคนละทาง.

เสด็จเข้าไปหาพระปัญจวัคคีย์
      ...
...


http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=313#สพฺพาภิภู
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค
มุนีสูตร
             อรรถกถามุนิสูตร      


       ...
...
...
...
...
...

             คาถาว่า สพฺพาภิภู ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร?
             มหาบุรุษทรงทำมหาภิเนษกรมณ์แล้ว ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ เสด็จไปสู่กรุงพาราณสี เพื่อประโยชน์แก่การยังพระธรรมจักรให้เป็นไป ทรงพบอุปกาชีวก ในระหว่างโพธิมัณฑ์และตำบลคยา และผู้อันอุปกาชีวกทูลถามว่า ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ทั้งหลายของท่านผ่องใสแล จึงตรัสพระดำรัสว่า เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวงดังนี้เป็นต้น อุปกาชีวกทูลว่า เฮ้ย! อาวุโส สั่นศีรษะสวนทางหลีกไป และไปถึงนาควิกคามแห่งหนึ่ง ในวังคชนบทโดยลำดับ หัวหน้าพรานเนื้อเห็นอุปกาชีวกนี้นั้น ก็คิดว่า โอ! สมณะมักน้อยไม่นุ่งแม้ผ้า สมณะนี้เป็นอรหันต์ในโลก แล้วนำไปสู่เรือนอังคาสด้วยรสเนื้อ และพร้อมกับบุตรภรรยาไหว้เขาผู้บริโภคแล้ว นิมนต์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละ ผมจะบำรุงด้วยปัจจัย ได้จัดโอกาสที่อยู่ให้ อุปกาชีวกนั้นก็อยู่ในที่นั้น.
             พรานเนื้อ เมื่อเนื้อทั้งหลายไม่หนีไกลเพื่อเที่ยวไปในประเทศที่เย็นสมบูรณ์ด้วยน้ำในคิมหกาล เมื่อจะไปในประเทศนั้น จึงสั่งธิดาชื่อว่าฉาวา ว่าเจ้าจักบำรุงอรหันต์ของพวกเราโดยเคารพ แล้วไปพร้อมกับบุตรและน้องชายทั้งหลาย.
             ก็นางเป็นคนน่าดูถึงพร้อมด้วยสัดส่วน ในวันที่ ๒ อุปกาชีวกมาสู่เรือน เห็นทาริกานั้นเข้าใกล้ชิดเพื่ออังคาสถูกราคะครอบงำ ไม่อาจเพื่อบริโภค ถือภาชนภัตรไปสู่ที่อยู่ เก็บภัตรไว้ในที่สุดข้างหนึ่ง คิดว่า ถ้าเราได้นางฉาวาจะเป็นอยู่ ถ้าไม่ได้จะตายดังนี้ ปราศจากอาหารนอนอยู่.
             ในวันที่ ๗ พรานเนื้อกลับมาแล้วถามธิดาถึงประพฤติการณ์ของอุปกาชีวก. นางพูดว่า มาในวันหนึ่งเท่านั้น แล้วไม่เคยมาอีก. พรานเนื้อคิดว่า เราจักเข้าไปหาอุปกาชีวกนั้นไต่ถามดู ด้วยเพศที่มานั่นแหละ จึงมาในขณะนั้นทีเดียว ลูบเท้าถามว่า ท่านผู้เจริญไม่ผาสุกหรือ อุปกาชีวกทุรนทุราย กลิ้งไปมาอยู่นั่นเทียว พรานเนื้อนั้นกล่าวว่า จงพูดเถิด ท่านผู้เจริญ ผมอาจเพื่อทำสิ่งใด จักทำสิ่งนั้นทั้งหมด. อุปกาชีวกกล่าวว่า ถ้าได้นางฉาวา จะเป็นอยู่ ถ้าไม่ได้ ผมตายในที่นี้แหละประเสริฐกว่า.
             มาควิก. ท่านผู้เจริญ ก็ท่านรู้ศิลปะอะไรบ้าง
             อุปกะ. ไม่รู้เลย.
             มาควิก. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านไม่รู้ศิลปะอะไรเลย ไม่อาจเพื่อดำรงฆราวาสได้.
             อุปกาชีวกนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ศิลปะอะไรเลย แต่ข้าพเจ้าจักเป็นผู้นำเนื้อของท่านและขายเนื้อ. ฝ่ายพรานเนื้อกล่าวว่า พวกเราชอบการขายเนื้อนั่นแล จึงให้ผ้าเนื้อหนานำสู่เรือนให้ธิดา เพราะอาศัยการอยู่ร่วมของเขาทั้งสองนั้น บุตรก็เกิดแล้ว เขาจึงตั้งชื่อบุตรนั้นว่าสุภัททะ. นางฉาวาพูดเสียดสีอุปกะด้วยเพลงขับกล่อมบุตร.
             อุปกะนั้นเมื่อไม่ทนต่อคำเสียดสีนั้น จึงกล่าวว่า แน่ะ แม่คนสวย ฉันจะไปสู่สำนักของพระอนันตชิน แล้วมุ่งหน้าต่อมัชฌิมประเทศหลีกไป.
             ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ใกล้กรุงสาวัตถี ลำดับนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งภิกษุทั้งหลายก่อนทีเดียวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมาถามอยู่ว่า พระอนันตชิน ท่านทั้งหลายพึงแสดงเราต่อผู้นั้น. ฝ่ายอุปกะแลมาสู่กรุงสาวัตถีโดยลำดับนั่นเทียว ยืนอยู่ในท่ามกลางวิหารถามว่า สหายของเรา ชื่ออนันตชิน มีอยู่ในวิหารนี้ ท่านอยู่ที่ไหน? ภิกษุทั้งหลายนำอุปกะนั้นไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันสมควรแก่อุปกะนั้น ในที่สุดแห่งเทศนา อุปกะได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล.
             ภิกษุทั้งหลายฟังประพฤติการณ์ในกาลก่อนของอุปกะนั้นแล้ว ยังถ้อยคำให้ตั้งขึ้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่สมณเปลือยปราศจากสิริก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้การตั้งขึ้นแห่งถ้อยคำนั้น เสด็จออกจากพระคันธกุฏิ ประทับนั่งบนพุทธาสนะ ด้วยปาฏิหาริย์อันสมควรแก่ขณะนั้น ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาเรื่องอะไรหนอ. ภิกษุเหล่านั้นทูลบอกเรื่องทั้งหมด แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่แสดงธรรม เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย ธรรมเทศนาของตถาคตปราศจากมลทิน ใครๆ ไม่อาจเห็นโทษในธรรมเทศนานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกะได้เป็นอนาคามีในบัดนี้ เพราะอุปนิสัยแห่งธรรมเทศนานั้น ได้ทรงภาษิตคาถานี้ ซึ่งแสดงความที่พระองค์ทรงมีเทศนาอันไม่มีมลทิน.

     ...
...
...
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่