บทความวันจันทร์ (23 ก.ค. 61)
เรื่อง.......เวลาที่น่าหวงแหน (3)
โดย วรา วราภรณ์
ข้าพเจ้ามั่นใจว่า ชื่อของหลักสูตร “การอบรมพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข” ของ
คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย นั้น สื่อความหมายชัดเจนแล้ว ไม่มีอะไรต้องอธิบาย เว้นแต่จะมีการตั้งคำถามต่อไปว่า อบรมอย่างไร ใช้วิธีการใดบ้าง ซึ่งหลายคนอยากทราบแน่ๆ
ก่อนจะตอบคำถามนี้ ข้าพเจ้าอยากให้ท่านผู้อ่านพิจารณาคำว่า “จิต” เสียก่อน ความหมายของ “จิต” ตามที่ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติไว้ก็คือ สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด และนึก หรืออีกความหมายหนึ่ง “จิต” ก็คือ “ใจ” ทีนี้คำถามที่น่าคิดก็คือ ทำไมต้องอบรมเพื่อพัฒนาจิตด้วยเล่า ในเมื่อเราๆ ท่านๆ ก็เป็นคนปกติดี เหตุใดจะต้องไปพัฒนาจิต
สำหรับข้าพเจ้า คำถามนี้เองที่สำคัญมาก และเป็นเรื่องท้าทายมากด้วยที่จะถามตัวเองว่า จิตหรือใจของเรามีสันติสุขดีหรือไม่ และมีปัญญาหรือไม่ ตราบที่ยังต้องมีลมหายใจเพื่อใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ ก็ในเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ข้าพเจ้าเพิ่งคว้าไม้ตีแมวที่บ้านเพราะมันมางับข้อเท้าค่อนข้างแรงจนรู้สึกเจ็บ อาจเป็นด้วยจวนถึงมื้ออาหารของมัน ข้าพเจ้าไม่ได้ตีแรง แต่ที่แรงคือความหงุดหงิด และเจ้าแมวก็วิ่งจากไปทันที
แค่ตัวอย่างนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าขณะนั้นข้าพเจ้าไม่ได้มีสันติสุขในใจ และนี่ก็เพียงชั่วเสี้ยวเล็กๆ ของชีวิตประจำวันเท่านั้น ถ้ารวมเวลาที่เหลือทั้งหมดจาก 24 ชั่วโมงของตนเองในหนึ่งวัน ข้าพเจ้าจะมั่นใจได้หรือว่า ใจของตนเองจะมีสันติสุขได้จริง และมีปัญญาจริง อย่ากระนั้นเลย หากไม่เคยได้เรียนรู้ให้ถึงแก่นพระธรรม ข้าพเจ้าก็ควรจะเรียนรู้หลักสูตรพัฒนาจิตฯนี้ จะได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันของตนเองบ้าง
การอบรมหลักสูตรนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ คือให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับฟังสาระธรรมแล้วลงมือฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สาระธรรมที่ว่าก็คือ
สติปัฏฐาน 4 เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ โดยกำหนดการมีสติเข้าไปติดตามดูกาย เวทนา จิตหรือความคิด และธรรมหรืออารมณ์ ผ่านวิธีการเจริญสติ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิ เพราะเมื่อเรามีสติกำหนดรู้ให้ทันปัจจุบันมากที่สุดแล้ว จิตของเราจะสงบลงได้ ความฟุ้งซ่านน้อยลง เกิดความคิดถูก รู้ถูก พูดถูก ทำถูก ซึ่งเรียกว่า
ปัญญา หรือ
วิปัสสนาญาณ หรือ
ความดำริชอบ ซึ่งคุณแม่สิริกล่าวไว้ว่าเป็นวิชาแก้ปัญหาโลก-ปัญหาธรรมได้อย่างถูกต้องและดียิ่ง ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ระบุไว้ในหนังสือ
บทไหว้พระสวดมนต์ ของคุณแม่สิริ หน้า 4 เรื่องสติปัฏฐาน ความว่า
“พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ๑ เพื่อระงับความโศก ๑ ระงับความคร่ำครวญ ๑ เพื่อดับทุกข์ ๑ ดับโทมนัส ๑ เพื่อบรรลุอริยมรรค ๑ เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน ๑…”
ดังนั้น ในการอบรมหลักสูตรนี้ ทุกคนจึงได้ฝึกฝนการเจริญสติ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิไปด้วยกัน คือ ทำไปพร้อมๆ กันในห้องโถง โดยมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำตลอดเวลา สอดแทรกด้วยฟังบรรยายธรรมจากวิดีโอ ซีดี และจากผู้บรรยายโดยตรง รวมทั้งรับฟังข้อควรปฏิบัติ ข้อคิดที่เป็นประโยชน์จากวิทยากรหรือวิปัสสนาจารย์ ได้แก่
อาจารย์นิศารัตน์ ลาวัณยากุล ศิษย์ของคุณแม่สิริซึ่งให้ความใส่ใจและใกล้ชิดกับผู้เข้ารับการอบรมอย่างยิ่ง ปัจจุบันท่านอยู่ในวัย 67 ปี ยังมีสุขภาพกายที่แข็งแรง และมีใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาต่อศิษย์ตลอดมา โดยมีคณะทำงานทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอีกจำนวนหนึ่ง
การอบรม ณ บ้านชนบทธรรมภูมิ วันที่ 24 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2561 ไม่ใช่กิจกรรมที่เพิ่งจัดขึ้นครั้งแรก แต่ได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาหลายครั้งเป็นเวลาสิบกว่าปีมาแล้ว เนื่องด้วยเจ้าของสถานที่คือ
คุณกิตติศักดิ์และคุณจิตร์สุภา โตมรศักดิ์ ท่านทั้งสองคือผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมจากหลักสูตรเดียวกันนี้ และได้สืบสานเจตนารมณ์ของคุณแม่ ดร.สิริ ด้วยการเปิดบ้านพักเป็นสถานที่จัดการอบรม แต่ละรอบจะมีคณะทำงานทั้งตัวจริงและจิตอาสาที่เข้ามาช่วยกันตั้งแต่ขั้นเตรียมการและขั้นดำเนินงานตลอดทั้ง 7 คืน 8 วัน โดยที่มีสองท่านนี้ปรากฏกายเคียงข้างคณะทำงานตลอดเวลา และสำหรับคุณกิตติศักดิ์นั้น อดีตท่านคือนายอำเภอที่ปฏิบัติราชการหลายๆ พื้นที่รวมทั้งอำเภอหนองบุญมากบ้านข้าพเจ้าด้วย ท่านเป็นแม่งานที่ทุ่มเทและใส่ใจในกิจกรรมนี้มาก ทำทุกตำแหน่งกระทั่งออกไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้รับการอบรม
อีกท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้าขออนุญาตกล่าวถึงในฐานะผู้ให้การสนับสนุนหลัก คือ
คุณประพัฒน์กับคุณวรรณา ทัศวิน และกัลยาณมิตรของท่าน คุณประพัฒน์เป็นอดีตรองผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ส่วนคุณวรรณาเป็นอดีตพยาบาล ซึ่งได้เข้ามาร่วมสนับสนุนกิจกรรมนี้นับสิบปีมาแล้ว คุณประพัฒน์มักแต่งกายด้วยเสื้อคอกลมแขนสั้นสีขาวและกางเกงขายาวสีขาว คอยเดินสำรวจทั่วทั้งบริเวณโรงอาหารทุกมื้ออาหาร ทั้งยังช่วยยกอาหารไปวาง เก็บสำรับ และอำนวยความสะดวกแก่ทุกคนด้วยรอยยิ้ม มากกว่านั้น ท่านยังเป็นเจ้าของสวนมังคุดรสดีที่จัดไว้บนโต๊ะอาหารทุกมื้อในช่วงสามถึงสี่วันแรกด้วย
คืนแรกของการเข้าพักเพื่อเตรียมตัวรับการอบรมในวันรุ่งขึ้นยังไม่มีกิจให้ปฏิบัติ และยังไม่ห้ามการใช้โทรศัพท์ หลายคนรวมทั้งข้าพเจ้าที่มีกิจจำเป็นจึงรีบใช้มันก่อนที่จะต้องปิดสัญญาณลงหนึ่งสัปดาห์เต็มๆ จากนั้น ทุกคนก็ทยอยเข้าที่พักเพื่ออาบน้ำและพักผ่อนหลังจากเดินทางมาเกือบทั้งวัน อันที่จริงก็อยากทักทายเพื่อนร่วมห้องอยู่เหมือนกัน เพราะพรุ่งนี้ก็จะไม่มีโอกาสพูดคุยกันแล้ว แต่ในเมื่อไม่มีโอกาส ข้าพเจ้าจึงเพียงแต่ยิ้มให้ทุกคนที่เดินสวนมา
เช้าวันแรกของการอบรม เสียงเคาะระฆังกังวานก้องตอนตีสี่ ต้นเสียงมาจากเรือนหลังใหญ่ซึ่งเป็นสถานที่อบรม นี่คือนาฬิกาปลุกที่ได้ผลสำหรับข้าพเจ้าและหลายๆ คน และยังเป็นสัญญาณเริ่มต้นของกระบวนการฝึกฝนเพื่อรู้เท่าทันกายและใจของตนเองอย่างจริงจังนับจากนี้ไปอีกเจ็ดวัน
หลังจากอาหารเช้าตอน 07.30 น. เสียงพูดคุยกันในบริเวณโรงอาหารเริ่มเบาลงกระทั่งเข้าสู่ความเงียบสงัด ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนซึ่งอยู่ในชุดสีขาวทยอยปิดโทรศัพท์มือถือเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดหมายเลขประจำตัวลงบนเครื่องและหย่อนลงกล่องรับฝาก พร้อมรับป้ายชื่อสำหรับติดหน้าอก ซึ่งมีคำว่า “งดพูด” ปรากฏอยู่ด้วย
ข้าพเจ้าบอกตัวเองว่า เรากำลังเข้าสู่สนามรบที่ท้าทายอีกครั้งหนึ่งแล้ว
(ขอเชิญติดตามวิธีการเจริญสติ และการเดินจงกรมในตอนต่อไปวันจันทร์หน้าค่ะ)
ป้ายชื่อโครงการในโรงอาหาร
เต็นท์สำหรับผู้เข้าอบรมชาย เนื่องจากสมาชิกมากันอุ่นหนาฝาคั่ง
ป้ายชื่อแสดงตนที่ใช้ตลอดการอบรม
(ขอขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่านค่ะ)
บทความวันจันทร์ (23 ก.ค. 61) : เวลาที่น่าหวงแหน (3)
เรื่อง.......เวลาที่น่าหวงแหน (3)
โดย วรา วราภรณ์
ข้าพเจ้ามั่นใจว่า ชื่อของหลักสูตร “การอบรมพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข” ของ คุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย นั้น สื่อความหมายชัดเจนแล้ว ไม่มีอะไรต้องอธิบาย เว้นแต่จะมีการตั้งคำถามต่อไปว่า อบรมอย่างไร ใช้วิธีการใดบ้าง ซึ่งหลายคนอยากทราบแน่ๆ
ก่อนจะตอบคำถามนี้ ข้าพเจ้าอยากให้ท่านผู้อ่านพิจารณาคำว่า “จิต” เสียก่อน ความหมายของ “จิต” ตามที่ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติไว้ก็คือ สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิด และนึก หรืออีกความหมายหนึ่ง “จิต” ก็คือ “ใจ” ทีนี้คำถามที่น่าคิดก็คือ ทำไมต้องอบรมเพื่อพัฒนาจิตด้วยเล่า ในเมื่อเราๆ ท่านๆ ก็เป็นคนปกติดี เหตุใดจะต้องไปพัฒนาจิต
สำหรับข้าพเจ้า คำถามนี้เองที่สำคัญมาก และเป็นเรื่องท้าทายมากด้วยที่จะถามตัวเองว่า จิตหรือใจของเรามีสันติสุขดีหรือไม่ และมีปัญญาหรือไม่ ตราบที่ยังต้องมีลมหายใจเพื่อใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ ก็ในเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ข้าพเจ้าเพิ่งคว้าไม้ตีแมวที่บ้านเพราะมันมางับข้อเท้าค่อนข้างแรงจนรู้สึกเจ็บ อาจเป็นด้วยจวนถึงมื้ออาหารของมัน ข้าพเจ้าไม่ได้ตีแรง แต่ที่แรงคือความหงุดหงิด และเจ้าแมวก็วิ่งจากไปทันที
แค่ตัวอย่างนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าขณะนั้นข้าพเจ้าไม่ได้มีสันติสุขในใจ และนี่ก็เพียงชั่วเสี้ยวเล็กๆ ของชีวิตประจำวันเท่านั้น ถ้ารวมเวลาที่เหลือทั้งหมดจาก 24 ชั่วโมงของตนเองในหนึ่งวัน ข้าพเจ้าจะมั่นใจได้หรือว่า ใจของตนเองจะมีสันติสุขได้จริง และมีปัญญาจริง อย่ากระนั้นเลย หากไม่เคยได้เรียนรู้ให้ถึงแก่นพระธรรม ข้าพเจ้าก็ควรจะเรียนรู้หลักสูตรพัฒนาจิตฯนี้ จะได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันของตนเองบ้าง
การอบรมหลักสูตรนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ คือให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับฟังสาระธรรมแล้วลงมือฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สาระธรรมที่ว่าก็คือ สติปัฏฐาน 4 เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ โดยกำหนดการมีสติเข้าไปติดตามดูกาย เวทนา จิตหรือความคิด และธรรมหรืออารมณ์ ผ่านวิธีการเจริญสติ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิ เพราะเมื่อเรามีสติกำหนดรู้ให้ทันปัจจุบันมากที่สุดแล้ว จิตของเราจะสงบลงได้ ความฟุ้งซ่านน้อยลง เกิดความคิดถูก รู้ถูก พูดถูก ทำถูก ซึ่งเรียกว่า ปัญญา หรือ วิปัสสนาญาณ หรือ ความดำริชอบ ซึ่งคุณแม่สิริกล่าวไว้ว่าเป็นวิชาแก้ปัญหาโลก-ปัญหาธรรมได้อย่างถูกต้องและดียิ่ง ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ระบุไว้ในหนังสือ บทไหว้พระสวดมนต์ ของคุณแม่สิริ หน้า 4 เรื่องสติปัฏฐาน ความว่า
“พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ๑ เพื่อระงับความโศก ๑ ระงับความคร่ำครวญ ๑ เพื่อดับทุกข์ ๑ ดับโทมนัส ๑ เพื่อบรรลุอริยมรรค ๑ เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน ๑…”
ดังนั้น ในการอบรมหลักสูตรนี้ ทุกคนจึงได้ฝึกฝนการเจริญสติ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิไปด้วยกัน คือ ทำไปพร้อมๆ กันในห้องโถง โดยมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำตลอดเวลา สอดแทรกด้วยฟังบรรยายธรรมจากวิดีโอ ซีดี และจากผู้บรรยายโดยตรง รวมทั้งรับฟังข้อควรปฏิบัติ ข้อคิดที่เป็นประโยชน์จากวิทยากรหรือวิปัสสนาจารย์ ได้แก่ อาจารย์นิศารัตน์ ลาวัณยากุล ศิษย์ของคุณแม่สิริซึ่งให้ความใส่ใจและใกล้ชิดกับผู้เข้ารับการอบรมอย่างยิ่ง ปัจจุบันท่านอยู่ในวัย 67 ปี ยังมีสุขภาพกายที่แข็งแรง และมีใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาต่อศิษย์ตลอดมา โดยมีคณะทำงานทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอีกจำนวนหนึ่ง
การอบรม ณ บ้านชนบทธรรมภูมิ วันที่ 24 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2561 ไม่ใช่กิจกรรมที่เพิ่งจัดขึ้นครั้งแรก แต่ได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาหลายครั้งเป็นเวลาสิบกว่าปีมาแล้ว เนื่องด้วยเจ้าของสถานที่คือ คุณกิตติศักดิ์และคุณจิตร์สุภา โตมรศักดิ์ ท่านทั้งสองคือผู้ที่เคยเข้ารับการอบรมจากหลักสูตรเดียวกันนี้ และได้สืบสานเจตนารมณ์ของคุณแม่ ดร.สิริ ด้วยการเปิดบ้านพักเป็นสถานที่จัดการอบรม แต่ละรอบจะมีคณะทำงานทั้งตัวจริงและจิตอาสาที่เข้ามาช่วยกันตั้งแต่ขั้นเตรียมการและขั้นดำเนินงานตลอดทั้ง 7 คืน 8 วัน โดยที่มีสองท่านนี้ปรากฏกายเคียงข้างคณะทำงานตลอดเวลา และสำหรับคุณกิตติศักดิ์นั้น อดีตท่านคือนายอำเภอที่ปฏิบัติราชการหลายๆ พื้นที่รวมทั้งอำเภอหนองบุญมากบ้านข้าพเจ้าด้วย ท่านเป็นแม่งานที่ทุ่มเทและใส่ใจในกิจกรรมนี้มาก ทำทุกตำแหน่งกระทั่งออกไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้รับการอบรม
อีกท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้าขออนุญาตกล่าวถึงในฐานะผู้ให้การสนับสนุนหลัก คือ คุณประพัฒน์กับคุณวรรณา ทัศวิน และกัลยาณมิตรของท่าน คุณประพัฒน์เป็นอดีตรองผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ส่วนคุณวรรณาเป็นอดีตพยาบาล ซึ่งได้เข้ามาร่วมสนับสนุนกิจกรรมนี้นับสิบปีมาแล้ว คุณประพัฒน์มักแต่งกายด้วยเสื้อคอกลมแขนสั้นสีขาวและกางเกงขายาวสีขาว คอยเดินสำรวจทั่วทั้งบริเวณโรงอาหารทุกมื้ออาหาร ทั้งยังช่วยยกอาหารไปวาง เก็บสำรับ และอำนวยความสะดวกแก่ทุกคนด้วยรอยยิ้ม มากกว่านั้น ท่านยังเป็นเจ้าของสวนมังคุดรสดีที่จัดไว้บนโต๊ะอาหารทุกมื้อในช่วงสามถึงสี่วันแรกด้วย
คืนแรกของการเข้าพักเพื่อเตรียมตัวรับการอบรมในวันรุ่งขึ้นยังไม่มีกิจให้ปฏิบัติ และยังไม่ห้ามการใช้โทรศัพท์ หลายคนรวมทั้งข้าพเจ้าที่มีกิจจำเป็นจึงรีบใช้มันก่อนที่จะต้องปิดสัญญาณลงหนึ่งสัปดาห์เต็มๆ จากนั้น ทุกคนก็ทยอยเข้าที่พักเพื่ออาบน้ำและพักผ่อนหลังจากเดินทางมาเกือบทั้งวัน อันที่จริงก็อยากทักทายเพื่อนร่วมห้องอยู่เหมือนกัน เพราะพรุ่งนี้ก็จะไม่มีโอกาสพูดคุยกันแล้ว แต่ในเมื่อไม่มีโอกาส ข้าพเจ้าจึงเพียงแต่ยิ้มให้ทุกคนที่เดินสวนมา
เช้าวันแรกของการอบรม เสียงเคาะระฆังกังวานก้องตอนตีสี่ ต้นเสียงมาจากเรือนหลังใหญ่ซึ่งเป็นสถานที่อบรม นี่คือนาฬิกาปลุกที่ได้ผลสำหรับข้าพเจ้าและหลายๆ คน และยังเป็นสัญญาณเริ่มต้นของกระบวนการฝึกฝนเพื่อรู้เท่าทันกายและใจของตนเองอย่างจริงจังนับจากนี้ไปอีกเจ็ดวัน
หลังจากอาหารเช้าตอน 07.30 น. เสียงพูดคุยกันในบริเวณโรงอาหารเริ่มเบาลงกระทั่งเข้าสู่ความเงียบสงัด ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนซึ่งอยู่ในชุดสีขาวทยอยปิดโทรศัพท์มือถือเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดหมายเลขประจำตัวลงบนเครื่องและหย่อนลงกล่องรับฝาก พร้อมรับป้ายชื่อสำหรับติดหน้าอก ซึ่งมีคำว่า “งดพูด” ปรากฏอยู่ด้วย
ข้าพเจ้าบอกตัวเองว่า เรากำลังเข้าสู่สนามรบที่ท้าทายอีกครั้งหนึ่งแล้ว
(ขอเชิญติดตามวิธีการเจริญสติ และการเดินจงกรมในตอนต่อไปวันจันทร์หน้าค่ะ)
ป้ายชื่อโครงการในโรงอาหาร
เต็นท์สำหรับผู้เข้าอบรมชาย เนื่องจากสมาชิกมากันอุ่นหนาฝาคั่ง
ป้ายชื่อแสดงตนที่ใช้ตลอดการอบรม
(ขอขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่านค่ะ)