(๐๙) อานาปานสติ ขั้นกายานุปัสสนา
โดยสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
SYS0009
กายานุปัสสนา ๔ ชั้น
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรมนั้นต้องอาศัยสมาธิ และสมาธินั้นก็ต้องอาศัยศีล พร้อมกับสรณะเป็นภาคพื้น สรณะนั้นจำต้องอาศัยโดยแท้ เพราะธรรมะทั้งปวงอาศัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดา ฉะนั้น ความรับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ ก็คือการถึงสรณะ หรือมีสรณะนั้นเอง ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจึงควรตั้งใจถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะคือที่พึ่ง ตั้งใจถึงพระธรรมเป็นสรณะคือที่พึ่ง ตั้งใจถึงพระสงฆ์เป็นสรณะคือที่พึ่ง ความตั้งใจถึงนี้เป็นความตั้งใจที่แน่วแน่ ไม่มีแบ่ง ดังบทสวดที่ว่า นัทถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึงอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเป็นที่พึงอันประเสริฐของข้าพเจ้า ธัมโม เม สรณัง วรัง พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า สังโฆ เม สรณัง วรัง พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ดั่งนี้ เป็นความตั้งใจถึงที่ไม่มีแบ่งไปที่อื่น เป็นความตั้งใจถึงที่แน่วแน่ และที่มั่นคง เมื่อเป็นดั่งนี้ การถึงสรณะนี้เองก็นำให้สมาทานศีล นำให้ตั้งใจปฏิบัติศีล ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ตั้งต้นแต่ศีล ๕ ตั้งใจงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง ตั้งใจงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย หรือตั้งใจเว้นจากอพรหมจริยกิจ ตั้งใจงดเว้นจากการพูดเท็จ ตั้งใจงดเว้นจากน้ำเมาคือสุราเมรัย อันเป็นทางที่ตั้งของความประมาท ผู้ที่มีความตั้งใจยิ่งขึ้นไปก็ตั้งใจปฏิบัติในศีลที่ยิ่งขึ้นไป
ศีลคือความปรกติใจ
ศีลนี้จะเป็นศีล ๕ หรือศีลที่ยิ่งขึ้นไปกว่าก็ตาม ย่อมรวมอยู่ในลักษณะอันเดียวคือความปรกติใจ พร้อมทั้งกายและวาจา ความปรกติใจนั้นก็คือใจไม่ถูกราคะหรือโลภะโทสะโมหะครอบงำดึงเอาไป จึงเป็นใจที่เป็นปรกติ มิได้คิดที่จะละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง มิได้คิดที่จะก่อภัยก่อเวรอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อจิตไม่ถูกกิเลสดังกล่าวครอบงำ ก็เป็นจิตที่เป็นปรกติ เหมือนอย่างน้ำในแม่น้ำที่ไม่มีลม ก็เป็นน้ำที่ไหลไปเป็นปรกติ หรือที่ขังอยู่เป็นปรกติ ไม่เกิดเป็นระลอกคลื่น ความที่เป็นปรกติดั่งนี้คือศีล และเมื่อจิตถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ เป็นสรณะ พระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์มาตั้งอยู่ในจิตด้วยสติ จิตก็ย่อมเป็นปกติ เพราะในขณะที่พระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์มาตั้งอยู่ในจิตด้วยสตินั้น กิเลสทั้งหลายก็ไม่มีโอกาสที่จะฟุ้งขึ้นมาครอบงำได้ ก็เป็นศีลขึ้นมาเอง เป็นความปกติ และเมื่อจิตเป็นปกติ กายวาจาก็เป็น...(ปกติ).. (เริ่ม ๖/๒ ) จะนิ่งหรือจะพูดก็เป็นปรกตินั่นเอง จะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรก็เป็นปรกติอยู่นั่นเอง ดั่งนี้ก็คือศีล
ฉะนั้น ความที่ตั้งใจถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ดังสวดว่า พุทธังสรณังคัจฉามิ ธัมมังสรณังคัจฉามิ สังฆังสรณังคัจฉามิ ก็ดี หรือ นัตถิเม สรณัง อัญญัง พุทโธ เม สรณัง วรัง ธัมโม เม สรณังวรัง สังโฆ เม สรณัง วรัง ดังกล่าวมาข้างต้นนั้นก็ดี ก็เป็นอันอัญเชิญพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ มาตั้งอยู่ในจิตนั้นเอง เพราะฉะนั้นจิตก็เป็นจิตที่มีสรณะขึ้นมา เป็นจิตที่มีศีลขึ้นมา
จึงเป็นพื้นฐานสำหรับสมาธิ และสำหรับปัญญาต่อไป และพื้นฐานดังกล่าวนี้ก็ควรที่จะได้ตั้งใจให้มีขึ้นทุกคราวที่ปฏิบัติ ทุกๆ วัน ก็จะทำให้การปฏิบัติในสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน หรือสมาธิปัญญานั้นเป็นไปได้สะดวกขึ้น และเมื่อได้สรณะได้ศีลมาเป็นพื้นฐานดังกล่าวนี้ก็ชื่อว่าได้ช่องได้โอกาส ได้ความเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติในสมาธิสืบต่อไปถึงปัญญา
อานาปานสติในสัญญา ๑๐
ใน สัญญา ๑๐ ข้อ ๑๐ นั้น พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงอานาปานสติ คือสติที่กำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก ก็เช่นเดียวกับในสติปัฏฐาน ๔ นั่นแหละ แต่ว่าอานาปานสติในหมวดธรรมนี้แสดงอานาปานสติ ๑๖ ชั้น โดยที่จัดเป็นขั้นกายานุปัสสนา ๔ ชั้น เวทนานุปัสสนา ๔ ชั้น จิตตานุปัสสนา ๔ ชั้น และธรรมานุปัสสนา ๔ ชั้น
สำหรับที่เป็นชั้นกายานุปัสสนา ๔ ชั้นนั้น ก็เช่นเดียวกับที่ตรัสแสดงไว้ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร โดยที่ตรัสสอนตั้งต้นแต่การที่เข้าไปสู่ป่า เข้าไปสู่โคนไม้ หรือว่าเข้าไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติให้เหมือนอย่างมีหน้ารอบด้าน นั่งคู้บัลลังก์นั้นก็คือนั่งดังที่เรียกกันว่านั่งขัดสะหมาด ซึ่งนิยมนั่งกัน เท้าขวาทับเท้าซ้าย ตั้งกายตรงก็คือตั้งกายให้ตรง ไม่ให้น้อมไปข้างหน้า ไม่ให้น้อมไปข้างหลัง ไม่ให้น้อมไปข้างซ้ายข้างขวา ส่วนจะวางมืออย่างไรในขั้นบาลีไม่ได้แสดงไว้ แต่ก็มีนิยมใช้กัน เช่น วางมือทับกัน เช่นมือขวาทับมือซ้ายให้นิ้วใหญ่ชนกัน หรือว่าจะวางมือให้ห่างกันอย่างไรก็สุดแต่ความสะดวก
และเมื่อได้สถานที่ และได้จัดการนั่งเรียบร้อยแล้ว ก็ตั้งใจถึงสรณะ
และตั้งใจให้เป็นศีลขึ้นมาเป็นเบื้องต้นก่อน เพื่อให้เป็นพื้นฐานดังที่กล่าวมาแล้ว สถานที่ก็ดี อิริยาบถนั่งก็ดี ก็นับว่าเป็นการจัดในส่วนภายนอก เกี่ยวแก่สถานที่ เกี่ยวแก่กาย อันนับว่าเป็นกายวิเวกความสงัดกาย และก็จัดการอัญเชิญพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์มาประทับอยู่ในจิตใจ ด้วยการถึงสรณะ เป็นสรณะคือที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
เพราะเมื่อมีพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์มาประทับอยู่ในจิตใจ จิตใจถึง ก็จะทำให้จิตใจนี้บริสุทธิ์ สงบ และกล้าหาญ ไม่หวาดกลัวอะไร แม้ว่าจะไปนั่งอยู่ในป่าจริงๆ ในโคนไม้จริงๆ แม้ว่าจะนั่งอยู่คนเดียวก็ตาม เมื่อได้อัญเชิญพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์มาประทับอยู่ในจิต ด้วยการตั้งใจถึงเป็นสรณะดั่งนี้แล้ว ก็จะทำให้ไม่กลัวอะไร ไม่กลัวผีสาง เทวดา ไม่กลัวสัตว์ร้าย ใจก็จะบริสุทธิ์และกล้าหาญ สงบ ก็เป็นศีลขึ้นมาดังที่กล่าวแล้ว ก็กำหนดเอาไว้ว่า นี่เรามีสรณะ เรามีศีล เรามีสรณะก็ไม่ต้องกลัวอะไร เรามีศีลก็มีพื้นฐานของสมาธิ และให้กายวาจาใจนี้เองเป็นที่ตั้งเป็นที่รองรับของสรณะ คือพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ ของศีล กายวาจาใจนี้ก็จะเป็นศีลขึ้นมา เป็นกายวาจาใจที่สงบที่บริสุทธิ์
สติที่มีหน้าโดยรอบ
เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน สโต อัสสะ สติ มีสติหายใจเข้า สโต ปัสสะ สติ มีสติหายใจออก เอาสติที่ไหนมามี ก็เอาสติที่ได้เตรียมเอาไว้ดังที่ตรัสสอนไว้ ว่าตั้งกายตรง ตั้งสติให้มีหน้าโดยรอบ
คำว่าให้มีสติที่มีหน้าโดยรอบนั้น ถ้าเทียบอย่างบุคคลก็มีหน้าอยู่หน้าเดียว และมีตาอยู่สองตา ก็มองเห็นไปด้านหน้าเท่านั้น ไม่เห็นด้านหลัง ไม่เห็นด้านข้างทั้งสอง
แต่ว่าที่ว่าให้มีสติ ให้ตั้งสติมีหน้าโดยรอบนั้น ก็เหมือนอย่างว่าร่างกายอันนี้มีสี่หน้า มีหน้าข้างหลัง มีหน้าข้างๆ สองข้าง สี่หน้าอย่างพระพรหม รูปพระพรหมสี่หน้า ก็แปลว่าเห็นได้ทุกด้าน
ปฏิบัติตั้งสติให้มีหน้าโดยรอบนั้นก็คือ ให้เหมือนอย่างสติมีหน้าสี่หน้า หรือมีหน้าโดยรอบ เป็นสติที่รู้ที่เห็นรอบด้าน ให้ตั้งเอาไว้ดั่งนี้ ก็คือทำจิตนี้เองให้เป็นจิตที่ตั้งเพื่อจะรู้ รู้รอบด้าน ให้รู้ในอะไร ก็คือให้รู้ในลมหายใจ หายใจเข้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้ ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนั้น ให้มีสติรู้โดยรอบ คือรู้ให้ทั่วถึงทั้งหมด
อานาปานสติ ขั้นกายานุปัสสนา by สมเด็จพระสังฆราช
(๐๙) อานาปานสติ ขั้นกายานุปัสสนา
โดยสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
SYS0009
กายานุปัสสนา ๔ ชั้น
บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
ปัญญาในธรรมนั้นต้องอาศัยสมาธิ และสมาธินั้นก็ต้องอาศัยศีล พร้อมกับสรณะเป็นภาคพื้น สรณะนั้นจำต้องอาศัยโดยแท้ เพราะธรรมะทั้งปวงอาศัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้พระบรมศาสดา ฉะนั้น ความรับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ ก็คือการถึงสรณะ หรือมีสรณะนั้นเอง ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจึงควรตั้งใจถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะคือที่พึ่ง ตั้งใจถึงพระธรรมเป็นสรณะคือที่พึ่ง ตั้งใจถึงพระสงฆ์เป็นสรณะคือที่พึ่ง ความตั้งใจถึงนี้เป็นความตั้งใจที่แน่วแน่ ไม่มีแบ่ง ดังบทสวดที่ว่า นัทถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึงอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเป็นที่พึงอันประเสริฐของข้าพเจ้า ธัมโม เม สรณัง วรัง พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า สังโฆ เม สรณัง วรัง พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ดั่งนี้ เป็นความตั้งใจถึงที่ไม่มีแบ่งไปที่อื่น เป็นความตั้งใจถึงที่แน่วแน่ และที่มั่นคง เมื่อเป็นดั่งนี้ การถึงสรณะนี้เองก็นำให้สมาทานศีล นำให้ตั้งใจปฏิบัติศีล ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ตั้งต้นแต่ศีล ๕ ตั้งใจงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง ตั้งใจงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย หรือตั้งใจเว้นจากอพรหมจริยกิจ ตั้งใจงดเว้นจากการพูดเท็จ ตั้งใจงดเว้นจากน้ำเมาคือสุราเมรัย อันเป็นทางที่ตั้งของความประมาท ผู้ที่มีความตั้งใจยิ่งขึ้นไปก็ตั้งใจปฏิบัติในศีลที่ยิ่งขึ้นไป
ศีลคือความปรกติใจ
ศีลนี้จะเป็นศีล ๕ หรือศีลที่ยิ่งขึ้นไปกว่าก็ตาม ย่อมรวมอยู่ในลักษณะอันเดียวคือความปรกติใจ พร้อมทั้งกายและวาจา ความปรกติใจนั้นก็คือใจไม่ถูกราคะหรือโลภะโทสะโมหะครอบงำดึงเอาไป จึงเป็นใจที่เป็นปรกติ มิได้คิดที่จะละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง มิได้คิดที่จะก่อภัยก่อเวรอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อจิตไม่ถูกกิเลสดังกล่าวครอบงำ ก็เป็นจิตที่เป็นปรกติ เหมือนอย่างน้ำในแม่น้ำที่ไม่มีลม ก็เป็นน้ำที่ไหลไปเป็นปรกติ หรือที่ขังอยู่เป็นปรกติ ไม่เกิดเป็นระลอกคลื่น ความที่เป็นปรกติดั่งนี้คือศีล และเมื่อจิตถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ เป็นสรณะ พระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์มาตั้งอยู่ในจิตด้วยสติ จิตก็ย่อมเป็นปกติ เพราะในขณะที่พระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์มาตั้งอยู่ในจิตด้วยสตินั้น กิเลสทั้งหลายก็ไม่มีโอกาสที่จะฟุ้งขึ้นมาครอบงำได้ ก็เป็นศีลขึ้นมาเอง เป็นความปกติ และเมื่อจิตเป็นปกติ กายวาจาก็เป็น...(ปกติ).. (เริ่ม ๖/๒ ) จะนิ่งหรือจะพูดก็เป็นปรกตินั่นเอง จะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรก็เป็นปรกติอยู่นั่นเอง ดั่งนี้ก็คือศีล
ฉะนั้น ความที่ตั้งใจถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ดังสวดว่า พุทธังสรณังคัจฉามิ ธัมมังสรณังคัจฉามิ สังฆังสรณังคัจฉามิ ก็ดี หรือ นัตถิเม สรณัง อัญญัง พุทโธ เม สรณัง วรัง ธัมโม เม สรณังวรัง สังโฆ เม สรณัง วรัง ดังกล่าวมาข้างต้นนั้นก็ดี ก็เป็นอันอัญเชิญพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ มาตั้งอยู่ในจิตนั้นเอง เพราะฉะนั้นจิตก็เป็นจิตที่มีสรณะขึ้นมา เป็นจิตที่มีศีลขึ้นมา
จึงเป็นพื้นฐานสำหรับสมาธิ และสำหรับปัญญาต่อไป และพื้นฐานดังกล่าวนี้ก็ควรที่จะได้ตั้งใจให้มีขึ้นทุกคราวที่ปฏิบัติ ทุกๆ วัน ก็จะทำให้การปฏิบัติในสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน หรือสมาธิปัญญานั้นเป็นไปได้สะดวกขึ้น และเมื่อได้สรณะได้ศีลมาเป็นพื้นฐานดังกล่าวนี้ก็ชื่อว่าได้ช่องได้โอกาส ได้ความเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติในสมาธิสืบต่อไปถึงปัญญา
อานาปานสติในสัญญา ๑๐
ใน สัญญา ๑๐ ข้อ ๑๐ นั้น พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงอานาปานสติ คือสติที่กำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออก ก็เช่นเดียวกับในสติปัฏฐาน ๔ นั่นแหละ แต่ว่าอานาปานสติในหมวดธรรมนี้แสดงอานาปานสติ ๑๖ ชั้น โดยที่จัดเป็นขั้นกายานุปัสสนา ๔ ชั้น เวทนานุปัสสนา ๔ ชั้น จิตตานุปัสสนา ๔ ชั้น และธรรมานุปัสสนา ๔ ชั้น
สำหรับที่เป็นชั้นกายานุปัสสนา ๔ ชั้นนั้น ก็เช่นเดียวกับที่ตรัสแสดงไว้ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร โดยที่ตรัสสอนตั้งต้นแต่การที่เข้าไปสู่ป่า เข้าไปสู่โคนไม้ หรือว่าเข้าไปสู่เรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติให้เหมือนอย่างมีหน้ารอบด้าน นั่งคู้บัลลังก์นั้นก็คือนั่งดังที่เรียกกันว่านั่งขัดสะหมาด ซึ่งนิยมนั่งกัน เท้าขวาทับเท้าซ้าย ตั้งกายตรงก็คือตั้งกายให้ตรง ไม่ให้น้อมไปข้างหน้า ไม่ให้น้อมไปข้างหลัง ไม่ให้น้อมไปข้างซ้ายข้างขวา ส่วนจะวางมืออย่างไรในขั้นบาลีไม่ได้แสดงไว้ แต่ก็มีนิยมใช้กัน เช่น วางมือทับกัน เช่นมือขวาทับมือซ้ายให้นิ้วใหญ่ชนกัน หรือว่าจะวางมือให้ห่างกันอย่างไรก็สุดแต่ความสะดวก
และเมื่อได้สถานที่ และได้จัดการนั่งเรียบร้อยแล้ว ก็ตั้งใจถึงสรณะ
และตั้งใจให้เป็นศีลขึ้นมาเป็นเบื้องต้นก่อน เพื่อให้เป็นพื้นฐานดังที่กล่าวมาแล้ว สถานที่ก็ดี อิริยาบถนั่งก็ดี ก็นับว่าเป็นการจัดในส่วนภายนอก เกี่ยวแก่สถานที่ เกี่ยวแก่กาย อันนับว่าเป็นกายวิเวกความสงัดกาย และก็จัดการอัญเชิญพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์มาประทับอยู่ในจิตใจ ด้วยการถึงสรณะ เป็นสรณะคือที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
เพราะเมื่อมีพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์มาประทับอยู่ในจิตใจ จิตใจถึง ก็จะทำให้จิตใจนี้บริสุทธิ์ สงบ และกล้าหาญ ไม่หวาดกลัวอะไร แม้ว่าจะไปนั่งอยู่ในป่าจริงๆ ในโคนไม้จริงๆ แม้ว่าจะนั่งอยู่คนเดียวก็ตาม เมื่อได้อัญเชิญพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์มาประทับอยู่ในจิต ด้วยการตั้งใจถึงเป็นสรณะดั่งนี้แล้ว ก็จะทำให้ไม่กลัวอะไร ไม่กลัวผีสาง เทวดา ไม่กลัวสัตว์ร้าย ใจก็จะบริสุทธิ์และกล้าหาญ สงบ ก็เป็นศีลขึ้นมาดังที่กล่าวแล้ว ก็กำหนดเอาไว้ว่า นี่เรามีสรณะ เรามีศีล เรามีสรณะก็ไม่ต้องกลัวอะไร เรามีศีลก็มีพื้นฐานของสมาธิ และให้กายวาจาใจนี้เองเป็นที่ตั้งเป็นที่รองรับของสรณะ คือพระพุทธเจ้าพระธรรมพระสงฆ์ ของศีล กายวาจาใจนี้ก็จะเป็นศีลขึ้นมา เป็นกายวาจาใจที่สงบที่บริสุทธิ์
สติที่มีหน้าโดยรอบ
เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน สโต อัสสะ สติ มีสติหายใจเข้า สโต ปัสสะ สติ มีสติหายใจออก เอาสติที่ไหนมามี ก็เอาสติที่ได้เตรียมเอาไว้ดังที่ตรัสสอนไว้ ว่าตั้งกายตรง ตั้งสติให้มีหน้าโดยรอบ
คำว่าให้มีสติที่มีหน้าโดยรอบนั้น ถ้าเทียบอย่างบุคคลก็มีหน้าอยู่หน้าเดียว และมีตาอยู่สองตา ก็มองเห็นไปด้านหน้าเท่านั้น ไม่เห็นด้านหลัง ไม่เห็นด้านข้างทั้งสอง
แต่ว่าที่ว่าให้มีสติ ให้ตั้งสติมีหน้าโดยรอบนั้น ก็เหมือนอย่างว่าร่างกายอันนี้มีสี่หน้า มีหน้าข้างหลัง มีหน้าข้างๆ สองข้าง สี่หน้าอย่างพระพรหม รูปพระพรหมสี่หน้า ก็แปลว่าเห็นได้ทุกด้าน
ปฏิบัติตั้งสติให้มีหน้าโดยรอบนั้นก็คือ ให้เหมือนอย่างสติมีหน้าสี่หน้า หรือมีหน้าโดยรอบ เป็นสติที่รู้ที่เห็นรอบด้าน ให้ตั้งเอาไว้ดั่งนี้ ก็คือทำจิตนี้เองให้เป็นจิตที่ตั้งเพื่อจะรู้ รู้รอบด้าน ให้รู้ในอะไร ก็คือให้รู้ในลมหายใจ หายใจเข้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้ ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนั้น ให้มีสติรู้โดยรอบ คือรู้ให้ทั่วถึงทั้งหมด