อยากแชร์ประสบการณ์ตรง สดๆ ร้อนๆ เผื่อว่าจะเป็นข้อพึงระวังสำหรับใครก็ตามที่ต้องคบหากับบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าอยู่แล้ว หรือที่จะต้องเป็นคู่กรณี อย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งเคย (หลง) เชื่อมานานนับสิบปี ว่า วิริยะประกันภัย เป็นบริษัทประกันวินาศภัยที่เชื่อถือได้และมีความเป็นธรรม ดั่งที่สโลแกนของบริษัทว่าไว้
โดยสิ่งที่กำลังเจอกับตนเองในฐานะผู้เสียหาย กรณีถูกรถที่ทำประกันภัยไว้กับวิริยะชนท้าย จนทำให้ต้องนำรถเข้าซ่อมนานถึง 7 วัน แต่กลับได้รับเสนอค่าสินไหม/ค่าขาดประโยชน์ระหว่างนำรถเข้าซ่อม เพียงวันละ 300 บาท (ซึ่งเพียงค่าแท็กซี่จากบ้าน ไป-กลับอู่ซ่อมก็แทบจะไม่พอแล้ว) ทั้งๆ ที่แจ้งขอชดเชยไปเพียงวันละ 900 บาท ซึ่งก็ไม่ได้คิดว่าจะมากมายอะไรเลย เพราะถ้าต้องแจกแจงก็คงเกินกว่านั้น (เอาแค่ค่ารถแท็กซี่รับ-ส่งลูกไป-กลับโรงเรียนปกติ/พิเศษ ก็ปาเข้าไปเกินครึ่งหนึ่งของ 900 แล้ว) แต่ก็เกรงว่าบริษัทจะรู้สึกว่าเรียกร้องมากเกินไป จึงแจ้งตัวเลขไปเพียงแค่ 900 แต่บริษัทโดย "เจ้าหน้าที่สรุปรายการความเสียหาย" สาขาบางพลัด กลับแจ้งให้ตนเองทราบว่า วิธีการคิด "ค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถ" บริษัทจะไม่ได้คิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เสียหายไม่มีรถใช้ระหว่างนำเข้าซ่อม และก็ไม่ได้คิดจากผลประโยชน์ที่เจ้าของรถพึงจะได้รับจริงในช่วงเวลาดังกล่าว และก็จะไม่ได้สนใจว่าได้นำรถเข้าซ่อมจริงกี่วัน แต่จะคิดจากบาดแผลที่เกิดขึ้นกับตัวรถเป็นหลัก ถ้าแผลเล็กก็ได้น้อย ถ้าแผลใหญ่ก็ได้มาก ในกรณีของตนเอง รถที่เข้าซ่อมมีแผลเล็ก ดังนั้น แม้ว่าอู่ (ในเครือของวิริยะเอง) จะใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 วัน ก็ไม่ได้มีผลต่อการพิจารณาค่าสินไหม (แต่ในครั้งนี้จะนับวันชดเชยให้ 7 วัน เป็นกรณีพิเศษ พูดเสมือนหนึ่งว่า "เป็นบุญเป็นคุณ" เสียด้วยซ้ำ) จึงเสนอชดเชยให้เพียงวันละ 300 บาท ไม่ว่าค่าขาดประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจะเป็นเท่าไรก็ตาม ฉะนั้น อย่างที่เคยเสิร์ชเจอทางเนตว่า ถ้าเราแจ้งหรือแจกแจงรายละเอียดว่าเรามีค่าใช้จ่ายเท่าไรในช่วงที่ไม่ได้ใช้รถ บริษัทประกันภัยก็จะนำไปประกอบการพิจารณาจ่ายชดเชยเป็นค่าสินไหม/ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถให้แก่เรา มากบ้างน้อยบ้างตามนั้น แต่คงไม่ใช่ที่วิริยะประกันภัย ทั้งๆ ที่ค่าเบี้ยประกันรถก็แพงอันดับต้นๆ ของเมืองไทย แต่เวลาต้องชดเชยให้กับผู้เสียหาย กลับทำเสมือนโยนเศษเงินให้ ให้ได้รู้สึกว่า "จะเอาแค่นี้ หรือไม่ก็กลับไปมือเปล่า"
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า หลักการประเมินอย่างที่ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ปฏิบัติอยู่นี้ เป็นแนวปฏิบัติที่ใช้กันในบริษัทประกันวินาศภัยโดยทั่วไปในประเทศนี้ิ หรือไม่ หรือเป็นแนวปฏิบัติที่ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ให้การยอมรับว่า "เป็นธรรมกับทุกฝ่าย" แล้วจริงๆ ... ถ้าใช่ ...ก็ อนิจจัง ประเทศไทย
"ความเป็นธรรม คือ นโยบาย" ฤาจะเป็นเพียงสโลแกนของวิริยะประกันภัยที่ไร้ความจริงใจ
โดยสิ่งที่กำลังเจอกับตนเองในฐานะผู้เสียหาย กรณีถูกรถที่ทำประกันภัยไว้กับวิริยะชนท้าย จนทำให้ต้องนำรถเข้าซ่อมนานถึง 7 วัน แต่กลับได้รับเสนอค่าสินไหม/ค่าขาดประโยชน์ระหว่างนำรถเข้าซ่อม เพียงวันละ 300 บาท (ซึ่งเพียงค่าแท็กซี่จากบ้าน ไป-กลับอู่ซ่อมก็แทบจะไม่พอแล้ว) ทั้งๆ ที่แจ้งขอชดเชยไปเพียงวันละ 900 บาท ซึ่งก็ไม่ได้คิดว่าจะมากมายอะไรเลย เพราะถ้าต้องแจกแจงก็คงเกินกว่านั้น (เอาแค่ค่ารถแท็กซี่รับ-ส่งลูกไป-กลับโรงเรียนปกติ/พิเศษ ก็ปาเข้าไปเกินครึ่งหนึ่งของ 900 แล้ว) แต่ก็เกรงว่าบริษัทจะรู้สึกว่าเรียกร้องมากเกินไป จึงแจ้งตัวเลขไปเพียงแค่ 900 แต่บริษัทโดย "เจ้าหน้าที่สรุปรายการความเสียหาย" สาขาบางพลัด กลับแจ้งให้ตนเองทราบว่า วิธีการคิด "ค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถ" บริษัทจะไม่ได้คิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เสียหายไม่มีรถใช้ระหว่างนำเข้าซ่อม และก็ไม่ได้คิดจากผลประโยชน์ที่เจ้าของรถพึงจะได้รับจริงในช่วงเวลาดังกล่าว และก็จะไม่ได้สนใจว่าได้นำรถเข้าซ่อมจริงกี่วัน แต่จะคิดจากบาดแผลที่เกิดขึ้นกับตัวรถเป็นหลัก ถ้าแผลเล็กก็ได้น้อย ถ้าแผลใหญ่ก็ได้มาก ในกรณีของตนเอง รถที่เข้าซ่อมมีแผลเล็ก ดังนั้น แม้ว่าอู่ (ในเครือของวิริยะเอง) จะใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 วัน ก็ไม่ได้มีผลต่อการพิจารณาค่าสินไหม (แต่ในครั้งนี้จะนับวันชดเชยให้ 7 วัน เป็นกรณีพิเศษ พูดเสมือนหนึ่งว่า "เป็นบุญเป็นคุณ" เสียด้วยซ้ำ) จึงเสนอชดเชยให้เพียงวันละ 300 บาท ไม่ว่าค่าขาดประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจะเป็นเท่าไรก็ตาม ฉะนั้น อย่างที่เคยเสิร์ชเจอทางเนตว่า ถ้าเราแจ้งหรือแจกแจงรายละเอียดว่าเรามีค่าใช้จ่ายเท่าไรในช่วงที่ไม่ได้ใช้รถ บริษัทประกันภัยก็จะนำไปประกอบการพิจารณาจ่ายชดเชยเป็นค่าสินไหม/ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถให้แก่เรา มากบ้างน้อยบ้างตามนั้น แต่คงไม่ใช่ที่วิริยะประกันภัย ทั้งๆ ที่ค่าเบี้ยประกันรถก็แพงอันดับต้นๆ ของเมืองไทย แต่เวลาต้องชดเชยให้กับผู้เสียหาย กลับทำเสมือนโยนเศษเงินให้ ให้ได้รู้สึกว่า "จะเอาแค่นี้ หรือไม่ก็กลับไปมือเปล่า"
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า หลักการประเมินอย่างที่ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ปฏิบัติอยู่นี้ เป็นแนวปฏิบัติที่ใช้กันในบริษัทประกันวินาศภัยโดยทั่วไปในประเทศนี้ิ หรือไม่ หรือเป็นแนวปฏิบัติที่ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ให้การยอมรับว่า "เป็นธรรมกับทุกฝ่าย" แล้วจริงๆ ... ถ้าใช่ ...ก็ อนิจจัง ประเทศไทย