บทวิเคราะห์ บล.ไทยพาณิชย์ ส่อง บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC วางแผนตั้งสำรองลดลงในปี 61 ซี่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เราคาดว่ากำไรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้ง ๆ ที่แนวโน้มการเติบโตของรายได้ไม่น่าตื่นเต้น เราคาดว่าการตั้ง สำรอง ลดลงสู่ระดับ ที่ตํ่ากว่าการตัดหนี้สูญจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวในปีนี้ โดยอ้างอิงกับสถิติในอดีต เรายัง คงคำแนะนำ “ขาย” KTC ด้วยราคาเป้าหมายใหม่ 24 บาท ซึ่งปรับปรุงเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนราคาพาร์จาก 10 บาท/หุ้น เป็น 1 บาท/หุ้น (มีผลวันนี้) และการเปลี่ยนมาใช้ราคาเป้าหมายกลางปี 62
พรีวิวกำไร 2Q61: เพิ่มขึ้นมาก YoY, ทรงตัว QoQ เราคาดการณ์กำไรสุทธิ 2Q61 ของ KTC ที่ 1.2 พันลบ. เพิ่มขึ้น 53% YoY และทรงตัว QoQ ทั้งนี้เมื่อเทียบ YoY เราคาดว่ารายได้ที่เติบโตดี และการตั้งสำรองลดลง จะช่วยสนับสนุนให้กำไรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่เมื่อเทียบ QoQ เราคาดว่าสินเชื่อจะกลับมาขยายตัวตามฤดูกาล (หลังจากหดตัวลง 4.5% QoQ ใน 1Q61),
NIM จะปรับตัวดีขึ้น จากการมีสัดส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น,อัตราส่วนต้น ทุนต่อรายได้ทรงตัว และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น ตั้งสำรองน้อยกว่าการตัดหนี้สูญชั่วคราว KTC ลด credit cost ลงสู่ 7.8% ตํ่ากว่าอัตราการตัดหนี้สูญที่ 8.7% ใน 1Q61
เราเชื่อว่า KTC ต้องการตั้งสำรองลดลงในปีนี้ เนื่องจากผู้บริหารเคยกล่าวไว้ว่าอัตราส่วน LLR/สินเชื่อรวมที่ 8% ณ สิ้นปี 60 สูงเกินไป อัตราส่วน LLR/NPL ในระดับสูงที่ 592% จะเปิดโอกาสให้ KTC ตั้งสำรองลดลงสู่ระดับที่ตํ่ากว่าการตัดหนี้สูญตลอดปี 61 KTC เคยตั้งสำรองตํ่ากว่าการตัดหนี้สูญมาแลว้ หนึ่งครั้งในปี 55 แต่โดยปกติแล้ว บริษัทจะตั้งสำรองสูงกว่าการตัดหนี้สูญ
อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าการตั้งสำรองในระดับตํ่ากว่าการตัดหนี้สูญจะเกิดขึ้นชั่วคราวแค่ปี 61 เราคาดว่า credit cost จะลดลงจาก 9.3% ในปี 60 สู่ 8.1% ในปี 61 และจะปรับขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกันกับอัตราการตัดหนี้สูญที่ 8.5% ในปี 62 และปี 63 เราคาดว่าบริษัทจะตัดหนี้สูญในระดับ 8.5% ของสินเชื่อรวมในปี 61-63 เทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ 8.58% เราคาดว่าอัตราส่วน LLR/สินเชื่อรวมจะลดลงจาก 7.8% ในปี 60 สู่ 6.8% ในปี 61 (1Q61: 7.75%), 6.8% ในปี 62 และ 6.3% ในปี 63
สินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมมีแนวโน้มเติบโตเท่าเดิม เรายังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของสินเชื่อของ KTC เอาไว้ที่ 8% ในปี 61 เทียบกับ 7% ในปี 60 เราคาดว่า KTC จะขยายสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นสู่ 15% ในปี 61 จาก 13% ในปี 60 เพื่อชดเชยผลกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต เราคาดว่าสินเชื่อบัตรเครดิตจะขยายตัวลดลงเล็กน้อยสู่ 4% ในปี 61 จาก 5% ในปี 60 เนื่องจาก KTC จะเน้นลูกค้าที่มีรายไดสู้งกว่า 50,000 บาท/เดือนมากขึ้น เราคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจะเติบโตต่อเนื่องที่ 9% ในปี 61 เทียบกับ 5% YoY ใน 1Q61
คงคำแนะนำ “ขาย” และปรับราคาเป้าหมายเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนราคาพาร์ เรายังคงคำแนะนำ “ขาย” KTC เนื่องจากหุ้น KTC ซื้อขายที่ valuation แพงที่ PER 19 เท่า และ PBV 5.7 เท่า ในขณะที่เราคาดว่า ROE ไม่น่าจะสามารถยืนอยู่ในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาจากการตั้งสำรองลดลงชั่วคราวและหลักเกณฑ์เข้มงวดมากขึ้น เราปรับราคาเป้าหมายเป็น 24 บาท (3.5 เท่าของประมาณการ BVPS กลางปี 62) เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนราคาพาร์จาก 10 บาท/หุ้น เป็น 1 บาท/หุ้น (มีผลวันนี้) และการเปลี่ยนมาใช้ราคาเป้าหมายกลางปี 62
รายงาน : ธิดารัตน์ เห็นพร้อม
ติดอาวุธปัญญา…กดติดตาม (subscribe)
https://line.me/R/ti/p/%40kro3673w
นักวิเคราะห์ ปรับเป้า KTC ลงแล้ว เหลือ 24 บาท
พรีวิวกำไร 2Q61: เพิ่มขึ้นมาก YoY, ทรงตัว QoQ เราคาดการณ์กำไรสุทธิ 2Q61 ของ KTC ที่ 1.2 พันลบ. เพิ่มขึ้น 53% YoY และทรงตัว QoQ ทั้งนี้เมื่อเทียบ YoY เราคาดว่ารายได้ที่เติบโตดี และการตั้งสำรองลดลง จะช่วยสนับสนุนให้กำไรเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่เมื่อเทียบ QoQ เราคาดว่าสินเชื่อจะกลับมาขยายตัวตามฤดูกาล (หลังจากหดตัวลง 4.5% QoQ ใน 1Q61),
NIM จะปรับตัวดีขึ้น จากการมีสัดส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น,อัตราส่วนต้น ทุนต่อรายได้ทรงตัว และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น ตั้งสำรองน้อยกว่าการตัดหนี้สูญชั่วคราว KTC ลด credit cost ลงสู่ 7.8% ตํ่ากว่าอัตราการตัดหนี้สูญที่ 8.7% ใน 1Q61
เราเชื่อว่า KTC ต้องการตั้งสำรองลดลงในปีนี้ เนื่องจากผู้บริหารเคยกล่าวไว้ว่าอัตราส่วน LLR/สินเชื่อรวมที่ 8% ณ สิ้นปี 60 สูงเกินไป อัตราส่วน LLR/NPL ในระดับสูงที่ 592% จะเปิดโอกาสให้ KTC ตั้งสำรองลดลงสู่ระดับที่ตํ่ากว่าการตัดหนี้สูญตลอดปี 61 KTC เคยตั้งสำรองตํ่ากว่าการตัดหนี้สูญมาแลว้ หนึ่งครั้งในปี 55 แต่โดยปกติแล้ว บริษัทจะตั้งสำรองสูงกว่าการตัดหนี้สูญ
อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าการตั้งสำรองในระดับตํ่ากว่าการตัดหนี้สูญจะเกิดขึ้นชั่วคราวแค่ปี 61 เราคาดว่า credit cost จะลดลงจาก 9.3% ในปี 60 สู่ 8.1% ในปี 61 และจะปรับขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกันกับอัตราการตัดหนี้สูญที่ 8.5% ในปี 62 และปี 63 เราคาดว่าบริษัทจะตัดหนี้สูญในระดับ 8.5% ของสินเชื่อรวมในปี 61-63 เทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ 8.58% เราคาดว่าอัตราส่วน LLR/สินเชื่อรวมจะลดลงจาก 7.8% ในปี 60 สู่ 6.8% ในปี 61 (1Q61: 7.75%), 6.8% ในปี 62 และ 6.3% ในปี 63
สินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมมีแนวโน้มเติบโตเท่าเดิม เรายังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของสินเชื่อของ KTC เอาไว้ที่ 8% ในปี 61 เทียบกับ 7% ในปี 60 เราคาดว่า KTC จะขยายสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นสู่ 15% ในปี 61 จาก 13% ในปี 60 เพื่อชดเชยผลกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต เราคาดว่าสินเชื่อบัตรเครดิตจะขยายตัวลดลงเล็กน้อยสู่ 4% ในปี 61 จาก 5% ในปี 60 เนื่องจาก KTC จะเน้นลูกค้าที่มีรายไดสู้งกว่า 50,000 บาท/เดือนมากขึ้น เราคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจะเติบโตต่อเนื่องที่ 9% ในปี 61 เทียบกับ 5% YoY ใน 1Q61
คงคำแนะนำ “ขาย” และปรับราคาเป้าหมายเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนราคาพาร์ เรายังคงคำแนะนำ “ขาย” KTC เนื่องจากหุ้น KTC ซื้อขายที่ valuation แพงที่ PER 19 เท่า และ PBV 5.7 เท่า ในขณะที่เราคาดว่า ROE ไม่น่าจะสามารถยืนอยู่ในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาจากการตั้งสำรองลดลงชั่วคราวและหลักเกณฑ์เข้มงวดมากขึ้น เราปรับราคาเป้าหมายเป็น 24 บาท (3.5 เท่าของประมาณการ BVPS กลางปี 62) เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนราคาพาร์จาก 10 บาท/หุ้น เป็น 1 บาท/หุ้น (มีผลวันนี้) และการเปลี่ยนมาใช้ราคาเป้าหมายกลางปี 62
รายงาน : ธิดารัตน์ เห็นพร้อม
ติดอาวุธปัญญา…กดติดตาม (subscribe)
https://line.me/R/ti/p/%40kro3673w