ทนายวิญญัติ ชี้ กฎหมาย ปปช.ให้อำนาจรัฐสั่งเอกชนให้ความร่วมมือนาฬิกาหรู “บิ๊กป้อม”ได้ ระบุกฎหมายสันนิษฐานผู้ครอบครองคือเจ้าของ ยกเคส คำพิพากษาศาลฎีกาฯนักการเมือง รถโฟล์ค”สุพจน์ ทรัพย์ล้อม” เทียบเคียง จี้ เวลาผ่านไป1ปีทำได้เเค่นี้ยุบทิ้งเสียดีกว่า เสียดายงบประมาณ
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและ เสรีภาพ (สกสส.) ได้โพสต์เฟซบุ๊คเเสดงความเห็นถึงกรณี ที่มีกระเเสข่าว ว่า ป.ป.ช.ไม่สามารถพิจารณาคดีการไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งเป็นนาฬิกามีมูลค่าสูงของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ”รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงฯ ได้เนื่องจาก บริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยไม่ส่งข้อมูลผู้ครอบครองให้ว่า
“#สมควรแก่เวลายุบทิ้ง_อย่ามีให้เปลืองงบประมาณเลย
ข่าวแพร่สะพัดเมื่อวันที่ 10 ก.ค.61 ว่า “ป.ป.ช.” ไม่สามารถพิจารณาได้ “นาฬิกาหรูบิ๊กป้อม” บริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยไม่ยอมให้ข้อมูลเรื่องซีเรียลนัมเบอร์ว่าใครเป็นผู้ครอบครองที่แท้จริง แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. เพื่อพิจารณาความคืบหน้ากรณีการครอบครองนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โดยไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช. ซึ่งคณะทำงานสอบสวนข้อเท็จจริงได้รายงานให้ที่ประชุม ป.ป.ช.รับทราบความคืบหน้าว่า ได้สอบปากคำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีครบถ้วนแล้วและขอให้ที่ประชุมป.ป.ช.ทำหนังสือไปยังบริษัทแม่ที่อยู่ต่างประเทศที่เป็นผู้ผลิตนาฬิกาหรูเรือนต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลหมายเลขซีเรียลนัมเบอร์นาฬิกาหรูแต่ละเรือนว่า มีใครเป็นผู้ซื้อนาฬิกาตัวจริง เนื่องจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาหรูในประเทศไทย ไม่ยอมให้ข้อมูลเรื่องซีเรียลนัมเบอร์ว่าใครเป็นผู้ครอบครองที่แท้จริง ทำให้ป.ป.ช.ยังไม่สามารถพิจารณาว่าจะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนในเรื่องดังกล่าวได้หรือไม่นั้น
ดูเผินๆ ก็พอจะเห็นความพยายามของการทำหน้าที่องค์กรอิสระที่มีอำนาจหน้าที่ รวมทั้งดาบอาญาสิทธิ์ให้ตรวจโกง ตรวจความฟุ่มเฟือย ตรวจความไม่โปร่งใสของบรรดานักการเมือง ข้าราชการและประชาชนที่อาจเชื่อมโยงกับคอร์รัปชั่นได้อย่างดี แต่ดีไม่พอหรือไม่ถือว่าว่าดีเลยในความเห็นของผม ถ้าท่านทำได้เพียงเท่านี้ก็จะยุติเรื่องไต่สวนนี้เสีย ก็อย่ามีเลยองค์กรนี้ ผมเสียดายงบประมาณ บุคคลากร รวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ไฮเทคโนโลยีต่างๆ เพราะท่านจะอ้างว่าหาหมายเลขประจำเครื่องเพื่อดูว่าใครเป็นผู้ซื้อนาฬิกาไม่ได้ เมื่อไม่มีข้อมูลหรือไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายก็ดี ถือว่าเสียของมาก
ชาวบ้านชาวเมืองเขาจะเห็นด้วยกับท่านหรือไม่ คงจะรู้คำตอบดี แต่สิ่งที่ท่านทั้งหลายไม่รู้จริงๆหรือว่า นาฬิกาหลายเรือนพวกนั้นสวมใส่ในข้อมือใคร สังหาริมทรัพย์ใครครอบครองกฎหมายสันนิษฐานว่าอย่างไร คงไม่ต้องถึงขนาดไปเปิดตำราดู แต่ละเรือนมีมูลค่าเท่าไหร่ น่าจะมาจากการขอยืมมาจริงหรือเป็นผู้มีฐานะจะซื้อได้หรือไม่ ท่านไม่หาต่อหรือ?
ผมกลับเห็นใจจริงๆ ที่ ป.ป.ช. ใช้เวลาเกือบปีแต่ผลที่ได้กลับมีเท่านี้ ไม่มีข้อมูลถึงจนทางตันเดินหน้าต่อไม่ได้ กฎหมายและระเบียบที่ออกมาใช้บังคับให้หาทางไต่สวนเรื่องกล่าวหา เพื่อทราบข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆที่มีข้อกฎหมาย และมาตรการทางกฎหมายสารพัดมีทั้งโทษทางอาญาด้วย อาทิ
1) ดูอำนาจ ป.ป.ช. ให้อำนาจมีหนังสือขอให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานเอกชนดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่ การไต่สวนข้อเท็จจริง หรือการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตาม กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 25(3) ,66 ประกอบ มาตรา 43 มาตรา 118
2) ดูความเป็นเจ้าของ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 มาตรา 1369 มาตรา 1370 เทียบคดีลอตเตอรี่ ถือว่าเป็น สังหาริมทรัพย์ อยู่ในความครอบครองของใคร ให้สันนิษฐานว่า ผู้นั้นเป็นเจ้าของ
3) ดูกฎหมายใช้ที่ใด กฎหมายไทยย่อมให้ใช้บังคับแก่การกระทําหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย รัฐสามารถอ้างอํานาจเหนือบุคคลผู้ถือสัญชาติของรัฐหรือเจ้าพนักงานของรัฐ อ้างอํานาจคุ้มครองป้องกันผลประโยชน์สําคัญของรัฐ เพราะผู้แทนจำหน่ายเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและกฎหมายไทยมีสภาพบังคับได้ตามที่กล่าวมาข้างต้น อยู่ที่จะทำจริงๆหรือไม่
4) ดูแนวคำวินิจฉัยเทียบเคียง คดีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความเป็นเท็จ ตามที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษา เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2560 (คดีหมายเลขแดงที่ อม. 210/2560) ทรัพย์สินที่นายสุพจน์ปกปิด คือ รถยนต์ตู้โฟล์ค ศาลฎีกาฯ เห็นว่ารถยนต์คันนี้นายสุพจน์และนางนฤมลเป็นผู้ครอบครองและใช้งานจึงเป็นของนายสุพจน์ เมื่อเป็นเจ้าของแล้วไม่ยื่นต่อ ป.ป.ช.จึงถือว่า จงใจปกปิด เป็นต้น
แต่เหตุใดอำนาจที่ท่านมีกลับไม่สามารถใช้หาข้อมูลนาฬิกาเหล่านั้นได้ ทำจริงๆได้เท่านี้จริงหรือ สงสัยว่างานนี้ ต้องระดมทีมผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมางมหรือค้นหาดังเช่นภารกิจถ้ำหลวงแล้วกระมัง!”
JJNY : กฎหมายปปช.ให้อำนาจรัฐ สั่งเอกชนร่วมมือให้ข้อมูลนาฬิกาหรู"บิ๊กป้อม"ได้
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและ เสรีภาพ (สกสส.) ได้โพสต์เฟซบุ๊คเเสดงความเห็นถึงกรณี ที่มีกระเเสข่าว ว่า ป.ป.ช.ไม่สามารถพิจารณาคดีการไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งเป็นนาฬิกามีมูลค่าสูงของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ”รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงฯ ได้เนื่องจาก บริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยไม่ส่งข้อมูลผู้ครอบครองให้ว่า
“#สมควรแก่เวลายุบทิ้ง_อย่ามีให้เปลืองงบประมาณเลย
ข่าวแพร่สะพัดเมื่อวันที่ 10 ก.ค.61 ว่า “ป.ป.ช.” ไม่สามารถพิจารณาได้ “นาฬิกาหรูบิ๊กป้อม” บริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยไม่ยอมให้ข้อมูลเรื่องซีเรียลนัมเบอร์ว่าใครเป็นผู้ครอบครองที่แท้จริง แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. เพื่อพิจารณาความคืบหน้ากรณีการครอบครองนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โดยไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช. ซึ่งคณะทำงานสอบสวนข้อเท็จจริงได้รายงานให้ที่ประชุม ป.ป.ช.รับทราบความคืบหน้าว่า ได้สอบปากคำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีครบถ้วนแล้วและขอให้ที่ประชุมป.ป.ช.ทำหนังสือไปยังบริษัทแม่ที่อยู่ต่างประเทศที่เป็นผู้ผลิตนาฬิกาหรูเรือนต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลหมายเลขซีเรียลนัมเบอร์นาฬิกาหรูแต่ละเรือนว่า มีใครเป็นผู้ซื้อนาฬิกาตัวจริง เนื่องจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาหรูในประเทศไทย ไม่ยอมให้ข้อมูลเรื่องซีเรียลนัมเบอร์ว่าใครเป็นผู้ครอบครองที่แท้จริง ทำให้ป.ป.ช.ยังไม่สามารถพิจารณาว่าจะตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนในเรื่องดังกล่าวได้หรือไม่นั้น
ดูเผินๆ ก็พอจะเห็นความพยายามของการทำหน้าที่องค์กรอิสระที่มีอำนาจหน้าที่ รวมทั้งดาบอาญาสิทธิ์ให้ตรวจโกง ตรวจความฟุ่มเฟือย ตรวจความไม่โปร่งใสของบรรดานักการเมือง ข้าราชการและประชาชนที่อาจเชื่อมโยงกับคอร์รัปชั่นได้อย่างดี แต่ดีไม่พอหรือไม่ถือว่าว่าดีเลยในความเห็นของผม ถ้าท่านทำได้เพียงเท่านี้ก็จะยุติเรื่องไต่สวนนี้เสีย ก็อย่ามีเลยองค์กรนี้ ผมเสียดายงบประมาณ บุคคลากร รวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ไฮเทคโนโลยีต่างๆ เพราะท่านจะอ้างว่าหาหมายเลขประจำเครื่องเพื่อดูว่าใครเป็นผู้ซื้อนาฬิกาไม่ได้ เมื่อไม่มีข้อมูลหรือไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายก็ดี ถือว่าเสียของมาก
ชาวบ้านชาวเมืองเขาจะเห็นด้วยกับท่านหรือไม่ คงจะรู้คำตอบดี แต่สิ่งที่ท่านทั้งหลายไม่รู้จริงๆหรือว่า นาฬิกาหลายเรือนพวกนั้นสวมใส่ในข้อมือใคร สังหาริมทรัพย์ใครครอบครองกฎหมายสันนิษฐานว่าอย่างไร คงไม่ต้องถึงขนาดไปเปิดตำราดู แต่ละเรือนมีมูลค่าเท่าไหร่ น่าจะมาจากการขอยืมมาจริงหรือเป็นผู้มีฐานะจะซื้อได้หรือไม่ ท่านไม่หาต่อหรือ?
ผมกลับเห็นใจจริงๆ ที่ ป.ป.ช. ใช้เวลาเกือบปีแต่ผลที่ได้กลับมีเท่านี้ ไม่มีข้อมูลถึงจนทางตันเดินหน้าต่อไม่ได้ กฎหมายและระเบียบที่ออกมาใช้บังคับให้หาทางไต่สวนเรื่องกล่าวหา เพื่อทราบข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆที่มีข้อกฎหมาย และมาตรการทางกฎหมายสารพัดมีทั้งโทษทางอาญาด้วย อาทิ
1) ดูอำนาจ ป.ป.ช. ให้อำนาจมีหนังสือขอให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานเอกชนดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่ การไต่สวนข้อเท็จจริง หรือการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตาม กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 25(3) ,66 ประกอบ มาตรา 43 มาตรา 118
2) ดูความเป็นเจ้าของ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 มาตรา 1369 มาตรา 1370 เทียบคดีลอตเตอรี่ ถือว่าเป็น สังหาริมทรัพย์ อยู่ในความครอบครองของใคร ให้สันนิษฐานว่า ผู้นั้นเป็นเจ้าของ
3) ดูกฎหมายใช้ที่ใด กฎหมายไทยย่อมให้ใช้บังคับแก่การกระทําหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย รัฐสามารถอ้างอํานาจเหนือบุคคลผู้ถือสัญชาติของรัฐหรือเจ้าพนักงานของรัฐ อ้างอํานาจคุ้มครองป้องกันผลประโยชน์สําคัญของรัฐ เพราะผู้แทนจำหน่ายเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและกฎหมายไทยมีสภาพบังคับได้ตามที่กล่าวมาข้างต้น อยู่ที่จะทำจริงๆหรือไม่
4) ดูแนวคำวินิจฉัยเทียบเคียง คดีนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความเป็นเท็จ ตามที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษา เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2560 (คดีหมายเลขแดงที่ อม. 210/2560) ทรัพย์สินที่นายสุพจน์ปกปิด คือ รถยนต์ตู้โฟล์ค ศาลฎีกาฯ เห็นว่ารถยนต์คันนี้นายสุพจน์และนางนฤมลเป็นผู้ครอบครองและใช้งานจึงเป็นของนายสุพจน์ เมื่อเป็นเจ้าของแล้วไม่ยื่นต่อ ป.ป.ช.จึงถือว่า จงใจปกปิด เป็นต้น
แต่เหตุใดอำนาจที่ท่านมีกลับไม่สามารถใช้หาข้อมูลนาฬิกาเหล่านั้นได้ ทำจริงๆได้เท่านี้จริงหรือ สงสัยว่างานนี้ ต้องระดมทีมผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมางมหรือค้นหาดังเช่นภารกิจถ้ำหลวงแล้วกระมัง!”