ปกติแล้วผู้บรรลุฌานจะบรรลุไปเป็นลำดับ เริ่มจากปฐมฌานไปจนถึงจตุตถฌาน ต่อด้วยอากาสานัญจายตนฌานไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน รวมเรียกว่าสมาบัติ 8 ซึ่งเป็นสมาธินอกศาสนาพุทธ
แต่เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อทรงออกผนวชแล้วได้ทรงศึกษาอยู่ในสำนักของอาฬารดาบสและอุทกดาบสจนได้บรรลุอากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะตามลำดับ
ทว่าเมื่อพระองค์ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทาง หลังจากบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว กลับทรงดำริถึงปฐมฌานที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ที่ทรงนั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นหว้า แทนที่จะดำริถึงฌานของดาบสทั้งสอง และทรงดำริด้วยว่าทางนี้น่าจะเป็นทางแห่งการตรัสรู้เป็นแน่ แสดงว่าฌานนี้ต้องไม่เหมือนกับของดาบสทั้งสองแน่นอน
เมื่อพระองค์ทรงตั้งพระทัยมั่นแล้วและทรงแน่วแน่ว่าพระองค์ไม่กลัวสุขในฌานนี้ จึงทรงยังฌานนั้น (ที่ทรงบรรลุเองใต้ต้นหว้า) ให้เกิดขึ้นไปเป็นลำดับ จนกระทั่งตรัสรู้
พิจารณาจากพระสูตรนี้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ [๔๒๕] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีต ในอนาคต หรือในปัจจุบันนี้ ที่เสวยทุกขเวทนากล้า หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียรเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ขึ้นไป. แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณ ทัสสนะอันวิเศษที่พอแก่พระอริยะซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้. ชะรอย ทางแห่งความตรัสรู้พึงเป็นทางอื่นกระมัง. เราจึงมีความดำริว่า เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าว สักกาธิบดีซึ่งเป็นพระบิดา เรานั่งอยู่ใต้ร่มต้นหว้าอันเย็น ได้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนั้น พึงเป็นทางแห่งความตรัสรู้กระมัง. เรามีวิญญาณตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งความ ตรัสรู้. เราจึงมีความดำริว่า เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ แล้วเรา ก็ดำริต่อไปว่า เราไม่กลัวสุขเช่นนั้นเลย.
[๔๒๖] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริต่อไปว่า ความสุขนั้น เราผู้มีกายถึงความซูบ ผอมมาก ไม่ทำได้ง่ายเพื่อจะบรรลุ ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและกุมมาสเถิด. เราก็กินอาหารหยาบคือข้าวสุกและกุมมาส. ครั้งนั้น ภิกษุทั้ง ๕ ที่เฝ้าบำรุงเราด้วยหวังว่า พระสมณะโคดมบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. เมื่อใด เรากินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและ กุมมาส เมื่อนั้นภิกษุทั้ง ๕ นั้นก็ระอาหลีกไปด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมมักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว.
[๔๒๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรากินอาหารหยาบให้กายมีกำลังแล้ว สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้สุขเวทนาที่ เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด แต่สมาธิอยู่. เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เราบรรลุ จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส และโทมนัสในก่อน เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิต เราตั้งอยู่ได้. เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ. เราย่อม ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึก ชาติที่เคยอยู่อาศัยได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรอัคคิเวสสนะ ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไปอยู่ อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
ตรัสการบรรลุวิชชาที่ ๒
[๔๒๘] เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ. เราเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ ดูกรอัคคิเวสสนะ ในมัชฌิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไป อยู่ อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
[๔๒๙] เราเมื่อมีจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ. ย่อมรู้ชัดตามเป็น จริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสว สมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จาก กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำๆ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรอัคคิเวสสนะ ในปัจฉิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๓ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความ เพียร ส่งจิตไปอยู่ อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสง สว่างเกิดขึ้นแล้ว. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
ฌานในพระพุทธศาสนามีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น จึงไม่เหมือนกับฌานนอกศาสนา และพระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญฌานเป็นอเนกอนันต์ มีแต่ตรัสบอกให้ทำไม่ให้ว่างเว้น ไม่ให้เหินห่าง ให้ทำมาก ๆ บางคราวก็ทรงตรัสให้เจริญฌานเพื่อบรรลุธรรม เพื่อกำจัดสังโยชน์ ไม่เคยทรงห้ามและติเตียนฌานเลย ดังพระสูตรนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ภิกษุนั้นเธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ศาสดาไม่ทรงติเตียน แม้เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน แม้เทวดาไม่ติเตียน แม้ตนเองติเตียนตนไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งคุณวิเศษคือความรู้ความเห็นของพระอริยะผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์.
เปรียบเหมือนการออกกำลังกายที่ควรทำเป็นประจำและเป็นพื้นฐานในการเล่นกีฬาทุกชนิด พระองค์ทรงตรัสเรื่องฌานมากจนไม่อาจกล่าวว่าไม่ใช่คำสอนของพระองค์ได้ การทำอะไรไม่ครบขาด ๆ เกิน ๆ ย่อมบรรลุผลไม่ได้ฉันใด การตีความเอาเองว่าฌานไม่จำเป็นก็ย่อมบรรลุธรรมไม่ได้ฉันนั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจ นั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่า ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ
ทรงย้ำให้เพ่งฌาน ไม่ใช่สติปัฏฐานเพราะอะไร เพราะฌานมีในสติปัฏฐาน และสติปัฏฐานมีในฌาน การกล่าวสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงหมายถึงอีกสิ่งด้วย ผู้ที่กล่าวว่าตนเองเข้าสติปัฏฐานได้จึงเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรมตามที่พระวินัยได้อธิบายไว้
ฌานในพระพุทธศาสนาไม่ใช่ฌานฤๅษี
แต่เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อทรงออกผนวชแล้วได้ทรงศึกษาอยู่ในสำนักของอาฬารดาบสและอุทกดาบสจนได้บรรลุอากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะตามลำดับ
ทว่าเมื่อพระองค์ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทาง หลังจากบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว กลับทรงดำริถึงปฐมฌานที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ที่ทรงนั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นหว้า แทนที่จะดำริถึงฌานของดาบสทั้งสอง และทรงดำริด้วยว่าทางนี้น่าจะเป็นทางแห่งการตรัสรู้เป็นแน่ แสดงว่าฌานนี้ต้องไม่เหมือนกับของดาบสทั้งสองแน่นอน
เมื่อพระองค์ทรงตั้งพระทัยมั่นแล้วและทรงแน่วแน่ว่าพระองค์ไม่กลัวสุขในฌานนี้ จึงทรงยังฌานนั้น (ที่ทรงบรรลุเองใต้ต้นหว้า) ให้เกิดขึ้นไปเป็นลำดับ จนกระทั่งตรัสรู้
พิจารณาจากพระสูตรนี้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ฌานในพระพุทธศาสนามีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น จึงไม่เหมือนกับฌานนอกศาสนา และพระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญฌานเป็นอเนกอนันต์ มีแต่ตรัสบอกให้ทำไม่ให้ว่างเว้น ไม่ให้เหินห่าง ให้ทำมาก ๆ บางคราวก็ทรงตรัสให้เจริญฌานเพื่อบรรลุธรรม เพื่อกำจัดสังโยชน์ ไม่เคยทรงห้ามและติเตียนฌานเลย ดังพระสูตรนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เปรียบเหมือนการออกกำลังกายที่ควรทำเป็นประจำและเป็นพื้นฐานในการเล่นกีฬาทุกชนิด พระองค์ทรงตรัสเรื่องฌานมากจนไม่อาจกล่าวว่าไม่ใช่คำสอนของพระองค์ได้ การทำอะไรไม่ครบขาด ๆ เกิน ๆ ย่อมบรรลุผลไม่ได้ฉันใด การตีความเอาเองว่าฌานไม่จำเป็นก็ย่อมบรรลุธรรมไม่ได้ฉันนั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทรงย้ำให้เพ่งฌาน ไม่ใช่สติปัฏฐานเพราะอะไร เพราะฌานมีในสติปัฏฐาน และสติปัฏฐานมีในฌาน การกล่าวสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงหมายถึงอีกสิ่งด้วย ผู้ที่กล่าวว่าตนเองเข้าสติปัฏฐานได้จึงเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรมตามที่พระวินัยได้อธิบายไว้