สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ เราชื่อบลูมนะคะ กระทู้นี้เป็นกระทู้แรกของเรา ผิดพลาดยังไงต้องขออภัยด้วยนะคะ
สืบเนื่องจากกระทู้นี้ของคุณสามี
https://ppantip.com/topic/37695243 ทำให้เราได้กำลังใจมาอย่างล้นหลาม วันนี้เลยขอมาเล่าเรื่องของตัวเองให้เพื่อนๆ ที่ป่วยด้วยโรคจิตเวชหรือมีคนใกล้ตัวเป็นผู้ป่วยได้ลองอ่านวิธีที่เราใช้จัดการกับโรคควบคู่ไปกับการรักษาของจิตแพทย์ค่ะ
ขอเท้าความไปไม่ไกลนัก นับตั้งแต่ที่เราเป็นโรคซึมเศร้าอันเนื่องมาจากความเครียดในที่ทำงานและความไม่เข้าใจในครอบครัวจนต้องเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์ตอนนี้เวลาก็ผ่านมา 3 ปีแล้วค่ะ ด้วยความที่ได้คุยกับจิตแพทย์ครั้งแรกก็ครั้งที่เราต้องแอดมิดโรงพยาบาล+สงสารคนข้างๆ ที่ยังไม่พร้อมให้เราจากไป เราเลยเริ่มหาข้อมูลว่านอกจากการกินยาตามที่หมอสั่งเราทำอะไรได้อีกที่จะช่วยให้อาการของเราดีขึ้น แล้วเราก็พบว่า "การออกกำลังกาย" สามารถช่วยได้อีกทางหนึ่งค่ะ ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็เพิ่งซื้อรองเท้าวิ่งมาเพื่อที่จะลดน้ำหนักกันอยู่แล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลาใช้มันแล้วค่ะ
เริ่มแรกเราฝึกวิ่งตามตาราง C25K ซึ่งจะหาในเน็ตก็ได้หรือโหลดแอพก็ได้ค่ะ แรกสุกเราเซฟรูปตารางมาก่อน แต่พอรู้ว่ามีแอพก็ใช้แอพแทนเพราะมันแจ้งเตือนด้วยว่าครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้ว ตอนนั้นก็แค่ทำไปเรื่อยๆ ดีกว่าขังตัวเองในห้องไปวันๆ ซึ่งมันก็ทำให้เรารอเวลาตอนเย็นทุกวันที่จะได้ออกไปวิ่งค่ะ ใช้เวลาอยู่สองเดือนก็ทำครบตามตารางค่ะ ก็เลยเพิ่มความยากด้วยการโหลดแอพฝึกวิ่ง 10k มาฝึกต่อ สักพักเราก็เจอโฆษณาในเฟซบุ๊คของงานวิ่งงานหนึ่งกำลังรับสมัครอยู่ จังหวัดนั้นไม่ไกลจากบ้านเราเท่าไหร่และสถานที่จัดงานยังใกล้บ้านเพื่อนเรามากๆ ด้วยค่ะ งานนั้นก็คืองานวิ่งที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดในประเทศอย่าง Bangsaen21 เราสมัครมินิมาราธอนไปค่ะเพราะเป็นระยะที่กำลังฝึกพอดีค่ะ
ก่อนถึงวันงานเราฝึกได้ครบตามตารางค่ะ แต่ด้วยความที่วิ่งช้ามากๆ เราเลยไปได้ไกลสุดที่ 9 กม. แต่ก็ไม่ได้กังวลอะไรก็แค่ไปให้จบก็พอค่ะ วิ่งต่อเนื่องได้อยู่ 4 กม. นอกนั้นก็วิ่งๆ เดินๆ จนเข้าเส้นชัยที่เวลาประมาณ 1:40 ชม. ดีใจมากๆ ค่ะ เพราะเหมือนว่าเราที่ล้มเหลวมาตลอดชีวิตได้มีอะไรที่สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาบ้าง งานก็จัดดีมากๆ จนเราคิดว่างานวิ่งไหนๆ ก็ดีแบบนี้เพราะนั่นเป็นครั้งแรกที่เราลงงานวิ่ง แต่พอไปงานอื่นหลังจากนั้นถึงรู้ว่ามันไม่ใช่ค่ะ 555555
หลังจากนั้นเราก็มีปัญหากับที่บ้านเรื่องโรคของเราจนต้องระหกระเหินย้ายที่อยู่กันทุกปี เราก็วิ่งบ้างหยุดบ้าง เพราะมีอาการบาดเจ็บค่ะ ก็พอดีว่าที่พักตอนนั้นมีสระว่ายน้ำใกล้ๆ เราเลยไปว่ายน้ำค่ะ พอว่ายน้ำแล้วชอบยิ่งกว่าวิ่งเสียอีกเพราะว่าขณะที่ว่ายน้ำเราคิดเรื่องอื่นไม่ได้เลยค่ะ ถึงจะว่ายน้ำได้เพราะเคยเรียนตอนเด็กๆ แต่เราว่ายไม่เก่งและไม่ชอบการสำลักน้ำเอาเสียเลยทำให้ก่อนหน้านี้เราแทบจะไม่ได้ว่ายน้ำเลยค่ะ พอมาว่ายอีกครั้งเราเลยจดจ่อกับมันมากๆ จนลืมคิดเรื่องอื่น ขณะว่ายก็คิดแต่ว่า ตอนนี้หมุนแขนซ้าย ตอนนี้หมุนขวา ตอนนี้พ่นอากาศ ตอนนี้ต้องเอียงหน้าหายใจ พอเผลอคิดเรื่องอื่นเมื่อไหร่มีสำลักทุกทีค่ะ ว่ายน้ำเสร็จถึงจะเหนื่อยแต่ก็สดชื่นมากๆ มันคือกิจกรรมหนึ่งที่เรารู้สึกว่าสมองเราได้พักผ่อนทั้งๆ ที่ตื่นอยู่ ระหว่างนั้นเราก็ซ้อมวิ่งตามโอกาส คือ ถ้าไม่ลงงานวิ่งก็จะไม่ซ้อม ก็พอดีว่าเราตั้งใจจะลงงาน Bangsaen21 อีกเช่นเคย แต่คราวนี้เพิ่มระยะเป็นฮาล์ฟมาราธอน
อย่างที่บอกในย่อหน้าก่อนว่าเราย้ายที่อยู่กันทุกปี เราก็มีอันต้องย้ายคราวนี้ไม่มีสระว่ายน้ำใกล้ๆ ให้เราไปว่ายแล้วค่ะ แถมงานวิ่งที่ลงไว้ก็ใกล้เข้ามา ตอนนี้เราเลยไปโฟกัสที่การวิ่งอีกครั้งเพราะไม่อยากเจ็บแบบครั้งที่ลงมินิมาราธอน แต่จนถึงวันแข่งเราก็ไม่เคยซ้อมจนเกินระยะ 12 กม. เสียที แต่ถึงวันจริงแล้ว เอาไงเอากัน เวลาตั้งเยอะมันคงเข้าเส้นชัยได้แหละแต่สภาพไหนเท่านั้น วันนั้นเราวิ่งยาวจนถึงกม.ที่ 9 ก็เริ่มวิ่งๆ เดินๆ และมาเดินยาวๆ ตอนกม.ที่ 15 เพราะหลังเท้าด้านซ้ายเจ็บจนรับแรงกระแทกจากการวิ่งไม่ไหว(มารู้ทีหลังว่าเป็นเพราะท่าวิ่งและกล้ามเนื้อของขาทั้งสองข้างที่ไม่สมดุลกัน เราเลยมาปรับเรื่องนี้) จนสองกม.สุดท้ายถึงพอวิ่งได้ ก็วิ่งๆ เดินๆ จนเข้าเส้นชัยได้ ในเวลา 3:20 ชม. ดีใจมากและเข็ดมากๆ เพราะเจ็บอีกแล้วจนเราบอกกับเพื่อนว่าจะไม่วิ่งฮาล์ฟละนะ ขอไปปูพื้นฐานใหม่ก่อน เจ็บแต่ละทีเข็ดไปหลายเดือนเลย
แต่ถึงจะมีอาการบาดเจ็บแต่ก็มีข่าวดีเข้ามานะคะ หลังจากวันแข่งขันไม่กี่วันเราต้องไปพบแพทย์ตามนัด และสิ่งที่หมอบอกกับเราก็คือ ไม่ต้องกินยาแล้วนะ ไม่ต้องมาหาหมอแล้วด้วย ขอให้เราไม่ต้องเจอกันที่โรงพยาบาลแบบนี้อีกนะ เป็นคำอวยพรแบบขำๆ ของคุณหมอคนสวยที่ดูแลเรามาเป็นปีค่ะ หลังจากนั้นเราก็ใช้ชีวิตไปตามปกติ กลับมาทำงานประจำอีกครั้ง ออกกำลังกายโดยการเล่นเวทเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ จนวันหนึ่งจุดเปลี่ยนในชีวิตก็มาถึงวันที่เราได้รู้เสียทีว่าสิ่งที่เราต้องการคืออะไร
วันนั้นเราไปเรียนธรรมะค่ะ อาจารย์ท่านก็ถามขึ้นมาว่า "รู้มั้ยว่าคุณมีความสุขที่สุดตอนไหน" เราตอบเอาตามความคิดว่าคงเป็นตอนทำกิจกรรม ออกค่าย(ตอนเรียนเราเป็นเด็กกิจกรรม หาตัวในห้องเรียนไม่เคยเจอ) แต่อาจารย์ท่านตอบกลับมาว่า อาจารย์เห็นรูปตอนที่เราไปวิ่งในงาน รอยยิ้มในรูปนั้นของเรามีความสุขกว่าทุกรูปที่ท่านเห็น และตอกย้ำสิ่งนี้ด้วยการที่พี่คนหนึ่งซึ่งมาเรียนด้วยกันก็พูดประโยคนี้เช่นเดียวกับอาจารย์ มันทำให้เราได้กลับมาคิดพิจารณาค่ะ ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เรารัก และสิ่งที่เราเกิดมาเพื่อที่จะทำมันคืออะไรกันแน่ เพราะในขณะนั้นเราไม่ได้รู้สึกว่าตอนออกกำลังกายคือช่วงที่มีความสุขที่สุด เราแค่รู้สึกว่ามันสนุก เพราะเราไม่มีวินัยดับการออกกำลังกายเท่าไหร่เลยรู้สึกแบบนั้น แต่พอมามีคนมาบอกแบบนี้เราก็คิดย้อนกลับไป ที่ผ่านมาเราก็ออกกำลังกายมากกว่าคนทั่วไปเพราะว่ามันทำให้เรามีความสุขจริงๆ นั่นแหละ
ภาพนี้คือภาพที่อาจารย์บอกว่าเห็นเรามีความสุขมากๆ เป็นวิ่งแฟนซีครั้งแรกและครั้งเดียวของเราเลย
หลังจากวันนั้นเราก็คิดถึงสิ่งที่เราอยากทำค่ะ มันมีเรื่องหนึ่งที่ติดอยู่ในใจ คือเราเป็นโรคซึมเศร้าเนี่ย การที่จะเศร้าจนเป็นโรคคือมันต้องถึงขั้นที่ไม่เหลือความภูมิใจอะไรในตัวเองแล้ว เรียกได้ว่า Self-esteem ติดลบก็คงไม่ผิดนัก พอเริ่มวิ่งแล้วมาว่ายน้ำอีกเราก็อยากจะไปให้สุดเลยตั้งเป้าหมายไว้ที่การจบการแข่งขัน Ironman สักครั้งในชีวิต(สำหรับคนที่ไม่รู้จักนะคะ Ironman คือการแข่งขันไตรกีฬาระยะไกลผู้เข้าแข่งขันต้องว่ายน้ำ 3.8 กม. ปั่นจักรยาน 180 กม. และวิ่ง 42.195 กม. ระยะทางทั้งหมดในหน่วยไมล์คือ 140.6 ไมล์ค่ะ) ซึ่งเหมือนธรรมะจัดสรรไว้แล้วเพราะหลังจากที่เราเขียนเป้าหมายนี้ลง Facebook ส่วนตัวไม่นานนัก เราก็ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
โครงการของสถาบันมะเร็งแห่งชาตินี้คือโครงการ NCI Tri Team เปลี่ยน สู้ ฟัด เอาชนะมะเร็ง เป็นโครงการที่คัดเลือกนักกีฬาจาก 3 กลุ่ม คือผู้ป่วยมะเร็ง ผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง และอาสาสมัครมาฝึกซ้อมเป็นเวลา 3 เดือนและส่งไปแข่งไตรกีฬา เราได้รับคัดเลือกในกลุ่มอาสาสมัครค่ะ ซึ่งเพื่อนร่วมทีมทุกคนเนี่ยเป็นคนที่สุดยอดมากๆ เลยในความคิดของเรา พี่ๆ ที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยถ้าเขาไม่บอกคุณไม่มีทางรู้เลยค่ะว่าเขาเคยเป็นมะเร็ง บางคนเพิ่งให้คีโมครั้งสุดท้ายไม่กี่เดือนก่อนเริ่มโครงการ แต่พวกเขาแข็งแรงกว่าเราที่เป็นกลุ่มอาสาสมัครอีกค่ะ ซึ่งประโยคเด็ดที่ฝังใจเรามาจนถึงทุกวันนี้ที่พี่คนหนึ่งได้พูดไว้คือ "ใจบันดาลแรง" คนทั่วไปคงเคยได้ยินว่า "แรงบันดาลใจ" ใช่มั้ยคะ แต่สำหรับการแข่งกีฬาระยะไกลเนี่ย "ใจบันดาลแรง" มันต้องคำนี้จริงๆ เพราะถ้าไม่มีใจคือใจไม่เชื่อแล้วว่าฉันจะไปถึงจุดหมายต่อให้แรงเหลือแยะยังไงก็ไปไม่ถึงเพราะถอดใจยอมแพ้ไปซะก่อน แต่เพราะ "ใจ" เชื่อไปแล้วว่าฉันทำได้ ต่อให้เหนื่อยสายตัวแทบขาดเราก็ไปจนถึงเป้าหมายได้ในที่สุด
ภาพวันซ้อมและแข่งจริงค่ะ เราได้ไปแข่งที่กระบี่บรรยากาศดีมากกกกก มั้งเพื่อนๆ โค้ช และทีมงานทุกคนก็ใจดีสุดๆ ทุกครั้งที่เจอกันเลยมีแต่ความสุขค่ะ
ในช่วงที่เข้าโครงการ เราได้ตัดสินสมัครวิ่งในระยะมาราธอนเป็นครั้งแรกในชีวิตค่ะ ซึ่งเราไม่คิดเลยว่ามันจะเร็วขนาดนี้ ถ้าใครมีเพื่อนในวงการวิ่งหรือปั่นจักรยานคงจะรู้จักคำว่า ป้ายยา แปลงมาจากป้ายยาให้เคลิ้มแล้วชิงทรัพย์ แต่ในที่นี้คือป้ายยาให้เคลิ้มแล้วสมัครไปเหนื่อยด้วยกัน🤣 เราก็โดนป้ายยามาค่ะ งานนั้นก็คือ Bangsaen42 (เราเป็นสาวกงานวิ่งถิ่นนี้ไปแล้วค่ะ😁) ซึ่งในช่วงซ้อมมาราธอนเป็นช่วงที่เราย้ายบ้าน(อีกแล้ว) คราวนี้ลงมาอยู่หาดใหญ่บ้านของสามีซึ่งฝนตกทุกวันและตกหนักด้วยค่ะ สามีก็เป็นห่วงไม่อยากให้เราตากฝนเราเลยได้ข้ออ้างในการไม่ซ้อม เราซ้อมได้ไกลสุดที่ 26 กม. แล้วไปลงสนาม
ถึงวันแข่งอากาศร้อนอบอ้าวมากๆ ตั้งแต่ปล่อยตัวจนหมดเวลาไม่มีช่วงไหนที่รู้สึกได้ถึงอากาศเย็นแม้แต่นิดเดียว เมื่ออากาศร้อน+ซ้อมน้อย+วิ่งช้า คิดว่าผลลัพธ์คืออะไรคะ แน่นอนค่ะ เราไม่สามารถเข้าเส้นชัยที่นี่ได้ ถึงแม้ผู้เข้าร่วมถึงสองพันกว่าคนจะมีผลลัพธ์เช่นเดียวกับเรา แต่เราก็เสียใจมากๆ เช่นกันเพราะมันคือโอกาสที่เราจะหลุดพ้นจากความล้มเหลวที่ผูกมัดสมองและหัวใจของเราเอาไว้เสียที เราใช้เวลาเสียใจอยู่หนึ่งวัน(นานมากกก) เพราะว่ามันเป็นความผิดของเราเองที่ไม่ตั้งใจซ้อมตั้งแต่แรก เมื่อคิดได้เราเลยเขียนบทความขึ้นมาเพื่อบรรยายความรู้สึกและข้อคิดในวัยนั้นแล้วลงในกลุ่มและบล็อกของเราเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ของตัวเอง ชื่อบทความคือ บทเรียนจาก DNF อ่านได้ที่นี่ค่ะ
https://jubchaidiary.blogspot.com/2017/11/dnf.html หลังจากวันนั้นเราตัดสินใจที่จะปรับพื้นฐานการวิ่งอย่างจริงจังเพราะอาการบาดเจ็บจากการเพิ่มระยะในการวิ่งระยะไกลทุกๆ ครั้งทำให้เรากลับมาโฟกัสที่ร่างกาย ถ้าร่างกายเราบาดเจ็บเราก็จะทำสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายเอาไว้ไม่ได้ ที่ผ่านมาเราแทบไม่เคยให้ความรักกับตัวเองอย่างจริงจัง เราถึงเอาความคิดแย่ๆ มาทำร้ายตัวเอง และใช้งานเขาไปกับสิ่งที่เรารักแบบฝืนเกินกำลัง เขาเลยทำให้เราผิดหวังเพราะดูแลเขาไม่ดีพอ เราหาข้อมูลค่ะว่าเราต้องปรับอะไรฝึกซ้อมแบบไหนถึงจะบาดเจ็บน้อยที่สุด แล้วเราก็ได้พบกับการวิ่งเท้าเปล่า ซึ่งในบทความที่เราเจอผู้เขียนถึงกับพาดหัวเลยว่าจะไม่มีอาการบาดเจ็บอีกต่อไปถ้าฝึกวิ่งแบบเท้าเปล่า เราฝึกอยู่ประมาณ 3 เดือนก็หยุดฝึกเท้าเปล่า เนื่องจากเวลาไม่พอ เพราะตอนนี้เราได้ตัดสินใจที่จะลงมาราธอนอีกครั้ง
(มีต่อค่ะ)
จากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสู่ Marathon Finisher กับความหมายของคำว่า "วิ่งเปลี่ยนชีวิต"
สืบเนื่องจากกระทู้นี้ของคุณสามี https://ppantip.com/topic/37695243 ทำให้เราได้กำลังใจมาอย่างล้นหลาม วันนี้เลยขอมาเล่าเรื่องของตัวเองให้เพื่อนๆ ที่ป่วยด้วยโรคจิตเวชหรือมีคนใกล้ตัวเป็นผู้ป่วยได้ลองอ่านวิธีที่เราใช้จัดการกับโรคควบคู่ไปกับการรักษาของจิตแพทย์ค่ะ
ขอเท้าความไปไม่ไกลนัก นับตั้งแต่ที่เราเป็นโรคซึมเศร้าอันเนื่องมาจากความเครียดในที่ทำงานและความไม่เข้าใจในครอบครัวจนต้องเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์ตอนนี้เวลาก็ผ่านมา 3 ปีแล้วค่ะ ด้วยความที่ได้คุยกับจิตแพทย์ครั้งแรกก็ครั้งที่เราต้องแอดมิดโรงพยาบาล+สงสารคนข้างๆ ที่ยังไม่พร้อมให้เราจากไป เราเลยเริ่มหาข้อมูลว่านอกจากการกินยาตามที่หมอสั่งเราทำอะไรได้อีกที่จะช่วยให้อาการของเราดีขึ้น แล้วเราก็พบว่า "การออกกำลังกาย" สามารถช่วยได้อีกทางหนึ่งค่ะ ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็เพิ่งซื้อรองเท้าวิ่งมาเพื่อที่จะลดน้ำหนักกันอยู่แล้ว ตอนนี้ก็ได้เวลาใช้มันแล้วค่ะ
เริ่มแรกเราฝึกวิ่งตามตาราง C25K ซึ่งจะหาในเน็ตก็ได้หรือโหลดแอพก็ได้ค่ะ แรกสุกเราเซฟรูปตารางมาก่อน แต่พอรู้ว่ามีแอพก็ใช้แอพแทนเพราะมันแจ้งเตือนด้วยว่าครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้ว ตอนนั้นก็แค่ทำไปเรื่อยๆ ดีกว่าขังตัวเองในห้องไปวันๆ ซึ่งมันก็ทำให้เรารอเวลาตอนเย็นทุกวันที่จะได้ออกไปวิ่งค่ะ ใช้เวลาอยู่สองเดือนก็ทำครบตามตารางค่ะ ก็เลยเพิ่มความยากด้วยการโหลดแอพฝึกวิ่ง 10k มาฝึกต่อ สักพักเราก็เจอโฆษณาในเฟซบุ๊คของงานวิ่งงานหนึ่งกำลังรับสมัครอยู่ จังหวัดนั้นไม่ไกลจากบ้านเราเท่าไหร่และสถานที่จัดงานยังใกล้บ้านเพื่อนเรามากๆ ด้วยค่ะ งานนั้นก็คืองานวิ่งที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดในประเทศอย่าง Bangsaen21 เราสมัครมินิมาราธอนไปค่ะเพราะเป็นระยะที่กำลังฝึกพอดีค่ะ
ก่อนถึงวันงานเราฝึกได้ครบตามตารางค่ะ แต่ด้วยความที่วิ่งช้ามากๆ เราเลยไปได้ไกลสุดที่ 9 กม. แต่ก็ไม่ได้กังวลอะไรก็แค่ไปให้จบก็พอค่ะ วิ่งต่อเนื่องได้อยู่ 4 กม. นอกนั้นก็วิ่งๆ เดินๆ จนเข้าเส้นชัยที่เวลาประมาณ 1:40 ชม. ดีใจมากๆ ค่ะ เพราะเหมือนว่าเราที่ล้มเหลวมาตลอดชีวิตได้มีอะไรที่สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาบ้าง งานก็จัดดีมากๆ จนเราคิดว่างานวิ่งไหนๆ ก็ดีแบบนี้เพราะนั่นเป็นครั้งแรกที่เราลงงานวิ่ง แต่พอไปงานอื่นหลังจากนั้นถึงรู้ว่ามันไม่ใช่ค่ะ 555555 หลังจากนั้นเราก็มีปัญหากับที่บ้านเรื่องโรคของเราจนต้องระหกระเหินย้ายที่อยู่กันทุกปี เราก็วิ่งบ้างหยุดบ้าง เพราะมีอาการบาดเจ็บค่ะ ก็พอดีว่าที่พักตอนนั้นมีสระว่ายน้ำใกล้ๆ เราเลยไปว่ายน้ำค่ะ พอว่ายน้ำแล้วชอบยิ่งกว่าวิ่งเสียอีกเพราะว่าขณะที่ว่ายน้ำเราคิดเรื่องอื่นไม่ได้เลยค่ะ ถึงจะว่ายน้ำได้เพราะเคยเรียนตอนเด็กๆ แต่เราว่ายไม่เก่งและไม่ชอบการสำลักน้ำเอาเสียเลยทำให้ก่อนหน้านี้เราแทบจะไม่ได้ว่ายน้ำเลยค่ะ พอมาว่ายอีกครั้งเราเลยจดจ่อกับมันมากๆ จนลืมคิดเรื่องอื่น ขณะว่ายก็คิดแต่ว่า ตอนนี้หมุนแขนซ้าย ตอนนี้หมุนขวา ตอนนี้พ่นอากาศ ตอนนี้ต้องเอียงหน้าหายใจ พอเผลอคิดเรื่องอื่นเมื่อไหร่มีสำลักทุกทีค่ะ ว่ายน้ำเสร็จถึงจะเหนื่อยแต่ก็สดชื่นมากๆ มันคือกิจกรรมหนึ่งที่เรารู้สึกว่าสมองเราได้พักผ่อนทั้งๆ ที่ตื่นอยู่ ระหว่างนั้นเราก็ซ้อมวิ่งตามโอกาส คือ ถ้าไม่ลงงานวิ่งก็จะไม่ซ้อม ก็พอดีว่าเราตั้งใจจะลงงาน Bangsaen21 อีกเช่นเคย แต่คราวนี้เพิ่มระยะเป็นฮาล์ฟมาราธอน
อย่างที่บอกในย่อหน้าก่อนว่าเราย้ายที่อยู่กันทุกปี เราก็มีอันต้องย้ายคราวนี้ไม่มีสระว่ายน้ำใกล้ๆ ให้เราไปว่ายแล้วค่ะ แถมงานวิ่งที่ลงไว้ก็ใกล้เข้ามา ตอนนี้เราเลยไปโฟกัสที่การวิ่งอีกครั้งเพราะไม่อยากเจ็บแบบครั้งที่ลงมินิมาราธอน แต่จนถึงวันแข่งเราก็ไม่เคยซ้อมจนเกินระยะ 12 กม. เสียที แต่ถึงวันจริงแล้ว เอาไงเอากัน เวลาตั้งเยอะมันคงเข้าเส้นชัยได้แหละแต่สภาพไหนเท่านั้น วันนั้นเราวิ่งยาวจนถึงกม.ที่ 9 ก็เริ่มวิ่งๆ เดินๆ และมาเดินยาวๆ ตอนกม.ที่ 15 เพราะหลังเท้าด้านซ้ายเจ็บจนรับแรงกระแทกจากการวิ่งไม่ไหว(มารู้ทีหลังว่าเป็นเพราะท่าวิ่งและกล้ามเนื้อของขาทั้งสองข้างที่ไม่สมดุลกัน เราเลยมาปรับเรื่องนี้) จนสองกม.สุดท้ายถึงพอวิ่งได้ ก็วิ่งๆ เดินๆ จนเข้าเส้นชัยได้ ในเวลา 3:20 ชม. ดีใจมากและเข็ดมากๆ เพราะเจ็บอีกแล้วจนเราบอกกับเพื่อนว่าจะไม่วิ่งฮาล์ฟละนะ ขอไปปูพื้นฐานใหม่ก่อน เจ็บแต่ละทีเข็ดไปหลายเดือนเลย
แต่ถึงจะมีอาการบาดเจ็บแต่ก็มีข่าวดีเข้ามานะคะ หลังจากวันแข่งขันไม่กี่วันเราต้องไปพบแพทย์ตามนัด และสิ่งที่หมอบอกกับเราก็คือ ไม่ต้องกินยาแล้วนะ ไม่ต้องมาหาหมอแล้วด้วย ขอให้เราไม่ต้องเจอกันที่โรงพยาบาลแบบนี้อีกนะ เป็นคำอวยพรแบบขำๆ ของคุณหมอคนสวยที่ดูแลเรามาเป็นปีค่ะ หลังจากนั้นเราก็ใช้ชีวิตไปตามปกติ กลับมาทำงานประจำอีกครั้ง ออกกำลังกายโดยการเล่นเวทเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ จนวันหนึ่งจุดเปลี่ยนในชีวิตก็มาถึงวันที่เราได้รู้เสียทีว่าสิ่งที่เราต้องการคืออะไร
วันนั้นเราไปเรียนธรรมะค่ะ อาจารย์ท่านก็ถามขึ้นมาว่า "รู้มั้ยว่าคุณมีความสุขที่สุดตอนไหน" เราตอบเอาตามความคิดว่าคงเป็นตอนทำกิจกรรม ออกค่าย(ตอนเรียนเราเป็นเด็กกิจกรรม หาตัวในห้องเรียนไม่เคยเจอ) แต่อาจารย์ท่านตอบกลับมาว่า อาจารย์เห็นรูปตอนที่เราไปวิ่งในงาน รอยยิ้มในรูปนั้นของเรามีความสุขกว่าทุกรูปที่ท่านเห็น และตอกย้ำสิ่งนี้ด้วยการที่พี่คนหนึ่งซึ่งมาเรียนด้วยกันก็พูดประโยคนี้เช่นเดียวกับอาจารย์ มันทำให้เราได้กลับมาคิดพิจารณาค่ะ ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เรารัก และสิ่งที่เราเกิดมาเพื่อที่จะทำมันคืออะไรกันแน่ เพราะในขณะนั้นเราไม่ได้รู้สึกว่าตอนออกกำลังกายคือช่วงที่มีความสุขที่สุด เราแค่รู้สึกว่ามันสนุก เพราะเราไม่มีวินัยดับการออกกำลังกายเท่าไหร่เลยรู้สึกแบบนั้น แต่พอมามีคนมาบอกแบบนี้เราก็คิดย้อนกลับไป ที่ผ่านมาเราก็ออกกำลังกายมากกว่าคนทั่วไปเพราะว่ามันทำให้เรามีความสุขจริงๆ นั่นแหละ ภาพนี้คือภาพที่อาจารย์บอกว่าเห็นเรามีความสุขมากๆ เป็นวิ่งแฟนซีครั้งแรกและครั้งเดียวของเราเลย
หลังจากวันนั้นเราก็คิดถึงสิ่งที่เราอยากทำค่ะ มันมีเรื่องหนึ่งที่ติดอยู่ในใจ คือเราเป็นโรคซึมเศร้าเนี่ย การที่จะเศร้าจนเป็นโรคคือมันต้องถึงขั้นที่ไม่เหลือความภูมิใจอะไรในตัวเองแล้ว เรียกได้ว่า Self-esteem ติดลบก็คงไม่ผิดนัก พอเริ่มวิ่งแล้วมาว่ายน้ำอีกเราก็อยากจะไปให้สุดเลยตั้งเป้าหมายไว้ที่การจบการแข่งขัน Ironman สักครั้งในชีวิต(สำหรับคนที่ไม่รู้จักนะคะ Ironman คือการแข่งขันไตรกีฬาระยะไกลผู้เข้าแข่งขันต้องว่ายน้ำ 3.8 กม. ปั่นจักรยาน 180 กม. และวิ่ง 42.195 กม. ระยะทางทั้งหมดในหน่วยไมล์คือ 140.6 ไมล์ค่ะ) ซึ่งเหมือนธรรมะจัดสรรไว้แล้วเพราะหลังจากที่เราเขียนเป้าหมายนี้ลง Facebook ส่วนตัวไม่นานนัก เราก็ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โครงการของสถาบันมะเร็งแห่งชาตินี้คือโครงการ NCI Tri Team เปลี่ยน สู้ ฟัด เอาชนะมะเร็ง เป็นโครงการที่คัดเลือกนักกีฬาจาก 3 กลุ่ม คือผู้ป่วยมะเร็ง ผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง และอาสาสมัครมาฝึกซ้อมเป็นเวลา 3 เดือนและส่งไปแข่งไตรกีฬา เราได้รับคัดเลือกในกลุ่มอาสาสมัครค่ะ ซึ่งเพื่อนร่วมทีมทุกคนเนี่ยเป็นคนที่สุดยอดมากๆ เลยในความคิดของเรา พี่ๆ ที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยถ้าเขาไม่บอกคุณไม่มีทางรู้เลยค่ะว่าเขาเคยเป็นมะเร็ง บางคนเพิ่งให้คีโมครั้งสุดท้ายไม่กี่เดือนก่อนเริ่มโครงการ แต่พวกเขาแข็งแรงกว่าเราที่เป็นกลุ่มอาสาสมัครอีกค่ะ ซึ่งประโยคเด็ดที่ฝังใจเรามาจนถึงทุกวันนี้ที่พี่คนหนึ่งได้พูดไว้คือ "ใจบันดาลแรง" คนทั่วไปคงเคยได้ยินว่า "แรงบันดาลใจ" ใช่มั้ยคะ แต่สำหรับการแข่งกีฬาระยะไกลเนี่ย "ใจบันดาลแรง" มันต้องคำนี้จริงๆ เพราะถ้าไม่มีใจคือใจไม่เชื่อแล้วว่าฉันจะไปถึงจุดหมายต่อให้แรงเหลือแยะยังไงก็ไปไม่ถึงเพราะถอดใจยอมแพ้ไปซะก่อน แต่เพราะ "ใจ" เชื่อไปแล้วว่าฉันทำได้ ต่อให้เหนื่อยสายตัวแทบขาดเราก็ไปจนถึงเป้าหมายได้ในที่สุด ภาพวันซ้อมและแข่งจริงค่ะ เราได้ไปแข่งที่กระบี่บรรยากาศดีมากกกกก มั้งเพื่อนๆ โค้ช และทีมงานทุกคนก็ใจดีสุดๆ ทุกครั้งที่เจอกันเลยมีแต่ความสุขค่ะ
ในช่วงที่เข้าโครงการ เราได้ตัดสินสมัครวิ่งในระยะมาราธอนเป็นครั้งแรกในชีวิตค่ะ ซึ่งเราไม่คิดเลยว่ามันจะเร็วขนาดนี้ ถ้าใครมีเพื่อนในวงการวิ่งหรือปั่นจักรยานคงจะรู้จักคำว่า ป้ายยา แปลงมาจากป้ายยาให้เคลิ้มแล้วชิงทรัพย์ แต่ในที่นี้คือป้ายยาให้เคลิ้มแล้วสมัครไปเหนื่อยด้วยกัน🤣 เราก็โดนป้ายยามาค่ะ งานนั้นก็คือ Bangsaen42 (เราเป็นสาวกงานวิ่งถิ่นนี้ไปแล้วค่ะ😁) ซึ่งในช่วงซ้อมมาราธอนเป็นช่วงที่เราย้ายบ้าน(อีกแล้ว) คราวนี้ลงมาอยู่หาดใหญ่บ้านของสามีซึ่งฝนตกทุกวันและตกหนักด้วยค่ะ สามีก็เป็นห่วงไม่อยากให้เราตากฝนเราเลยได้ข้ออ้างในการไม่ซ้อม เราซ้อมได้ไกลสุดที่ 26 กม. แล้วไปลงสนาม
ถึงวันแข่งอากาศร้อนอบอ้าวมากๆ ตั้งแต่ปล่อยตัวจนหมดเวลาไม่มีช่วงไหนที่รู้สึกได้ถึงอากาศเย็นแม้แต่นิดเดียว เมื่ออากาศร้อน+ซ้อมน้อย+วิ่งช้า คิดว่าผลลัพธ์คืออะไรคะ แน่นอนค่ะ เราไม่สามารถเข้าเส้นชัยที่นี่ได้ ถึงแม้ผู้เข้าร่วมถึงสองพันกว่าคนจะมีผลลัพธ์เช่นเดียวกับเรา แต่เราก็เสียใจมากๆ เช่นกันเพราะมันคือโอกาสที่เราจะหลุดพ้นจากความล้มเหลวที่ผูกมัดสมองและหัวใจของเราเอาไว้เสียที เราใช้เวลาเสียใจอยู่หนึ่งวัน(นานมากกก) เพราะว่ามันเป็นความผิดของเราเองที่ไม่ตั้งใจซ้อมตั้งแต่แรก เมื่อคิดได้เราเลยเขียนบทความขึ้นมาเพื่อบรรยายความรู้สึกและข้อคิดในวัยนั้นแล้วลงในกลุ่มและบล็อกของเราเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ของตัวเอง ชื่อบทความคือ บทเรียนจาก DNF อ่านได้ที่นี่ค่ะ https://jubchaidiary.blogspot.com/2017/11/dnf.html หลังจากวันนั้นเราตัดสินใจที่จะปรับพื้นฐานการวิ่งอย่างจริงจังเพราะอาการบาดเจ็บจากการเพิ่มระยะในการวิ่งระยะไกลทุกๆ ครั้งทำให้เรากลับมาโฟกัสที่ร่างกาย ถ้าร่างกายเราบาดเจ็บเราก็จะทำสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายเอาไว้ไม่ได้ ที่ผ่านมาเราแทบไม่เคยให้ความรักกับตัวเองอย่างจริงจัง เราถึงเอาความคิดแย่ๆ มาทำร้ายตัวเอง และใช้งานเขาไปกับสิ่งที่เรารักแบบฝืนเกินกำลัง เขาเลยทำให้เราผิดหวังเพราะดูแลเขาไม่ดีพอ เราหาข้อมูลค่ะว่าเราต้องปรับอะไรฝึกซ้อมแบบไหนถึงจะบาดเจ็บน้อยที่สุด แล้วเราก็ได้พบกับการวิ่งเท้าเปล่า ซึ่งในบทความที่เราเจอผู้เขียนถึงกับพาดหัวเลยว่าจะไม่มีอาการบาดเจ็บอีกต่อไปถ้าฝึกวิ่งแบบเท้าเปล่า เราฝึกอยู่ประมาณ 3 เดือนก็หยุดฝึกเท้าเปล่า เนื่องจากเวลาไม่พอ เพราะตอนนี้เราได้ตัดสินใจที่จะลงมาราธอนอีกครั้ง (มีต่อค่ะ)