เนื้อหมู-ไก่ ต้องชมพูเท่าไหน/ย่างสุกเท่าไหร่ถึงจะทานได้

ทานได้ในที่นี้คือปลอดภัยจากพยาธิและเชื้อโรคนะคะ
จขกท.ค่อนข้างจะเป็นคนที่กังวลเรื่องความสุกความสะอาดของอาหารในระดับหนึ่ง หลายทีเหมือนกันที่ไปร้านข้างนอกมาแล้วก็ระแวง ทำอาหารเองก็ไม่มั่นใจจนกลายเป็นกินไม่อร่อยไปเลย

แต่โลกก็เหวี่ยงมาให้อยู่ในประเทศที่คนชอบความฉ่ำ ความชุ่มของเนื้อทุกชนิดมากๆ อาจจะด้วยความที่ฟังมาแต่เด็กว่าเนื้อหมูต้องเป็นสีขาวมาเจอเนื้อไก่แดงๆหมูชมพูเข้มๆแล้วก็มีเครียดๆบ้างเหมือนกัน

วันนี้เลยขออนุญาตถาม จากคนที่ไม่มีความรู้ตรงนี้เลย และทำอาหารก็ได้แค่ในแบบที่ตัวเองคุ้นนะคะ

เนื้อสัตว์ต่างๆ (หมู ไก่ วัว แกะ และอื่นๆ) ในความหนาต่างๆกันและวิธี cook ต่างๆกันนี่ปกติแล้วควรที่จะใช้เวลาทำประมาณกี่นาทีสำหรับการทำวิธีนั้นๆเหรอคะ?

อีกข้อที่อยากถามคือที่จริงได้ลองมีดูกูเกิ้ลมาก่อนแล้วล่ะ แล้วก็พบว่าอย่างเนื้อหมูหลังๆมีการรักษาที่ดีขึ้น ที่ต่างประเทศก็เริ่มกินแบบสีชมพูกันแล้ว เห็นในรายการทำอาหารยังออกปากชมกันว่าหมูสีชมพูสวยมาเลย
แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่าหมูแบบไหนที่จะกินแบบนั้นได้เหรอคะ? หรือว่าหมูส่วนมากในปัจจุบันสามารถกินแบบสีชมพูจัดได้หมดแล้ว

สุดท้ายขอแนบรูปมาด้วย ด้วยความที่ตัวเองแอบทึ่งมาหลายครั้งแล้วกับภาพรายการอาหาร แต่เห็นคนในประเทศก็บอกว่าน่ากิน - อร่อยมากกันปกติก็เลยเกิดสับสนว่าอันที่จริงแล้วระดับความสุกของเนื้อสัตว์ในภาพที่เป็นหมู-ไก่ นี่เรียกว่าสามารถทานได้โดยปลอดภัยหรือเปล่าคะ?







ภาพข้างบนเป็นเมนูทงคัตสึนะคะ คิดว่าทุกคนรู้จักกันดีเปรียบเทียบกันง่าย ตัวเราเองก็กินตั้งแต่เด็กก็คุ้นกับภาพทอดจนเนื้อเป็นสีขาว พอมาอยู่นี่เจออย่างในรูปไปบ้างก็มีอึ้งเหมือนกัน หลายครั้งยอมเล็มๆแล้วเหลือทิ้งไว้พอสมควรเลย
อย่างภาพบนๆสีชมพูจัดนี่อาจจะขออนุญาตยืมรูปของแต่ละร้านมาเพื่อถามเป็นความรู้หน่อยว่าสามารถกินได้โดยปลอดภัยจริงๆเหรอคะ?
ส่วนภาพล่างสุดเป็นสีชมพูแซมมานิดหน่อยแบบที่ตัวเองจะมีโอกาสเจอได้บ่อยที่สุด ก็แอบติดในใจมาตลอดเลยว่าจริงๆแล้วมันปลอดภัยจากพยาธิ และเชื้อโรคต่างๆหรือเปล่าคะ?




แล้วอย่างเนื้อชนิดที่ไม่นิยมนำมาปรุงแบบสุกมาก อย่างวัว-แกะ ที่จริงแล้วด้วยการนำไปคุกในความสุกต่างๆนี่สามารถฆ่าเชื้อและพยาธิได้มากขนาดไหน และเรียกว่าจำเป็นแค่ไหนเหรอคะ เกี่ยวข้องมากแค่ไหนว่าถ้าเรากินเนื้อที่รู้แหล่งที่มาแล้วจะมีความปลอดภัยมากขึ้น



แล้วอย่างในภาพนี้ที่เดี๋ยวนี้ร้านราเมงดีๆทำกันหลายร้าน ที่จริงแล้วพอจะมีคนทราบไหมคะว่าเป็นเนื้ออะไร (นี่ดูไม่เป็นจริงๆ ไม่มีเขียนบอกว่าเป็นชาชูตามปกติด้วย คิดว่าเป็นหมูแต่สีก็ดูสดเกินกว่าจะเคยเห็นคนเอาหมูมาทำเหมือนกัน) และกินในความสุกแบบนี้ได้เลยจริงๆเหรอ ส่วนตัวเห็นครั้งแรกตกใจเลยค่ะ เห็นเป็นเหมือนแกะเนื้อดิบแล้ววางเลย


ก็ขออนุญาตสอบถามจากผู้มีความรู้นะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อความสบายใจส่วนตัวของเราเองนี่แหละ หลายๆอย่างอาจจะเป็นเรื่องรสนิยมความชอบของคนด้วยตรงนี้ก็ขอละเอาไว้เพราะต่อให้ตัวเราหวั่นๆกับเนื้อสีไหนสุกยังไงก็มองว่ามันแค่ความชอบ ไม่ได้มองว่าคนที่ชอบทานต่างไปจากแบบนั้นดีหรือแย่กว่ายังไง แต่ละคนมีการใช้ชีวิตและดูแลตัวเองที่ต่างกันอยู่แล้ว มนุษย์ผักแบบเราอาจจะป่วยบ่อยกว่าเพราะเจอสารพิษตกค้างก็ได้เนอะ เพราะอย่างนั้นเราขออนุญาตให้งดคำว่ากระแดะ เรื่องมาก หรือให้ทำกินอยู่บ้านไปก่อนนะคะ (แต่จริงๆเพราะเริ่มมาสังเกตอาหารที่กินแล้วนี่แหละ หลังๆเลยแทบไม่กินนอกบ้านแบบสบายใจเลยจริงๆค่ะ ยิ่งค่อนข้างรู้ว่าประเทศที่อยู่ตอนนี้ไม่นิยมการฟรีซการเก็บรักษา ฆ่าเชื้อต่างๆหรือแม้แต่เรื่องล้างผักแล้วด้วย)

จริงๆนี่เคยกินปกติแบบไม่ได้สนใจเลยนะคะ 5555 พวกเนื้อวัวต่างๆเมื่อก่อนก็กินแบบมีเดียมได้อยู่เหมือนกันจนมาเจอเหตุการณ์ใกล้ตัว เลยฝังใจกลัวจนระแวงไปเลย ตอนอยู่ไทยส่วนมากก็ปรุงสุกไม่มีปัญหา มาเริ่มสะดุดตอนอยู่ญี่ปุ่นนี่แหละ แต่เราก็ไม่รู้ว่ามันเป็นที่คนญี่ปุ่นที่จากประสบการณ์ของเราก็ไม่ได้ชอบทานของสุกมากจริงๆ หรือว่ามีการควบคุมคุณภาพอะไรที่มากกว่าจนกินได้อย่างปลอดภัยจริงๆ
แต่อันนี้อาจจะเฉพาะบุคคลมากๆ ไม่เรียกร้องว่าคนอื่นต้องมาทำตามนะ แต่ขอถามตามในกระทู้นี้เลยค่ะว่าเนื้อในแต่ละภาพทานได้ปลอดภัยไหม แล้วอาหารควรปรุงสุกนานเท่าไหร่ถึงจะดีอิงตามประสบการณ์ของแต่ละคนก็ได้ค่ะ

(คิดว่าหลายคนคงจะได้เห็นกระทู้จำพวกเนื้อแบบนี้กินได้ไหมต่างๆมาบ้าง ต้องขอโทษด้วยนะคะที่อาจจะตั้งมาซ้ำกับคนอื่นหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่ตัวเราเองพยายามลองหาดูก่อนแล้วยังไม่เจอคำตอบที่ตรงกับที่สงสัยจริงๆเลย เลยขออนุญาตถามมาในกระทู้นี้ค่ะ)

พี่ๆสามารถช่วยแนบรูปภาพมาได้นะคะว่าปกติทำกินที่บ้านเมนูไหนเป็นสีอะไรยังไง ควรคุกนานเท่าไหน คิดว่าสอนน้องคนนี้ทำอาหารก็ได้ค่ะ ยิ้ม

ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับการแสดงความเห็นที่สุภาพและคำแนะนำ ความรู้จากแต่ละท่านนะคะ ยิ้ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่