ไม่ได้ประชดครับ
อยากให้เป็นเช่นนั้นจริงๆ ในเมื่อเคยมีโมเดลค่าแรงวันละ 300 จากพรรคเพื่อไทย คราวที่แล้ว และประสบความสำเร็จด้วย
ทำไมคราวนี้จะทำไม่ได้ล่ะ คาดว่าน่าจะมีคนเห็นด้วยกับนโยบายนี้นับล้านๆ คน
พรรคอนาคตใหม่ บอกจะให้ค่าแรง 450 พรรคอื่นอย่าให้น้อยหน้า
พรรคไหนให้ค่าแรงวันละ 1,000 บาท ผมจะเลือกทันที
เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนครับ
******************************************************************************
http://www.thaipost.net/main/detail/6809
10 เม.ย.61- นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Sustarum Thammaboosadee สรุปประเด็นที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ live คู่กับปีกแรงงานของพรรคและพูดถึงแนวทางด้านการพัฒนาสวัสดิการของพรรคแม้จะไม่ได้พูดนโยบายโดยตรงแต่สามารถตีความว่า เขาและพรรคจะสนับสนุนประเด็นแรงงานที่น่าสนใจดังนี้
1.พรรคจะเสนอว่ารัฐมนตรีแรงงานจะเป็นผู้ใช้แรงงานเอง
2.สนับสนุนการรวมตัวของสหภาพแรงงาน และไม่กีดกันแรงงานข้ามชาติ ในลักษณะสามัคคีกรรมกรข้ามเชื้อชาติ (ก่อนหน้านี้เขาแสดงจุดยืนที่เป็นมิตรกับผู้อพยพด้านมนุษยธรรมเช่นกัน)
3.แม้ไม่ได้พูดโดยตรง แต่ธนาธรระบุว่าถ้ารัฐบาลประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ ' 450บาท/วัน' ก็เป็นไปได้ทุกบริษัทที่ต้องปรับตัว เพื่อให้ชีวิตของผู้ใช้แรงงานดีขึ้น
4.ชีวิตคนผูกติดกับที่ทำงานมากกว่าชุมชนโดยกำเนิด สิ่งจำเป็นคือการให้ผู้ใช้แรงงานเลือกตั้งตามสถานประกอบการ
5.หนี้สินของผู้ใช้แรงงานด้านหนึ่งเกิดจากลูก ที่ต้องรับภาระสูงมาก เขาได้ย้ำข้อเสนอ เงินเลี้ยงดูเด็กเดือนละ 1500/เดือน -จะทำให้เด็กไม่ถูกกักขังบนความโชคร้ายที่เกิดมายากจน
6.การเสนอ แนวคิด Negative Income Tax -เงินคืนภาษีคนรายได้น้อยกว่า 100,000/ปี ได้รับเงินคืนภาษีทันทีเพื่อให้สามารถก้าวพ้นความยากจนได้ สิ่งนี้จะช่วยแรงงานนอกระบบได้ส่วนหนึ่ง และทำให้คนเข้าระบบภาษีเยอะขึ้นง่ายต่อการจัดสวัสดิการต่อไป
7.เสนอที่รับเลี้ยงเด็กในย่านอุตสาหกรรม(และพื้นที่อื่นๆ) ที่ ฟรี และดี เพื่อให้แม่ไม่ต้องออกจากงานมาเลี้ยงลูกและพลาดโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ประเด็นสำคัญคือการย้ำเรื่อง social mobility ทุกคนต้องไม่ถูกขังด้วยความโชคร้ายโดยชาติกำเนิด และมีชะตาชีวิตของตัวเองได้
เราอาจไม่สามารถบอกได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
แต่คงบอกได้ว่าหากประเมินแนวนโยบายตามนี้ นับเป็นทิศทางที่ดีในการพัฒนาสู่พรรคที่เน้นประโยชน์คนส่วนใหญ่ ที่อาจพัฒนาสู่ลักษณะพรรค Labour ภายใต้เจเรมี คอร์บินของอังกฤษในอนาคตก็เป็นได้"
อยากให้พรรคการเมืองที่ต้องการเป็นรัฐบาล ประกาศขึ้นค่าแรงวันละ 1,000 บาท ครับ (โจ หมี)
อยากให้เป็นเช่นนั้นจริงๆ ในเมื่อเคยมีโมเดลค่าแรงวันละ 300 จากพรรคเพื่อไทย คราวที่แล้ว และประสบความสำเร็จด้วย
ทำไมคราวนี้จะทำไม่ได้ล่ะ คาดว่าน่าจะมีคนเห็นด้วยกับนโยบายนี้นับล้านๆ คน
พรรคอนาคตใหม่ บอกจะให้ค่าแรง 450 พรรคอื่นอย่าให้น้อยหน้า
พรรคไหนให้ค่าแรงวันละ 1,000 บาท ผมจะเลือกทันที
เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนครับ
******************************************************************************
http://www.thaipost.net/main/detail/6809
10 เม.ย.61- นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Sustarum Thammaboosadee สรุปประเด็นที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ live คู่กับปีกแรงงานของพรรคและพูดถึงแนวทางด้านการพัฒนาสวัสดิการของพรรคแม้จะไม่ได้พูดนโยบายโดยตรงแต่สามารถตีความว่า เขาและพรรคจะสนับสนุนประเด็นแรงงานที่น่าสนใจดังนี้
1.พรรคจะเสนอว่ารัฐมนตรีแรงงานจะเป็นผู้ใช้แรงงานเอง
2.สนับสนุนการรวมตัวของสหภาพแรงงาน และไม่กีดกันแรงงานข้ามชาติ ในลักษณะสามัคคีกรรมกรข้ามเชื้อชาติ (ก่อนหน้านี้เขาแสดงจุดยืนที่เป็นมิตรกับผู้อพยพด้านมนุษยธรรมเช่นกัน)
3.แม้ไม่ได้พูดโดยตรง แต่ธนาธรระบุว่าถ้ารัฐบาลประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ ' 450บาท/วัน' ก็เป็นไปได้ทุกบริษัทที่ต้องปรับตัว เพื่อให้ชีวิตของผู้ใช้แรงงานดีขึ้น
4.ชีวิตคนผูกติดกับที่ทำงานมากกว่าชุมชนโดยกำเนิด สิ่งจำเป็นคือการให้ผู้ใช้แรงงานเลือกตั้งตามสถานประกอบการ
5.หนี้สินของผู้ใช้แรงงานด้านหนึ่งเกิดจากลูก ที่ต้องรับภาระสูงมาก เขาได้ย้ำข้อเสนอ เงินเลี้ยงดูเด็กเดือนละ 1500/เดือน -จะทำให้เด็กไม่ถูกกักขังบนความโชคร้ายที่เกิดมายากจน
6.การเสนอ แนวคิด Negative Income Tax -เงินคืนภาษีคนรายได้น้อยกว่า 100,000/ปี ได้รับเงินคืนภาษีทันทีเพื่อให้สามารถก้าวพ้นความยากจนได้ สิ่งนี้จะช่วยแรงงานนอกระบบได้ส่วนหนึ่ง และทำให้คนเข้าระบบภาษีเยอะขึ้นง่ายต่อการจัดสวัสดิการต่อไป
7.เสนอที่รับเลี้ยงเด็กในย่านอุตสาหกรรม(และพื้นที่อื่นๆ) ที่ ฟรี และดี เพื่อให้แม่ไม่ต้องออกจากงานมาเลี้ยงลูกและพลาดโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ประเด็นสำคัญคือการย้ำเรื่อง social mobility ทุกคนต้องไม่ถูกขังด้วยความโชคร้ายโดยชาติกำเนิด และมีชะตาชีวิตของตัวเองได้
เราอาจไม่สามารถบอกได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร
แต่คงบอกได้ว่าหากประเมินแนวนโยบายตามนี้ นับเป็นทิศทางที่ดีในการพัฒนาสู่พรรคที่เน้นประโยชน์คนส่วนใหญ่ ที่อาจพัฒนาสู่ลักษณะพรรค Labour ภายใต้เจเรมี คอร์บินของอังกฤษในอนาคตก็เป็นได้"