เต๋าเต็กเก็ง บทที่๓ การปกครองของปราชญ์
มิได้ยกย่องคนฉลาด ประชาราษฎร์ก็จะไม่แก่งแย่งชิงดี
มิได้ให้คุณค่าแก่สิ่งของที่หายาก ประชาราษฎรก็จะไม่ลักขโมย
ขจัดตัวตนแห่งความอยาก ดวงใจของประชาราษฎร์ก็จะบริสุทธิ์
ดังนั้นปราชญ์ย่อมปกครองโดยทำให้ดวงใจของประชาราษฏร์
ว่าง สะอาด บำรุงเลี้ยงให้อิ่มหนำ ตัดทอนความทะยานอยาก เสริมสุขภาพแห่งร่างกาย
ความคิดและความปราถนาของประชาราษฎร์ก็จะถูกชำระล้างให้บริสุทธิ์
คนฉ้อฉลก็มิอาจหาญเข้ากระทำการทุจริต
ปราชญ์ย่อมปกครอง โดยการไม่ปกครอง
ดังนี้ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็จะถูกปกครอง และดำเนินไปอย่างมีระเบียบ ฯ
..................
"มิได้ยกย่องคนฉลาด ประชาราษฎร์ก็จะไม่แก่งแย่งชิงดี"
การให้คุณค่าแก่สิ่งที่พิเศษและสำคัญว่ามีความเป็นเลิศกว่าส่วนอื่นๆ ทั่วไป
เพื่อบ่งชี้ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งธรรมดาหรือเป็นสิ่งสามัญที่สามารถพบได้ทั่วไป
ข้อนี้แหละที่เป็นลักษณะของการยกย่อง ซึ่งคล้ายลักษณะการเชิดชูไว้เหนือส่วนอื่นๆ
ผมมองว่ามันเป็นปทัสถานทางสังคมอย่างหนึ่งที่ทุกคนสร้างขึ้นและมีความเชื่อร่วมกัน
เราสามารถเปรียบเทียบและระบุว่าสิ่งใหนมีคุณค่ามากกว่าหรือดีกว่าได้โดยปทัสถานนี้
คนดี คนเก่งและคนฉลาด ต่างก็เป็นคำยกย่องที่เกิดขึ้นอยู่จริงในทุกสังคม
ผู้ได้รับการยกย่องย่อมเกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าของตัวเองตามวิสัยปกติธรรมดา
แต่ท่านเล่าจื้อกลับมองว่าการยกย่องเหล่านี้ล้วนเป็นค่านิยมโดยสมมติ
และจะทำให้ผู้คนในสังคมเริ่มแก่งแย่งความดีเด่นดังกัน
ก็เพราะทุกๆคนล้วนอยากเป็นผู้มีปัญญาหรืออยากเป็นคนเก่งในสังคมของตน
แล้วต่อจากนั้นพวกเขาก็จะมุ่งสร้างตนและละเลยต่อความเป็นส่วนรวมของสังคมไป
ผมว่าในจุดนี้เราควรพิจรณาให้ละเอียดอย่างสุขุมรอบคอบโดยมองต่อความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา
เพื่อทำความเข้าใจว่าท่านเล่าจื้อพูดได้ถูกต้องหรือไม่และถูกต้องในแง่ใด
และอันที่จริงแล้วผมก็อยากจะอธิบายกับท่านผู้อ่านไปตรงๆว่า
แท้จริงแล้วคำว่า"คนฉลาด" ในบทที่๓นี้นั้นถือเป็นเรื่องทางสังคมโลก
หรือที่เราชาวพุทธเรียกกันว่าโลกธรรมนั่นเอง
ความต้องการของตัวเราเอง ความต้องการของสังคม ก็มักขึ้นอยู่กับทัศนคติโดยรวมของสังคม
คนดี คนเก่ง คนฉลาด หรือคนรวย เองก็เช่นกัน
ทั้งหมดล้วนเกิดจากการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลซึ่งเราไม่ควรไปยึดมั่น
ดังที่ท่านฮวงโปเคยกล่าวว่า "แม้มีพระพุทธเจ้าเดินมาในหมู่พวกเราท่านก็มิใช่คนพิเศษ"
ในสายตาของผู้รู้ธรรมย่อมมองเห็นความเป็นธรรมดาสามัญและการสมมติได้
แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นการลบล้างความดีงามที่ท่านมีอยู่แต่อย่างใด
ด้วยทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการกล่อมเกลาทัศนคติและความเชื่อทางสังคมของเรา
และที่มาของปัญหาสังคมอาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีคนอยากเป็นคนพิเศษ
"มิได้ให้คุณค่าแก่สิ่งของที่หายาก ประชาราษฎร์ก็จะไม่ลักขโมย"
เพชรหรือไข่มุกต่างก็เป็นสิ่งที่หาได้ยากทั้งยังมีสีสรรค์สวยงามแปลกตา
เป็นสิ่งที่น้อยคนจะมีไว้ครอบครอง
และถือเป็นสิ่งของที่หายากและคนทั่วๆไปต่างก็ยกย่องว่าเป็นสิ่งพิเศษที่มีค่ามาก
มันสามารถแสดงออกถึงฐานะที่มั่งคั่งร่ำรวยของผู้ที่มีไว้ในครอบครองได้เลยทีเดียว
ของที่หายากและมีค่าจึงไม่ใช่สิ่งธรรมดา สร้างความหรูหราไม่ใช่เรียบง่าย และไม่ใช่ความเป็นสามัญ
มีความจริงอยู่อย่างหนึ่งที่เราสามารถจะเห็นได้ในสังคมของเราก็คือ
คนเราต่างต้องการยกฐานะตัวเองให้สูงเด่นและมีสง่าราศรีในวงสังคมเท่าที่ตัวเองพอจะทำได้
ความทะยานอยากนี้มีอยู่แต่เดิมในใจของทุกผู้คน
สิ่งใดที่เราคิดว่ามีคุณค่าหรือมีความหมายเราก็จะพยายามหามาครอบครองเป็นของตน
ในทัศนะของผมๆ มองว่าของพิเศษก็เช่นเดียวกันกับคนพิเศษ
ที่ต่างล้วนเป็นการปรุงแต่งสมมติบัญญัติโดยการเปรียบเทียบและเทียบเคียงกัน
กับสิ่งเดียวกันหรือกับสิ่งอื่นๆ
จากนั้นคนเราก็จะสร้างทัศนคติหรือความเชื่อต่อสิ่งนั้นออกมาชุดหนึ่งและยึดถือตามกัน
ในทางตรงกันข้ามหากเรามองของหายากด้วยความว่างในคุณค่าตามค่านิยม
หรือมองโดยเห็นเป็นเพียงสิ่งของธรรมดาสามัญเช่นเดียวกันกับของอื่นๆ
มันก็จะไม่สามารถล่อตาล่อใจเราได้เลยและเราอาจได้ทำความเข้าใจอีกต่อไปว่า
ที่เรียกว่าไข่มุกหรือเพชรนั้นแท้จริงแล้วเป็นสิ่งสมมติอย่างไร
แต่หากใจเราคิดไปว่าสิ่งใหนมีคุณค่าและมีความหมายตามสังคมโลกทั่วๆไปนิยามไว้
มันก็จะเริ่มแปรเปลี่ยนเป็นความอยาก แล้วใจก็จะเริ่มคิดหาทางเอามาครอบครอง
หากหามาไม่ได้ด้วยวิธีการซื่อๆ ก็จะใช้วิธีการทุจริตหามา
เพราะมันหมายถึงฐานะความเป็นอยู่ทางสังคมและเป็นสิ่งที่ต้องแข่งขันกับผู้อื่นด้วย
สิ่งของที่หายากจึงอาจเป็นปัญหาทางสังคมขึ้นมาได้
เพราะสิ่งของหายากมักเป็นทรัพย์สินที่ผู้คนตีราคาเอาไว้สูง
ดังนั้นการเลิกให้คุณค่าแก่สิ่งของหายากมันจึงดูเหมือนการสร้างสังคมที่เอื้อเฟื้อต่อกัน
ไม่แข่งขันกันร่ำรวยหรือชิงดีชิงเด่นกัน
เพราะเมื่อมีแต่สิ่งธรรมดาไม่มีอะไรพิเศษและทุกๆอย่างต่างก็เป็นสิ่งสามัญ
สังคมก็จะดำเนินไปอย่างเรียบง่ายและเป็นปกติ
เนื่องจากไม่มีอะไรมาล่อตาล่อใจของใครๆได้ การลักขโมยจึงไม่มี
"ขจัดตัวตนแห่งความอยาก ดวงใจของประชาราษฎร์ก็จะบริสุทธิ์"
ใจคนเราหากไม่ได้ศึกษาตัวมันเอง มันก็จะคอยมองหาแต่สิ่งอื่นภายนอกมาเติมเต็ม
เพื่อหมายความสุขที่มั่นคง
และเมื่อมีความต้องการว่าอย่างไรก็ต้องไปหามาสนองความต้องการนั้น
อันนี้คือลักษณะของความทะยานอยากของคนเรา
คนเราโดยมากมักจะเข้าใจไปว่า"ความมี-ความเป็น" นั้นคือความเพรียบพร้อมของเขา
แต่ผมไม่ได้กำลังบอกว่าการมีและการหาปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ผิด
เพราะผมจะตำหนิก็แต่ผู้ที่หาสิ่งต่างๆมาและเก็บสั่งสมไว้จนเกินความจำเป็นเท่านั้น
โดยเฉพาะการมีไว้เพื่อแสดงฐานะที่มั่นคงของตนต่อสังคมโลก
ความต้องการที่อยากมีทรัพย์และมีหน้ามีตานี้ ถือเป็นสองอย่างที่คนทั่วไปอยากมีกัน
และเมื่อทัศนคติของสังคมโดยรวมเป็นอย่างนั้น ผู้คนในสังคมจึงต้องแสวงหาทรัพย์มาให้มากๆ
และไม่อาจจะล่วงรู้ได้เลยว่ามากเท่าไรพวกเขาจึงจะพอและหยุด
ข้อนี้นี่เองที่ผมเฝ้าคิดมาตลอดหลังจากศึกษาธรรมะว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมนี้
เกิดความขาดแคลนและความยากจนขึ้นมา
มีคนมากมายที่ต่างก็มัวเมาในการครอบครองและการเสพกำซาบ
พวกเขากดขี่กัน เอาเปรียบกัน แข่งขันกัน แก่งแย่งกัน ทุจริตต่อกัน และก็ประทุษร้ายต่อกัน
ท่านอ.พุทธทาสเคยกล่าวไว้ว่า"การมีชีวิตที่ถูกต้องก็คือการใช้ชีวิตอย่างสามัญและเรียบง่าย "
ถ้าคนเราสามารถรู้จักชีวิตอย่างนี้เขาย่อมสามารถมองเห็นความอุดมสมบูรณ์ของมนุษยชาติได้
แล้วเขาจะรู้จักการให้ได้โดยธรรมชาติด้วย
ท่านเล่าจื้อหวังจะชำระจิตใจของผู้คนด้วยการให้การศึกษา
เพื่อให้ผู้คนได้ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า
ความยินดีในเกียรติยศและทรัพย์สินนั้นนับเป็นความหลงใหลด้วยความมืดบอด
และเป็นความเชื่อที่สังคมสมมติสร้างขึ้นมาอย่างโง่เขลา ไม่ควรวางใจ
มันไม่ควรดึงดูดใจเราให้เห็นคุณค่าต่องสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเกินความจำเป็น
และสิ่งที่มีค่ากว่านั้นก็คือสติปัญญาที่สามารถมองเห็นความว่างเปล่าของค่านิยมนั้นๆได้
หากเราสามารถดับกิเลสตัณหากันได้มากเท่าไรแล้ว
ความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางจิตใจและทางโลกก็จะมีพรั่งพร้อมมากขึ้นเท่านั้น
แต่ในตอนนี้คนเราไม่ได้คิดอย่างนั้นและไม่ได้เห็นว่าเมื่อหยุดการค้นหา
ความอุดมสมบูรณ์จึงเกิดมีขึ้นมาได้
"ดังนั้นปราชญ์ย่อมปกครองโดยทำให้ดวงใจของประชาราษฎร์ ว่าง สะอาด
บำรุงเลี้ยงดูให้อิ่มหนำ ตัดตอนความทะยานอยาก เสริมสุขภาพแห่งร่างกาย
ความคิดและความปราถนาของประชาราษฎร์ก็จะถูกชำระล้างให้บริสุทธิ์ "
จากการศึกษาตำราเล่มนี้โดยเริ่มต้นจากบทที่๑และศึกษาเรื่อยมาจนถึงบทที่๓นี้
หากเรารู้จักสังเกตุก็จะพบว่าท่านเล่าจื้อนั้นเป็นผู้ที่เทศนามีเหตุผลและเป็นลำดับ
เหมือนท่านกำลังค่อยๆให้การศึกษาแก่ผู้ที่ศึกษาตำราเล่มนี้อยู่ทีละน้อย
เพราะเนื้อหาสาระตั้งแต่ต้นมาจนถึงตอนนี้นั้นมีใจความที่สนับสนุนกันอยู่
อย่างในบทแรกนั้นมันเปรียบเหมือนเป็นคำนำของตำราเล่มนี้
ซึ่งบอกว่ากำลังจะอธิบายอะไรและมีความสำคัญอย่างไร
และจากนั้นท่านก็เริ่มพาผู้ที่สนใจเดินทางไปเพื่อทำความเข้าใจในสิ่งนั้นให้มากขึ้นๆ
ดังในบทก่อนหน้านี้ที่ท่านอธิบายว่าสิ่งต่างๆอุบัติขึ้นมาเพราะการเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบทำให้เกิดขึ้นซึ่งปทัสถานทางสังคมต่อสิ่งต่างๆอย่างสมมติ
ทำให้คนเราเกิดความเห็นต่อสิ่งต่างๆและให้คุณค่าแก่สิ่งต่างๆไม่เท่ากัน
อันเป็นการตัดสินด้วยความสามารถในการรับรู้ของตน
ในบทต่อมาท่านชี้ให้เห็นว่าการไม่ยกย่องคนฉลาดและของหายากนั้นมีประโยชน์อย่างไร
ถึงแม้การสมมติจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นในทุกวงสังคม
แต่การขาดความตระหนักรู้ต่อการสมมติขึ้นซึ่งรูปธรรมและนามธรรมในตน
นับเป็นกระบวนการทางการเรียนรู้ที่ขาดสติปัญญาประกอบแล้วสุดท้ายเราก็จะหลงทางไป
แต่หากเราสามารถรู้เท่าทันได้ เราก็จะเห็นว่าทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสามัญ
มีความเสมอภาค และเห็นความว่างในสรรพสิ่งได้
การได้รับการศึกษาเช่นนี้ก็เท่ากับว่าเป็นการชำระจิตใจให้ผู้นั้นกลับว่างและสอาดขึ้นมาได้
และดังที่กล่าวมาแล้วว่าเมื่อคนเรามองเห็นความเป็นธรรมดาและสามัญในสรรพสิ่ง
เขาก็ย่อมที่จะไม่ยินดียินร้ายร้ายต่อทุกๆอย่างที่เข้ามาล่อตาล่อใจของเขา
ความทะยานอยากของเขาจึงได้ชื่อว่าถูกตัดทอนแล้ว
เมื่อคนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาเช่นนี้
พวกเขาก็จะไม่เฝ้าคิดแต่มุ่งสร้างตัวหรือสร้างฐานะที่มั่นคงเพื่อการมีชีวิตที่ดีของพวกเขา
การดิ้นรนแข่งขันกันก็อาจเเปรเปลี่ยนเป็นการเอื้อเฟื้อต่อกันได้
และยังมีความจริงอยู่ประการหนึ่งก็คือ จิตใจที่ผ่องใสนั้นย่อมเป็นสิ่งที่เปี่ยมด้วยมิตรไมตรี
จะคิดอ่านประการใดก็จะมีความซื่อตรงไม่ซับซ้อน และจะไม่ทุจริตต่อกัน
"คนฉ้อฉลก็มิบังอาจหาญเข้ากระทำการทุจริต"
ใจความของประโยคนี้ย่อมต้องสอดคล้องกับใจความที่อธิบายมาแล้วของประโยคก่อนหน้านี้
เมื่อพวกเขามีจิตใจที่บรุสุทธิ์ขึ้นความทะยานอยากก็ลดน้อยลง
และความต้องการในการสะสมความมั่งคั่งที่ลดน้อยลงทำให้ความยึดมั่นในตัวตนของตนก็ลดลงตามไป
ความคิดความอ่านในทางทุจริตและประทุษร้ายต่อกันก็ย่อมต้องลดน้อยลงไปด้วย
คำว่า"คนฉ้อฉล " นี้ในบางทีเราก็จำเป็นต้องย้อนมามองดูตัวเองด้วยเหมือนกัน
เพราะความอยากเกิดที่ใจคนฉ้อฉลจึงเกิดขึ้นที่ใจด้วย และย่อมมีได้ในใจของทุกๆคน
แต่เมื่อได้รับการศึกษาและมองโลกด้วยความว่างและเป็นสามัญมากขึ้นแล้ว
คนผู้นั้นย่อมปราถนาชีวิตที่เรียบง่าย
ความคิดคดโกงหรือทุจริตของเขาก็ย่อมถูกชำระล้างออกไป
"ปราชญ์ย่อมปกครองโดยการไม่ปกครอง
ดังนี้ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็จะถูกปกครองและดำเนินไปอย่างมีระเบียบ "
การปกครองที่ดีคือการรู้จักปกครองใจของคน
แต่การปกครองเช่นนี้เราไม่จำเป็นต้องใช้กำลังหรือใช้วิธีการจัดการใดๆเลย
ที่เราต้องทำคือให้สติปัญญาแก่ผู้คน และให้เขารู้เท่าทันกิเลสตัณหาของตัวเขาเอง
จากนั้นทุกคนก็จะปกครองรักษาใจของตัวเองและทำให้ความชั่วในสังคมไม่มีปรากฏออกมา
สังคมจะไม่สร้างสิ่งชักจูงใจขึ้นมาล่อลวงใครๆ
และจะสร้างแต่ความยินดีในชีวิตที่เรียบง่ายและพอเพียง
ธรรมะที่เผยแพร่สู่สังคมนี้ก็เพื่อขจัดตัวตนอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นและความอยาก
เพื่อช่วยทำให้ใจของประชาราษฎร์สอาด มีอิสระจากการสมมติค่านิยม
ทำให้ไม่ต้องดิ้นรนแข่งขันกันในวงสังคมเพื่อครอบครองทรัพย์หรือมีหน้ามีตาที่สูงกว่าผู้อื่น
เพราะพวกเขาจะไม่เฝ้าปรุงแต่งว่าตัวเองมีอย่างนี้หรือเป็นอย่างนั้น
ตามที่สังคมภายนอกบ่งชี้ว่าเป็นตัวตนของเขา
จิตใจประชารษฎร์ก็สงบปลอดโปล่ง มีดุลยถาพ และมีระเบียบไม่วุ่นวาย
ระเบียบชนิดนี้เราไม่จำเป็นต้องยกร่างขึ้นมาเป็นข้อๆอย่างระเบียบการทั่วไป
แต่มันเกิดขึ้นได้จากการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มีความเคารพต่อกัน
หรือมีความรักความผูกพันต่อกันอย่างซื่อตรง ไม่คิดชิงดีชิงเด่นกัน
การปฏิบัติต่อกันอย่างถูกต้องก็มีขึ้นได้เองตามธรรมชาติ
ซึ่งหากเราต้องการที่จะมองเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ นั้น
ผมคิดว่าเราอาจจะต้องจิตนาการถึงวิถีชาวบ้านที่เรียบง่ายแต่มีสติปัญญาไม่ยินดีในโลกธรรม
ตามทัศนะของผมมันคงมีลักษณะเช่นนั้น
[img]
https://f.ptcdn.info/855/056/000/p6eiw1aav69SbpLpxyH-
เสวนาเกี่ยวกับปรัชญาเต๋าเต๋อจิงบทที่๓ การปกครองของปราชญ์
มิได้ยกย่องคนฉลาด ประชาราษฎร์ก็จะไม่แก่งแย่งชิงดี
มิได้ให้คุณค่าแก่สิ่งของที่หายาก ประชาราษฎรก็จะไม่ลักขโมย
ขจัดตัวตนแห่งความอยาก ดวงใจของประชาราษฎร์ก็จะบริสุทธิ์
ดังนั้นปราชญ์ย่อมปกครองโดยทำให้ดวงใจของประชาราษฏร์
ว่าง สะอาด บำรุงเลี้ยงให้อิ่มหนำ ตัดทอนความทะยานอยาก เสริมสุขภาพแห่งร่างกาย
ความคิดและความปราถนาของประชาราษฎร์ก็จะถูกชำระล้างให้บริสุทธิ์
คนฉ้อฉลก็มิอาจหาญเข้ากระทำการทุจริต
ปราชญ์ย่อมปกครอง โดยการไม่ปกครอง
ดังนี้ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็จะถูกปกครอง และดำเนินไปอย่างมีระเบียบ ฯ
..................
"มิได้ยกย่องคนฉลาด ประชาราษฎร์ก็จะไม่แก่งแย่งชิงดี"
การให้คุณค่าแก่สิ่งที่พิเศษและสำคัญว่ามีความเป็นเลิศกว่าส่วนอื่นๆ ทั่วไป
เพื่อบ่งชี้ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งธรรมดาหรือเป็นสิ่งสามัญที่สามารถพบได้ทั่วไป
ข้อนี้แหละที่เป็นลักษณะของการยกย่อง ซึ่งคล้ายลักษณะการเชิดชูไว้เหนือส่วนอื่นๆ
ผมมองว่ามันเป็นปทัสถานทางสังคมอย่างหนึ่งที่ทุกคนสร้างขึ้นและมีความเชื่อร่วมกัน
เราสามารถเปรียบเทียบและระบุว่าสิ่งใหนมีคุณค่ามากกว่าหรือดีกว่าได้โดยปทัสถานนี้
คนดี คนเก่งและคนฉลาด ต่างก็เป็นคำยกย่องที่เกิดขึ้นอยู่จริงในทุกสังคม
ผู้ได้รับการยกย่องย่อมเกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าของตัวเองตามวิสัยปกติธรรมดา
แต่ท่านเล่าจื้อกลับมองว่าการยกย่องเหล่านี้ล้วนเป็นค่านิยมโดยสมมติ
และจะทำให้ผู้คนในสังคมเริ่มแก่งแย่งความดีเด่นดังกัน
ก็เพราะทุกๆคนล้วนอยากเป็นผู้มีปัญญาหรืออยากเป็นคนเก่งในสังคมของตน
แล้วต่อจากนั้นพวกเขาก็จะมุ่งสร้างตนและละเลยต่อความเป็นส่วนรวมของสังคมไป
ผมว่าในจุดนี้เราควรพิจรณาให้ละเอียดอย่างสุขุมรอบคอบโดยมองต่อความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา
เพื่อทำความเข้าใจว่าท่านเล่าจื้อพูดได้ถูกต้องหรือไม่และถูกต้องในแง่ใด
และอันที่จริงแล้วผมก็อยากจะอธิบายกับท่านผู้อ่านไปตรงๆว่า
แท้จริงแล้วคำว่า"คนฉลาด" ในบทที่๓นี้นั้นถือเป็นเรื่องทางสังคมโลก
หรือที่เราชาวพุทธเรียกกันว่าโลกธรรมนั่นเอง
ความต้องการของตัวเราเอง ความต้องการของสังคม ก็มักขึ้นอยู่กับทัศนคติโดยรวมของสังคม
คนดี คนเก่ง คนฉลาด หรือคนรวย เองก็เช่นกัน
ทั้งหมดล้วนเกิดจากการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลซึ่งเราไม่ควรไปยึดมั่น
ดังที่ท่านฮวงโปเคยกล่าวว่า "แม้มีพระพุทธเจ้าเดินมาในหมู่พวกเราท่านก็มิใช่คนพิเศษ"
ในสายตาของผู้รู้ธรรมย่อมมองเห็นความเป็นธรรมดาสามัญและการสมมติได้
แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นการลบล้างความดีงามที่ท่านมีอยู่แต่อย่างใด
ด้วยทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการกล่อมเกลาทัศนคติและความเชื่อทางสังคมของเรา
และที่มาของปัญหาสังคมอาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีคนอยากเป็นคนพิเศษ
"มิได้ให้คุณค่าแก่สิ่งของที่หายาก ประชาราษฎร์ก็จะไม่ลักขโมย"
เพชรหรือไข่มุกต่างก็เป็นสิ่งที่หาได้ยากทั้งยังมีสีสรรค์สวยงามแปลกตา
เป็นสิ่งที่น้อยคนจะมีไว้ครอบครอง
และถือเป็นสิ่งของที่หายากและคนทั่วๆไปต่างก็ยกย่องว่าเป็นสิ่งพิเศษที่มีค่ามาก
มันสามารถแสดงออกถึงฐานะที่มั่งคั่งร่ำรวยของผู้ที่มีไว้ในครอบครองได้เลยทีเดียว
ของที่หายากและมีค่าจึงไม่ใช่สิ่งธรรมดา สร้างความหรูหราไม่ใช่เรียบง่าย และไม่ใช่ความเป็นสามัญ
มีความจริงอยู่อย่างหนึ่งที่เราสามารถจะเห็นได้ในสังคมของเราก็คือ
คนเราต่างต้องการยกฐานะตัวเองให้สูงเด่นและมีสง่าราศรีในวงสังคมเท่าที่ตัวเองพอจะทำได้
ความทะยานอยากนี้มีอยู่แต่เดิมในใจของทุกผู้คน
สิ่งใดที่เราคิดว่ามีคุณค่าหรือมีความหมายเราก็จะพยายามหามาครอบครองเป็นของตน
ในทัศนะของผมๆ มองว่าของพิเศษก็เช่นเดียวกันกับคนพิเศษ
ที่ต่างล้วนเป็นการปรุงแต่งสมมติบัญญัติโดยการเปรียบเทียบและเทียบเคียงกัน
กับสิ่งเดียวกันหรือกับสิ่งอื่นๆ
จากนั้นคนเราก็จะสร้างทัศนคติหรือความเชื่อต่อสิ่งนั้นออกมาชุดหนึ่งและยึดถือตามกัน
ในทางตรงกันข้ามหากเรามองของหายากด้วยความว่างในคุณค่าตามค่านิยม
หรือมองโดยเห็นเป็นเพียงสิ่งของธรรมดาสามัญเช่นเดียวกันกับของอื่นๆ
มันก็จะไม่สามารถล่อตาล่อใจเราได้เลยและเราอาจได้ทำความเข้าใจอีกต่อไปว่า
ที่เรียกว่าไข่มุกหรือเพชรนั้นแท้จริงแล้วเป็นสิ่งสมมติอย่างไร
แต่หากใจเราคิดไปว่าสิ่งใหนมีคุณค่าและมีความหมายตามสังคมโลกทั่วๆไปนิยามไว้
มันก็จะเริ่มแปรเปลี่ยนเป็นความอยาก แล้วใจก็จะเริ่มคิดหาทางเอามาครอบครอง
หากหามาไม่ได้ด้วยวิธีการซื่อๆ ก็จะใช้วิธีการทุจริตหามา
เพราะมันหมายถึงฐานะความเป็นอยู่ทางสังคมและเป็นสิ่งที่ต้องแข่งขันกับผู้อื่นด้วย
สิ่งของที่หายากจึงอาจเป็นปัญหาทางสังคมขึ้นมาได้
เพราะสิ่งของหายากมักเป็นทรัพย์สินที่ผู้คนตีราคาเอาไว้สูง
ดังนั้นการเลิกให้คุณค่าแก่สิ่งของหายากมันจึงดูเหมือนการสร้างสังคมที่เอื้อเฟื้อต่อกัน
ไม่แข่งขันกันร่ำรวยหรือชิงดีชิงเด่นกัน
เพราะเมื่อมีแต่สิ่งธรรมดาไม่มีอะไรพิเศษและทุกๆอย่างต่างก็เป็นสิ่งสามัญ
สังคมก็จะดำเนินไปอย่างเรียบง่ายและเป็นปกติ
เนื่องจากไม่มีอะไรมาล่อตาล่อใจของใครๆได้ การลักขโมยจึงไม่มี
"ขจัดตัวตนแห่งความอยาก ดวงใจของประชาราษฎร์ก็จะบริสุทธิ์"
ใจคนเราหากไม่ได้ศึกษาตัวมันเอง มันก็จะคอยมองหาแต่สิ่งอื่นภายนอกมาเติมเต็ม
เพื่อหมายความสุขที่มั่นคง
และเมื่อมีความต้องการว่าอย่างไรก็ต้องไปหามาสนองความต้องการนั้น
อันนี้คือลักษณะของความทะยานอยากของคนเรา
คนเราโดยมากมักจะเข้าใจไปว่า"ความมี-ความเป็น" นั้นคือความเพรียบพร้อมของเขา
แต่ผมไม่ได้กำลังบอกว่าการมีและการหาปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ผิด
เพราะผมจะตำหนิก็แต่ผู้ที่หาสิ่งต่างๆมาและเก็บสั่งสมไว้จนเกินความจำเป็นเท่านั้น
โดยเฉพาะการมีไว้เพื่อแสดงฐานะที่มั่นคงของตนต่อสังคมโลก
ความต้องการที่อยากมีทรัพย์และมีหน้ามีตานี้ ถือเป็นสองอย่างที่คนทั่วไปอยากมีกัน
และเมื่อทัศนคติของสังคมโดยรวมเป็นอย่างนั้น ผู้คนในสังคมจึงต้องแสวงหาทรัพย์มาให้มากๆ
และไม่อาจจะล่วงรู้ได้เลยว่ามากเท่าไรพวกเขาจึงจะพอและหยุด
ข้อนี้นี่เองที่ผมเฝ้าคิดมาตลอดหลังจากศึกษาธรรมะว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมนี้
เกิดความขาดแคลนและความยากจนขึ้นมา
มีคนมากมายที่ต่างก็มัวเมาในการครอบครองและการเสพกำซาบ
พวกเขากดขี่กัน เอาเปรียบกัน แข่งขันกัน แก่งแย่งกัน ทุจริตต่อกัน และก็ประทุษร้ายต่อกัน
ท่านอ.พุทธทาสเคยกล่าวไว้ว่า"การมีชีวิตที่ถูกต้องก็คือการใช้ชีวิตอย่างสามัญและเรียบง่าย "
ถ้าคนเราสามารถรู้จักชีวิตอย่างนี้เขาย่อมสามารถมองเห็นความอุดมสมบูรณ์ของมนุษยชาติได้
แล้วเขาจะรู้จักการให้ได้โดยธรรมชาติด้วย
ท่านเล่าจื้อหวังจะชำระจิตใจของผู้คนด้วยการให้การศึกษา
เพื่อให้ผู้คนได้ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า
ความยินดีในเกียรติยศและทรัพย์สินนั้นนับเป็นความหลงใหลด้วยความมืดบอด
และเป็นความเชื่อที่สังคมสมมติสร้างขึ้นมาอย่างโง่เขลา ไม่ควรวางใจ
มันไม่ควรดึงดูดใจเราให้เห็นคุณค่าต่องสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเกินความจำเป็น
และสิ่งที่มีค่ากว่านั้นก็คือสติปัญญาที่สามารถมองเห็นความว่างเปล่าของค่านิยมนั้นๆได้
หากเราสามารถดับกิเลสตัณหากันได้มากเท่าไรแล้ว
ความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางจิตใจและทางโลกก็จะมีพรั่งพร้อมมากขึ้นเท่านั้น
แต่ในตอนนี้คนเราไม่ได้คิดอย่างนั้นและไม่ได้เห็นว่าเมื่อหยุดการค้นหา
ความอุดมสมบูรณ์จึงเกิดมีขึ้นมาได้
"ดังนั้นปราชญ์ย่อมปกครองโดยทำให้ดวงใจของประชาราษฎร์ ว่าง สะอาด
บำรุงเลี้ยงดูให้อิ่มหนำ ตัดตอนความทะยานอยาก เสริมสุขภาพแห่งร่างกาย
ความคิดและความปราถนาของประชาราษฎร์ก็จะถูกชำระล้างให้บริสุทธิ์ "
จากการศึกษาตำราเล่มนี้โดยเริ่มต้นจากบทที่๑และศึกษาเรื่อยมาจนถึงบทที่๓นี้
หากเรารู้จักสังเกตุก็จะพบว่าท่านเล่าจื้อนั้นเป็นผู้ที่เทศนามีเหตุผลและเป็นลำดับ
เหมือนท่านกำลังค่อยๆให้การศึกษาแก่ผู้ที่ศึกษาตำราเล่มนี้อยู่ทีละน้อย
เพราะเนื้อหาสาระตั้งแต่ต้นมาจนถึงตอนนี้นั้นมีใจความที่สนับสนุนกันอยู่
อย่างในบทแรกนั้นมันเปรียบเหมือนเป็นคำนำของตำราเล่มนี้
ซึ่งบอกว่ากำลังจะอธิบายอะไรและมีความสำคัญอย่างไร
และจากนั้นท่านก็เริ่มพาผู้ที่สนใจเดินทางไปเพื่อทำความเข้าใจในสิ่งนั้นให้มากขึ้นๆ
ดังในบทก่อนหน้านี้ที่ท่านอธิบายว่าสิ่งต่างๆอุบัติขึ้นมาเพราะการเปรียบเทียบ
การเปรียบเทียบทำให้เกิดขึ้นซึ่งปทัสถานทางสังคมต่อสิ่งต่างๆอย่างสมมติ
ทำให้คนเราเกิดความเห็นต่อสิ่งต่างๆและให้คุณค่าแก่สิ่งต่างๆไม่เท่ากัน
อันเป็นการตัดสินด้วยความสามารถในการรับรู้ของตน
ในบทต่อมาท่านชี้ให้เห็นว่าการไม่ยกย่องคนฉลาดและของหายากนั้นมีประโยชน์อย่างไร
ถึงแม้การสมมติจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นในทุกวงสังคม
แต่การขาดความตระหนักรู้ต่อการสมมติขึ้นซึ่งรูปธรรมและนามธรรมในตน
นับเป็นกระบวนการทางการเรียนรู้ที่ขาดสติปัญญาประกอบแล้วสุดท้ายเราก็จะหลงทางไป
แต่หากเราสามารถรู้เท่าทันได้ เราก็จะเห็นว่าทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสามัญ
มีความเสมอภาค และเห็นความว่างในสรรพสิ่งได้
การได้รับการศึกษาเช่นนี้ก็เท่ากับว่าเป็นการชำระจิตใจให้ผู้นั้นกลับว่างและสอาดขึ้นมาได้
และดังที่กล่าวมาแล้วว่าเมื่อคนเรามองเห็นความเป็นธรรมดาและสามัญในสรรพสิ่ง
เขาก็ย่อมที่จะไม่ยินดียินร้ายร้ายต่อทุกๆอย่างที่เข้ามาล่อตาล่อใจของเขา
ความทะยานอยากของเขาจึงได้ชื่อว่าถูกตัดทอนแล้ว
เมื่อคนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาเช่นนี้
พวกเขาก็จะไม่เฝ้าคิดแต่มุ่งสร้างตัวหรือสร้างฐานะที่มั่นคงเพื่อการมีชีวิตที่ดีของพวกเขา
การดิ้นรนแข่งขันกันก็อาจเเปรเปลี่ยนเป็นการเอื้อเฟื้อต่อกันได้
และยังมีความจริงอยู่ประการหนึ่งก็คือ จิตใจที่ผ่องใสนั้นย่อมเป็นสิ่งที่เปี่ยมด้วยมิตรไมตรี
จะคิดอ่านประการใดก็จะมีความซื่อตรงไม่ซับซ้อน และจะไม่ทุจริตต่อกัน
"คนฉ้อฉลก็มิบังอาจหาญเข้ากระทำการทุจริต"
ใจความของประโยคนี้ย่อมต้องสอดคล้องกับใจความที่อธิบายมาแล้วของประโยคก่อนหน้านี้
เมื่อพวกเขามีจิตใจที่บรุสุทธิ์ขึ้นความทะยานอยากก็ลดน้อยลง
และความต้องการในการสะสมความมั่งคั่งที่ลดน้อยลงทำให้ความยึดมั่นในตัวตนของตนก็ลดลงตามไป
ความคิดความอ่านในทางทุจริตและประทุษร้ายต่อกันก็ย่อมต้องลดน้อยลงไปด้วย
คำว่า"คนฉ้อฉล " นี้ในบางทีเราก็จำเป็นต้องย้อนมามองดูตัวเองด้วยเหมือนกัน
เพราะความอยากเกิดที่ใจคนฉ้อฉลจึงเกิดขึ้นที่ใจด้วย และย่อมมีได้ในใจของทุกๆคน
แต่เมื่อได้รับการศึกษาและมองโลกด้วยความว่างและเป็นสามัญมากขึ้นแล้ว
คนผู้นั้นย่อมปราถนาชีวิตที่เรียบง่าย
ความคิดคดโกงหรือทุจริตของเขาก็ย่อมถูกชำระล้างออกไป
"ปราชญ์ย่อมปกครองโดยการไม่ปกครอง
ดังนี้ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็จะถูกปกครองและดำเนินไปอย่างมีระเบียบ "
การปกครองที่ดีคือการรู้จักปกครองใจของคน
แต่การปกครองเช่นนี้เราไม่จำเป็นต้องใช้กำลังหรือใช้วิธีการจัดการใดๆเลย
ที่เราต้องทำคือให้สติปัญญาแก่ผู้คน และให้เขารู้เท่าทันกิเลสตัณหาของตัวเขาเอง
จากนั้นทุกคนก็จะปกครองรักษาใจของตัวเองและทำให้ความชั่วในสังคมไม่มีปรากฏออกมา
สังคมจะไม่สร้างสิ่งชักจูงใจขึ้นมาล่อลวงใครๆ
และจะสร้างแต่ความยินดีในชีวิตที่เรียบง่ายและพอเพียง
ธรรมะที่เผยแพร่สู่สังคมนี้ก็เพื่อขจัดตัวตนอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นและความอยาก
เพื่อช่วยทำให้ใจของประชาราษฎร์สอาด มีอิสระจากการสมมติค่านิยม
ทำให้ไม่ต้องดิ้นรนแข่งขันกันในวงสังคมเพื่อครอบครองทรัพย์หรือมีหน้ามีตาที่สูงกว่าผู้อื่น
เพราะพวกเขาจะไม่เฝ้าปรุงแต่งว่าตัวเองมีอย่างนี้หรือเป็นอย่างนั้น
ตามที่สังคมภายนอกบ่งชี้ว่าเป็นตัวตนของเขา
จิตใจประชารษฎร์ก็สงบปลอดโปล่ง มีดุลยถาพ และมีระเบียบไม่วุ่นวาย
ระเบียบชนิดนี้เราไม่จำเป็นต้องยกร่างขึ้นมาเป็นข้อๆอย่างระเบียบการทั่วไป
แต่มันเกิดขึ้นได้จากการถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มีความเคารพต่อกัน
หรือมีความรักความผูกพันต่อกันอย่างซื่อตรง ไม่คิดชิงดีชิงเด่นกัน
การปฏิบัติต่อกันอย่างถูกต้องก็มีขึ้นได้เองตามธรรมชาติ
ซึ่งหากเราต้องการที่จะมองเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ นั้น
ผมคิดว่าเราอาจจะต้องจิตนาการถึงวิถีชาวบ้านที่เรียบง่ายแต่มีสติปัญญาไม่ยินดีในโลกธรรม
ตามทัศนะของผมมันคงมีลักษณะเช่นนั้น
[img]https://f.ptcdn.info/855/056/000/p6eiw1aav69SbpLpxyH-