วันสตรีสากล “International Women’s Day” มีขึ้นทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองและยกย่องสตรีผู้กล้าหาญที่ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิอันทัดเทียมกับเพศชายในสังคมที่เต็มไปด้วยการควบคุมของผู้ชาย หรือสังคมชายเป็นใหญ่
จุดเริ่มต้น
แนวคิดในการกำเนิดวันสตรีสากล มาจากการที่สหรัฐอเมริกามีการเฉลิมฉลองวันสตรีแห่งชาติ โดยพรรคสังคมนิยมอเมริกาได้เริ่มต้นให้มีการเฉลิมฉลองวันสตรีแห่งชาติเพื่อเป็นเกียรติแก่เหตุการณ์ที่คนงานโรงงานในนครนิวยอร์คได้ลุกฮือขึ้นมาเรียกร้องสภาพการทำงานที่ดีกว่า ในปี 1908
ต่อมาในปี 1910-1911 องค์กรสังคมนิยมสากลได้ประชุมกันที่เมืองโคเปนเฮเกน เพื่อกำหนดให้มีวันสตรีสากลขึ้น ประชาชนจากประเทศออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิสเซอร์แลนด์ ทั้งหญิงและชายกว่าล้านคนได้ร่วมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งและการทำงานของสตรี
วันสตรีสากลยังถูกใช้เพื่อต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการสันติภาพ กลุ่มสตรีชาวรัสเซียได้กำหนดวันสตรีสากลให้เป็นวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งในยุโรปตรงกับวันที่ 8 มีนาคม เหล่าสตรีได้ออกมาเดินขบวนเพื่อต่อต้านสงครามและแสดงพลังร่วมกับนักกิจกรรมอีกหลายคนในวันดังกล่าว
หลังจากนั้นเป็นต้นมา วันที่ 8 มีนาคมได้กลายเป็นวันที่กลุ่มสตรีออกมาแสดงพลังเรียกร้องสิทธิและสันติภาพในอีกหลายครั้ง กระทั่งในปี 1975 องค์การสหประชาชาติก็ได้เฉลิมฉลองวันสตรีสากลในวันที่ 8 มีนาคม และในปี 1977 ได้ประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากลอย่างเป็นทางการ ทำให้หลายประเทศประกาศให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ ไม่ว่าจะเป็นอัฟกานิสถาน ลาว เวียดนาม จีน (หยุดเฉพาะสตรี) กัมพูชา ฯลฯ
นับตั้งแต่ปี 1995 ซึ่งเป็นปีที่ “ปฏิญญาปักกิ่งที่ว่าด้วยความเท่าเทียมและศักยภาพของผู้หญิง” เกิดขึ้น ปฏิญญาดังกล่าวทำให้โลกได้เห็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นต่อขบวนการสตรีอย่างมากมาย แม้จะมีอุปสรรคอยู่บ้างก็ตาม แต่สัดส่วนผู้หญิงก็มีจำนวนมากขึ้นทั้งในระบบราชการ และร้อยละ 22 ของสมาชิกสภาทั่วโลกก็เป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากขึ้นกว่าเมื่อสิบปีก่อนที่มีจำนวนเพียงร้อยละ 11
แต่กระนั้นเรายังคงห่างไกลกับคำว่าเสมอภาคมาก แม้จะมีผู้หญิงในภาคแรงงานมากขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมักจะได้รับค่าจ้างแรงงานน้อยกว่าผู้ชาย ไม่ว่าจะในประเทศที่ร่ำรวยหรือประเทศที่ยากจน และถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้หญิงจากความรุนแรงต่างๆอย่างมากมายทั่วโลก แต่เมื่อเวลาประเทศมีสงครามหรือความขัดแย้งใดๆ สถิติความรุนแรงมักจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเสมอ
สิทธิสตรีในไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆ ในทวีปเอเชียที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีสิทธิในการเลือกตั้ง ตั้งแต่ปี 2475 ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึงแม้จะได้สิทธิในการเลือกตั้งแต่บทบาทของสตรีไทยในการเมืองยังคงมีให้เห็นน้อยมาก เนื่องจากสภาพสังคมในขณะนั้นที่ยังเห็นว่าเพศหญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ ไม่เหมาะสมกับงานทางการเมือง จนกระทั่งปี 2492 ประเทศไทยมีผู้แทนราษฎรที่เป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ แต่สัดส่วนของผู้หญิงในสภาฯ ภายหลังจากนั้นในหลายๆ ปีที่ผ่านมาก็ยังมีจำนวนที่น้อยมาก แม้ว่าในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ให้พรรคการเมืองต้องคำนึงถึงความเสมอภาคของหญิงและชาย แต่ก็ไม่ได้มีการกำหนดสัดส่วนโควตาที่ชัดเจนแต่อย่างใด
ในส่วนของการปกครองท้องถิ่น มีผู้หญิงดำรงตำแหน่งนายกทั้งอบจ., เทศบาล, อบต. เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ มีเพียงร้อยละ 6-7เท่านั้น ในส่วนของสมาชิกสภาท้องถิ่น มีผู้หญิงดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองท้องถิ่นทุกรูปแบบเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17 เท่านั้น
จนกระทั่งในปี 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย ทำให้บทบาทสตรีถูกขับเน้นขึ้นมาอีกครั้ง เพราะนางสาวยิ่งลักษณ์นับเป็นสตรีไทยคนแรกของประวัติศาสตร์ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งสูงสุดในทางการเมืองไทย
ในด้านธุรกิจอาจถือได้ว่าเป็นที่น่าพอใจอยู่ไม่น้อย เมื่อผลการวิจัยเรื่องผู้หญิงในโลกธุรกิจของ Grant Thornton ระบุว่าประเทศไทยมีสัดส่วนผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารถึงร้อยละ 37 แต่ในภาพรวมแล้วจากรายงานความเหลื่อมล้ำทางเพศทั่วโลก ปี 2016 ของ World Economic Forum ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 71ของประเทศที่มีความเท่าเทียมทางเพศ 144 ประเทศทั่วโลก และในภาคแรงงานข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ผู้หญิงมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยที่สูงมากถึง 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยร้อยละ 34 ใช้เวลาในการทำงานระหว่าง 40-49 ชั่วโมง และ1 ใน 5 ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง ในขณะที่ค่าเฉลี่ยการทำงานปกติอยู่ที่ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
นอกจากปัญหาด้านชั่วโมงในการทำงานแล้ว แรงงานหญิงยังมักถูกเลือกปฏิบัติจากนายจ้าง เช่นถูกเอาเปรียบในเรื่องค่าจ้าง การเลื่อนตำแหน่ง หรือสวัสดิการต่างๆ เช่น กฎหมายการลาคลอดที่ให้ผู้หญิงลาคลอดได้เพียงแค่ 90 วัน และได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วันเท่านั้น
ปัญหาการละเมิดสิทธิสตรีทางกายภาพก็เป็นปัญหาใหญ่เช่นเดียวกัน เรามักจะเห็นข่าวสามีทำร้ายร่างกาย บังคับขืนใจ หรือผู้หญิงถูกกระทำรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง นั่นสะท้อนถึงสภาพสังคมที่ระบบชายเป็นใหญ่ครอบงำมาโดยตลอด
ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำคือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติมุมมอง และกระตุ้นเตือนสังคมให้ตระหนักถึงสิทธิอันเท่าเทียมของสตรี และเคารพในความหลากหลายของกันและกัน
Cr.
http://www.ptp.or.th/news
ผู้หญิงจะต้องลุกขึ้นมาสู้กับระบบชายเป็นใหญ่
จุดเริ่มต้น
แนวคิดในการกำเนิดวันสตรีสากล มาจากการที่สหรัฐอเมริกามีการเฉลิมฉลองวันสตรีแห่งชาติ โดยพรรคสังคมนิยมอเมริกาได้เริ่มต้นให้มีการเฉลิมฉลองวันสตรีแห่งชาติเพื่อเป็นเกียรติแก่เหตุการณ์ที่คนงานโรงงานในนครนิวยอร์คได้ลุกฮือขึ้นมาเรียกร้องสภาพการทำงานที่ดีกว่า ในปี 1908
ต่อมาในปี 1910-1911 องค์กรสังคมนิยมสากลได้ประชุมกันที่เมืองโคเปนเฮเกน เพื่อกำหนดให้มีวันสตรีสากลขึ้น ประชาชนจากประเทศออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิสเซอร์แลนด์ ทั้งหญิงและชายกว่าล้านคนได้ร่วมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งและการทำงานของสตรี
วันสตรีสากลยังถูกใช้เพื่อต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการสันติภาพ กลุ่มสตรีชาวรัสเซียได้กำหนดวันสตรีสากลให้เป็นวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งในยุโรปตรงกับวันที่ 8 มีนาคม เหล่าสตรีได้ออกมาเดินขบวนเพื่อต่อต้านสงครามและแสดงพลังร่วมกับนักกิจกรรมอีกหลายคนในวันดังกล่าว
หลังจากนั้นเป็นต้นมา วันที่ 8 มีนาคมได้กลายเป็นวันที่กลุ่มสตรีออกมาแสดงพลังเรียกร้องสิทธิและสันติภาพในอีกหลายครั้ง กระทั่งในปี 1975 องค์การสหประชาชาติก็ได้เฉลิมฉลองวันสตรีสากลในวันที่ 8 มีนาคม และในปี 1977 ได้ประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากลอย่างเป็นทางการ ทำให้หลายประเทศประกาศให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ ไม่ว่าจะเป็นอัฟกานิสถาน ลาว เวียดนาม จีน (หยุดเฉพาะสตรี) กัมพูชา ฯลฯ
นับตั้งแต่ปี 1995 ซึ่งเป็นปีที่ “ปฏิญญาปักกิ่งที่ว่าด้วยความเท่าเทียมและศักยภาพของผู้หญิง” เกิดขึ้น ปฏิญญาดังกล่าวทำให้โลกได้เห็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นต่อขบวนการสตรีอย่างมากมาย แม้จะมีอุปสรรคอยู่บ้างก็ตาม แต่สัดส่วนผู้หญิงก็มีจำนวนมากขึ้นทั้งในระบบราชการ และร้อยละ 22 ของสมาชิกสภาทั่วโลกก็เป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากขึ้นกว่าเมื่อสิบปีก่อนที่มีจำนวนเพียงร้อยละ 11
แต่กระนั้นเรายังคงห่างไกลกับคำว่าเสมอภาคมาก แม้จะมีผู้หญิงในภาคแรงงานมากขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมักจะได้รับค่าจ้างแรงงานน้อยกว่าผู้ชาย ไม่ว่าจะในประเทศที่ร่ำรวยหรือประเทศที่ยากจน และถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้หญิงจากความรุนแรงต่างๆอย่างมากมายทั่วโลก แต่เมื่อเวลาประเทศมีสงครามหรือความขัดแย้งใดๆ สถิติความรุนแรงมักจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเสมอ
สิทธิสตรีในไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆ ในทวีปเอเชียที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีสิทธิในการเลือกตั้ง ตั้งแต่ปี 2475 ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึงแม้จะได้สิทธิในการเลือกตั้งแต่บทบาทของสตรีไทยในการเมืองยังคงมีให้เห็นน้อยมาก เนื่องจากสภาพสังคมในขณะนั้นที่ยังเห็นว่าเพศหญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ ไม่เหมาะสมกับงานทางการเมือง จนกระทั่งปี 2492 ประเทศไทยมีผู้แทนราษฎรที่เป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ แต่สัดส่วนของผู้หญิงในสภาฯ ภายหลังจากนั้นในหลายๆ ปีที่ผ่านมาก็ยังมีจำนวนที่น้อยมาก แม้ว่าในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ให้พรรคการเมืองต้องคำนึงถึงความเสมอภาคของหญิงและชาย แต่ก็ไม่ได้มีการกำหนดสัดส่วนโควตาที่ชัดเจนแต่อย่างใด
ในส่วนของการปกครองท้องถิ่น มีผู้หญิงดำรงตำแหน่งนายกทั้งอบจ., เทศบาล, อบต. เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ มีเพียงร้อยละ 6-7เท่านั้น ในส่วนของสมาชิกสภาท้องถิ่น มีผู้หญิงดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองท้องถิ่นทุกรูปแบบเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17 เท่านั้น
จนกระทั่งในปี 2554 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย ทำให้บทบาทสตรีถูกขับเน้นขึ้นมาอีกครั้ง เพราะนางสาวยิ่งลักษณ์นับเป็นสตรีไทยคนแรกของประวัติศาสตร์ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งสูงสุดในทางการเมืองไทย
ในด้านธุรกิจอาจถือได้ว่าเป็นที่น่าพอใจอยู่ไม่น้อย เมื่อผลการวิจัยเรื่องผู้หญิงในโลกธุรกิจของ Grant Thornton ระบุว่าประเทศไทยมีสัดส่วนผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารถึงร้อยละ 37 แต่ในภาพรวมแล้วจากรายงานความเหลื่อมล้ำทางเพศทั่วโลก ปี 2016 ของ World Economic Forum ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 71ของประเทศที่มีความเท่าเทียมทางเพศ 144 ประเทศทั่วโลก และในภาคแรงงานข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ผู้หญิงมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยที่สูงมากถึง 45 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยร้อยละ 34 ใช้เวลาในการทำงานระหว่าง 40-49 ชั่วโมง และ1 ใน 5 ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง ในขณะที่ค่าเฉลี่ยการทำงานปกติอยู่ที่ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
นอกจากปัญหาด้านชั่วโมงในการทำงานแล้ว แรงงานหญิงยังมักถูกเลือกปฏิบัติจากนายจ้าง เช่นถูกเอาเปรียบในเรื่องค่าจ้าง การเลื่อนตำแหน่ง หรือสวัสดิการต่างๆ เช่น กฎหมายการลาคลอดที่ให้ผู้หญิงลาคลอดได้เพียงแค่ 90 วัน และได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วันเท่านั้น
ปัญหาการละเมิดสิทธิสตรีทางกายภาพก็เป็นปัญหาใหญ่เช่นเดียวกัน เรามักจะเห็นข่าวสามีทำร้ายร่างกาย บังคับขืนใจ หรือผู้หญิงถูกกระทำรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง นั่นสะท้อนถึงสภาพสังคมที่ระบบชายเป็นใหญ่ครอบงำมาโดยตลอด
ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำคือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติมุมมอง และกระตุ้นเตือนสังคมให้ตระหนักถึงสิทธิอันเท่าเทียมของสตรี และเคารพในความหลากหลายของกันและกัน
Cr. http://www.ptp.or.th/news