#Onthisday ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ กับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาการบริการสาธารณะ อันทรงเกียรติ เนื่องใน #วันสตรีสากล #8มีนาคม
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ผู้ริเริ่มโครงการผลิต ยาสามัญรุ่นแรก AZT (อะซิโดไทมิดีน) สำหรับการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีขั้นสูง ผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 และเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2538 และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในการสร้างยา "ค็อกเทล" สำหรับเอชไอวีตัวแรกที่รู้จักกันในชื่อ GPO-VIR ช่วยลดต้นทุนการรักษาได้อย่างมาก และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วย HIV/AIDS ในประเทศยากจนชุดแรก และได้ช่วยชีวิตผู้คนทั่วโลก นับแสนนับล้านคน
ในเวลาต่อมา บิล เกตส์ มหาเศรษฐีระดับโลกชาวอเมริกัน ให้การยกย่อง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์" เป็น "Heros in the field" หรือวีรสตรีในภาคสนาม ในฐานะผู้สร้างคุณูปการ อุทิศตน ทำประโยชน์เพื่อผู้ป่วยทั่วโลก
(International Women's Day) หรือวันสตรีสากล ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันแห่งการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา หรืออาชีพใด
ความเป็นมาของวันตรีสากลนั้น เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)
จากนั้นในปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก
ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ "คลาร่า เซทคิน" (CLARE ZETKIN) นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น
ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง
จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) องค์การสหประชาชาติ ได้เชิญชวนให้ทุกประเทศ กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล
ขอขอบคุณข้อมูล
:
https://asiapacific.unwomen.org/en/news-and-events/stories/2015/04/thailand-dr-kraisintu
:
https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/162070
.
The Better Day
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
#thebetterday
วันสตรีสากล 8 มีนาคม International Women's Day
#Onthisday ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ กับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาการบริการสาธารณะ อันทรงเกียรติ เนื่องใน #วันสตรีสากล #8มีนาคม
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ผู้ริเริ่มโครงการผลิต ยาสามัญรุ่นแรก AZT (อะซิโดไทมิดีน) สำหรับการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีขั้นสูง ผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 และเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2538 และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในการสร้างยา "ค็อกเทล" สำหรับเอชไอวีตัวแรกที่รู้จักกันในชื่อ GPO-VIR ช่วยลดต้นทุนการรักษาได้อย่างมาก และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วย HIV/AIDS ในประเทศยากจนชุดแรก และได้ช่วยชีวิตผู้คนทั่วโลก นับแสนนับล้านคน
ในเวลาต่อมา บิล เกตส์ มหาเศรษฐีระดับโลกชาวอเมริกัน ให้การยกย่อง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์" เป็น "Heros in the field" หรือวีรสตรีในภาคสนาม ในฐานะผู้สร้างคุณูปการ อุทิศตน ทำประโยชน์เพื่อผู้ป่วยทั่วโลก
(International Women's Day) หรือวันสตรีสากล ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันแห่งการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา หรืออาชีพใด
ความเป็นมาของวันตรีสากลนั้น เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)
จากนั้นในปี ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ทนไม่ไหวต่อการเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดการเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก
ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้ "คลาร่า เซทคิน" (CLARE ZETKIN) นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น
ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อม ๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง
จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) องค์การสหประชาชาติ ได้เชิญชวนให้ทุกประเทศ กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล
ขอขอบคุณข้อมูล
: https://asiapacific.unwomen.org/en/news-and-events/stories/2015/04/thailand-dr-kraisintu
: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/162070
.
The Better Day
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
#thebetterday