สวัสดีครับ หลังจากรีวิวไป 2 ภาค ในเรื่องเกี่ยวกับเครื่องดื่มโปรตีนสูง ใครยังไม่เคยอ่าน ย้อนอ่านได้ตามนี้เลยครับ
คราวนี้ผมขอเพิ่มภาคสรุปมาอีกภาคนึง ทำไมถึงมีภาคสรุป? จาก feedback หลายๆคน บางคนเข้าใจในสิ่งที่ผมอธิบายผิดไป บางคนก็อ่านไม่ครบเนื่องจากยาวไป ภาคนี้ขอเขียนสั้นๆ กระชับๆนะครับ ถ้าใครอยากอ่านละเอียด ตามอ่านภาค 1-2 ได้เลยครับ
เช่นเดิมนะครับ กระทู้นี้เขียนรีวิวเพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ไม่ได้ต้องการโจมตีแบรนด์ใดๆครับ โดยสรุปรวมมาให้จบในกระทู้เดียวครับผม
ช่วงนี้กระแสเครื่องดื่มโปรตีนสูงกำลังมาอย่างต่อเนื่อง คนรอบๆตัว จขกท. ก็ดื่มกันมากขึ้น และมีเพื่อนๆสอบถามกันเข้ามาบ้าง บางคนยังสับสนกันอยู่ ว่าโปรตีนมันแบ่งอย่างไรได้บ้าง, ปริมาณส่วนประกอบต่างๆดูอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร
วันนี้ก็เลยจะมาแชร์ความรู้แบบง่ายๆครับ ว่าก่อนดื่มควรรู้อะไรบ้าง?
เครื่องดื่มโปรตีนสูงในตลาด ตอนนี้มีอะไรบ้าง? (เท่าที่ จขกท. เห็นโดยทั่วไปมีตามนี้)
1. Meiji High Protein
2. Rumble RTD Whey Protein
3. Hooray Bettershake
4. Peaflex Pea Protein (*ตัวนี้ไม่สามารถหาซื้อได้ตอนรีวิว น่าจะขาดตลาดครับ)
5. Moove Protein Water
6. Tipco Beat
การดูเปรียบเทียบ จะใช้วิธีดูค่าจากฉลากของเครื่องดื่ม โดยเน้นดูที่ข้อมูลโภชนาการ และ ค่าส่วนประกอบ (เนื่องจากเป็น 2 ค่าที่ต้องผ่านการตรวจสอบจาก อย. และเป็นค่าที่เชื่อถือได้ครับ) โดยจะมีการเทียบกับผลแลป ALS ด้วย เพื่อเช็คว่า ที่จขกท.ตรวจด้วยตัวเองนั้น ใกล้เคียงกับค่าบนฉลากแค่ไหน
เรื่องรสชาติ ความอร่อย ไม่ขอพูดถึง ความชอบแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ
หัวข้อที่จะแสดงในแต่ละยี่ห้อ มีดังนี้
- ชื่อ รส ราคา
- ชนิดโปรตีนที่ได้รับ (ดูได้จากส่วนประกอบสำคัญ)
- ปริมาณโปรตีนที่ได้รับ (ดูเทียบจากผลแลป ALS)
- ปริมาณไขมัน (ดูเทียบจากผลแลป ALS)
- ปริมาณคาร์โบไฮเดรต (ดูเทียบจากผลแลป ALS)
- ปริมาณโซเดียม (ดูได้จาก Nutrition Facts)
*แต่ทั้งนี้ ผลตรวจของ จทกท. เป็นแค่การตรวจไม่กี่ขวด เสมือนการสุ่มเช็ค ไม่สามารถใช้เป็นค่าเฉลี่ยของเครื่องดื่มนั้นได้
เริ่มที่ตัวแรกกันเลยครับ
1. Meiji High Protein Whey Formula (รสช็อกโกแลต) (49 บาท)
- Meiji มีส่วนประกอบเป็น “โปรตีนนมเข้มข้น 10%” จากส่วนประกอบบอกได้เพียงแค่ว่า ใส่โปรตีนจากนมเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าใส่เวย์แยกกี่ % (โปรตีนจากนม มี เวย์ 20% และ เคซีน 80%) (ถ้าอยากรู้ว่าใส่เวย์กี่ % ต้องสอบถามทาง Meiji อีกที)
-
1 ขวดให้โปรตีน 26.25 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 27.64 กรัม)
- ไขมัน 2.62 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 3.12 กรัม)
- คาร์โบไฮเดรต 36.57 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 27.49 กรัม)
- โซเดียม 280 มก ต่อ 1 ขวด
2. Rumble RTD Whey Protein (69 บาท *ราคาอัพเดต)
- Rumble มีส่วน หอประกอบเป็น “เวย์โปรตีนคอนเซนเทรต 6.7%” แสดงว่าโปรตีนทั้งหมดในขวด เป็น
เวย์โปรตีน 100% ชนิดคอนเซนเทรด
-
1 ขวดให้โปรตีน 24.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 22.66 กรัม)
- ไขมัน 2.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 2.17 กรัม)
- คาร์โบไฮเดรต 12.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 12.83 กรัม)
- โซเดียม 270 มก ต่อ 1 ขวด
3. Hooray Bettershake (รสดาร์กช็อกโกแลต) (69 บาท)
- Bettershake มีส่วนประกอบเป็น “น้ำนม 95.993%” เท่ากับเป็น โปรตีนจากนม 100% ไม่ได้ใส่เวย์โปรตีนเพิ่ม
-
1 ขวดให้โปรตีน 30.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 23.81 และ 30.30 กรัม ตามลำดับ)
- ไขมัน 2.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 4.69 และ 3.75 กรัม ตามลำดับ)
- คาร์โบไฮเดรต 11.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 20.74 และ 16.62 กรัม ตามลำดับ)
- โซเดียม 85 มก ต่อ 1 ขวด
* ฮูเร่เป็นเครื่องดื่มเดียวที่มีการตรวจซ้ำ เนื่องจากรอบแรกได้ค่าที่ผิดจากฉลากมาก แต่ทั้งนี้ ถ้าต้องการทดสอบมาตรฐานจริงๆ ต้องมีการตรวจสอบที่มากกว่าที่ จขกท.ทำอยู่ครับ
4. PeaFlex Pea Protein (59 บาท) (*ใช้รูปเดิมเนื่องจากไม่สามารถหาซื้อได้ตอนรีวิว)
- PeaFlex มีส่วนประกอบเป็น “น้ำโปรตีนสกัดจากถั่วลันเตา 97.43%” เท่ากับได้รับโปรตีนจาก
ถั่วลันเตา 100% ไม่ได้ใส่เวย์โปรตีนเพิ่ม, ไม่ได้ใส่นมโปรตีนสูงเพิ่ม
-
1 ขวดให้โปรตีน 22.75 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 16.905 กรัม)
- ไขมัน 2.60 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 2.66 กรัม)
- คาร์โบไฮเดรต 15.75 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 11.095 กรัม)
- โซเดียม 402 มก ต่อ 1 ขวด
Moove Protein Water (รสมิกซ์เบอร์รี่) (85 บาท)
- Moove มีส่วนประกอบเป็น “เวย์โปรตีนไอโซเลท 6.3%”
แสดงว่าโปรตีนทั้งหมดในขวด เป็น
เวย์โปรตีน 100% ชนิดไอโซเลท
-
1 ขวดให้โปรตีน 20.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 21.24 กรัม)
- ไขมัน 0 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 0.28 กรัม)
- คาร์โบไฮเดรต 2.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 2.48 กรัม)
- โซเดียม 30 มก ต่อ 1 ขวด
6. Tipco Beat (35 บาท)
- Tipco Beat มีส่วนประกอบเป็น “โปรตีนสกัดจากถั่วลันเตาเหลือง 5.4%” เท่ากับได้โปรตีนจาก
ถั่วลันเตา 100% ไม่ได้ใส่เวย์โปรตีนเพิ่ม, ไม่ได้ใส่นมโปรตีนสูงเพิ่ม
-
1 ขวดให้โปรตีน 14.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 11.675 กรัม)
- ไขมัน 3.50 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 3.30 กรัม)
- คาร์โบไฮเดรต 21.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 19.525 กรัม)
- โซเดียม 230 มก ต่อ 1 ขวด
ครบทั้ง 6 ยี่ห้อแล้วครับ
สรุป ที่ จขกท. เขียนมา ต้องการอธิบายความแตกต่างทั้งหลาย ของเครื่องดื่มโปรตีนสูงในแต่ละยี่ห้อ จะเห็นได้ว่าแต่ละเครื่องดื่มนั้นแตกต่างกันหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบขวด ราคา รสชาติ ชนิดโปรตีน ปริมาณสารอาหารต่างๆที่ได้รับ (โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, อื่นๆ) ดังนั้นจึงอยู่ที่แต่ละคนที่จะเลือกซื้อตามความต้องการของแต่ละคน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หลายๆคนที่ จขกท.รู้จัก ไม่ได้เข้าใจข้อมูลได้ครบถ้วน บางคนก็เข้าใจผิดในหลายๆด้าน จขกท.จึงอยากมาเขียนเพื่ออธิบายให้เข้าใจได้ถูกต้องและครบถ้วน เมื่อเข้าใจได้ถูกต้องแล้ว ถึงจะเลือกซื้อเครื่องดื่มโปรตีนสูง ได้ตรงตามความต้องการของตัวเองได้ถูกต้องครับ
ใครมีอะไรสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากเสนอแนะอะไรก็เชิญได้เลยนะครับ ^^
**เพิ่มเติม ตารางสรุปให้ครับ
[CR] รีวิวเครื่องดื่มโปรตีนสูง 6 ยี่ห้อ สิ่งที่ควรรู้ก่อนดื่ม เน้นการอ่านส่วนประกอบ พร้อมผลตรวจวิเคราะห์จากแลป ALS [ภาคสรุป]
[ภาค 2] – Peaflex, Moove, Tipco - https://ppantip.com/topic/37264732
คราวนี้ผมขอเพิ่มภาคสรุปมาอีกภาคนึง ทำไมถึงมีภาคสรุป? จาก feedback หลายๆคน บางคนเข้าใจในสิ่งที่ผมอธิบายผิดไป บางคนก็อ่านไม่ครบเนื่องจากยาวไป ภาคนี้ขอเขียนสั้นๆ กระชับๆนะครับ ถ้าใครอยากอ่านละเอียด ตามอ่านภาค 1-2 ได้เลยครับ
เช่นเดิมนะครับ กระทู้นี้เขียนรีวิวเพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ไม่ได้ต้องการโจมตีแบรนด์ใดๆครับ โดยสรุปรวมมาให้จบในกระทู้เดียวครับผม
ช่วงนี้กระแสเครื่องดื่มโปรตีนสูงกำลังมาอย่างต่อเนื่อง คนรอบๆตัว จขกท. ก็ดื่มกันมากขึ้น และมีเพื่อนๆสอบถามกันเข้ามาบ้าง บางคนยังสับสนกันอยู่ ว่าโปรตีนมันแบ่งอย่างไรได้บ้าง, ปริมาณส่วนประกอบต่างๆดูอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร
วันนี้ก็เลยจะมาแชร์ความรู้แบบง่ายๆครับ ว่าก่อนดื่มควรรู้อะไรบ้าง?
เครื่องดื่มโปรตีนสูงในตลาด ตอนนี้มีอะไรบ้าง? (เท่าที่ จขกท. เห็นโดยทั่วไปมีตามนี้)
1. Meiji High Protein
2. Rumble RTD Whey Protein
3. Hooray Bettershake
4. Peaflex Pea Protein (*ตัวนี้ไม่สามารถหาซื้อได้ตอนรีวิว น่าจะขาดตลาดครับ)
5. Moove Protein Water
6. Tipco Beat
การดูเปรียบเทียบ จะใช้วิธีดูค่าจากฉลากของเครื่องดื่ม โดยเน้นดูที่ข้อมูลโภชนาการ และ ค่าส่วนประกอบ (เนื่องจากเป็น 2 ค่าที่ต้องผ่านการตรวจสอบจาก อย. และเป็นค่าที่เชื่อถือได้ครับ) โดยจะมีการเทียบกับผลแลป ALS ด้วย เพื่อเช็คว่า ที่จขกท.ตรวจด้วยตัวเองนั้น ใกล้เคียงกับค่าบนฉลากแค่ไหน
เรื่องรสชาติ ความอร่อย ไม่ขอพูดถึง ความชอบแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ
หัวข้อที่จะแสดงในแต่ละยี่ห้อ มีดังนี้
- ชื่อ รส ราคา
- ชนิดโปรตีนที่ได้รับ (ดูได้จากส่วนประกอบสำคัญ)
- ปริมาณโปรตีนที่ได้รับ (ดูเทียบจากผลแลป ALS)
- ปริมาณไขมัน (ดูเทียบจากผลแลป ALS)
- ปริมาณคาร์โบไฮเดรต (ดูเทียบจากผลแลป ALS)
- ปริมาณโซเดียม (ดูได้จาก Nutrition Facts)
*แต่ทั้งนี้ ผลตรวจของ จทกท. เป็นแค่การตรวจไม่กี่ขวด เสมือนการสุ่มเช็ค ไม่สามารถใช้เป็นค่าเฉลี่ยของเครื่องดื่มนั้นได้
เริ่มที่ตัวแรกกันเลยครับ
1. Meiji High Protein Whey Formula (รสช็อกโกแลต) (49 บาท)
- Meiji มีส่วนประกอบเป็น “โปรตีนนมเข้มข้น 10%” จากส่วนประกอบบอกได้เพียงแค่ว่า ใส่โปรตีนจากนมเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าใส่เวย์แยกกี่ % (โปรตีนจากนม มี เวย์ 20% และ เคซีน 80%) (ถ้าอยากรู้ว่าใส่เวย์กี่ % ต้องสอบถามทาง Meiji อีกที)
- 1 ขวดให้โปรตีน 26.25 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 27.64 กรัม)
- ไขมัน 2.62 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 3.12 กรัม)
- คาร์โบไฮเดรต 36.57 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 27.49 กรัม)
- โซเดียม 280 มก ต่อ 1 ขวด
2. Rumble RTD Whey Protein (69 บาท *ราคาอัพเดต)
- Rumble มีส่วน หอประกอบเป็น “เวย์โปรตีนคอนเซนเทรต 6.7%” แสดงว่าโปรตีนทั้งหมดในขวด เป็น เวย์โปรตีน 100% ชนิดคอนเซนเทรด
- 1 ขวดให้โปรตีน 24.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 22.66 กรัม)
- ไขมัน 2.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 2.17 กรัม)
- คาร์โบไฮเดรต 12.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 12.83 กรัม)
- โซเดียม 270 มก ต่อ 1 ขวด
3. Hooray Bettershake (รสดาร์กช็อกโกแลต) (69 บาท)
- Bettershake มีส่วนประกอบเป็น “น้ำนม 95.993%” เท่ากับเป็น โปรตีนจากนม 100% ไม่ได้ใส่เวย์โปรตีนเพิ่ม
- 1 ขวดให้โปรตีน 30.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 23.81 และ 30.30 กรัม ตามลำดับ)
- ไขมัน 2.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 4.69 และ 3.75 กรัม ตามลำดับ)
- คาร์โบไฮเดรต 11.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 20.74 และ 16.62 กรัม ตามลำดับ)
- โซเดียม 85 มก ต่อ 1 ขวด
* ฮูเร่เป็นเครื่องดื่มเดียวที่มีการตรวจซ้ำ เนื่องจากรอบแรกได้ค่าที่ผิดจากฉลากมาก แต่ทั้งนี้ ถ้าต้องการทดสอบมาตรฐานจริงๆ ต้องมีการตรวจสอบที่มากกว่าที่ จขกท.ทำอยู่ครับ
4. PeaFlex Pea Protein (59 บาท) (*ใช้รูปเดิมเนื่องจากไม่สามารถหาซื้อได้ตอนรีวิว)
- PeaFlex มีส่วนประกอบเป็น “น้ำโปรตีนสกัดจากถั่วลันเตา 97.43%” เท่ากับได้รับโปรตีนจาก ถั่วลันเตา 100% ไม่ได้ใส่เวย์โปรตีนเพิ่ม, ไม่ได้ใส่นมโปรตีนสูงเพิ่ม
- 1 ขวดให้โปรตีน 22.75 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 16.905 กรัม)
- ไขมัน 2.60 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 2.66 กรัม)
- คาร์โบไฮเดรต 15.75 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 11.095 กรัม)
- โซเดียม 402 มก ต่อ 1 ขวด
Moove Protein Water (รสมิกซ์เบอร์รี่) (85 บาท)
- Moove มีส่วนประกอบเป็น “เวย์โปรตีนไอโซเลท 6.3%”
แสดงว่าโปรตีนทั้งหมดในขวด เป็น เวย์โปรตีน 100% ชนิดไอโซเลท
- 1 ขวดให้โปรตีน 20.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 21.24 กรัม)
- ไขมัน 0 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 0.28 กรัม)
- คาร์โบไฮเดรต 2.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 2.48 กรัม)
- โซเดียม 30 มก ต่อ 1 ขวด
6. Tipco Beat (35 บาท)
- Tipco Beat มีส่วนประกอบเป็น “โปรตีนสกัดจากถั่วลันเตาเหลือง 5.4%” เท่ากับได้โปรตีนจาก ถั่วลันเตา 100% ไม่ได้ใส่เวย์โปรตีนเพิ่ม, ไม่ได้ใส่นมโปรตีนสูงเพิ่ม
- 1 ขวดให้โปรตีน 14.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 11.675 กรัม)
- ไขมัน 3.50 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 3.30 กรัม)
- คาร์โบไฮเดรต 21.00 กรัม (ผลตรวจแลปได้ 19.525 กรัม)
- โซเดียม 230 มก ต่อ 1 ขวด
ครบทั้ง 6 ยี่ห้อแล้วครับ
สรุป ที่ จขกท. เขียนมา ต้องการอธิบายความแตกต่างทั้งหลาย ของเครื่องดื่มโปรตีนสูงในแต่ละยี่ห้อ จะเห็นได้ว่าแต่ละเครื่องดื่มนั้นแตกต่างกันหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบขวด ราคา รสชาติ ชนิดโปรตีน ปริมาณสารอาหารต่างๆที่ได้รับ (โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, อื่นๆ) ดังนั้นจึงอยู่ที่แต่ละคนที่จะเลือกซื้อตามความต้องการของแต่ละคน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หลายๆคนที่ จขกท.รู้จัก ไม่ได้เข้าใจข้อมูลได้ครบถ้วน บางคนก็เข้าใจผิดในหลายๆด้าน จขกท.จึงอยากมาเขียนเพื่ออธิบายให้เข้าใจได้ถูกต้องและครบถ้วน เมื่อเข้าใจได้ถูกต้องแล้ว ถึงจะเลือกซื้อเครื่องดื่มโปรตีนสูง ได้ตรงตามความต้องการของตัวเองได้ถูกต้องครับ
ใครมีอะไรสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากเสนอแนะอะไรก็เชิญได้เลยนะครับ ^^
**เพิ่มเติม ตารางสรุปให้ครับ