แฉกลโกงธุรกิจรับจํานําทะเบียนรถ หลังผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วไทย ชี้โขกดอกเบี้ย - ค่าธรรมเนียมลูกหนี้สูงลิ่ว ขณะหน่วยงานรัฐยังอึ้งตามไม่ทันเล่ห์ธุรกิจ!!
กรณีพฤติกรรมการรีดนาทาเร้นโขกดอกเบี้ยเงินกู้เอาเปรียบประชาชนหาเช้ากินค่ำ โดยที่หน่วยงานรัฐแทบไม่เคยลงมาเหลียวแลนั้น ได้รับการเปิดเผยจาก 1 ในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถที่ปัจจุบันผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา ธุรกิจห้องแถว เต็นท์รถหรือจัดตั้งเป็นนิติบุคคล โดยผู้ประกอบการบางรายสามารถปั้นธุรกิจดังกล่าวจนเติบใหญ่มีพอร์ตสินเชื่อนับหมื่นล้าบาท จนสามารถนำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าการตลาดหรือมาร์เก็ตแค็ปนับแสนล้านบาท
ทั้งนี้ เหตุที่ธุรกิจเหล่านี้เฟื่องฟูมีจำนวนนับแสนรายซึ่งมากกว่าร้านสะดวกซื้อ หรือโมเดิร์นเทรด ทั้งประเทศรวมกันเสียอีกนั้น เป็นผลมาจากประชาชนหาเช้ากินค่ำไม่สามารถเข้าถึงระบบสถาบันการเงินได้ เพราะความเข้มงวดในการปล่อยกู้ และหากจะหันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยรายวัน 10 -20 % ก็ไม่สามารถแบกรับภาระได้ ธุรกิจรับจํานําทะเบียนรถ จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายของผู้ที่กำลังเดือดร้อน อีกทั้งรูปแบบการดำเนินธุรกิจก็ทำได้ง่าย เพียงเอาทะเบียนวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันก็เบิกเงินสดไปได้ แถมยังคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินกู้นอกระบบประมาณ 12 - 28% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในข้อเท็จจริงแล้ว ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถเหล่านี้ล้วนปกปิดและคิดดอกเบี้ยจริงเอาเปรียบประชาชนที่สูงกว่า 25- 50% บางรายกำหนดดอกเบี้ยในใบสัญญาเงินกู้แค่ 1.75-2% แต่มีการหลบเลี่ยงไปเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใช้เงินกู้หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆแทน ซึ่งหากคิดรวมกันจะสูงกว่า 25-50% ทั้งยังมีการกำหนดเงื่อนไขบังคับลูกหนี้เอาทรัพย์สินทะเบียรถหรือจักรยานยนต์มาเป็นหลักประกัน ก่อนจะตามยึดรถหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันเหล่านี้ เพื่อนำมาขายทอดตลาดกันเอิกเกริกหากลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามเวลา
"ที่ผ่านมาแม้ประชาชนที่เคยตกเป็นเหยื่อเคยมีการร้องไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่สามารถจะจัดการอะไรกับธุรกิจเหล่านี้ได้หลายหน่วยงานได้ แต่อ้างว่าไม่มีอำนาจตรวจสอบหรือกำกับดูแลโดยตรงอย่างธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท.ก็อ้างว่า ธุรกิจเหล่านี้ไม่ใช่สถาบันการเงินแต่เป็นธุรกิจนอนแบงก์ ไม่ได้อยู่ในกำกับของแบงก์ชาติ ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ก็ดูแต่เรื่องของสัญญาเช่าซื้อของธุรกิจลิสซิ่งเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการปล่อยเงินกู้หรือรับจำนำทะเบียนรถของบรรดาธุรกิจห้องแถวเหล่านี้"
ส่วนกระทรวงการคลังก็อ้างว่า หากเป็นการให้สินเชื่อรายย่อยที่คลังออกใบอนุญาตให้เจ้าพ่อเจ้าแม่เงินกู้ทั้งหลายไปก่อนหน้า ทั้งที่เป็นนาโนไฟแนนซ์ ที่ปล่อยกู้ให้ลูกหนี้รายย่อยรายละไม่เกิน 100,000 บาท หรือ พิโก้ ไฟแนนซ์ ที่ปล่อยกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาทนั้น รัฐเปิดโอกาสให้คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมได้สูงถึง 35-36% อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าผิดปกติ แต่หากมีการเอาเปรียบประชาชนคิดสูงกว่านี้ ก็สามารถร้องเรียนเข้ามายังคลังได้
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวยืนยันว่า ในข้อเท็จจริงการให้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ และพิโกไฟแนนซ์ที่คลังให้ใบอนุญาตออกไปนั้น ต้องเป็นการให้สินเชื่อแบบไร้หลักประกัน หรือ Clean loan เท่านั้น ไม่ใช่สินเชื่อที่บังคับเอาหลักทรัพย์ค้ำประกันจากลูกหนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถทั้งที่เป็นห้องแถว เต้นท์รถ หรือที่ผุดบริษัทขึ้นมาดำเนินการโดยตรงตามตู้โทรศัพท์นั้น ไม่มีรายใดมีใบอนุญาตประกอบกิจการจากรัฐด้วยซ้ำ
ล่าสุดแหล่งข่าวกล่าวว่า สถาบันการเงิน แบงก์ต่างชาติบางรายยังกระโดดลงมาดำเนินธุรกิจนี้อย่างเปิดเผย โดยตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการเสียเอง ทั้งที่หากหน่วยงานรัฐมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดแล้ว บรรดาธุรกิจจำนำทะเบียนรถ หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีการทำสัญญาบังคับลูกหนี้นำสินทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้เหล่านี้จะไม่สามารถทำได้ เพราะหากทำสัญญาเงินกู้ที่บังคับเรียกหลักประกันจากลูกหนี้ในลักษณะนี้ถือว่าเป็นสัญญาเงินกู้ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) มาตรา 654 ที่ต้องอยู่ในบังคับ พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% เท่านั้น เกินกว่านี้ถือเป็นการดำเนินการขัดกฎหมายทั้งสิ้น แต่ที่ผ่านมากลับไม่มีหน่วยงานใดล้วงลูกลงมาตรวจสอบอย่างจริงจัง ปล่อยให้ประชาชนที่เป็นลูกหนี้เผชิญปัญหาถูกเจ้าหนี้ไล่ยึดทรัพย์ยึด รถ-รถจักรยานยนต์ขายทอดตลาดกันเอิกเกริกโดยไม่มีหน่วยงานใดเหลียวแล
ที่มา :
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/793865
ตีแผ่กลโกงธุรกิจรับจํานําทะเบียนรถ!!
กรณีพฤติกรรมการรีดนาทาเร้นโขกดอกเบี้ยเงินกู้เอาเปรียบประชาชนหาเช้ากินค่ำ โดยที่หน่วยงานรัฐแทบไม่เคยลงมาเหลียวแลนั้น ได้รับการเปิดเผยจาก 1 ในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถที่ปัจจุบันผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา ธุรกิจห้องแถว เต็นท์รถหรือจัดตั้งเป็นนิติบุคคล โดยผู้ประกอบการบางรายสามารถปั้นธุรกิจดังกล่าวจนเติบใหญ่มีพอร์ตสินเชื่อนับหมื่นล้าบาท จนสามารถนำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าการตลาดหรือมาร์เก็ตแค็ปนับแสนล้านบาท
ทั้งนี้ เหตุที่ธุรกิจเหล่านี้เฟื่องฟูมีจำนวนนับแสนรายซึ่งมากกว่าร้านสะดวกซื้อ หรือโมเดิร์นเทรด ทั้งประเทศรวมกันเสียอีกนั้น เป็นผลมาจากประชาชนหาเช้ากินค่ำไม่สามารถเข้าถึงระบบสถาบันการเงินได้ เพราะความเข้มงวดในการปล่อยกู้ และหากจะหันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยรายวัน 10 -20 % ก็ไม่สามารถแบกรับภาระได้ ธุรกิจรับจํานําทะเบียนรถ จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายของผู้ที่กำลังเดือดร้อน อีกทั้งรูปแบบการดำเนินธุรกิจก็ทำได้ง่าย เพียงเอาทะเบียนวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันก็เบิกเงินสดไปได้ แถมยังคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินกู้นอกระบบประมาณ 12 - 28% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในข้อเท็จจริงแล้ว ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถเหล่านี้ล้วนปกปิดและคิดดอกเบี้ยจริงเอาเปรียบประชาชนที่สูงกว่า 25- 50% บางรายกำหนดดอกเบี้ยในใบสัญญาเงินกู้แค่ 1.75-2% แต่มีการหลบเลี่ยงไปเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใช้เงินกู้หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆแทน ซึ่งหากคิดรวมกันจะสูงกว่า 25-50% ทั้งยังมีการกำหนดเงื่อนไขบังคับลูกหนี้เอาทรัพย์สินทะเบียรถหรือจักรยานยนต์มาเป็นหลักประกัน ก่อนจะตามยึดรถหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันเหล่านี้ เพื่อนำมาขายทอดตลาดกันเอิกเกริกหากลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามเวลา
"ที่ผ่านมาแม้ประชาชนที่เคยตกเป็นเหยื่อเคยมีการร้องไปยังหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่สามารถจะจัดการอะไรกับธุรกิจเหล่านี้ได้หลายหน่วยงานได้ แต่อ้างว่าไม่มีอำนาจตรวจสอบหรือกำกับดูแลโดยตรงอย่างธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท.ก็อ้างว่า ธุรกิจเหล่านี้ไม่ใช่สถาบันการเงินแต่เป็นธุรกิจนอนแบงก์ ไม่ได้อยู่ในกำกับของแบงก์ชาติ ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ก็ดูแต่เรื่องของสัญญาเช่าซื้อของธุรกิจลิสซิ่งเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการปล่อยเงินกู้หรือรับจำนำทะเบียนรถของบรรดาธุรกิจห้องแถวเหล่านี้"
ส่วนกระทรวงการคลังก็อ้างว่า หากเป็นการให้สินเชื่อรายย่อยที่คลังออกใบอนุญาตให้เจ้าพ่อเจ้าแม่เงินกู้ทั้งหลายไปก่อนหน้า ทั้งที่เป็นนาโนไฟแนนซ์ ที่ปล่อยกู้ให้ลูกหนี้รายย่อยรายละไม่เกิน 100,000 บาท หรือ พิโก้ ไฟแนนซ์ ที่ปล่อยกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาทนั้น รัฐเปิดโอกาสให้คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมได้สูงถึง 35-36% อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าผิดปกติ แต่หากมีการเอาเปรียบประชาชนคิดสูงกว่านี้ ก็สามารถร้องเรียนเข้ามายังคลังได้
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวยืนยันว่า ในข้อเท็จจริงการให้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ และพิโกไฟแนนซ์ที่คลังให้ใบอนุญาตออกไปนั้น ต้องเป็นการให้สินเชื่อแบบไร้หลักประกัน หรือ Clean loan เท่านั้น ไม่ใช่สินเชื่อที่บังคับเอาหลักทรัพย์ค้ำประกันจากลูกหนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถทั้งที่เป็นห้องแถว เต้นท์รถ หรือที่ผุดบริษัทขึ้นมาดำเนินการโดยตรงตามตู้โทรศัพท์นั้น ไม่มีรายใดมีใบอนุญาตประกอบกิจการจากรัฐด้วยซ้ำ
ล่าสุดแหล่งข่าวกล่าวว่า สถาบันการเงิน แบงก์ต่างชาติบางรายยังกระโดดลงมาดำเนินธุรกิจนี้อย่างเปิดเผย โดยตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการเสียเอง ทั้งที่หากหน่วยงานรัฐมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดแล้ว บรรดาธุรกิจจำนำทะเบียนรถ หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีการทำสัญญาบังคับลูกหนี้นำสินทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้เหล่านี้จะไม่สามารถทำได้ เพราะหากทำสัญญาเงินกู้ที่บังคับเรียกหลักประกันจากลูกหนี้ในลักษณะนี้ถือว่าเป็นสัญญาเงินกู้ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) มาตรา 654 ที่ต้องอยู่ในบังคับ พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% เท่านั้น เกินกว่านี้ถือเป็นการดำเนินการขัดกฎหมายทั้งสิ้น แต่ที่ผ่านมากลับไม่มีหน่วยงานใดล้วงลูกลงมาตรวจสอบอย่างจริงจัง ปล่อยให้ประชาชนที่เป็นลูกหนี้เผชิญปัญหาถูกเจ้าหนี้ไล่ยึดทรัพย์ยึด รถ-รถจักรยานยนต์ขายทอดตลาดกันเอิกเกริกโดยไม่มีหน่วยงานใดเหลียวแล
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/793865