ในทันทีที่ รมว.คลัง "จุดพลุ" การยก "ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน นอกกำกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พ.ศ....." เพื่อเข้ามาจัดระเบียบบรรดาธุรกิจปล่อยเงินกู้ รับจำนำทะเบียนรถ หรือให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในการกำกับของ ธปท. หรือ ที่เรียกว่าธุรกิจ “นอนแบงก์” ทั้งหลาย
โดยจะมีการจัดตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นดูแลธุรกิจนอกลู่เหล่านี้โดยตรง เช่นเดียวกับกรณีการให้ใบอนุญาตผู้ประกอบธุรกิจให้บริการสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบวิชาชีพอิสระหรือนาโน ไฟแนนซ์ และสินเชื่อรายย่อยในระดับจังหวัด "พิโก้ ไฟแนนซ์" ที่คลังออกใบอนุญาตไปก่อนหน้านี้ พร้อมดึงเข้ามาอยู่ภายใต้หน่วยงานดังกล่าวด้วย
ทุกฝ่ายต่างออกมาขานรับท่าทีของกระทรวงการคลังครั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่า บรรดาธุรกิจปล่อยเงินกู้นอกระบบ เต้นท์รถที่ผันตัวมารับจำนำทะเบียน หรือธุรกิจปล่อยกู้ห้องแถวเหล่านี้ล้วนอาศัยช่องว่างทางกฎหมายที่มีเอาเปรียบประชาชนด้วยการขูดดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมสุดโหด
บางรายน้ันถึงขั้นปั้นธุรกิจนี้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีพอร์ตเป็นหมื่นล้าน มี "มาร์เก็ตแคป" เป็นแสนล้าน! แต่ที่เราเห็นกันชินตานั้นส่วนใหญ่จะมาในรูปของธุรกิจห้องแถว เต้นท์รถ บางรายตั้งโต๊ะเก้าอี้แค่ตัวเดียวหน้าร้านติดป้ายรับจำนำทะเบียนรถยนต์ก็มี หนักข้อเข้าแม้แต่สถาบันการเงินในกำกับของคลังและธปท.เอง ยังกระโจนลงไปเล่นด้วยกับธุรกิจนอกลู่เหล่านี้
ทำไมธุรกิจเหล่านี้ถึงได้เฟื่องฟูกันนัก? เหตุใดผู้คนถึงหันมาจับธุรกิจจำนำทะเบียนรถกันมากมายก่ายกองชนิดที่เรียกว่ารวมกันท้ังประเทศน่าจะมีเป็นแสนๆราย มากกว่าร้านสะดวกซื้อหรือ "โมดิร์นเทรด" ท้ังประเทศรวมกันเสียอีก!
เท่าที่สอบถาม "กูรู" ที่คลุกคลีอยู่ในวงธุรกิจนี้มานานให้คำตอบว่า เพราะธุรกิจนี้เป็นเสมือน "ที่พึ่งสุดท้าย" ของผู้คนที่ไม่สามารถจะเข้าถึงระบบสถาบันการเงินได้นั่นเองจากการที่สถาบันการเงินในระบบทั้งหลายเข้มงวดปล่อยกู้ จะให้สินเชื่อแต่ละที ตรวจสอบสถานะผู้คนราวกับนักโทษ จะหันไปกู้นอกระบบดอกเบี้ยร้อยละ 10-20 ต่อวัน ชะตากรรมลูกหนี้เงินกู้นอกระบบจุดจบเป็นอย่างไรทุกฝ่ายรู้แก่ใจกันดี
ขณะที่ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถที่ทำได้ง่ายเป็นที่พึ่งยามยากยิ่งกว่าโรงรับจำนำ จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ผู้คนนิยมใช้บริการกัน จะเงินติดล้อ เสี่ยสั่งได้ เงินกู้ทันใจเมียอะไรก็ตามแต่ แค่เอาทะเบียนมาทิ้งไว้รับเงินสดทันใจผ่อนดอกเบี้ยกันไป 12-28% เป็นอันจบง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยซะอีก!
แต่จะมีใครฉุกคิดหรือไม่ว่าประเทศไทยเรานั้นมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.)มาตรา 654 ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ร้อยละ 15 ต่อปี) และยังมี "พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา" พ.ศ.2475 ,พศ.2535 ,พ.ศ.2558 และล่าสุด พ.ศ. พ.ศ.2560 บังคับใช้อยู่ แล้วทำไมธุรกิจประเภทนี้ถึงคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดได้อย่างไม่สะทกสะท้าน!
สอบถามคนในวงการจำนำทะเบียนรถจึงถึงบางอ้อว่าเขาใช้วิธีศรีธนญชัย ปกปิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไว้ โดยหลบเลี่ยงไปพูดว่า "คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม" แทนบางที่กำหนดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 1.75% ต่อเดือนนั่นคือ 21% ต่อปี (ซึ่งเกิน 15% แน่นอน) ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถบางแบรนด์ที่ชื่อก้องหูโฆษณากรอกหูผู้คนจนคิดว่าถูกกฎหมาย 1000 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีสาขาอยู่นับ 100 แห่งทั่วประเทศนั้น คิดค่าธรรมเนียมมากกว่าดอกเบี้ยอีก!
แม้ที่ผ่านมาจะมีประชาชนผู้เสียหายที่ต้องตกเป็นเหยื่อถูกโขกดอกเบี้ยสุดโหด ต้องถูกยึดรถเพราะส่งค่างวดไม่ไหวจะร้องแรกแหกกระเชอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงการถูกเอารัดเอาเปรียบคิดดอกเบี้ยค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่คำตอบที่ได้นั้นก็คือธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท.ไม่ได้ดูแลรับผิดชอบ เพราะพวกนี้ไม่ใช่สถาบันการเงินในกำกับ ร้องไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสคบ.ก็บอกว่า "ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อรถฉันไม่เกี่ยว" อีก
ส่วนคลังนั้นไซร้ที่ผ่านมาก็อ้างว่าเป็นธุรกิจปล่อยสินเชื่อรายย่อย "นาโน-พิโก้ ไฟแนนซ์" (ปล่อยกู้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 100,000บาท) และสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด "พิโก้ไฟแนนซ์" (ปล่อยกู้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 50,000 บาท) ที่รัฐเปิดโอกาสให้คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมได้สูงถึง 35-36%
โดยที่ไม่เคยถ่างตาลงไปดูเลยว่าสินเชื่อรายย่อยนาโนไฟแนนซ์และพิโก้ไฟแนนซ์ที่ตนแจกใบอนุญาตออกไปนั้นมันเป็นสินเชื่อรายย่อยแบบ "ไร้หลักประกัน" หรือ Clean loan หาใช่เงินกู้แบบมีหลักประกันที่จะปล่อยให้ธุรกิจปล่อยเงินกู้พวกนี้เที่ยวไปไล่ยึดรถ ยึดหลักประกันลูกหนี้มาขายทอดตลาดกันได้อย่างเอิกเกริกอย่างที่เป็นอยู่
แถมบรรดาเต้นท์รถ ธุรกิจห้องแถว หรือบริษัทจำนำทะเบียนรถเค้าไม่ได้มีใบอนุญาตนี้ซักราย!
เพราะหากจัดทำเป็นสัญญาเงินกู้-สัญญาจำนำทะเบียนรถที่กำหนดเงื่อนไขให้ลูกหนี้ต้องนำเอาสินทรัพย์ นำเอารถ-จักรยานยนต์มาค้ำประกันเงินกู้ ค้ำประกันสินเชื่อใดๆ แล้ว มันถือเป็นสัญญาเงินกู้ปกติที่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) มาตรา 654 ทั้งยังต้องอยู่ภายใต้พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ที่เขากำหนดดอกเบี้ยสูงสุดไว้ไม่เกินร้อยละ 15 เท่าน้ัน
เกินกว่านั้นถือว่า "ผิดกฎหมาย" เรามีสิทธิ์ลุกขึ้นมาฟ้อนเงี้ยวฟ้องหัวพวกทำนาบนหลังคนเหล่านี้ได้หมด!!!
ที่มา :
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/794013
ตีแผ่ธุรกิจสุดเฟื่อง "จำนำทะเบียนรถ" มัดมือชกหลบเลี่ยงกฎหมายทั้งระบบ!!!
โดยจะมีการจัดตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นดูแลธุรกิจนอกลู่เหล่านี้โดยตรง เช่นเดียวกับกรณีการให้ใบอนุญาตผู้ประกอบธุรกิจให้บริการสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบวิชาชีพอิสระหรือนาโน ไฟแนนซ์ และสินเชื่อรายย่อยในระดับจังหวัด "พิโก้ ไฟแนนซ์" ที่คลังออกใบอนุญาตไปก่อนหน้านี้ พร้อมดึงเข้ามาอยู่ภายใต้หน่วยงานดังกล่าวด้วย
ทุกฝ่ายต่างออกมาขานรับท่าทีของกระทรวงการคลังครั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่า บรรดาธุรกิจปล่อยเงินกู้นอกระบบ เต้นท์รถที่ผันตัวมารับจำนำทะเบียน หรือธุรกิจปล่อยกู้ห้องแถวเหล่านี้ล้วนอาศัยช่องว่างทางกฎหมายที่มีเอาเปรียบประชาชนด้วยการขูดดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมสุดโหด
บางรายน้ันถึงขั้นปั้นธุรกิจนี้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีพอร์ตเป็นหมื่นล้าน มี "มาร์เก็ตแคป" เป็นแสนล้าน! แต่ที่เราเห็นกันชินตานั้นส่วนใหญ่จะมาในรูปของธุรกิจห้องแถว เต้นท์รถ บางรายตั้งโต๊ะเก้าอี้แค่ตัวเดียวหน้าร้านติดป้ายรับจำนำทะเบียนรถยนต์ก็มี หนักข้อเข้าแม้แต่สถาบันการเงินในกำกับของคลังและธปท.เอง ยังกระโจนลงไปเล่นด้วยกับธุรกิจนอกลู่เหล่านี้
ทำไมธุรกิจเหล่านี้ถึงได้เฟื่องฟูกันนัก? เหตุใดผู้คนถึงหันมาจับธุรกิจจำนำทะเบียนรถกันมากมายก่ายกองชนิดที่เรียกว่ารวมกันท้ังประเทศน่าจะมีเป็นแสนๆราย มากกว่าร้านสะดวกซื้อหรือ "โมดิร์นเทรด" ท้ังประเทศรวมกันเสียอีก!
เท่าที่สอบถาม "กูรู" ที่คลุกคลีอยู่ในวงธุรกิจนี้มานานให้คำตอบว่า เพราะธุรกิจนี้เป็นเสมือน "ที่พึ่งสุดท้าย" ของผู้คนที่ไม่สามารถจะเข้าถึงระบบสถาบันการเงินได้นั่นเองจากการที่สถาบันการเงินในระบบทั้งหลายเข้มงวดปล่อยกู้ จะให้สินเชื่อแต่ละที ตรวจสอบสถานะผู้คนราวกับนักโทษ จะหันไปกู้นอกระบบดอกเบี้ยร้อยละ 10-20 ต่อวัน ชะตากรรมลูกหนี้เงินกู้นอกระบบจุดจบเป็นอย่างไรทุกฝ่ายรู้แก่ใจกันดี
ขณะที่ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถที่ทำได้ง่ายเป็นที่พึ่งยามยากยิ่งกว่าโรงรับจำนำ จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ผู้คนนิยมใช้บริการกัน จะเงินติดล้อ เสี่ยสั่งได้ เงินกู้ทันใจเมียอะไรก็ตามแต่ แค่เอาทะเบียนมาทิ้งไว้รับเงินสดทันใจผ่อนดอกเบี้ยกันไป 12-28% เป็นอันจบง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยซะอีก!
แต่จะมีใครฉุกคิดหรือไม่ว่าประเทศไทยเรานั้นมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.)มาตรา 654 ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ร้อยละ 15 ต่อปี) และยังมี "พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา" พ.ศ.2475 ,พศ.2535 ,พ.ศ.2558 และล่าสุด พ.ศ. พ.ศ.2560 บังคับใช้อยู่ แล้วทำไมธุรกิจประเภทนี้ถึงคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดได้อย่างไม่สะทกสะท้าน!
สอบถามคนในวงการจำนำทะเบียนรถจึงถึงบางอ้อว่าเขาใช้วิธีศรีธนญชัย ปกปิดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไว้ โดยหลบเลี่ยงไปพูดว่า "คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม" แทนบางที่กำหนดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวม 1.75% ต่อเดือนนั่นคือ 21% ต่อปี (ซึ่งเกิน 15% แน่นอน) ธุรกิจรับจำนำทะเบียนรถบางแบรนด์ที่ชื่อก้องหูโฆษณากรอกหูผู้คนจนคิดว่าถูกกฎหมาย 1000 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีสาขาอยู่นับ 100 แห่งทั่วประเทศนั้น คิดค่าธรรมเนียมมากกว่าดอกเบี้ยอีก!
แม้ที่ผ่านมาจะมีประชาชนผู้เสียหายที่ต้องตกเป็นเหยื่อถูกโขกดอกเบี้ยสุดโหด ต้องถูกยึดรถเพราะส่งค่างวดไม่ไหวจะร้องแรกแหกกระเชอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงการถูกเอารัดเอาเปรียบคิดดอกเบี้ยค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่คำตอบที่ได้นั้นก็คือธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท.ไม่ได้ดูแลรับผิดชอบ เพราะพวกนี้ไม่ใช่สถาบันการเงินในกำกับ ร้องไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสคบ.ก็บอกว่า "ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อรถฉันไม่เกี่ยว" อีก
ส่วนคลังนั้นไซร้ที่ผ่านมาก็อ้างว่าเป็นธุรกิจปล่อยสินเชื่อรายย่อย "นาโน-พิโก้ ไฟแนนซ์" (ปล่อยกู้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 100,000บาท) และสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด "พิโก้ไฟแนนซ์" (ปล่อยกู้ลูกหนี้รายละไม่เกิน 50,000 บาท) ที่รัฐเปิดโอกาสให้คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมได้สูงถึง 35-36%
โดยที่ไม่เคยถ่างตาลงไปดูเลยว่าสินเชื่อรายย่อยนาโนไฟแนนซ์และพิโก้ไฟแนนซ์ที่ตนแจกใบอนุญาตออกไปนั้นมันเป็นสินเชื่อรายย่อยแบบ "ไร้หลักประกัน" หรือ Clean loan หาใช่เงินกู้แบบมีหลักประกันที่จะปล่อยให้ธุรกิจปล่อยเงินกู้พวกนี้เที่ยวไปไล่ยึดรถ ยึดหลักประกันลูกหนี้มาขายทอดตลาดกันได้อย่างเอิกเกริกอย่างที่เป็นอยู่
แถมบรรดาเต้นท์รถ ธุรกิจห้องแถว หรือบริษัทจำนำทะเบียนรถเค้าไม่ได้มีใบอนุญาตนี้ซักราย!
เพราะหากจัดทำเป็นสัญญาเงินกู้-สัญญาจำนำทะเบียนรถที่กำหนดเงื่อนไขให้ลูกหนี้ต้องนำเอาสินทรัพย์ นำเอารถ-จักรยานยนต์มาค้ำประกันเงินกู้ ค้ำประกันสินเชื่อใดๆ แล้ว มันถือเป็นสัญญาเงินกู้ปกติที่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) มาตรา 654 ทั้งยังต้องอยู่ภายใต้พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ที่เขากำหนดดอกเบี้ยสูงสุดไว้ไม่เกินร้อยละ 15 เท่าน้ัน
เกินกว่านั้นถือว่า "ผิดกฎหมาย" เรามีสิทธิ์ลุกขึ้นมาฟ้อนเงี้ยวฟ้องหัวพวกทำนาบนหลังคนเหล่านี้ได้หมด!!!
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/794013