ที่มา :
https://www.prachachat.net/ict/news-117543
แม้ประเทศไทยจะมีเทคโนโลยี 3G ใช้ช้ากว่าเพื่อนบ้านมาก แต่ก็ตีตื้นเร่งสปีดให้บริการ 4G กันทั่วประเทศมาได้ 2 ปีแล้ว มาวันนี้เริ่มมีการพูดถึง 5G มากขึ้น ด้วยปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโซเชียลมีเดียของคนไทยที่เติบโตก้าวกระโดดขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
อย่างไรก็ตาม ในบ้านเราผู้ที่ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ทั้งฝั่งโทรคมนาคม และบรอดแคสต์ คือ “กสทช.” หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่ง กสทช.ชุดแรกครบวาระไปตั้งแต่ ต.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่กระบวนการสรรหา กสทช.ชุดใหม่ที่จะเหลือ 7 คน จากเดิมมี 11 คน เริ่มต้นแล้ว
และที่จะพ้นจากตำแหน่งไปไม่ใช่แค่บอร์ด กสทช. แต่รวมถึงเลขาธิการ กสทช. ของ “ฐากร ตัณฑสิทธิ์” ด้วย เพราะเจ้าตัวไปสมัครกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำให้ในระหว่างนี้ ทั้งบอร์ดชุดเดิม และเลขาธิการ กสทช. มีภารกิจเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ
เบรกประมูลคลื่น 900MHz
“ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาธิการ กสทช. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้รับทราบการเปิดประมูลคลื่นภายใต้สัมปทานดีแทค ก่อนที่สัมปทานจะสิ้นสุดลง ก.ย. 2561 เพื่อไม่ต้องเข้าสู่ช่วงเยียวยาผู้บริโภคหลังสิ้นสุดสัมปทานเหมือนกรณีแคทกับทรูมูฟ, ดิจิตอลโฟน และบมจ.ทีโอทีกับเอไอเอส ซึ่งปัจจุบันภาครัฐยังเรียกเก็บเงินรายได้จากการให้บริการในช่วงเยียวยาไม่ได้ (สัมปทานทรูมูฟ-ดิจิตอลโฟน สิ้นสุด ก.ย. 2556)
“สำนักงาน กสทช.ได้เสนอให้นำคลื่นใต้สัมปทานดีแทคที่กำลังจะสิ้นสุดนำมาออกประมูลเฉพาะย่าน 1800 MHz แถบกว้าง 45 MHz ส่วนคลื่น 900 MHz ที่เดิมจะประมูล 1 ใบอนุญาต ขนาด 5 MHz ได้ขอให้บอร์ด กสทช.ระงับไว้ก่อน เนื่องจากมีปัญหาด้านเทคนิคเกี่ยวกับการรบกวนกันระหว่างคลื่นที่จะนำออกประมูลกับส่วนที่ กสทช.จัดสรรให้รถไฟความเร็วสูงนำไปใช้จึงควรทดสอบให้แน่ใจว่าการติดตั้งอุปกรณ์กันคลื่นรบกวนที่ต้องใช้เงินลงทุนราว 2,000 ล้านบาท มีประสิทธิภาพเพียงพอ ค่อยนำคลื่นส่วนนี้ออกประมูล”
โดยเลขาธิการ “กสทช.” ย้ำว่า การเตรียมการประมูลจะเดินหน้าไปพร้อมกันการสรรหา กสทช.ชุดใหม่ เพื่อไม่ให้ล่าช้า ซึ่งกำลังรอคำตอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ได้หารือประเด็นดังกล่าวไว้
ชงเกณฑ์ประมูล 1800 MHz
ด้าน นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการ กสทช.ด้านโทรคมนาคม มีมติให้เสนอบอร์ดใหญ่ปรับเกณฑ์ประมูลคลื่น 1800 MHz หลังเปิดประชาพิจารณ์ โดยเปลี่ยนจากประมูล 3 ใบอนุญาต ใบละ 15 MHz เป็นการแบ่งคลื่นเป็น9 บล็อก บล็อกละ 5 MHz และให้แต่ละรายประมูลได้ไม่เกิน 4 บล็อก
2300 MHz ทีโอทียังต้องลุ้น
ส่วนคลื่นย่าน 2300 MHz “กสทช. ประวิทย์” กล่าวว่า มติ กสทช.เดิมอนุมัติให้ บมจ.ทีโอที ใช้งานได้ 60 MHz จนถึงปี 2568 ก่อนนี้ทีโอทีทำหนังสือสอบถามประเด็นด้านกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาพาร์ตเนอร์กับดีแทค ซึ่งมติคณะอนุกรรมการได้แจ้งไปยังทีโอทีแล้วว่า กสทช.จะตรวจสัญญาที่มีการลงนามแล้วเท่านั้นว่าขัดกับกฎหมายของ กสทช.หรือไม่ หากพบว่ามีการขัดหรือแย้งจะแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้อง แต่ไม่มีผลกระทบทำให้การเปิดให้บริการล่าช้าหรือต้องยกเลิกสัญญา
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เชื่อมั่นว่าจะลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรกับดีแทคเพื่อใช้คลื่น 2300 MHz ได้ภายในไตรมาส 1 ปีนี้ เนื่องจากรอแค่ขั้นตอนการตรวจสัญญาของสำนักงานอัยการ สูงสุดก่อนเสนอให้บอร์ดทีโอที อนุมัติลงนามในสัญญา คาดว่าหลังลงนามแล้วจะใช้เวลาวางโครงข่ายอีก 6-9 เดือนจึงพร้อมเปิดให้บริการ
“ตามแผนที่วางไว้ ดีแทคจะลงทุนสร้างโครงข่าย และทีโอทีจะเช่าเพื่อนำมาใช้กับคลื่น 2300 MHz แล้วขายคาปาซิตี้กลับให้ดีแทค 60% ที่เหลือทีโอทีจะใช้งานเอง โดยแบ่ง 20% ไปให้บริการ 4G อีก 20% ให้บริการ fixed wireless broadband ซึ่งจะเพิ่มรายได้ให้เฉพาะจากดีแทค 4,500 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มได้อีกจากการทำตลาดของทีโอที”
โดยทีโอทีมีเป้าหมายในส่วนของการให้บริการ 4G คือผลักดันให้มีฐานลูกค้า 7 แสน-1 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมีราว 1 แสนราย รวมทั้งในส่วน MVNO (ผู้เช่าใช้โครงข่าย) และลูกค้า TOT3G ของทีโอทีเอง ขณะที่ fixed wireless broadband จะนำมาทดแทนบริการบรอดแบนด์บนสายทองแดง ตั้งเป้าลูกค้าไว้ 1.3 ล้านราย
“ถ้าขยายโครงข่ายได้เร็วคาดว่าในปี 2562 อาจขยับไปถึง 7-8 พันล้านบาท”
2600 MHz รอไปยาว ๆ
ขณะที่คลื่นย่าน 2600 MHz ที่ปัจจุบัน บมจ.อสมท ถือครองอยู่มากที่สุด เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่าจะมีการเรียกคืนคลื่นนำมาจัดสรรใหม่ แต่ต้องเจรจาเพื่อเข้าสู่กระบวนการเยียวยาการเรียกคืนคลื่น ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะ
โดยแหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช.เปิดเผยว่า หลังจากบอร์ด กสทช.มีมติอนุมัติให้ออกหมายเลข network code บนคลื่น 2600 MHz เพื่อ อสมท ให้บริการทีวีบอกรับสมาชิกบนเทคโนโลยี BWA ได้ ล่าสุดกำลังขออนุญาตนำเข้าอุปกรณ์โครงข่าย ดังนั้น หากในอนาคต กสทช.เรียกคืนคลื่นย่านนี้ เชื่อว่าจะต้องมีการเรียกร้องค่าเสียหายจากการจัดซื้อ
เงินประมูล 900 MHz ยังยืดเยื้อ
ขณะที่การยืดเวลาจ่ายเงินประมูลคลื่น 900 MHz ที่บริษัท ทรูมูฟ เอชยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ยื่นขอให้ คสช.พิจารณา ยังไม่ได้ข้อสรุป
มองอนาคต เตรียมรับ 5G
ด้านการเตรียมความพร้อมรองรับ 5G เลขาธิการ กสทช.เปิดเผยว่า สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กำลังหารือจะกำหนดแถบคลื่นมาตรฐานสำหรับ 5G และ 6G โดยมีแนวคิดจะใช้ย่าน 26000-28000 MHz ซึ่งปัจจุบันใช้ในกิจการดาวเทียม แต่โอเปอเรเตอร์ในไทยก็เริ่มทดลองแล้ว อาทิ เอไอเอส ที่ทดลอง 5G บนคลื่น 1800 MHz
เจาะภารกิจโค้งท้าย “กสทช.” เคลียร์เกณฑ์ประมูลชงจัดสรรคลื่น
แม้ประเทศไทยจะมีเทคโนโลยี 3G ใช้ช้ากว่าเพื่อนบ้านมาก แต่ก็ตีตื้นเร่งสปีดให้บริการ 4G กันทั่วประเทศมาได้ 2 ปีแล้ว มาวันนี้เริ่มมีการพูดถึง 5G มากขึ้น ด้วยปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโซเชียลมีเดียของคนไทยที่เติบโตก้าวกระโดดขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
อย่างไรก็ตาม ในบ้านเราผู้ที่ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ทั้งฝั่งโทรคมนาคม และบรอดแคสต์ คือ “กสทช.” หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่ง กสทช.ชุดแรกครบวาระไปตั้งแต่ ต.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่กระบวนการสรรหา กสทช.ชุดใหม่ที่จะเหลือ 7 คน จากเดิมมี 11 คน เริ่มต้นแล้ว
และที่จะพ้นจากตำแหน่งไปไม่ใช่แค่บอร์ด กสทช. แต่รวมถึงเลขาธิการ กสทช. ของ “ฐากร ตัณฑสิทธิ์” ด้วย เพราะเจ้าตัวไปสมัครกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำให้ในระหว่างนี้ ทั้งบอร์ดชุดเดิม และเลขาธิการ กสทช. มีภารกิจเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ
เบรกประมูลคลื่น 900MHz
“ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาธิการ กสทช. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้รับทราบการเปิดประมูลคลื่นภายใต้สัมปทานดีแทค ก่อนที่สัมปทานจะสิ้นสุดลง ก.ย. 2561 เพื่อไม่ต้องเข้าสู่ช่วงเยียวยาผู้บริโภคหลังสิ้นสุดสัมปทานเหมือนกรณีแคทกับทรูมูฟ, ดิจิตอลโฟน และบมจ.ทีโอทีกับเอไอเอส ซึ่งปัจจุบันภาครัฐยังเรียกเก็บเงินรายได้จากการให้บริการในช่วงเยียวยาไม่ได้ (สัมปทานทรูมูฟ-ดิจิตอลโฟน สิ้นสุด ก.ย. 2556)
“สำนักงาน กสทช.ได้เสนอให้นำคลื่นใต้สัมปทานดีแทคที่กำลังจะสิ้นสุดนำมาออกประมูลเฉพาะย่าน 1800 MHz แถบกว้าง 45 MHz ส่วนคลื่น 900 MHz ที่เดิมจะประมูล 1 ใบอนุญาต ขนาด 5 MHz ได้ขอให้บอร์ด กสทช.ระงับไว้ก่อน เนื่องจากมีปัญหาด้านเทคนิคเกี่ยวกับการรบกวนกันระหว่างคลื่นที่จะนำออกประมูลกับส่วนที่ กสทช.จัดสรรให้รถไฟความเร็วสูงนำไปใช้จึงควรทดสอบให้แน่ใจว่าการติดตั้งอุปกรณ์กันคลื่นรบกวนที่ต้องใช้เงินลงทุนราว 2,000 ล้านบาท มีประสิทธิภาพเพียงพอ ค่อยนำคลื่นส่วนนี้ออกประมูล”
โดยเลขาธิการ “กสทช.” ย้ำว่า การเตรียมการประมูลจะเดินหน้าไปพร้อมกันการสรรหา กสทช.ชุดใหม่ เพื่อไม่ให้ล่าช้า ซึ่งกำลังรอคำตอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ได้หารือประเด็นดังกล่าวไว้
ชงเกณฑ์ประมูล 1800 MHz
ด้าน นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการ กสทช.ด้านโทรคมนาคม มีมติให้เสนอบอร์ดใหญ่ปรับเกณฑ์ประมูลคลื่น 1800 MHz หลังเปิดประชาพิจารณ์ โดยเปลี่ยนจากประมูล 3 ใบอนุญาต ใบละ 15 MHz เป็นการแบ่งคลื่นเป็น9 บล็อก บล็อกละ 5 MHz และให้แต่ละรายประมูลได้ไม่เกิน 4 บล็อก
2300 MHz ทีโอทียังต้องลุ้น
ส่วนคลื่นย่าน 2300 MHz “กสทช. ประวิทย์” กล่าวว่า มติ กสทช.เดิมอนุมัติให้ บมจ.ทีโอที ใช้งานได้ 60 MHz จนถึงปี 2568 ก่อนนี้ทีโอทีทำหนังสือสอบถามประเด็นด้านกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาพาร์ตเนอร์กับดีแทค ซึ่งมติคณะอนุกรรมการได้แจ้งไปยังทีโอทีแล้วว่า กสทช.จะตรวจสัญญาที่มีการลงนามแล้วเท่านั้นว่าขัดกับกฎหมายของ กสทช.หรือไม่ หากพบว่ามีการขัดหรือแย้งจะแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้อง แต่ไม่มีผลกระทบทำให้การเปิดให้บริการล่าช้าหรือต้องยกเลิกสัญญา
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอที เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เชื่อมั่นว่าจะลงนามในสัญญาเป็นพันธมิตรกับดีแทคเพื่อใช้คลื่น 2300 MHz ได้ภายในไตรมาส 1 ปีนี้ เนื่องจากรอแค่ขั้นตอนการตรวจสัญญาของสำนักงานอัยการ สูงสุดก่อนเสนอให้บอร์ดทีโอที อนุมัติลงนามในสัญญา คาดว่าหลังลงนามแล้วจะใช้เวลาวางโครงข่ายอีก 6-9 เดือนจึงพร้อมเปิดให้บริการ
“ตามแผนที่วางไว้ ดีแทคจะลงทุนสร้างโครงข่าย และทีโอทีจะเช่าเพื่อนำมาใช้กับคลื่น 2300 MHz แล้วขายคาปาซิตี้กลับให้ดีแทค 60% ที่เหลือทีโอทีจะใช้งานเอง โดยแบ่ง 20% ไปให้บริการ 4G อีก 20% ให้บริการ fixed wireless broadband ซึ่งจะเพิ่มรายได้ให้เฉพาะจากดีแทค 4,500 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มได้อีกจากการทำตลาดของทีโอที”
โดยทีโอทีมีเป้าหมายในส่วนของการให้บริการ 4G คือผลักดันให้มีฐานลูกค้า 7 แสน-1 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันมีราว 1 แสนราย รวมทั้งในส่วน MVNO (ผู้เช่าใช้โครงข่าย) และลูกค้า TOT3G ของทีโอทีเอง ขณะที่ fixed wireless broadband จะนำมาทดแทนบริการบรอดแบนด์บนสายทองแดง ตั้งเป้าลูกค้าไว้ 1.3 ล้านราย
“ถ้าขยายโครงข่ายได้เร็วคาดว่าในปี 2562 อาจขยับไปถึง 7-8 พันล้านบาท”
2600 MHz รอไปยาว ๆ
ขณะที่คลื่นย่าน 2600 MHz ที่ปัจจุบัน บมจ.อสมท ถือครองอยู่มากที่สุด เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่าจะมีการเรียกคืนคลื่นนำมาจัดสรรใหม่ แต่ต้องเจรจาเพื่อเข้าสู่กระบวนการเยียวยาการเรียกคืนคลื่น ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะ
โดยแหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช.เปิดเผยว่า หลังจากบอร์ด กสทช.มีมติอนุมัติให้ออกหมายเลข network code บนคลื่น 2600 MHz เพื่อ อสมท ให้บริการทีวีบอกรับสมาชิกบนเทคโนโลยี BWA ได้ ล่าสุดกำลังขออนุญาตนำเข้าอุปกรณ์โครงข่าย ดังนั้น หากในอนาคต กสทช.เรียกคืนคลื่นย่านนี้ เชื่อว่าจะต้องมีการเรียกร้องค่าเสียหายจากการจัดซื้อ
เงินประมูล 900 MHz ยังยืดเยื้อ
ขณะที่การยืดเวลาจ่ายเงินประมูลคลื่น 900 MHz ที่บริษัท ทรูมูฟ เอชยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ยื่นขอให้ คสช.พิจารณา ยังไม่ได้ข้อสรุป
มองอนาคต เตรียมรับ 5G
ด้านการเตรียมความพร้อมรองรับ 5G เลขาธิการ กสทช.เปิดเผยว่า สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) กำลังหารือจะกำหนดแถบคลื่นมาตรฐานสำหรับ 5G และ 6G โดยมีแนวคิดจะใช้ย่าน 26000-28000 MHz ซึ่งปัจจุบันใช้ในกิจการดาวเทียม แต่โอเปอเรเตอร์ในไทยก็เริ่มทดลองแล้ว อาทิ เอไอเอส ที่ทดลอง 5G บนคลื่น 1800 MHz