สัมภาษณ์: พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เกมธุรกิจ-บทบาท กสทช.หลังประมูลคลื่น
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เสร็จสิ้นเสียทีกับมหากาพย์ประมูลคลื่น 900-1800 MHz ที่ลากยาวมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และมีปัญหาให้ต้องลุ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ในที่สุด "กสทช." ก็สามารถ นำส่งเงินประมูลคลื่นงวดแรกและเงินค่าปรับจากการทิ้งไลเซนส์กว่า 57,300 ล้านบาท นำส่งเข้าคลังเรียบร้อย จากยอดรวมการปิดประมูล 4 ใบอนุญาต 232,730 ล้านบาท เสร็จภารกิจใหญ่จากนี้จะทำอะไรต่อ "พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีคำตอบ
แผนการกำกับดูแลหลังจากนี้
ตลาดจะแข่งขันรุนแรง รายที่ลงทุนประมูลคลื่นไปสูง จะผลักตัวเองให้ได้เปรียบเร็วที่สุด ตอนนี้เห็นได้ชัดว่าแต่ละรายทำเรื่องขอนำเข้าอุปกรณ์มาติดตั้งเยอะแบบมหาศาล และเป็นแบบ LTE A คือเป็นมัลติแบนด์ แม้รายที่ 3 ยังไม่ชัดเจนเรื่องคลื่นในมือว่าหมดสัมปทานปี 2561 จะได้คลื่นหรือไม่ ยังไม่รู้นโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล เวลานั้นว่าจะเอาอย่างไร
การลงทุน 4G เป็นความหวังกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ และการเร่งปูพรมจะทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากจากนี้ LTE A จะอัพความเร็วไปได้ถึง 400-500 Mbps แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ จะขึ้นมาอยู่บนโมบาย จะได้เห็นการ Disrupt ธุรกิจดั้งเดิมด้วยเทคโนโลยีเยอะขึ้นเพียงแต่จะไม่เร็วเท่าประเทศอื่น เพราะเราอยู่ในภาวะที่ยังไม่กล้าลงทุนอะไรมาก
แนวทางกำกับโอเปอเรเตอร์
LTE A ใช้ทุกย่านพร้อมกันแล้วสวิตช์ไปมา ฉะนั้น จะกำกับแบบแยกย่านคลื่นเหมือนเดิมไม่ได้ แต่เพดานราคาขั้นสูงยังจำเป็น เพราะยังไม่เห็นสภาพการแข่งขันหลังจัดสรรคลื่น แต่อีกปีสองปีอาจไม่จำเป็นแล้วด้วยกลไกตลาด ยิ่งการประมูลที่แข่งราคากันดุเดือด โอกาสที่แต่ละรายจะมาจับมือกันฮั้วราคาเหมือนก่อนยากขึ้น รวมถึงมี MVNO หลายรายเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
การประมูลที่ผ่านมา โดยส่วนตัวมองว่าโอกาสที่ผู้ประกอบการขนาดกลางจะเข้ามาในตลาดก็ทำได้ยาก น่าจะมีการแก้ไขกฎหมายที่สร้างแต้มต่อเปิดให้ผู้ประกอบการ รายใหม่เข้ามาแข่งขันได้ เช่น เปิดให้มีรายใหม่เข้ามาประมูลก่อน ถ้าไม่มีใครเข้ามาค่อยเปิดใหม่อีกรอบให้รายเก่าประมูล
เชื่อว่า MVNO จะเปลี่ยนตลาด
ถ้ามีลูกค้าระดับล้านเลขหมาย ก็จะทำให้ค่ายใหญ่หันมาเปิดโครงข่ายแล้วหาพันธมิตรดี ๆ มาทำ MVNO โดยแบ่งตลาดกันเพื่อไปสู้กับ MVNO รายก่อนนี้ ทำให้เกิดพลวัตของตลาดเอง ซึ่งไวท์สเปซเปิดตัวซิมเพนกวินเป็นตัวอย่างแล้ว ทำให้เห็นว่าความเชี่ยวชาญในการทำตลาดสำคัญกว่าเงินลงทุน เงินไม่ใช่ปัจจัยแรก ๆ แต่ ครีเอทิวิตี้การมองตลาดให้ขาด รวมถึงโครงข่ายที่เป็นพาร์ตเนอร์ที่ดี คือปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้
จะส่งเสริมเต็มที่
จะแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้การอนุมัติเลขหมายให้ MVNO ทำได้เร็วขึ้น ดูแล้วน่าจะมีลูกค้าได้ถึงล้านรายเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะเป็นระดับที่ก่อให้เกิดอิมแพ็กต์กับตลาดเพราะเท่ากับ 5% ของลูกค้าค่ายใหญ่ แล้วจะก้าวขึ้นไป 10%, 20% ได้เร็วขึ้น
แผนจัดสรรคลื่นต่อไป
มองที่ 700 MHz เพียงแต่กรอบเวลา 5 ปีที่บอร์ดใหญ่วางไว้ก็มองว่าช้าไป แต่ในที่สุดเทคโนโลยีของโลกจะกดดันให้ต้องไปให้เร็วกว่านั้นอยู่แล้ว เพราะใน 3-5 ปีข้างหน้าจะมีการใช้ดาต้ามากกว่าปัจจุบัน 5-10 เท่า ขณะที่เพื่อนบ้านรอบ ๆ เราก็เอาย่าน 700 MHz มาใช้สำหรับโทรคมนาคมแต่ตอนนี้เรายังใช้กับฝั่งบรอดแคสต์อยู่ เท่ากับว่าเราจะตันเลยนะ บอร์ด กสทช.ชุดหน้าจะเหนื่อยมากในการจัดประมูลคลื่น
ยังมีคลื่นย่านอื่นอีก
ยังมี 2600 MHz ส่วน 2300 MHz กทค.อนุมัติให้ทีโอทีใช้ไปแล้ว 60 MHz ถึงปี 2568 แต่ก็เอากลับมาได้หากไม่มีการใช้ประโยชน์ แต่มีเงื่อนไขด้านเทคโนโลยีที่ต้องใช้ TDD LTE ซึ่งมีมาตรฐานใช้เป็นหลักในประเทศจีนเท่านั้น ซัพพลายเออร์จีนอย่างหัวเว่ยก็พยายามผลักดันให้มีประเทศอื่น ๆ นำไปใช้ด้วย เพื่อให้อุปกรณ์ราคาถูกลง ซึ่งตอนนี้ก็มีการพัฒนาอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกัน คือ ใช้คลื่น 2300 MHz แบบ TDD คู่กับคลื่น 1800, 900 MHz แบบ FDD ได้ในแฮนด์เซตเดียวกัน เรียกว่ามีการผลักดัน ในระดับรัฐบาล
แต่การจะนำมาใช้ก็คงจะต้อง เป็นจุดที่มีการใช้แบนด์วิดท์เยอะมากจนอยู่ในภาวะที่ เหมือนเอาปืนมาจี้คอให้ กสทช. ต้องนำ 2300 MHz มาใช้
ทีโอทีกำลังหาพาร์ตเนอร์มาทำคลื่นนี้
ใช่ แต่เชื่อว่าในที่สุด กสทช.กับทีโอทีจะคุยกัน คือถ้าหาพาร์ตเนอร์ได้แล้วจะเอามาทำในรูปแบบ MVNO (เช่าใช้โครงข่าย) ก็ต้องมาดูเงื่อนไขกันว่า ทำได้แค่ไหนยังไง เพราะ กสทช.อนุญาตให้ไปแบบมีเงื่อนไข คือ ส่วนหนึ่งต้องเอาไปทำเพื่อบริการสาธารณะ
คือถ้าปีหน้ายังไม่มีแผนธุรกิจ ก็คงต้องมีการสอบถามกัน เพราะเกณฑ์ปกติของ กสทช. คือ ถ้าได้รับใบอนุญาตไป 2 ปีแล้วยังไม่ดำเนินการก็ต้องมีการกดดันและขอคืนคลื่น
แต่ กสทช.ไม่เคยขอคืนคลื่นได้
ไม่ใช่ขอคืนไม่ได้ แต่เพราะเขายังมีเหตุผลแบบนั้นแบบนี้ที่ยกขึ้นมา กสทช.ไม่มีอำนาจเข้าไปก้าวล่วงในสัมปทานหรือสัญญาที่ทำไว้ กรณีทีโอทีถ้าชัดเจนว่า 2 ปีแล้วยังไม่ได้ใช้งาน ก็แสดงว่าไม่เวิร์กแล้วที่จะเอาคืน
คลื่น 2600 MHz จะเรียกคืนได้
ต้องไปดูฝั่งบอร์ดกระจายเสียงว่า อสมท จะทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีการเรียกคืนสำเร็จจะกลายเป็นคลื่นฝั่งโมบาย แล้วการจัดประมูลถ้าได้คืนมาแน่ ๆ ใช้เวลาแค่ปีเดียวก็จัดได้ ปัญหาตอนนี้คือเอาคืนมาให้ได้ก่อนแล้วกัน
คือเราเริ่มเชี่ยวชาญในการจัดประมูลแล้ว จึงไม่ต้องกังวล ที่กังวลมากกว่าคือ จะมี ใครมาเข้าประมูลไหม เพราะคลื่นมันแพง บอร์ดชุดใหม่ต้องยืนตามมติ กทค. เดิมที่ให้ยืนราคาเริ่มต้นคลื่นไว้ในราคาสิ้นสุดประมูลล่าสุด
แต่ผู้บริโภคใช้แบนด์วิดท์เยอะขึ้นเรื่อย ๆ
ใช่ แต่ในอนาคตเทคโนโลยีเปลี่ยนไป สามารถสร้างความจุโครงข่ายได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องใช้คลื่นมาก ๆ อีกแล้ว มองว่าปี 2563 เมื่อ 5G มา เราจะได้เห็นสิ่งนี้โลกในอีก 3-5 ปีข้างหน้า อยู่ในภาวะที่พยากรณ์ไม่ได้เลยว่าราคาคลื่นมันควรจะเป็นเท่าไร บางทีการให้คลื่นถูกกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง อาจจะมีประโยชน์กว่าการให้คลื่นแพงก็ได้ เพราะมันได้ไปทำธุรกิจต่อ สร้างงานสร้างแพลตฟอร์มต่าง ๆ ให้ประเทศ
5G จะมาปีไหน
มาอยู่แล้ว น่าจะปี 2563 แต่ 5G ก็แค่ซื้อแอ็กเซสพอยต์มาเพิ่ม เหมือนเป็นเบสสเตชั่นย่อย ๆ เท่านั้นเอง เพื่อให้สปีดได้เร็วถึง 1 Gbps และทำให้ WiFi วิ่งคู่กับโมบายได้โดยใช้เทคนิคอัดทราฟฟิกไว้ในเวลาเดียวกัน คลื่นมันจะรวมกัน ตอนนี้ WiFi ก็เป็นคลื่นที่ไม่ต้องขอไลเซนส์ ทุกค่ายยังใช้งานร่วมกันได้ยังไม่มีตีกัน กวนกัน
คลื่นสัมปทานดีแทคไม่ประมูลล่วงหน้า
ฝ่ายกฎหมายตีความแล้วว่า ห้ามก้าวล่วงสัมปทานก่อน บอร์ดชุดนี้แค่เตรียมการศึกษาไว้ให้ เพราะเราจะหมดวาระ ต.ค. 2560 ฉะนั้น มีความเป็นไปได้ว่าจนหมดวาระน่าจะไม่มีการประมูลคลื่นอีกแล้ว ยกเว้นว่าทีโอทีจะคืน 2300 MHz ให้ตามนโยบายรัฐบาลในอนาคต เช่น คืนมาสัก 30 MHz แลกกับการได้ค่าชดเชยเพื่อเอาไปลงทุนธุรกิจอื่นต่อไป ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่ กสทช.ที่เสนอไอเดียต้องเป็นนโยบายจากรัฐบาล
เตรียมศึกษาประมูลรอบใหม่ไว้แค่ไหน
ยังไม่ได้มีการประเมินราคา เพราะอยู่ในภาวะที่คาดเดายาก แต่วางกรอบเวลาไว้ คือ เมื่อบอร์ด กสทช.ชุดใหม่มา ต.ค. 2560 หรือต้นปี 2561 ก็ให้เริ่มเตรียมการประมูลได้เลย เพื่อให้ทันประมูล ณ วันที่สัมปทานหมดทันที แล้วส่วนอื่นก็น่าจะ ใช้ของเดิม ๆ ได้ ยกเว้นว่ากฎหมายจะเปลี่ยนมาก แต่เท่าที่ดู ส่วนนี้ก็ไม่น่าจะเปลี่ยนมาก
งานที่จะเห็นก่อนหมดวาระ
งานคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารคลื่นความถี่ในงานที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงย่าน 800 MHz ที่จะต้องใช้ แต่จะไป คอนฟลิกต์กับส่วนที่โมบายใช้อยู่ กำลังศึกษาแนวทาง การกำกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ที่เกี่ยวข้องกับ IoT และการบริหารเลขหมาย
กิจการดาวเทียม
ควรไปอยู่กับรัฐบาล เพราะแอดมินในการไฟลิ่ง กับไอทียูอยู่ที่ไอซีที ตอนนี้เหมือนให้ กสทช.เป็นตรายางต้องรอทุกอย่างยืนยันจากกระทรวง ฉะนั้น ควรมี พ.ร.บ.ดาวเทียมไป เฉพาะเลย
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 32, 28)
สัมภาษณ์: พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เกมธุรกิจ-บทบาท กสทช.หลังประมูลคลื่น
สัมภาษณ์: พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เกมธุรกิจ-บทบาท กสทช.หลังประมูลคลื่น
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เสร็จสิ้นเสียทีกับมหากาพย์ประมูลคลื่น 900-1800 MHz ที่ลากยาวมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และมีปัญหาให้ต้องลุ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ในที่สุด "กสทช." ก็สามารถ นำส่งเงินประมูลคลื่นงวดแรกและเงินค่าปรับจากการทิ้งไลเซนส์กว่า 57,300 ล้านบาท นำส่งเข้าคลังเรียบร้อย จากยอดรวมการปิดประมูล 4 ใบอนุญาต 232,730 ล้านบาท เสร็จภารกิจใหญ่จากนี้จะทำอะไรต่อ "พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีคำตอบ
แผนการกำกับดูแลหลังจากนี้
ตลาดจะแข่งขันรุนแรง รายที่ลงทุนประมูลคลื่นไปสูง จะผลักตัวเองให้ได้เปรียบเร็วที่สุด ตอนนี้เห็นได้ชัดว่าแต่ละรายทำเรื่องขอนำเข้าอุปกรณ์มาติดตั้งเยอะแบบมหาศาล และเป็นแบบ LTE A คือเป็นมัลติแบนด์ แม้รายที่ 3 ยังไม่ชัดเจนเรื่องคลื่นในมือว่าหมดสัมปทานปี 2561 จะได้คลื่นหรือไม่ ยังไม่รู้นโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล เวลานั้นว่าจะเอาอย่างไร
การลงทุน 4G เป็นความหวังกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ และการเร่งปูพรมจะทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากจากนี้ LTE A จะอัพความเร็วไปได้ถึง 400-500 Mbps แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ จะขึ้นมาอยู่บนโมบาย จะได้เห็นการ Disrupt ธุรกิจดั้งเดิมด้วยเทคโนโลยีเยอะขึ้นเพียงแต่จะไม่เร็วเท่าประเทศอื่น เพราะเราอยู่ในภาวะที่ยังไม่กล้าลงทุนอะไรมาก
แนวทางกำกับโอเปอเรเตอร์
LTE A ใช้ทุกย่านพร้อมกันแล้วสวิตช์ไปมา ฉะนั้น จะกำกับแบบแยกย่านคลื่นเหมือนเดิมไม่ได้ แต่เพดานราคาขั้นสูงยังจำเป็น เพราะยังไม่เห็นสภาพการแข่งขันหลังจัดสรรคลื่น แต่อีกปีสองปีอาจไม่จำเป็นแล้วด้วยกลไกตลาด ยิ่งการประมูลที่แข่งราคากันดุเดือด โอกาสที่แต่ละรายจะมาจับมือกันฮั้วราคาเหมือนก่อนยากขึ้น รวมถึงมี MVNO หลายรายเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
การประมูลที่ผ่านมา โดยส่วนตัวมองว่าโอกาสที่ผู้ประกอบการขนาดกลางจะเข้ามาในตลาดก็ทำได้ยาก น่าจะมีการแก้ไขกฎหมายที่สร้างแต้มต่อเปิดให้ผู้ประกอบการ รายใหม่เข้ามาแข่งขันได้ เช่น เปิดให้มีรายใหม่เข้ามาประมูลก่อน ถ้าไม่มีใครเข้ามาค่อยเปิดใหม่อีกรอบให้รายเก่าประมูล
เชื่อว่า MVNO จะเปลี่ยนตลาด
ถ้ามีลูกค้าระดับล้านเลขหมาย ก็จะทำให้ค่ายใหญ่หันมาเปิดโครงข่ายแล้วหาพันธมิตรดี ๆ มาทำ MVNO โดยแบ่งตลาดกันเพื่อไปสู้กับ MVNO รายก่อนนี้ ทำให้เกิดพลวัตของตลาดเอง ซึ่งไวท์สเปซเปิดตัวซิมเพนกวินเป็นตัวอย่างแล้ว ทำให้เห็นว่าความเชี่ยวชาญในการทำตลาดสำคัญกว่าเงินลงทุน เงินไม่ใช่ปัจจัยแรก ๆ แต่ ครีเอทิวิตี้การมองตลาดให้ขาด รวมถึงโครงข่ายที่เป็นพาร์ตเนอร์ที่ดี คือปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้
จะส่งเสริมเต็มที่
จะแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้การอนุมัติเลขหมายให้ MVNO ทำได้เร็วขึ้น ดูแล้วน่าจะมีลูกค้าได้ถึงล้านรายเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะเป็นระดับที่ก่อให้เกิดอิมแพ็กต์กับตลาดเพราะเท่ากับ 5% ของลูกค้าค่ายใหญ่ แล้วจะก้าวขึ้นไป 10%, 20% ได้เร็วขึ้น
แผนจัดสรรคลื่นต่อไป
มองที่ 700 MHz เพียงแต่กรอบเวลา 5 ปีที่บอร์ดใหญ่วางไว้ก็มองว่าช้าไป แต่ในที่สุดเทคโนโลยีของโลกจะกดดันให้ต้องไปให้เร็วกว่านั้นอยู่แล้ว เพราะใน 3-5 ปีข้างหน้าจะมีการใช้ดาต้ามากกว่าปัจจุบัน 5-10 เท่า ขณะที่เพื่อนบ้านรอบ ๆ เราก็เอาย่าน 700 MHz มาใช้สำหรับโทรคมนาคมแต่ตอนนี้เรายังใช้กับฝั่งบรอดแคสต์อยู่ เท่ากับว่าเราจะตันเลยนะ บอร์ด กสทช.ชุดหน้าจะเหนื่อยมากในการจัดประมูลคลื่น
ยังมีคลื่นย่านอื่นอีก
ยังมี 2600 MHz ส่วน 2300 MHz กทค.อนุมัติให้ทีโอทีใช้ไปแล้ว 60 MHz ถึงปี 2568 แต่ก็เอากลับมาได้หากไม่มีการใช้ประโยชน์ แต่มีเงื่อนไขด้านเทคโนโลยีที่ต้องใช้ TDD LTE ซึ่งมีมาตรฐานใช้เป็นหลักในประเทศจีนเท่านั้น ซัพพลายเออร์จีนอย่างหัวเว่ยก็พยายามผลักดันให้มีประเทศอื่น ๆ นำไปใช้ด้วย เพื่อให้อุปกรณ์ราคาถูกลง ซึ่งตอนนี้ก็มีการพัฒนาอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกัน คือ ใช้คลื่น 2300 MHz แบบ TDD คู่กับคลื่น 1800, 900 MHz แบบ FDD ได้ในแฮนด์เซตเดียวกัน เรียกว่ามีการผลักดัน ในระดับรัฐบาล
แต่การจะนำมาใช้ก็คงจะต้อง เป็นจุดที่มีการใช้แบนด์วิดท์เยอะมากจนอยู่ในภาวะที่ เหมือนเอาปืนมาจี้คอให้ กสทช. ต้องนำ 2300 MHz มาใช้
ทีโอทีกำลังหาพาร์ตเนอร์มาทำคลื่นนี้
ใช่ แต่เชื่อว่าในที่สุด กสทช.กับทีโอทีจะคุยกัน คือถ้าหาพาร์ตเนอร์ได้แล้วจะเอามาทำในรูปแบบ MVNO (เช่าใช้โครงข่าย) ก็ต้องมาดูเงื่อนไขกันว่า ทำได้แค่ไหนยังไง เพราะ กสทช.อนุญาตให้ไปแบบมีเงื่อนไข คือ ส่วนหนึ่งต้องเอาไปทำเพื่อบริการสาธารณะ
คือถ้าปีหน้ายังไม่มีแผนธุรกิจ ก็คงต้องมีการสอบถามกัน เพราะเกณฑ์ปกติของ กสทช. คือ ถ้าได้รับใบอนุญาตไป 2 ปีแล้วยังไม่ดำเนินการก็ต้องมีการกดดันและขอคืนคลื่น
แต่ กสทช.ไม่เคยขอคืนคลื่นได้
ไม่ใช่ขอคืนไม่ได้ แต่เพราะเขายังมีเหตุผลแบบนั้นแบบนี้ที่ยกขึ้นมา กสทช.ไม่มีอำนาจเข้าไปก้าวล่วงในสัมปทานหรือสัญญาที่ทำไว้ กรณีทีโอทีถ้าชัดเจนว่า 2 ปีแล้วยังไม่ได้ใช้งาน ก็แสดงว่าไม่เวิร์กแล้วที่จะเอาคืน
คลื่น 2600 MHz จะเรียกคืนได้
ต้องไปดูฝั่งบอร์ดกระจายเสียงว่า อสมท จะทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีการเรียกคืนสำเร็จจะกลายเป็นคลื่นฝั่งโมบาย แล้วการจัดประมูลถ้าได้คืนมาแน่ ๆ ใช้เวลาแค่ปีเดียวก็จัดได้ ปัญหาตอนนี้คือเอาคืนมาให้ได้ก่อนแล้วกัน
คือเราเริ่มเชี่ยวชาญในการจัดประมูลแล้ว จึงไม่ต้องกังวล ที่กังวลมากกว่าคือ จะมี ใครมาเข้าประมูลไหม เพราะคลื่นมันแพง บอร์ดชุดใหม่ต้องยืนตามมติ กทค. เดิมที่ให้ยืนราคาเริ่มต้นคลื่นไว้ในราคาสิ้นสุดประมูลล่าสุด
แต่ผู้บริโภคใช้แบนด์วิดท์เยอะขึ้นเรื่อย ๆ
ใช่ แต่ในอนาคตเทคโนโลยีเปลี่ยนไป สามารถสร้างความจุโครงข่ายได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องใช้คลื่นมาก ๆ อีกแล้ว มองว่าปี 2563 เมื่อ 5G มา เราจะได้เห็นสิ่งนี้โลกในอีก 3-5 ปีข้างหน้า อยู่ในภาวะที่พยากรณ์ไม่ได้เลยว่าราคาคลื่นมันควรจะเป็นเท่าไร บางทีการให้คลื่นถูกกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง อาจจะมีประโยชน์กว่าการให้คลื่นแพงก็ได้ เพราะมันได้ไปทำธุรกิจต่อ สร้างงานสร้างแพลตฟอร์มต่าง ๆ ให้ประเทศ
5G จะมาปีไหน
มาอยู่แล้ว น่าจะปี 2563 แต่ 5G ก็แค่ซื้อแอ็กเซสพอยต์มาเพิ่ม เหมือนเป็นเบสสเตชั่นย่อย ๆ เท่านั้นเอง เพื่อให้สปีดได้เร็วถึง 1 Gbps และทำให้ WiFi วิ่งคู่กับโมบายได้โดยใช้เทคนิคอัดทราฟฟิกไว้ในเวลาเดียวกัน คลื่นมันจะรวมกัน ตอนนี้ WiFi ก็เป็นคลื่นที่ไม่ต้องขอไลเซนส์ ทุกค่ายยังใช้งานร่วมกันได้ยังไม่มีตีกัน กวนกัน
คลื่นสัมปทานดีแทคไม่ประมูลล่วงหน้า
ฝ่ายกฎหมายตีความแล้วว่า ห้ามก้าวล่วงสัมปทานก่อน บอร์ดชุดนี้แค่เตรียมการศึกษาไว้ให้ เพราะเราจะหมดวาระ ต.ค. 2560 ฉะนั้น มีความเป็นไปได้ว่าจนหมดวาระน่าจะไม่มีการประมูลคลื่นอีกแล้ว ยกเว้นว่าทีโอทีจะคืน 2300 MHz ให้ตามนโยบายรัฐบาลในอนาคต เช่น คืนมาสัก 30 MHz แลกกับการได้ค่าชดเชยเพื่อเอาไปลงทุนธุรกิจอื่นต่อไป ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่ กสทช.ที่เสนอไอเดียต้องเป็นนโยบายจากรัฐบาล
เตรียมศึกษาประมูลรอบใหม่ไว้แค่ไหน
ยังไม่ได้มีการประเมินราคา เพราะอยู่ในภาวะที่คาดเดายาก แต่วางกรอบเวลาไว้ คือ เมื่อบอร์ด กสทช.ชุดใหม่มา ต.ค. 2560 หรือต้นปี 2561 ก็ให้เริ่มเตรียมการประมูลได้เลย เพื่อให้ทันประมูล ณ วันที่สัมปทานหมดทันที แล้วส่วนอื่นก็น่าจะ ใช้ของเดิม ๆ ได้ ยกเว้นว่ากฎหมายจะเปลี่ยนมาก แต่เท่าที่ดู ส่วนนี้ก็ไม่น่าจะเปลี่ยนมาก
งานที่จะเห็นก่อนหมดวาระ
งานคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารคลื่นความถี่ในงานที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงย่าน 800 MHz ที่จะต้องใช้ แต่จะไป คอนฟลิกต์กับส่วนที่โมบายใช้อยู่ กำลังศึกษาแนวทาง การกำกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่ที่เกี่ยวข้องกับ IoT และการบริหารเลขหมาย
กิจการดาวเทียม
ควรไปอยู่กับรัฐบาล เพราะแอดมินในการไฟลิ่ง กับไอทียูอยู่ที่ไอซีที ตอนนี้เหมือนให้ กสทช.เป็นตรายางต้องรอทุกอย่างยืนยันจากกระทรวง ฉะนั้น ควรมี พ.ร.บ.ดาวเทียมไป เฉพาะเลย
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 32, 28)