แหล่งข่าวระดับสูง TOT แผนนำคลื่น 900 MHz และสถานีฐานที่ได้รับโอนตามสัมปทาน 15,000 แห่ง ไปเสริมจุดบอดโครงข่าย TOT 3G 2100 ที่มีอยู่ 5,320 แห่ง
ประเด็นหลัก
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอทีเปิดเผยว่า คลื่น 900 MHz เป็นสิ่งที่ยืนยันมาตลอดว่า ได้สิทธิ์ถือครองคลื่นก่อนมี กทช. มีสิทธิ์ใช้จนกว่าจะได้ใบอนุญาตประกอบกิจการสิ้นสุดในวันที่ 4 ส.ค. 2568 ขณะที่สัมปทานเอไอเอสจะหมดปี 2558 ทีโอทีมีแผนนำคลื่น 900 MHz และสถานีฐานที่ได้รับโอนตามสัมปทาน 15,000 แห่ง ไปเสริมจุดบอดโครงข่าย 3G ที่มีอยู่ 5,320 แห่ง
______________________________
"ทีโอที" ฝันชงขอใช้คลื่น 900MHz ดึงเครือข่าย AIS เสริม 3G
"ไอซีที" ชง "ทีโอที" เจรจาขอใช้คลื่น 900 MHz จากคณะกรรมการร่วม "ไอซีที-กสทช." พร้อมดึงสถานีฐาน 1.5 หมื่นแห่ง ที่รับโอนจากเอไอเอสมาเสริมจุดบอดโครงข่าย 3G คุมเข้มค่าใช้จ่าย ตั้งเป้าลดขาดทุนลงครึ่งต่อครึ่งในสิ้นปี และเร่งเจรจาเคลียร์ข้อพิพาทกับ "กสทฯ"
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยหลังหารือกับคณะกรรมการ บมจ.ทีโอทีว่า จากข้อมูลที่บอร์ดทีโอทีชี้แจง เชื่อว่ายังมีทางพลิกฟื้นทีโอทีได้ และมอบหมายให้ฝ่ายบริหารทีโอทีไปชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการใช้คลื่น 900 MHz รวมถึงแผนงานตามที่เสนอแนวทางให้คณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงไอซีที และกสทช. ที่มีปลัดไอซีที นางเมธินี เทพมณี เป็นประธานพิจารณา ซึ่งจะประชุมนัดแรกวันที่ 10 ต.ค.นี้
"ทีโอทีบอกว่าถ้าได้ คลื่น 900 MHz มาใช้งานต่อก็จะอยู่รอดได้ จึงให้ฝ่ายบริหารไปทำแผนงานอย่างละเอียดรวมถึงการใช้คลื่นอื่น ๆ ที่มี ทั้ง 2300 MHz 470 MHz 1900 MHz แยกเป็นกรณีที่ใช้คลื่นต่อได้กับกรณีที่ไม่สามารถใช้คลื่นได้ รวมถึงให้เจรจากสทฯหาแนวทางทำธุรกิจร่วมกัน โดยใช้ประโยชน์จากโครงข่ายที่มี อาทิ เคเบิลใยแก้วที่ทีโอทีมีกว่า 8.4 หมื่นกิโลเมตร กสทฯมี 3.5 หมื่นกิโลเมตร และให้เร่งเจรจายุติข้อพิพาท 2 หน่วยงานให้เร็วที่สุด"
และมอบหมายให้ฝ่ายการเงินจัดทำบัญชีแบบแยกเป็นส่วนงานธุรกิจกับส่วนที่เป็นการให้บริการสาธารณะให้ชัดเจน เนื่องจากทีโอทีต้องรับภาระในการให้บริการสาธารณะ ซึ่งในแง่ธุรกิจทีโอทียังไปต่อได้อีกเยอะ ทั้งเคเบิลใยแก้ว, WiFi, คลื่น 2300 MHz ส่วนปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง หรือข้อพิพาทกับ กสทฯ ควรหาทางออกให้ได้ในยุคนี้
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอทีเปิดเผยว่า คลื่น 900 MHz เป็นสิ่งที่ยืนยันมาตลอดว่า ได้สิทธิ์ถือครองคลื่นก่อนมี กทช. มีสิทธิ์ใช้จนกว่าจะได้ใบอนุญาตประกอบกิจการสิ้นสุดในวันที่ 4 ส.ค. 2568 ขณะที่สัมปทานเอไอเอสจะหมดปี 2558 ทีโอทีมีแผนนำคลื่น 900 MHz และสถานีฐานที่ได้รับโอนตามสัมปทาน 15,000 แห่ง ไปเสริมจุดบอดโครงข่าย 3G ที่มีอยู่ 5,320 แห่ง
"ทีโอทีตั้งเป้าใช้คลื่น 900 ผสมกับ 1900 MHz เพื่อเป็นโอเปอเรเตอร์รายที่ 4 ในตลาด ให้ประชาชนใช้บริการราคาไม่แพง เน้นด้านเสียง ส่วนดาต้าจะผสมกันระหว่าง 3G กับ WiFi ทีโอทีจะลงทุนแค่ซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่าง 2 โครงข่าย ไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มมากนัก จะสร้างประโยชน์ให้ประเทศได้ไม่ต่างกับการนำคลื่นไปประมูล แต่ถ้าไม่ได้ใช้คลื่นก็ต้องหาแนวทางบริหารทรัพย์สินที่ได้มาจากสัมปทานให้ ดึงดูดพาร์ตเนอร์ให้ทำธุรกิจร่วมกันให้ได้"
ผลประกอบการของทีโอทีถึง ส.ค.นี้ มีรายได้ 4.3 หมื่นล้านบาท น้อยกว่าปี 2556 ที่ทั้งปีมีรายได้ 8.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่าย 8 เดือนแรกอยู่ที่ 4.4 หมื่นล้านบาท ถือว่าควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี ทำให้มีผลขาดทุน 690 ล้านบาท ลดจากไตรมาสแรกที่ขาดทุนราว 1,200 ล้านบาท "บริษัทควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี เดิมคาดว่าสิ้นปีจะขาดทุน 8,500 ล้านบาท แต่ ณ เวลานี้น่าจะเหลือ 4,500 ล้านบาท"
ส่วนข้อพิพาททางกฎหมายระหว่างทีโอทีกับ กสทฯ มูลค่าราว 2.3 แสนล้านบาท เป็นปัญหาเรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (ค่าเอซี) กับคู่สัมปทานของ กสท โทรคมนาคม ราว 1.62 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นข้อพิพาทกับคู่สัมปทานของทีโอที เช่น บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น รวมถึงปัญหาเรื่องภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเกิดจากสัญญาสัมปทานเช่นกัน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1412844961
แหล่งข่าวระดับสูง TOT แผนนำคลื่น 900 MHz และสถานีฐานที่ได้รับโอนตามสัมปทาน 15,000 แห่ง ไปเสริมจุดบอดโครงข่าย TOT 3G 2100
ประเด็นหลัก
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอทีเปิดเผยว่า คลื่น 900 MHz เป็นสิ่งที่ยืนยันมาตลอดว่า ได้สิทธิ์ถือครองคลื่นก่อนมี กทช. มีสิทธิ์ใช้จนกว่าจะได้ใบอนุญาตประกอบกิจการสิ้นสุดในวันที่ 4 ส.ค. 2568 ขณะที่สัมปทานเอไอเอสจะหมดปี 2558 ทีโอทีมีแผนนำคลื่น 900 MHz และสถานีฐานที่ได้รับโอนตามสัมปทาน 15,000 แห่ง ไปเสริมจุดบอดโครงข่าย 3G ที่มีอยู่ 5,320 แห่ง
______________________________
"ทีโอที" ฝันชงขอใช้คลื่น 900MHz ดึงเครือข่าย AIS เสริม 3G
"ไอซีที" ชง "ทีโอที" เจรจาขอใช้คลื่น 900 MHz จากคณะกรรมการร่วม "ไอซีที-กสทช." พร้อมดึงสถานีฐาน 1.5 หมื่นแห่ง ที่รับโอนจากเอไอเอสมาเสริมจุดบอดโครงข่าย 3G คุมเข้มค่าใช้จ่าย ตั้งเป้าลดขาดทุนลงครึ่งต่อครึ่งในสิ้นปี และเร่งเจรจาเคลียร์ข้อพิพาทกับ "กสทฯ"
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยหลังหารือกับคณะกรรมการ บมจ.ทีโอทีว่า จากข้อมูลที่บอร์ดทีโอทีชี้แจง เชื่อว่ายังมีทางพลิกฟื้นทีโอทีได้ และมอบหมายให้ฝ่ายบริหารทีโอทีไปชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการใช้คลื่น 900 MHz รวมถึงแผนงานตามที่เสนอแนวทางให้คณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงไอซีที และกสทช. ที่มีปลัดไอซีที นางเมธินี เทพมณี เป็นประธานพิจารณา ซึ่งจะประชุมนัดแรกวันที่ 10 ต.ค.นี้
"ทีโอทีบอกว่าถ้าได้ คลื่น 900 MHz มาใช้งานต่อก็จะอยู่รอดได้ จึงให้ฝ่ายบริหารไปทำแผนงานอย่างละเอียดรวมถึงการใช้คลื่นอื่น ๆ ที่มี ทั้ง 2300 MHz 470 MHz 1900 MHz แยกเป็นกรณีที่ใช้คลื่นต่อได้กับกรณีที่ไม่สามารถใช้คลื่นได้ รวมถึงให้เจรจากสทฯหาแนวทางทำธุรกิจร่วมกัน โดยใช้ประโยชน์จากโครงข่ายที่มี อาทิ เคเบิลใยแก้วที่ทีโอทีมีกว่า 8.4 หมื่นกิโลเมตร กสทฯมี 3.5 หมื่นกิโลเมตร และให้เร่งเจรจายุติข้อพิพาท 2 หน่วยงานให้เร็วที่สุด"
และมอบหมายให้ฝ่ายการเงินจัดทำบัญชีแบบแยกเป็นส่วนงานธุรกิจกับส่วนที่เป็นการให้บริการสาธารณะให้ชัดเจน เนื่องจากทีโอทีต้องรับภาระในการให้บริการสาธารณะ ซึ่งในแง่ธุรกิจทีโอทียังไปต่อได้อีกเยอะ ทั้งเคเบิลใยแก้ว, WiFi, คลื่น 2300 MHz ส่วนปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง หรือข้อพิพาทกับ กสทฯ ควรหาทางออกให้ได้ในยุคนี้
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอทีเปิดเผยว่า คลื่น 900 MHz เป็นสิ่งที่ยืนยันมาตลอดว่า ได้สิทธิ์ถือครองคลื่นก่อนมี กทช. มีสิทธิ์ใช้จนกว่าจะได้ใบอนุญาตประกอบกิจการสิ้นสุดในวันที่ 4 ส.ค. 2568 ขณะที่สัมปทานเอไอเอสจะหมดปี 2558 ทีโอทีมีแผนนำคลื่น 900 MHz และสถานีฐานที่ได้รับโอนตามสัมปทาน 15,000 แห่ง ไปเสริมจุดบอดโครงข่าย 3G ที่มีอยู่ 5,320 แห่ง
"ทีโอทีตั้งเป้าใช้คลื่น 900 ผสมกับ 1900 MHz เพื่อเป็นโอเปอเรเตอร์รายที่ 4 ในตลาด ให้ประชาชนใช้บริการราคาไม่แพง เน้นด้านเสียง ส่วนดาต้าจะผสมกันระหว่าง 3G กับ WiFi ทีโอทีจะลงทุนแค่ซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่าง 2 โครงข่าย ไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มมากนัก จะสร้างประโยชน์ให้ประเทศได้ไม่ต่างกับการนำคลื่นไปประมูล แต่ถ้าไม่ได้ใช้คลื่นก็ต้องหาแนวทางบริหารทรัพย์สินที่ได้มาจากสัมปทานให้ ดึงดูดพาร์ตเนอร์ให้ทำธุรกิจร่วมกันให้ได้"
ผลประกอบการของทีโอทีถึง ส.ค.นี้ มีรายได้ 4.3 หมื่นล้านบาท น้อยกว่าปี 2556 ที่ทั้งปีมีรายได้ 8.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่าย 8 เดือนแรกอยู่ที่ 4.4 หมื่นล้านบาท ถือว่าควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี ทำให้มีผลขาดทุน 690 ล้านบาท ลดจากไตรมาสแรกที่ขาดทุนราว 1,200 ล้านบาท "บริษัทควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี เดิมคาดว่าสิ้นปีจะขาดทุน 8,500 ล้านบาท แต่ ณ เวลานี้น่าจะเหลือ 4,500 ล้านบาท"
ส่วนข้อพิพาททางกฎหมายระหว่างทีโอทีกับ กสทฯ มูลค่าราว 2.3 แสนล้านบาท เป็นปัญหาเรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (ค่าเอซี) กับคู่สัมปทานของ กสท โทรคมนาคม ราว 1.62 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นข้อพิพาทกับคู่สัมปทานของทีโอที เช่น บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น รวมถึงปัญหาเรื่องภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเกิดจากสัญญาสัมปทานเช่นกัน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1412844961